เมนูหลัก
นับจำนวนผู้เยี่ยมชม







![]() | วันนี้ | 36 |
![]() | เมื่อวานนี้ | 506 |
![]() | สัปดาห์นี้ | 813 |
![]() | สัปดาห์ที่แล้ว | 508 |
![]() | เดือนนี้ | 2656 |
![]() | รวมทั้งหมด | 914194 |
Today: 25 ก.พ. 2021
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ประวัติความเป็นมา |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย เยี่ยมพร ภิเศก | |||||||||
วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน 2014 เวลา 09:23 น. | |||||||||
ประวัติสำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ งานส่งเสริมด้านปศุสัตว์มีความสำคัญต่อการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรไทย กรมปศุสัตว์เริ่มดำเนินงานส่งเสริมด้านการเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2495 เมื่อมีพระรากฤษฎีกาจัดระบบราชการกรมการปศุสัตว์ในสังกัดกระทรวงเกษตร โดยให้จัดตั้งกองส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2516 ได้เปลี่ยนชื่อกองส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เป็นกองบำรุงพันธุ์สัตว์ ซึ่งการดำเนินการส่งเสริมระยะแรกจะเน้นการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ของเกษตรกร โดยจัดหาสัตว์พ่อพันธุ์ (โค กระบือ สุกร) ไว้ให้บริการผสมพันธุ์กับสัตว์ของเกษตรกร โดยเกษตรกรจะนำสัตว์แม่พันธุ์ของตนเองมาผสมกับพ่อพันธุ์ของทางราชการตามสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ ซึ่งวิธีดังกล่าวปรากฏว่าสัตว์แม่พันธุ์ของเกษตรกรได้รับการผสมพันธุ์น้อย เนื่องจากเกษตรกรไม่สะดวกที่จะขนสัตว์แม่พันธุ์มาผสมพันธุ์ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ โดยเฉพาะโค กระบือ ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ ปี พ.ศ. 2509 กองส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ได้จัดตั้งหน่วยตอนและแพร่พันธุ์สัตว์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ของเกษตรกร โดยวิธีการจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงโค หรือ กลุ่มผู้เลี้ยงกระบือ มีการคัดเลือกประธานกลุ่ม และกรรมการบริหารกลุ่ม เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการกลุ่ม และควบคุม ดูแล โคพ่อพันธุ์ หรือกระบือพ่อพันธุ์ ในการให้บริการผสมพันธุ์กับแม่โคหรือแม่กระบือของสมาชิกกลุ่มและเกษตรกรทั่วไป และเป็นผู้ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับกลุ่มเกษตรกร มีการประชุมกลุ่ม มีการตอนโค หรือ กระบือเพศผู้ที่มีลักษณะที่ไม่ดี เพื่อไม่ให้ขยายพันธุ์ มีการเจาะเลือดเพื่อตรวจโรงแท้งติดต่อ (Brucellosis) กับแม่โค แม่กระบือ ก่อนที่จะนำมาผสมกับพ่อพันธุ์แล้วจึง นำพ่อพันธุ์ไปให้กลุ่มเกษตรกรยืมเพื่อใช้ผสมพันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์โค กระบือ ของเกษตรกรสมาชิกในกลุ่ม และเกษตรกรทั่วไป โดยใช้เวลา 3 ปี ก็จะหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนพ่อพันธุ์เพื่อป้องกันปัญหาการผสมแบบเลือดชิด (Inbreed) ระหว่างพ่อพันธุ์กับลูกโคที่เกิดขึ้น แต่การส่งเสริมโดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงโค กระบือ ยังมีจำนวนจำกัด เนื่องจากขาดสัตว์พ่อพันธุ์และอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ ปี พ.ศ.2515 กรมปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการเร่งรัดผลผลิต เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดการผลิต โค กระบือ พันธุ์ดีแก่เกษตรกร โดยจัดหาพ่อโค พ่อกระบือที่มีลักษณะที่ดี ไปให้กลุ่มผู้เลี้ยงโค กระบือ ยืมเพื่อใช้ผสมพันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์โค กระบือของเกษตรกรสมาชิกในกลุ่ม และเกษตรกรทั่วไป มีการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกร แต่การส่งเสริมด้านอาหารสัตว์ยังไม่มีการส่งเสริมอย่างจริงจัง ปี พ.ศ. 2518 กรมปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการพัฒนาการปศุสัตว์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยของกู้เงินจากธนาคารโลกจำนวน 100 ล้านบาท สมทบกับงบประมาณของประเทศไทยจำนวน 131 ล้านบาท มีระยะการดำเนินโครงการ 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยงโค กระบือของเกษตรกรแบบเบ็ดเสร็จ โดยเน้นเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนโค กระบือ มีปริมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนโค กระบือทั้งประเทศ เพื่อสร้างระบบการส่งเสริมพัฒนาการปศุสัตว์ และใช้เป็นตัวอย่างสำหรับการส่งเสริมพัฒนาการปศุสัตว์และขยายผลไปยังภาคอื่นๆ ต่อไป โครงการฯ ได้รับอนุมัติและลงนามสัญญาเงินกู้กับธนาคารโลก (World Bank) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 และเริ่มดำเนินงานตามโครงการจริงๆ ในปี พ.ศ.2520 โดยมีรูปแบบการส่งเสริมในลักษณะเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม แบบมวลชน และแบบผสม แต่จะเน้นหนักในรูปแบบลักษณะการจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ และดำเนินการส่งเสริมทุกด้านตั้งแต่ด้านการปรับปรุงพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ด้านอาหารสัตว์และการปลูกพืชอาหารสัตว์ ด้านการป้องกันและกำจัดโรค ด้านบริหารจัดการฟาร์ม ด้านการตลาด และด้านการศึกษาวิจัย จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2525 โครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดลง วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญของการส่งเสริมด้านปศุสัตว์อย่างจริงจัง จึงได้จัดตั้งกองส่งเสริมการปศุสัตว์ขึ้นในกรมปศุสัตว์ โดยได้กำหนดให้อัตรากำลังฝ่ายส่งเสริมและพัฒนา ปศุสัตว์ประจำสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เพื่อทำหน้าที่ทางด้านวิชาการส่งเสริมและปฏิบัติงานส่งเสริมด้าน ปศุสัตว์ในพื้นที่ระดับจังหวัด ตามนโยบายที่กรมปศุสัตว์กำหนด หลังจากสิ้นสุดโครงการพัฒนาการปศุสัตว์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กองส่งเสริมการปศุสัตว์จึงได้รับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและนำรูปแบบวิธีการส่งเสริมด้านปศุสัตว์ตามที่โครงการพัฒนาการปศุสัตว์ภาคตะวันนออกเฉียงเหนือปฏิบัติมาเป็นแนวทางการปฏิบัติงานการส่งเสริมด้านปศุสัตว์ของกรมปศุสัตว์ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับโครงสร้างระบบราชการและได้เปลี่ยนชื่อกองส่งเสริมการปศุสัตว์ เป็นสำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำหน้าที่ศึกษาวิจัย แนะนำ เผยแพร่ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์สู่เกษตรกรและบุคคลทั่วไป 1.ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย บริหารจัดการส่งเสริมและพัฒนาระบบการผลิตปศุสัตว์ครบวงจรและกำหนดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ 2.ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และเศรษฐกิจการปศุสัตว์ ทั้งด้านการผลิตและการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3.ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเหมาะสม แก่ผู้ประกอบการ เกษตรกรเครือข่ายปศุสัตว์และผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.ศึกษา วิจัย พัฒนา และดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่เฉพาะป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรด้านการปศุสัตว์ 5.ศึกษา และวิเคราะห์ มาตรการทางธุรกิจ ความร่วมมือทางการค้า และทางวิชาการ ข้อตกลงผลกระทบ กฎและระเบียบระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ 6.ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการด้านการปศุสัตว์ 7.จัดทำแผนประชาสัมพันธ์และการผลิตสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ด้านการปศุสัตว์ของกรม 8.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ทำเนียบผู้บริหาร กองส่งเสริมการปศุสัตว์
สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี 9 ตุลาคม 2545
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ 22 ธันวาคม 2554
|
|||||||||
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2020 เวลา 09:20 น. |