เมนูหลัก
นับจำนวนผู้เยี่ยมชม







![]() | วันนี้ | 120 |
![]() | เมื่อวานนี้ | 136 |
![]() | สัปดาห์นี้ | 392 |
![]() | สัปดาห์ที่แล้ว | 943 |
![]() | เดือนนี้ | 1470 |
![]() | รวมทั้งหมด | 801759 |
Your IP 103.55.140.129
Today: 11 ธ.ค. 2019
Today: 11 ธ.ค. 2019
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ด้านการค้าบริการ) |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย Thanee Pak-uthai |
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 07:00 น. |
การค้าบริการ หมายถึง การให้บริการที่สามารถเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ (mode of supply) โดยพิจารณาจากแหล่งกำเนิด (origin) ของผู้ให้บริการ ดังนี้
Mode 1 การบริการข้ามพรมแดน (Cross-border Supply) เป็นการให้บริการจากพรมแดนของประเทศสมาชิกหนึ่งไปสู่พรมแดนของประเทศสมาชิกอื่นที่เป็นลูกค้า โดยผู้ให้บริการไม่ต้องปรากฏตัวอยู่ในพรมแดนของประเทศลูกค้า เช่น การให้บริการผ่านสื่อสารโทรคมนาคมหรือการไปรษณีย์ และการให้คำปรึกษาทาง internet เป็นต้น
Mode 2 การบริโภคในต่างประเทศ (Consumption Abroad) การให้บริการเกิดขึ้นในพรมแดนของประเทศผู้ให้บริการ โดยอาศัยการเคลื่อนย้ายของผู้บริโภคเป็นเงื่อนไขที่สำคัญ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บริการด้านการท่องเที่ยว การนำเรือออกไปซ่อมแซมในต่างประเทศ การออกไปรับการผ่าตัดในโรงพยาบาลต่างประเทศ
Mode 3 การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ (Commercial Presence) เป็นการเข้าไปลงทุนตั้งนิติบุคคลประเภทต่างๆ เพื่อให้บริการในประเทศลูกค้า เช่น การจัดตั้งสาขา ตัวแทน หรือบริษัท เป็นต้น
Mode 4 การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Presence of Natural Persons) ซึ่งเป็นการเข้าไปทำงานประกอบอาชีพหรือวิชาชีพในสาขาบริการด้านต่างๆ เป็นการชั่วคราว ในประเทศลูกค้า เช่น การเข้ามาประกอบวิชาชีพของวิศวกรญี่ปุ่นในไทย เป็นต้น
เป้าหมายการเปิดตลาดในสาขาบริการต่างๆ ภายใต้ AEC Blueprint
สาขาบริการเร่งรัด (Priority Integration Sector: PIS) ได้แก่ e-ASEAN (สาขาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์) สาขาสุขภาพ สาขาท่องเที่ยว และสาขาการบิน ในปี พ.ศ. 2553 ต้องอนุญาตให้ผู้ให้บริการมีสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไม่ต่ำกว่า 70% และยกเลิกข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ทั้งหมด
สาขาโลจิสติกส์ ในปี พ.ศ. 2553 ต้องอนุญาตให้ผู้ให้บริการมีสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไม่ต่ำกว่า 51% โดยลดข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ให้เหลือได้เพียง 2 ข้อจำกัด และในปี พ.ศ. 2556 ต้องอนุญาตให้ผู้ให้บริการมีสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไม่ต่ำกว่า 51% โดยลดข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ให้เหลือได้เพียง 1 ข้อจำกัด
สาขาอื่น ๆ (Non-Priority Service Sector) ครอบคลุมบริการทุกสาขานอกเหนือจาก priority sectors กำหนดสิ้นสุดปี พ.ศ. 2558 ต้องอนุญาตให้ผู้ให้บริการมีสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไม่ต่ำกว่า 70% และยกเลิกข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ทั้งหมด ทั้งนี้อาจยกเว้นสาขาที่อ่อนไหวได้
ข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดอื่นๆ
นอกจากข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นแล้ว ในบางสาขาบริการยังมีข้อจำกัดอื่นๆ ได้แก่ ข้อจำกัดในจำนวนผู้ให้บริการ ข้อจำกัดในมูลค่ารวมทั้งหมดของธุรกรรมทางการค้าบริการหรือสินทรัพย์ ข้อจำกัดในจำนวนทั้งหมดของการประกอบการบริการ ข้อกำหนดสัดส่วนเรื่องผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคลากร การกำหนดให้ผู้บริหารในนิติบุคคลต้องเป็นคนไทย การกำหนดเรื่องทุนขั้นต่ำในการลงทุน การต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและโดยเฉพาะการกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามข้อ บังคับภายใต้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตในการประกอบกิจการ เป็นต้น
ข้อมูลโดย ธานี ภาคอุทัย สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ โทร.02 6534472
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 09 มีนาคม 2012 เวลา 16:28 น. |