เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

กลุ่ม ธ.ค.ก. ดีเด่น (บทความ 12/2553)

กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ  กลุ่ม ธ.ค.ก. ดีเด่น ระดับที่ 1/2553  สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 8  อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี


              กิจกรรมกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อตำบลลีเล็ด ตามโครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร  ตามพระราชดำริ
             สถานที่ตั้งกลุ่ม ศาลาบ้านนายจำเริญ  ทองปรอน  เลขที่  83  หมู่ที่  5  ตำบลลีเล็ด  อำเภอพุนพิน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี               สมาชิกกลุ่ม ธคก.ในหมู่บ้านต่างๆ ของตำบลลีเล็ดเข้าร่วมโครงการฯ  เมื่อปีพ.ศ. 2551  จำนวน  78  ราย  โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า  กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อตำบลลีเล็ด  และต่อมาได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน  เมื่อวันที่  16  กรกฎาคม  2551 
             ได้รับการสนับสนุนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  (สนช.)  จำนวน  78  ตัว  ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลลี เล็ดและสมาชิกกลุ่ม  จัดพิธีไถ่ชีวิตและมอบโคให้สมาชิกกลุ่มยืมเพื่อการผลิต  ตามระเบียบโครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร  ตามพระราชดำริ  เมื่อวันที่  15  มีนาคม  2551 


            ปัจจุบันนี้คงเหลือแม่โคจำนวน  77  ตัว  สมาชิก  77  ราย  ซึ่งโคได้ป่วยตายจำนวน  1  ตัว  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ขออนุมัติจำหน่าย  และสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่  8  ได้อนุมัติจำหน่ายออกจากทะเบียนแล้ว   จำนวนลูกสัตว์ ธคก. ตัวที่  1  ในกลุ่ม  จำนวนลูกสัตว์ ธคก.  ตัวที่  1  ในกลุ่มมีทั้งหมด  55  ตัว  และลูกโคที่มีอายุครบ  2  ปี  ที่จะส่งคืน ธคก. ตามสัญญายืมมีทั้งหมด  35  ตัว  ลูกโคส่วนใหญ่เป็นลูกผสมสายพันธุ์บราห์มัน  มีสุขภาพสมบูรณ์  แข็งแรง  และขณะนี้มีแม่โคที่กำลังตั้งท้องประมาณ  30  ตัว  ซึ่งจำนวน ลูกสัตว์ก็จะทยอยเกิดและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ส่วนตัวที่ไม่เป็นสัดหรือผสมไม่ติด  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ขอความร่วมมือจากศูนย์วิจัยการผสม เทียมและเทคโนโลยีชีวภาพ สุราษฎร์ธานีเข้ามาแก้ปัญหาเป็นระยะ  คอกสัตว์  ความสะอาด  มั่นคงแข็งแรง  มีที่ให้อาหาร-น้ำ  มีที่เก็บมูลสัตว์ 

             สภาพการเลี้ยงโคของกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อตำบลลีเล็ด  จะเลี้ยงรวมกันเป็นกลุ่มย่อยประมาณ  5-7  คน  ต่อกลุ่ม  โดยจะผลัดเปลี่ยนกันมาดูแล  ซึ่งสภาพของคอกโคมีความมั่นคงแข็งแรง  สะอาด  มีรางอาหาร  และรางน้ำ  โดยใช้ปล่องบ่อซีเมนต์และถังพลาสติกผ่าครึ่งทำเป็นที่ใส่น้ำให้โคกิน  มีการเก็บมูลโคด้านหลังคอกนำมาตากแดดให้แห้งแล้วบรรจุใส่กระสอบเพื่อนำไปใช้ ในสวนปาล์มน้ำมัน  และที่เหลือก็จะขายบุคคลภายนอก  บริเวณหน้า คอกจะมีป้ายชื่อเกษตรกรผู้ยืมติดไว้ทุกคอก  การปลูกพืชอาหารสัตว์  และการสำรองอาหารสัตว์  การนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาเป็นอาหารสัตว์ 

              กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อตำบลลีเล็ดไม่มีปัญหาด้านการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์  เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีหญ้าขนตามธรรมชาติขึ้นอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ สาธารณะและบริเวณรอบๆ  บ่อกุ้ง  เป็นพื้นที่นับ  1,000  ไร่  และสมาชิกบางรายก็ปลูกหญ้าบริเวณร่องปาล์มน้ำมัน  บางรายก็มีการใช้ทางปาล์ม  ใบกระถิน  ต้นกล้วย  มาเป็นอาหารสัตว์ในช่วงที่ได้รับผลกระทบ   

              โคแม่พันธุ์ที่เกษตรกรได้รับมอบเป็นโคที่มาจากหลายพื้นที่  ในระยะแรกๆ  จึงมีปัญหามากในส่วนของสุขภาพและความสมบูรณ์พันธุ์  โคจะผอม  ไม่ค่อยกินหญ้า  ไม่เป็นสัดและผสมไม่ค่อยติด  คณะกรรมการกลุ่ม จึงได้ประสานงานขอความช่วยเหลือจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพุนพิน,  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสุราษฎร์ธานี  เพื่อเข้ามาให้คำแนะนำและแก้ปัญหาต่างๆ  เช่น  การเสริมอาหารข้นและอาหารแร่ธาตุแก่โคตัวที่ผอมผสมไม่ติด,  การล้วงตรวจระบบสืบพันธุ์,  การเหนี่ยวนำการเป็นสัด  และการบริการผสมเทียม จนปัจจุบันโคแม่พันธุ์ของกลุ่มประมาณ 95 %  มีสุขภาพสมบูรณ์  มีลูกเกิด  และตั้งท้อง 

               เนื่องจากสมาชิกกลุ่มปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่  และเลี้ยงดูโคเป็นอย่างดี  มีคอก  มีน้ำสะอาด  มีหญ้าสด  และแร่ธาตุให้กินตลอดเวลา  การถ่ายพยาธิและการป้องกันโรค  สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพุนพินร่วมกับสมาชิกกลุ่ม  ดำเนินการถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับโคแม่พันธุ์และลูกโคตาม กำหนด  ดังนี้  ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย  ปีละ  2  ครั้ง ( 6  เดือนต่อครั้ง )  ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอบวม ปีละ 1 ครั้ง  กำจัดพยาธิภายนอก ภายในทุกๆ  3  เดือน 

                 การใช้ประโยชน์จากสัตว์  เช่น  การใช้แรงงาน  การใช้มูลสัตว์ ฯลฯ ในส่วนของมูลสัตว์  เกษตรกรจะนำมาตากแห้งแล้วบรรจุใส่กระสอบเพื่อนำไปใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน  ส่วนที่เหลือก็จะจำหน่ายให้กลุ่ม  และกลุ่มจะนำมาทำปุ๋ยหมัก  โดยสมาชิกกลุ่มจะมีส่วนร่วมช่วยกันทำและมีผลประโยชน์ร่วมกันจากการขายปุ๋ย หมัก  ในราคากิโลกรัมละ  3  บาท  การบันทึกรายละเอียดประจำตัวสัตว์  ทาง คณะกรรมการกลุ่ม  โดยเลขานุการของกลุ่มจะเป็นผู้จัดทำรายละเอียดต่างๆ  เช่น  บัตรประจำตัวสัตว์  รายละเอียดลูกเกิดเป็นปัจจุบัน  จัดเก็บเข้าแฟ้มอย่างเป็นระเบียบและสะดวกต่อการสืบค้น   จำนวนลูกสัตว์ ธคก. ตัวที่  2, 3  ในกลุ่ม  ขณะ นี้มีลูกสัตว์ตัวที่  2  ในกลุ่มทั้งหมด  12  ตัว  โดยแยกเป็นเพศผู้  8  ตัว  เพศเมีย  4  ตัว  ลูกโคมีสุขภาพแข็งแรงดี  ส่วนใหญ่จะเป็นลูกผสมชาร์โรเลย์ที่เกิดจากการผสมเทียม  

                การบริหารจัดการกลุ่ม มีการการแต่งตั้งกรรมการ  สมาชิก กลุ่มได้มีการประชุมและดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่ม  เพื่อเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ตามโครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  โดยมี 
                 นายปราโมทย์  แก้วปานประธานกลุ่ม (โทร.0 – 8579- 57143) 
                 นายจำเริญ  ทองปรอน  รองประธาน และ นายขจรศักดิ์  แสงรักษ์เป็นเลขานุการ ฯลฯ 

                 กฎระเบียบข้อบังคับกลุ่มที่เอื้อต่อความสำเร็จ  คณะ กรรมการกลุ่มพร้อมด้วยสมาชิกกลุ่ม  ได้ร่วมกันพิจารณาถึงกฎระเบียบและข้อบังคับกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อตำบลลีเล็ดสามารถดำเนินการตามโครงการ ธคก. ประสบความสำเร็จ  กลุ่มมีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป  ดังนั้น  สมาชิก กลุ่มผู้ยืมโค  ต้องปฏิบัติตามสัญญายืมโค ธคก. ตลอดระยะเวลาการยืมโดยเคร่งครัด สมาชิกกลุ่มมีความซื่อสัตย์  มีความสามัคคี  ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม  สมาชิกกลุ่มส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง  กลุ่มจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ  โดยคณะกรรมการกลุ่ม  ซึ่งสมาชิกกลุ่มเห็นชอบและสมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบ,  ข้อบังคับ,  มติ  และคำสั่งของกลุ่ม  สมาชิกกลุ่มต้องเข้าร่วมประชุมกลุ่มทุกครั้งตามที่คณะกรรมการกลุ่มนัดหมายและยอมรับมติส่วนใหญ่ในการประชุมกลุ่ม  สมาชิกกลุ่มสามารถเข้าร่วมกองทุนออมทรัพย์ ธคก. ได้ตามความสมัครใจโดยมิได้บังคับ 

                 การจัดตั้งกองทุนของกลุ่ม  คณะกรรมการกลุ่มได้ร่วมประชุมกับสมาชิกกลุ่ม  เพื่อดำเนินการจัดตั้งกองทุนของกลุ่ม  โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกรู้จักออมทรัพย์และสามารถกู้เงินจากกองทุนนำไป เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ  เกี่ยวกับโครงการฯ  เช่น  ทำแปลงหญ้า,  ปรับปรุงคอก,  ซื้ออุปกรณ์ต่างๆ  ได้  ซึ่งที่ประชุมก็เห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนของกลุ่ม  โดยใช้ชื่อว่า  “กองทุนออมทรัพย์ ธคก. ตำบลลีเล็ด”  และให้คณะกรรมการกลุ่มเป็นคณะกรรมการดำเนินการกองทุนออมทรัพย์ฯ  ด้วย  โดยสมาชิกสามารถเข้าร่วมกองทุนและถือหุ้นได้ตามความสมัครใจ  มิได้บังคับแต่อย่างใด 

                  ปัจจุบันมีเงินกองทุนทั้งหมด  32,918  บาท  และในส่วนที่สมาชิกกู้  3  ราย  เป็นเงิน  13,000  บาท  นอกจากนี้ในกลุ่มยังมีกองทุนคลังยาสัตว์  เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในด้านการดูแลสุขภาพสัตว์  กิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเลี้ยง เช่น  แปลงหญ้าสาธารณะ  การใช้ประโยชน์จากคอกกลาง  การสำรองพืชอาหารสัตว์  ฯลฯ 

                   สมาชิกกลุ่มเลี้ยงโคตำบลลีเล็ดส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ  การเลี้ยงกุ้ง  มีภารกิจประจำวันมากจึงมีเวลาจำกัดในการดูแลโค  สมาชิกกลุ่มจึงแก้ปัญหาการเลี้ยงโดยเลี้ยงรวมกัน  5 - 7  คนต่อกลุ่ม  โดยผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลโค  และเนื่องจากเกือบทุกพื้นที่ของตำบลลีเล็ดอุดมสมบูรณ์ไปด้วยหญ้าขนตาม ธรรมชาติ  บริเวณรอบๆ  บ่อกุ้งและทุ่งหญ้าสาธารณะและบางรายก็ปลูกหญ้าเนเปียร์แคระในระหว่างร่อง ปาล์มน้ำมันจึงไม่มีปัญหาเรื่องพืชอาหารสัตว์ขาดแคลน 

                  และกลุ่มได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ด  จำนวน  90,000  บาท  นำมาซื้ออุปกรณ์ผสมเทียมโค  โดยประธานกลุ่มจะทำหน้าที่เป็นผู้บริการผสมเทียมให้แก่สมาชิก  ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพต่อการผสมติดมากขึ้น  นอกจากนี้  ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานเกษตรอำเภอพุนพิน  พร้อมวิทยากรมาสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  ซึ่งต่อมากลุ่มได้ดำเนินการทำปุ๋ยหมักมาโดยตลอด  เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่ม 

                  การจัดทำรายละเอียดทะเบียนสัตว์ประจำกลุ่ม  คณะ กรรมการกลุ่มโดยเฉพาะเลขานุการกลุ่ม  ได้จัดทำทะเบียนสัตว์ประจำกลุ่มในส่วนของแม่พันธุ์และลูกเกิดเป็นปัจจุบันและขอความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบล ลีเล็ดในส่วนของการจัดพิมพ์เอกสาร  และเก็บเข้าแฟ้มสะดวกต่อการจัดหาและสืบค้น 

                  การประชุมกลุ่ม  คณะ กรรมการกลุ่มจะนัดประชุมกลุ่มทุกเดือนๆ  ละครั้ง  ณ  ที่ทำการกลุ่มเลี้ยงโคตำบลลีเล็ด  ทุกๆวันที่  15  ของเดือน  เพื่อชี้แจงการดำเนินงานของกลุ่ม  เช่น  สถานะกองทุนออมทรัพย์ ธคก. สมาชิกจ่ายค่าหุ้นและพิจารณาเงินกู้ให้กับสมาชิกที่ขอกู้  และแจ้งรายงานลูกเกิด  รับทราบปัญหาของโคแม่พันธุ์แต่ละตัวที่ไม่มีลูกเกิด  ไม่เป็นสัด  ผสมไม่ติด  เพื่อแก้ปัญหาต่อไป 

                  การมีส่วนร่วมของสมาชิก  การ ร่วมคิด  ร่วมตัดสินใจและร่วมดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ  ของกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อตำบลลีเล็ด  จะดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการกลุ่ม  โดยผ่านความเห็นชอบของสมาชิกกลุ่มในการตัดสินใจ  ดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ภายในกลุ่ม  เริ่มตั้งแต่การจัดพิธีไถ่ชีวิตและมอบโคให้เกษตรกร   ซึ่งสมาชิกกลุ่มร่วมกับกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน,  องค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ด  จัดพิธีไถ่ชีวิตและมอบโคให้เกษตรกรอย่างยิ่งใหญ่และสมเกียรติ  อีกทั้งการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ  ในกลุ่ม  เช่น  การจัดตั้งกองทุนออมทรัพย์ ธคก.,  การทำปุ๋ยหมักเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ของกลุ่ม, การเลี้ยงโครวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆ  กลุ่มละ  5 - 7  คน,  การร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาโคแม่พันธุ์ตัวที่มีปัญหา,  การหาสมาชิกสำรองไว้เพื่อรับลูกโคตัวที่  1  ของ ธคก.  เพศเมียเมื่ออายุ  2  ปี เหล่านี้เป็นต้น

***************************************

ข้อมูล : กลุ่มโครงการพิเศษ  สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี   
เรียบเรียง : พิจารณา  สามนจิตติ  นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ  กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์