สรุปสถานการณ์การค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ

  • สรุปสถานการณ์การค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ
    ในช่วงครึ่งเดือนแรกของปี พ.ศ. 2549  
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
                     ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงาน ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศโดยเน้นประเทศสำคัญของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศในเอเชีย สรุปว่า ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแต่ชะลอตัวลงจากการบริโภคภาคเอกชนและ การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น  การจ้างงานเริ่มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่วนภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปขยายตัวดีขึ้นจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่ง ออกที่เพิ่มขึ้น ดัชนีภาคอุตสาหกรรมและบริการสูงสุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการว่างงานที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปี อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันแต่การใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดทำให้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลง ด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คาดว่าสิ้นปี 2549 อัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 3.25 เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.75 ต่อปี ในทำนองเดียวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการลงทุนภาคเอกชน การปรับขึ้นราคาน้ำมันและค่าจ้างแรงงานส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทรงตัวเป็นร้อย ละ 0.5 ทั้งนี้อัตราการว่างงานต่ำสุดในรอบ 7 ปี แต่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อในช่วง ครึ่งปีหลัง ทางด้านการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจาก การส่งออกรถยนต์ไปสหรัฐฯ และ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปจีน ส่วนภาวะเศรษฐกิจในเอเชียโดยรวมยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อบางประเทศลดลงเพราะค่าเงินที่สูงขึ้นซึ่งทำให้ธนาคาร กลางของประเทศคงอัตราดอกเบี้ย ในขณะทีประเทศที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากราคาขายปลีกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและ เศรษฐกิจขยายตัวเร่งขึ้น เช่น ไต้หวัน และ เกาหลีใต้เป็นต้น  ธนาคารของประเทศดังกล่าวจึงใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดด้วยการปรับเพิ่ม อัตราดอกเบี้ย         
                 สำหรับภาวะเศรษฐกิจของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยรานงานว่า ในช่วงไตรมาสที่สอง(เม.ย.-มิ.ย.) ของปี 2549 เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก โดยภาคอุปทานด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลง แต่ภาคเกษตร(พืชผล) และบริการขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสแรก สำหรับด้านอุปสงค์นั้น การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวเล็กน้อย การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อน แต่การส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เสถียรภาพของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ ได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล
  • สถานการณ์การผลิตสินค้าปศุสัตว์ภายในประเทศ
                   มีทิศทางที่ดีขึ้นกว่า ปี 2548 เนื่องจากความสามารถในการควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนกในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งออกเนื้อไก่แปรรูปของไทย และทำให้ประเทศไทยได้รายได้จากการค้าสินค้าปศุสัตว์ระหว่างประเทศเพิ่ม ขึ้น    โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงมูลค่านำเข้าและส่งออกสินค้าปศุสัตว์และ ผลิตภัณฑ์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 เทียบกับปี 2548 ตามตารางดังต่อไปนี้ 

    ประเภทสินค้า

    มูลค่านำเข้า

    มูลค่าส่งออก

    2548

    2549

    2548

    2549

    นมและผลิตภัณฑ์

    โคกระบือและผลิตภัณฑ์

    สุกรและผลิตภัณฑ์

    ไก่และผลิตภัณฑ์

    เป็ดและผลิตภัณฑ์

    แพะแกะและผลิตภัณฑ์

    วัตถุดิบอาหารสัตว์

    9,034.16

    10,008.87

    151.01

    367.45

    14.38

    563.79

    8,901.67

    8,909.69

    8,146.19

    171.62

    284.32

    7.12

    636.25

    8,541.50

    5,489.12

    6,617.70

    464.71

    12,343.49

    2,979.74

    85.01

    415.35

    5,025.57

    5,928.10

    614.39

    14,320.83

    3,650.93

    34.90

    1,531.99

    รวมทั้งหมด

    29,041.33

    26,696.96

    28,395.12

    31,096.71

    ดุลการค้า

    -646.21

    4,400.02

    ที่มา กรมศุลกากร
                     จากตัวเลขในตารางข้างต้น สรุปว่า ในครึ่งปีแรกของปี 2549 นี้ ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยดุลการค้าเพิ่มขึ้นกลายเป็นเกินดุลการค้ามูลค่า 4,400 ล้านบาท จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุลการค้ามูลค่า 646.21 ล้านบาท เนื่องจากการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 28,395 ล้านบาท เป็น 31,097 ล้านบาท แต่การนำเข้ามีมูลค่าลดลงจาก 29,041 ล้านบาท เป็น 26,697 ล้านบาท         
                     สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ เป็ดเนื้อและผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์ โคกระบือและผลิตภัณฑ์  ไก่และผลิตภัณฑ์ เป็ดและผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ดังแสดงในรูปกราฟต่อไปนี้

Image

  • สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
                  1. ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์
                       ผลิตภัณฑ์จากไก่เนื้อที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกมากที่สุดคือ เนื้อไก่ปรุงแต่ง(1602.320.000) โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 มูลค่าการส่งออกมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 97.49 ของมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 พบว่า ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 107.388 พันตัน เป็น 120.402 พันตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12  และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 12,105.06 ล้านบาท เป็น 13,961.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในขณะที่ราคาส่งออกโดยเฉลี่ยในช่วงนี้เป็นกิโลกรัมละ 115.96 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงร้อยละ 2.8  โดยมีประเทศญี่ปุ่นและสหราชอณาจักรเป็นตลาดสำคัญลำดับที่หนึ่งและสอง ด้วยปริมาณการส่งออกเป็น 54.386 พันตัน และ 39.329 พันตัน ตามลำดับ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 45 และ ร้อยละ 32 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการส่งออกเนื้อไก่แปรรูปไปประเทศสหราชอณาจักรเพิ่มขึ้นจากช่วง เวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 39 แต่ ปริมาณการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น
                    จากข้อมูลของ Global Agricultural Information Network(GAIN) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดว่าการผลิตเนื้อไก่ของสหราชอณาจักรในปี 2549 เป็น 1,280 พันตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 10,000 ตัน ในขณะที่การบริโภคเนื้อไก่เป็น 1,560 พันตัน เพิ่มขึ้นถึง 20,000 ตัน จึงเป็นโอกาสทางการตลาดของเนื้อไก่ปรุงแต่ง(further) จากประเทศไทย ท่ามกลางการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนกในโรมาเนีย โครเอเชียและตุรกีซึ่งมีชายแดนติดประเทศอิตาลี ส่วนตลาดญี่ปุ่นนั้น GAIN คาดว่าความต้องการบริโภคจาก food service อ่อนตัวลงประกอบกับปริมาณสต็อกเนื้อไก่ไม่ปรุงสุกเพิ่มขึ้นจากก่อนถึงร้อยละ 40 โดยคาดว่าปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ทั้งหมดของญี่ปุ่นในปี 2549 เท่ากับปี 2548 เป็น 1.88 ล้านตัน ทั้งนี้การนำเข้าเนื้อไก่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4 เป็น 720 พันตัน ซึ่งคาดว่าการนำเข้าเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งลดลงร้อยละ 9 เป็น 380 พันตัน และ การนำเข้าเนื้อไก่ปรุงแต่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็น 340 พันตัน ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นคู่ค้าเนื้อไก่ปรุงสุกที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรอง จากประเทศจีน โดยปี 2548 ประเทศญี่ปุนนำเข้าเนื้อไก่ปรุงสุกจากจีนจำนวน 178 พันตัน หรือร้อยละ 54 และนำเข้าจากไทยจำนวน 99 พันตัน หรือร้อยละ 44 ของปริมาณการนำเข้าเนื้อไก่ปรุงสุกทั้งหมด
                    2.เป็ดเนื้อและผลิตภัณฑ์
                       ผลิตภัณฑ์เป็ดเนื้อที่มีการส่งออกมากที่สุดคือ เนื้อเป็ดปรุงแต่ง (1602.390.000) ด้วยสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 99 ของมูลค่าการส่งออกเป็ดเนื้อและผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ปริมาณการส่งออกเนื้อเป็ดปรุงแต่งในช่วงครึ่งปี 2549 เป็น 23.230 พันตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 20 ในขณะที่ราคาเฉลี่ยของเป็ดเนื้อปรุงแต่งที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 เท่านั้น ประเทศที่เป็นตลาดเนื้อเป็ดปรุงแต่งสำคัญคือ ญี่ปุ่น ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 76.89  รองลงมาเป็น สิงคโปร์ และ สหราชอณาจักร ด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 7.30 และ 6.57 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการส่งออกเนื้อเป็ดปรุงแต่งในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 พบว่า ประเทศไทยส่งออกเนื้อเป็ดปรุงแต่งไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เป็น 17.861 พันตัน ส่งออกไปสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 105 เป็น 1.696 พันตัน และ ส่งออกไปสหราชอณาจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 62 เป็น 1.526 พันตัน
                    3.วัตถุดิบอาหารสัตว์
                       วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ส่งออกเพิ่มขึ้นคือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(1005.900.020) และ ปลาป่น(2301.200.106) โดยช่วงครึ่งปี 2549 ไทยส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 77.367 พันตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 136 และส่งออกปลาป่นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 298 เป็น 38.519 พันตัน ประเทศผู้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของไทยคือ เวียดนาม ซึ่งมีปริมาณนำเข้าเป็น 51.75 พันตัน หรือร้อยละ 67 ของปริมาณทั้งหมด รองลงมาคือ ประเทศอินโดนีเซีย ปริมาณนำเข้าเป็น 13.4 พันตัน หรือร้อยละ 17 ของปริมาณทั้งหมด เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่วนประเทศผู้นำเข้าปลาป่นรายสำคัญของไทยคือ จีน ไต้หวัน อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ไทยส่งออกปลาป่นไปยังจีนจำนวน 12.546 พันตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเป็นจำนวนมากถึง 11.860 พันตัน และส่งออกไปไต้หวันจำนวน 8.073 พันตัน เพิ่มขึ้นจำนวน 5.773 พันตัน ส่วนตลาดที่สำคัญรองลงมาคือ อินโดนีเซีย ส่งออกไปจำนวน 5.082 พันตัน เพิ่มขึ้นจำนวน 4.337 พันตัน และอินเดีย ส่งออกไปจำนวน 4.622 พันตัน ทั้งนี้ในช่วงครึ่งปี 2548 ไม่มีการส่งออกปลาป่นไปยังประเทศอินเดีย 
                     จากรายงานของ Global Agricultural Information Network(GAIN) คาดว่าในปี 2549 ปริมาณการผลิตข้าวโพดของเวียดนามเป็น 4,004 พันตัน ราคาซื้อขายข้าวโพดในเวียดนามเมื่อเดือนมีนาคม ประมาณกิโลกรัมละ  0.14 – 0.16 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเทียบกับราคาส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยไปยังเวียดนามพบว่ามีค่าไม่ แตกต่างกัน ทั้งนี้ข้าวโพดร้อยละ 75 – 80 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ของเวียดนาม ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะที่การผลิตข้าวโพดในเวียดนามต้องเผชิญกับข้อ จำกัดด้านพื้นที่การเพาะปลูก สภาพอากาศ  รวมทั้งข้อจำกัดในการเก็บรักษา(storage)  แต่เดิมนั้นประเทศไทยมิใช่แหล่งนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำคัญของเวียดนาม แต่เป็นอาร์เจนตินาและจีน ซึ่งมีสัดส่วนปริมาณร้อยละ 64 และร้อยละ 34 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในปี 2549 ประเทศเวียดนามเริ่มใช้อัตราภาษีนำเข้าพิเศษสำหรับประเทศสมาชิกภายใต้ข้อ ตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งทำให้ประเทศไทยและจีนจะได้เปรียบทางการค้า

  • สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง 
                     1. นมและผลิตภัณฑ์
                        ผลิตภัณฑ์นมที่สำคัญซึ่งมูลค่านำเข้าเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ นมผงขาดมันเนย
    นมผงเต็มมันเนย อาหารปนนมเลี้ยงทารก(ขายปลีก) อาหารปนนมเลี้ยงทารก(ขายส่ง) หางนม (เวย์) หวาน  และไขมันเนย ตามลำดับ

    Image
                     จากรูปกราฟข้างต้น แสดงว่า ผลิตภัณฑ์นมสำคัญที่มีมูลค่านำเข้าลดลงคือ นมผงขาดมันเนยและอาหารปนนมเลี้ยงทารก ในขณะที่นมผงเต็มมันเนย และ ไขมันเนย มูลค่านำเข้าไม่แตกต่างจากเดิม โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ประเทศไทยนำเข้านมผงขาดมันเนยจำนวน 23,766 ตัน มูลค่า 2,036 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 6 และ ร้อยละ 8  ตามลำดับ เนื่องจากราคาเฉลี่ยลดลงจากกิโลกรัมละ 86.99 บาท เป็นกิโลกรัมละ 85.66 บาท แต่แหล่งนำเข้าสำคัญในปีนี้ เปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญ จากเดิมเคยนำเข้าจากประเทศ นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และ สหราชอณาจักร ตามลำดับ เป็น นำเข้าจาก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเชค เนเธอร์แลนด์ และ สหรัฐอเมริกา ตามลำดับ สาเหตุที่ออสเตรเลียกลายเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญลำดับแรกในช่วงครึ่งปีแรกนี้ น่าจะเกิดจาก การจัดสรรโควตานมผงขาดมันเนยภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย ออสเตรเลีย(TAFTA) ที่ดำเนินการเป็นปีที่สอง  ทั้งนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตนมผงขาด มันเนยในปี 2549 เทียบกับปี 2548 พบว่า การผลิตของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 10,000 ตัน การผลิตของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้น 24,000 ตัน และ การผลิตของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 50,000 ตัน แต่การผลิตนมผงขาดมันเนยของประเทศสหภาพยุโรป(25ประเทศ)ลดลง 34,000 ตัน สำหรับการผลิตนมผงเต็มมันเนยของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นจำนวน 55,000 ตัน แต่การผลิตของออสเตรเลียลดลง 9,000 ตัน และ การผลิตของสหภาพยุโรปไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
                      2. โคกระบือและ ผลิตภัณฑ์
                          ผลิตภัณฑ์จากโคกระบือที่มีสัดส่วนมูลค่านำเข้ามากกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ หนังโคกระบือ สภาพแห้ง ฟอกแบบอื่น(4104.490.000) สัดส่วนร้อยละ 26.35 ชิ้นส่วนหนังโคกระบือดิบ(4101.900.004) สัดส่วนร้อยละ 13.68 หนังดิบของโคทั้งตัว นน.เกิน 16 กก.(4101.500.109) สัดส่วนร้อยละ 12.15 หนังโคกระบือสภาพแห้งฟอกแบบฟลูเกรน(4104.410.000) สัดส่วนร้อยละ 10.99 และหนังโคกระบือทั้งตัวฟอกแบบอื่นแล้วตกแต่ง(4107.190.000) สัดส่วนร้อยละ 10.83 โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ มูลค่าการนำเข้าโคกระบือและผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 18.61 เหลือ 8,146.19 ล้านบาท เนื่องจากนำเข้าผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ลดลง ตามรูปกราฟต่อไปนี้

     Image
    • มูลค่านำเข้าลดลงทุกชนิดยกเว้น หนังโกระบือ แห้ง ฟอกแบบอื่น
    • มูลค่านำเข้าหนังโคกระบือทั้งตัวฟอกแบบอื่นแล้วตกแต่งลดลงมากที่สุดเป็นร้อยละ 36.48 

    Image 
    • ปริมาณนำเข้าลดลงทุกชนิดยกเว้น หนังโกระบือ แห้ง ฟอกแบบอื่น
    • ปริมาณนำเข้าชิ้นส่วนหนังโคกระบือดิบ ลดลงมากที่สุด เป็นร้อยละ 25.51

                      3.ไก่และผลิตภัณฑ์
                         ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 ประเทศไทยนำเข้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ลดลง ร้อยละ 22.62 เหลือมูลค่า 284.32 ล้านบาทโดยไม่นำเข้าพันธุ์ไก่เนื้อ น้ำหนักไม่เกิน 185 กรัม สำหรับทำพันธุ์ (0105.111.008) จากเดิมที่เคยนำเข้าเป็นจำนวน 328,158 ตัว มูลค่านำเข้า 70.40 ล้านบาท และนำเข้าไข่ไก่ฟัก(0407.001.200) ลดลงจาก 545,253 ฟอง มูลค่า 18.99 ล้านบาท เหลือ 6,000 ฟอง มูลค่า 2.52 ล้านบาท 
                      4. เป็ดและผลิตภัณฑ์
                         ในทำนองเดียวกับไก่เนื้อ กล่าวคือ ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มูลค่านำเข้าเป็ดและผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 50.47 เหลือมูลค่า 7.12 ล้านบาท โดยไม่มีการนำเข้าพันธุ์เป็ดที่น้ำหนักไม่เกิน 185 กรัมสำหรับทำพันธุ์(0105.191.010) จากเดิมเคยนำเข้าจำนวน 473 ตัว มูลค่า 7.68 ล้านบาท  และไม่นำเข้าไข่เป็ดฟัก(0407.001.004) จากเดิมเคยนำเข้าจำนวน 7,100 ฟอง มูลค่า 0.75 ล้านบาท5. วัตถุดิบอาหารสัตว์มูลค่านำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญทั้งสามชนิดคือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง และ ปลาป่น ลดลงร้อยละ 4.05 เหลือมูลค่า 8,541.50 ล้านบาท ซึ่งลดลงไม่มากนัก โดยมูลค่านำเข้ากากถั่วเหลืองลดลงร้อยละ 5.91 เหลือ 8,258.23 ล้านบาท แต่ปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.77 เนื่องจากราคานำเข้าเฉลี่ยลดลงจากกิโลกรัมละ 9.98 บาท เหลือ 9.05 บาท
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง
                  1. ธนาคารแห่งประเทศไทย. ข่าวธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 29/2549.(http://www.bot.or.th/)
                  2. ธนาคารแห่งประเทศไทย. ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ .(http://www.bot.or.th/)
                  3. กรมศุลกากร.สถิติการนำเข้าและส่งออก.(http://www.customs.go.th/)
                  4.USDA Foreign Agricultural Service.GAIN Report Number : JA600
                  5.Japan Poultry and Products Broiler Semiannual 2006.5.USDA Foreign Agricultural Service. GAIN Report Number : VM601
                  6. Vietnam Grain and feed annual 20066. USDA Foreign Agricultural Service.GAIN Report Number : E36015.EU-25 Poultry and Products Semi-annual 2006.
                  7. USDA Foreign Agricultural Service.Dairy production and Trade Development, 20 July 2006
  • โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์  สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี  กรมปศุสัตว์ เริ่มเผยแพร่เมื่อ 20 กันยาน 2006