สถานการณ์การผลิตการตลาดนมและผลิตภัณฑ์ของไทย

สรุปสถานการณ์การผลิตการตลาดนมและผลิตภัณฑ์ของไทย
(ช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม)

Image

กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจปศุสัตว์
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์
กรมปศุสัตว์

  • ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบ
                   กรมปศุสัตว์เก็บข้อมูลการรวบรวมน้ำนมดิบจากสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมจำนวน 96 แห่งและศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบของภาคเอกชนจำนวน 62 แห่ง พบว่า ปริมาณน้ำนมดิบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 รวมทั้งหมด 1,985.917 ตันต่อวัน เป็นของสหกรณ์ฯ ร้อยละ 71 และ เป็นของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบภาคเอกชนร้อยละ 29 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด กระจายไปยังแหล่งแปรรูปน้ำนมดิบสองแห่ง ได้แก่ ผู้ประกอบการรายใหญ่ 16 ราย จำนวน 1,588.167 ตันต่อวัน(ร้อยละ 80 ) และ ผู้ประกอบการนมพาสเจอร์ไรส์ 397.750 ตันต่อวัน(ร้อยละ 20 ) เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการผลิตน้ำนมดิบในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 พบว่า ปริมาณการผลิตในปี 2549 ลดลงจากปี 2548 ที่เคยมีปริมาณการผลิตเป็นวันละ2,077.02 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4
  • ภาวะราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้
                สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรรายงานภาวะราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้โดยเฉลี่ย ทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน เป็นกิโลกรัมละ 11.17 บาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2 โดยราคาฯ รายเดือนลดลงจากปีก่อนตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา และเริ่มเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนนี้ สาเหตุที่ทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ ลดลง น่าจะเกิดจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่ม ขึ้น ในขณะที่ราคาหน้าโรงงานถูกตรึงไว้ที่กิโลกรัมละ 12.50 บาท ทำให้เกษตรกรอาจต้องแบกรับราคาค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเกษตรกรบางรายยังกล่าวว่า ต้นทุนค่าอาหารเพิ่มขึ้นทำให้การให้อาหารแม่โคนมไม่เต็มที่ จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำนมดิบและราคาน้ำนมดิบที่ขายได้ต่ำลง ทั้งนี้ในเดือนกันยายนราคาน้ำนมดิบเริ่มกระเตื้องขึ้นตามภาวะความต้องการของ ตลาดผลิตภัณฑ์นมที่ขยายเพิ่มขึ้น รายละเอียดการเคลื่อนไหวราคาฯ รายเดือนแสดงดังรูปกราฟต่อไปนี้

    Image
  • ภาวะราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์นมโดยเฉลี่ย
                 สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานภาวะราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์นมในตลาดกรุงเทพฯ ประกอบด้วย นมสด นมข้นหวาน นมผง นมเปรี้ยว  และเนยแข็ง พบว่า ราคาเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน ปี พ.ศ. 2549 ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนทุกรายการ ยกเว้นราคาเนยแข็งภายในประเทศที่ลดลงถึงร้อยละ 26.73 ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์นมที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ นมเปรี้ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15 รองลงมาเป็นราคานมข้นหวานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86 ดังแสดงในรูปกราฟข้างล่างนี้
                  สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคานมเปรี้ยวเพิ่มขึ้นคือค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น และ ความต้องการของตลาดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ของนิวซีแลนด์คือ fontera ซึ่งเดิมจำหน่ายเพียงนมผงสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น ได้จ้างบริษัทดัชมิลค์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการไทยผลิตนมเปรี้ยวชนิดพร้อมดื่ม ภายใต้แบรนด์เดิมคือ Anlene

    Image

ภาวะการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์นมของไทย
              กรมศุลกากรรายงานข้อมูลการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์นมของไทย พบว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2549 นี้ ประเทศไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์นมปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.61 แต่ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 20.56 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
              ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดเป็น 141,360 ตัน มูลค่า 11,698 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ฯนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ นมผงขาดมันเนย หางนม(เวย์)หวาน นมผงเต็มมันเนย อาหารปนนมเลี้ยงทารกชนิด
ขายส่ง  และชนิดขายปลีก ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี ก่อน ยกเว้นปริมาณการนำเข้าหางนม(เวย์)หวานที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.76 ตามความต้องการใช้ภายในประเทศ รายละเอียดแสดงดังรูปกราฟต่อไปนี้ 

Image

              สำหรับปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดเป็น 150,203 ตัน มูลค่า 6,378 ตัน โดยผลิตภัณฑ์นมส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ นมข้นหวาน(สูตรแปลงไขมัน) นมข้นจืด นมข้นหวาน(สูตรเดิม) และ นมและครีมไขมัน
 1 – 6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งส่งออกได้ลดลงทุกชนิด โดยปริมาณการส่งออกนมข้นหวานสูตรแปลงไขมันลดลงเพียงร้อยละ 3.33 เท่านั้น ในขณะที่ปริมาณการส่งออกนมข้นหวานสูตรเดิมลดลงถึงร้อยละ 83.31 แต่การส่งออกนมและครีมไขมัน 1 – 6 เปอร์เซ็นต์ลดลงเพียงร้อยละ 0.9 เท่านั้น  รายละเอียดแสดงดังรูปกราฟต่อไปนี้

Image
             3.1 ภาวะราคานำเข้า(c.i.f.) และราคาส่งออก(f.o.b.) โดยเฉลี่ย
             ราคานำเข้า (c.i.f.) ซึ่ง เป็นราคาที่ยังไม่รวมอัตราภาษีนำเข้า โดยเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2549 นี้ พบว่า ผลิตภัณฑ์นมที่มีราคานำเข้าเฉลี่ยลดลงได้แก่ นมผงขาดมันเนยและนมผงเต็มมันเนย ลดลงร้อยละ 4.74 และ 0.52 ตามลำดับ ในขณะที่ราคานำเข้าฯ หางนม(เวย์)หวาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.77 ส่วนราคานำเข้าฯ อาหารปนนมเลี้ยงทารกชนิดขายปลีกและขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.77 และ ร้อยละ 3.49 ตามลำดับ
             ราคาส่งออก(f.o.b.) ซึ่ง ไม่ค่าส่งสินค้าลงเรือ เฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกัน ของผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มขึ้นได้แก่ นมข้นหวาน(สูตรเดิม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.10 และ ราคาส่งออกฯ นมข้นหวานสูตรแปลงไขมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.02 ส่วนราคาส่งออกฯ นมและครีมไขมัน 1 – 6 เปอร์เซ็นต์และนมข้นจืดลดลงร้อยละ 1.70 ตามลำดับ
             ปัจจัยที่ทำให้ราคานำเข้าลดลงคืออัตราแลก เปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น ส่วนปัจจัยที่ทำให้ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นเกิดจากต้นทุนการผลิตภายในประเทศที่ เพิ่มขึ้นตามค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้
             3.2 การนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายใต้มาตรการปกป้องพิเศษ(Special Safeguard)
             กรมศุลกากรรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2549  วันที่ 6 ตุลาคม 2549 การนำเข้าผลิตภัณฑ์นมภายใต้มาตรการปกป้องพิเศษ จากประเทศออสเตรเลียนั้น มีผลิตภัณฑ์นมจำนวน 2 ชนิดที่นำเข้าเกินกว่าที่กำหนดไว้(trigger volume) คือ เนยแข็งชนิดผง(0406200) กำหนดไว้ 52.50 ตัน แต่นำเข้าแล้ว 108.28 ตัน และเนยแข็งชนิดอื่น ๆ กำหนดไว้ 378 ตัน นำเข้าแล้ว 395.93 ตัน ในขณะที่ชนิดผลิตภัณฑ์นมที่นำเข้าจากนิวซีแลนด์เกินกว่าที่กำหนดไว้มีจำนวน มากกว่า ได้แก่ นมและครีมเข้มข้นไม่เติมน้ำตาลหรือสารหวาน(0402910) กำหนดไว้ 64.07 ตัน นำเข้าแล้ว 94.19 ตัน , เนยกำหนดไว้ 158.81 ตัน นำเข้าแล้ว 290.35 ตัน และเนยแข็งอื่น ๆ กำหนดไว้ 148.13 ตัน นำเข้าแล้ว 318.18 ตัน ซึ่งการนำเข้าเนยแข็งจากทั้งสองประเทศในปริมาณเพิ่มขึ้นดังกล่าว น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาขายปลีกเนยแข็งในประเทศลดลงถึงร้อยละ 26.73

เริ่มเผยแพร่เมื่อ 17 ตุลาคม 2006