อุตสาหกรรมโคเนื้อของอาร์เจนตินา

             การทำเขตการค้าเสรีของไทยกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์    สินค้าปศุสัตว์ด้านโคเนื้อ  โคนม  เป็นสินค้าที่เกษตรกรไทยให้ความสนใจและคาดว่าจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั้ง สองชนิดนี้ของไทยค่อนข้างมาก  เนื่องจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์  มีศักยภาพการผลิตโคเนื้อและโคนมที่สูง  มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ  เนื่องจากมีการเลี้ยงโดยอาศัยทุ่งหญ้า

             ประเทศที่ไทยยังไม่ได้ทำเขตการค้าเสรีด้วย  แต่เป็นประเทศที่น่าจับตามองอีกประเทศหนึ่ง  โดยเฉพาะ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโคเนื้อ  นั่นคือ  อาร์เจนตินา  ประเทศนี้พึ่งจะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ  มีศักยภาพค่อนข้างสูงในการเลี้ยงโคเนื้อ  จากสถิติพบว่าในช่วง  30  ปีที่ผ่านมา  อาร์เจนตินามีจำนวนโคเนื้อค่อนข้างคงที่คือ ประมาณ  55  ล้านตัว  และตั้งเป้าหมายไว้ในปี  2015  จะเพิ่มเป็น  67  ล้านตัว  โดยเพิ่มอัตราลูกเกิดในฝูง ขณะเดียวกันจะเพิ่มน้ำหนักโคที่เข้าโรงฆ่าจาก  384  กิโลกรัมเป็น 426  กิโลกรัม อย่างไรก็ตามนโยบายของภาครัฐในปัจจุบันของอาร์เจนตินา  ยังไม่สนับสนุนการส่งออกเนื้อโค  เนื่องจากยังมีความต้องการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้อยู่ในระดับที่เคย บริโภค  ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอาร์เจนตินาต้องประสบกับภาวะวิกฤต เศรษฐกิจตั้งแต่ปี  2002  ทำให้การบริโภคเนื้อโคลดลงจากที่เคยบริโภคกว่า 70 กิโลกรัม / คน / ปี  เหลือต่ำกว่า  55  กิโลกรัม / คน / ปี  แต่ในปี  2005  การบริโภคได้ขยับสูงขึ้นเป็น  63  กิโลกรัม / คน / ปี 

           การจำกัดการส่งออกของรัฐเพื่อทำให้ราคาขายใน ประเทศอยู่ในระดับต่ำเป็นการกระตุ้นการบริโภคของคนในประเทศ  ขณะเดียวกันจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก  อย่างไรก็ตาม ในตลาดส่งออกของประเทศอาร์เจนตินา  ยังมีความหวังในการส่งออกใหม่  เช่นตลาดสหรัฐอเมริกา  ซึ่งอเมริกาได้ระงับการนำเข้าจากอาร์เจนตินาตั้งแต่ปี   2001 หลังจากพบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย   และเมื่อปลอดจากโรคดังกล่าวแล้วน่าจะส่งออกไปอเมริกาได้ดังเดิม 

ตลาดโคเนื้อ

               Mercado  de  Liniers  คือตลาดโคเนื้อของอาร์เจนตินา  ตลาดนี้มีอายุ  105  ปี  ถือเป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดของอาร์เจนตินา  และเป็นตลาดโคเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของโลก  และกว่า  10 ปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 15–25  ของโคที่เข้าโรงฆ่าในอาร์เจนตินาในแต่ละปีจะมาจากตลาดแห่งนี้    ตลาดนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่  32  เฮคตาร์    ในค่ำคืนของทุกสัปดาห์จะเห็นขบวนรถบรรทุกนำโคเข้าสู่ตลาด  40,000 – 50,000  ตัว  เพื่อรอการประมูล  ประมาณ  90 %  ของโคมาจากฟาร์มในรัศมี  600  กิโลเมตร  และประมาณ  10 %  มาจากฟาร์มที่ไกลกว่า  800  กิโลเมตร  ตลาดแห่งนี้จะมีบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นโบรคเกอร์  55  บริษัท  เพื่อเข้ามาประมูลโค  ก่อนที่โคจะเข้ามาอยู่ในคอกประมูลของตลาด  ซึ่งมีทางเข้า – ออกถึง  450  แห่ง  จะมีสัตวแพทย์มาตรวจเป็นการประเมินโดยภายนอก       และตรวจสอบใบรับรองถึงแหล่งที่มาและใบรับรองจากองค์กรสาธารณะสุขของรัฐบาล  ว่าโคนั้นได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย  ซึ่งจะมีการฉีดป้องกันปีละ  3  ครั้ง  ถ้าโคตัวใดไม่มีใบรับรองดังกล่าวจะไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้าย

              จากโปรแกรมการฉีดวัคซีนโรคปากและเท้า เปื่อย     ทำให้อาร์เจนตินามีความหวังว่าจะเป็นเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยได้ในปี  2549  และถือว่าเป็นประเทศที่ปลอดจากโรควัวบ้า  ( BSE. )  โคตัวผู้จะถูกตอนตั้งแต่อายุ  5 – 6 เดือน  และการใช้ฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตเป็นข้อห้าม

              ตลาดแห่งนี้จะมีคอกกักสัตว์  2,000  คอก  ผู้ที่คุมสัตว์ประจำคอกจะขี่ม้าและเป็นผู้ควบคุมโคให้อยู่ในคอก  ซึ่งในคอกจะมีน้ำสะอาดให้โคกิน  บริษัทโบรคเกอร์แต่ละแห่งจะมีคอกเป็นของตัวเอง  และขายให้กับโรงฆ่าโค  99  แห่ง  ตลาดแห่งนี้เป็นการถือหุ้นโดยบริษัทโบรคเกอร์ซึ่งต่างจากโรงฆ่าที่สามารถ เข้าตลาดนี้โดยไม่ต้องลงทุน

              สายพันธุ์หลักของโคเนื้อคือ  Aberdeen  Angus  ( ดำและแดง )  หรือ  Hereford  โค ที่เข้าตลาดแห่งนี้ส่วนใหญ่จะไม่มีเลขรหัสประจำตัว  การติดรหัสประจำตัวโคจะมีเพียงในฟาร์มที่เลี้ยงเพื่อการส่งออกและสัตว์เหล่า นั้นจะไม่นำเข้ามาขายในตลาดเพราะจะขายโดยตรงไปสู่โรงฆ่า

              เนื้อโคที่ดีที่สุดจะมาจากตอนกลางของ ประเทศ   ซึ่งเป็นที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทั้งดินและน้ำ  ทำให้มีหญ้าและอาหารเพียงพอสำหรับโค  สายพันธุ์ที่เลี้ยงในแหล่งนี้คือพันธุ์  Angus  และ  Hereford  ถ้าขึ้นไปทางตอนเหนือซึ่งมีปริมาณน้ำฝนน้อยและอุณหภูมิสูง  พันธุ์โคลูกผสม  Nelore  และ  Brahman  จะมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกว่า

               ตลาดค้าโคแห่งนี้จะเริ่มประมูลเวลา  07.15  นาฬิกา  โดยมีผู้ชายที่อยู่บนหลังม้าจะเป็นผู้ที่ใช้สีเขียนหมายเลขของผู้ซื้อโคตัว นั้นไว้  โคที่เข้าตลาดแห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นโคที่มีคุณภาพดี  และถ้ามีคุณภาพดีที่สุดจะถูกส่งไปที่โรงฆ่าโดยตรง  การเปิดตลาดแต่ละครั้งจะเสร็จสิ้นการประมูลภายใน  3  ชั่วโมง

               ระบบการซื้อขาย  ผู้ซื้อจะจ่ายเป็นเงินสดให้กับโบรคเกอร์  หรืออาจให้เครดิต  25  วัน  กรณีที่มีความเชื่อถือกัน  ถ้าเป็นการชำระผ่านธนาคารหรือจ่ายเป็นเช็ค  โบรคเกอร์จะต้องชำระภาษี  1 %  แต่ถ้าชำระเป็นเงินสดไม่ต้องเสียภาษี  และผู้ขายจะต้องชำระค่าธรรมเนียมจำนวน  5.5 % ของรายได้ให้กับตลาด

              หลังจากการซื้อขายได้เสร็จสิ้นลง  โคในแต่ละคอกจะถูกต้อนไปชั่งน้ำหนักที่เครื่องชั่งกลาง  เมื่อเสร็จจากการชั่งน้ำหนักจะถูกส่งไปที่โรงฆ่า  ซึ่งโรงฆ่าส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณ  50  กิโลเมตร  ใกล้เมือง  Buenos  Aires 

 

[1] จาก :  Meat  International  2006  Vol.16  No.6 
เรียบเรียงโดย :  นางวิภาวรรณ  ปาณะพล  กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 17 ตุลาคม 2006