สภาวะการผลิตและตลาดผลิตภัณฑ์นมของไทยในปัจจุบัน

  • ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบ 
               สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดรายงานข้อมูลปริมาณน้ำนมดิบโดยเฉลี่ยในเดือน มิถุนายนวันละ 2,642 ตัน เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.83 ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบโดยเฉลี่ยต่อวัน ของปี 2553 มีค่าสูงที่สุดในรอบ 5 ปี จากข้อมูลในรอบปี 2549 – 2552 พบว่า ปริมาณน้ำนมดิบเฉลี่ยต่อวันของปี 2549 – 2551 ไม่แตกต่างกัน แต่ในปี 2552 ปริมาณปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 300 ตัน เนื่องจากเกษตรกรขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการผลิตมีทิศทางปรับลดลงในช่วงกลางปี และปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี

    Image
    ที่มา : กลุ่มวิจัยและพัฒนาระบบฟาร์ม(โคนม) สพท. เป็นผู้รวบรวมข้อมูล

  • ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ
                 สำนัก งานเศรษฐกิจการเกษตรรายงานต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบโดยเฉลี่ยของปี 2553 (ม.ค. – มิ.ย.) เป็นกิโลกรัมละ 13.27 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.46 ตามต้นทุนอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้น
  • ราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้
              
    ใน ปี 2553 เกษตรกรขายน้ำนมดิบหน้าฟาร์มได้ราคาเฉลี่ยในเดือนมกราคม ถึง มิถุนายน กิโลกรัมละ 16.06 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 พบว่า ราคาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.60 ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของต้นทุนการผลิตและราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้ปี 2551-2553 ตามรูปต่อไปนี้

    Image

                การกำหนดราคากลางน้ำนมดิบรับซื้อหน้าโรงงาน คณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดระบบราคา น้ำนมโคและผลิตภัณฑ์ ที่ประกอบด้วยผู้แทนเกษตรกรและผู้ประกอบการ(ผู้ซื้อและผู้ขาย)เพื่อกำหนด ราคาอย่างเหมาะสมเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่ายและผู้บริโภคไม่ได้รับผลกระทบ   โดยการกำหนดราคากลางในปี 2552 ใช้ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกรเป็นฐานในการคิด และบวกกำไรให้เกษตรกรกิโลกรัมละ 2.50 บาท และค่าดำเนินการของศูนย์รวมรวมน้ำนมดิบกิโลกรัมละ 1.0 บาท กำไรกิโลกรัมละ 0.15 บาท

  • ตลาดผลิตภัณฑ์นมของไทย
                น้ำนมดิบของเกษตรกรที่ผลิตได้ในประเทศจะเข้าสู่โรงงานแปรรูปเป็นนมพร้อมดื่ม เกือบทั้งหมด(ประมาณร้อยละ 97 ) เหลือเพียงร้อยละ 3 เข้าสู่โรงงานผลิตเนยแข็ง ทั้งนี้นมพร้อมดื่มแบ่งเป็น สองตลาด ได้แก่ นมโรงเรียน และนมพาณิชย์ ในสัดส่วนเท่ากันโดยประมาณ คือ ร้อยละ 50
              นอกจากนมพร้อมดื่ม ยังมีผลิตภัณฑ์นมชนิดอื่น ได้แก่ นมข้น นมผง นมเปรี้ยว และ เนยแข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องอาศัยการนำเข้านมผงซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตจาก ต่างประเทศ โดยประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 และร้อยละ 37 ตามลำดับ
  • การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์นม
              นมโรงเรียน เป็นผลิตภัณฑ์นมที่รัฐบาลประกาศราคากลาง กำกับดูแลโดยคณะกรรมการนโยบายพัฒนาผลิตภัณฑ์นมแห่งชาติ (Milk Board) ส่วนผลิตภัณฑ์นมอื่น ราคาผันผวนตามต้นทุนการผลิตและการแข่งขันทางการตลาด โดยมีกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแลในการควบคุมราคา เพื่อมิให้ผู้บริโภคเดือดร้อน

    Image

                ส่วนราคาผลิตภัณฑ์นม อ้างจากราคาสินค้าขายปลีก (เฉลี่ยตามลักษณะจำเพาะ) ของ กทม. ปี 2551 – 2553 (เดือนม.ค. – มิ.ย.) พบว่าราคาผลิตภัณฑ์นมทุกชนิดปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะต้นทุนการผลิตทั้งราคานำ เข้านมผงและค่าขนส่งที่ปรับเพิ่มตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง รายละเอียดตามตารางที่ 2

    Image

                สำหรับราคานำเข้าโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์นมสำคัญได้แก่ นมผงขาดมันเนย นมผงเต็มมันเนย และ หางนม(เวย์) ในช่วงปี พ.ศ. 2551 – 2553 เป็นดังนี้

    Image 

                จากข้อมูลในตารางที่ 3 พบว่า ราคานำเข้าฯ ปรับลดลงในปี 2552 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับปริมาณการผลิตของประเทศผู้ผลิตสำคัญ ได้แก่ นิวซีแลนด์และออสเตรเลียปรับเพิ่มขึ้น แต่ในปี 2553 ราคานำเข้าจะปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณการผลิตของออสเตรเลียซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญของไทย มีจำนวนลดลงในปี 2553 

    Image

                การผลิตนมผงขาดมันเนยของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ในปี 2553 คาดว่าปริมาณการผลิตนมผงทั้งสองชนิดของออสเตรเลียจะลดลง ในขณะที่นิวซีแลนด์เปลี่ยนแปลงน้อยมาก รายละเอียดดังนี้

    Image

    ข้อมูลโดย :  กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์  โทร. 02 653 4444 ต่อ 3341
    วันที่เริ่มเผยแพร่ 26 ตุลาคม 2553