พัฒนาการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์นม

พัฒนาการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์นม (dairy production and trade developments)


  • บทสรุป
                 ภาวะตลาดผลิตภัณฑ์นมระหว่างประเทศในปี 2549 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดว่าประเทศ กำลังพัฒนามีการเติบโตมากกว่าร้อยละ 6 และ ประเทศในเอเชียเติบโตเกินร้อยละ 7 ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวแสดงว่าผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นและใช้ จ่ายในการบริโภคสินค้าทั้งประเภทอาหารทั่วไปและอาหารที่มีราคาแพง เพิ่มขึ้น ในประเทศจีนซึ่งคาดว่าอัตราการเติบโตของตลาดอาจจะลดลงเพียงเล็กน้อยแต่ยังคง เติบโตประมาณร้อยละ 10  อย่างไรก็ตาม ต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองต่อภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น 
                  ราคาผลิตภัณฑ์นมที่สำคัญในตลาดโลก ได้แก่ นมผงขาดมันเนย นมผงเต็มมันเนย และ เนยแข็ง ลดลงบ้างเล็กน้อยแต่ยังคงมีราคาแพง ในทางตรงกันข้ามตลาดไขมันเนย(butterfat) ยังคงไม่แน่นอนเนื่องจากปริมาณการขายในสหภาพยุโรปที่มากเกินความต้องการ และจำกัดการแทรกแซงราคาด้วยการกำหนดราคาสนับสนุน(support price)คงที่ ทำให้ราคาลดลงเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันและสหภาพยุโรปต้องเพิ่มการชดเชยการส่งออก(export restitution) เพื่อกระตุ้นการส่งออกไขมันเนยและรักษาความสมดุลของตลาดภายใน ประเทศ         
                  สภาวะการผลิตนมคาดว่าคงที่ โดยปริมาณการผลิตนมในประเทศกลุ่มโอซีเนียเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1  เนื่องจากปริมาณการผลิตนมของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นแต่การผลิตของออสเตรเลียลด ลง สำหรับปริมาณผลิตภัณฑ์นมของสหภาพยุโรปในปี 2549 คาดว่าสูงขึ้น ส่วนการบริโภคเนยแข็งและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ ยังคงเพิ่มขึ้นเพื่อดูดซับปริมาณการขายส่วนเกินและการชดเชยการส่งออกนมผง เต็มมันเนยและเนยแข็งอยู่ในระดับต่ำ         
                  การผลิตนมของประเทศสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาผลิตภัณฑ์นมที่ลดลงคาดว่าจะกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ส่วนการส่งออกในปีงบประมาณนี้คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 1.6 พันล้านเหรียญดอลลาร์ซึ่งเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 ร้อยละ 33 การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ยังคงมีต่อเนื่องซึ่งสร้างความสามารถทางการแข่งขัน ด้านราคาให้แก่ผลิตภัณฑ์นมของสหรัฐฯ ที่ส่งออก และในปีปฏิทิน 2549 นี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์นมของสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
  • การผลิต (Milk Production)
                   คาดว่าการผลิตนมของออสเตรเลียในปี 2549 ลดลงร้อยละ 5 เป็น 10.25 ล้านตัน เนื่องจากพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญกับภาวะอากาศร้อนในฤดู กาลที่ผ่านมา ส่งผลต่อรัฐวิคตอเรียที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ โดยในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน มีรายงานว่าการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.9 และ ร้อยละ 5.8 ตามลำดับ สำนักอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย (Australian Bureau of Meterology) ตั้งข้อสังเกตว่า ภาวะแห้งแล้งของออสเตรเลียที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนนี้เป็นครั้งที่ 5 ในรอบ 107 ปี ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในภาคตะวันตกของออสเตรเลีย และ เป็นครั้งที่สามที่เกิดขึ้นในรัฐวิคตอเรีย ดังนั้น ปริมาณผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดของออสเตรเลียจึงคาดว่าจะลดลงร้อยละ 2 จากปีก่อน นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียที่แข็งขึ้นประกอบกับราคาส่งออกลดลงต่ำกว่าส่วน ต่างกำไรและการรักษาภาวะกดดันทางการเงินของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ทั้งนี้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียคาดว่าในช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลผลิตหน้า อุณหภูมิจะลดลงปกติและมีฝนตก
                   คาดว่าในปี 2549 ปริมาณการผลิตนมของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน เป็น 14.9 ล้านตัน ทั้งนี้ในปีฤดูกาล 2548/49 เป็นปีที่สภาพอากาศเลวร้ายจึงทำให้อัตราการให้น้ำนมของแม่โคลดลง อย่างไรก็ตามขนาดฝูงโคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน ทำให้ปริมาณผลผลิตนมทั้งหมดใกล้เคียงกัน ในฤดูกาลถัดไปซึ่งมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้นมของแม่โค จะทำให้ปริมาณการผลิตเกินกว่า 15 ล้านตัน ในความเป็นจริงแล้ว ขนาดของฝูงโคนมเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 2.7 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และทำให้ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 – 3 
                    การผลิตน้ำนมดิบของสหภาพยุโรป ในปี 2549 คาดว่าเพิ่มขึ้นแต่ยังน้อยกว่าปีก่อนร้อยละ 0.5 เนื่องจากการกำหนดโควตาการผลิตน้ำนมดิบ ภายใต้การปฏิรูปนโยบายเกษตรร่วม(CAP Reform)ปี 2546 ที่กำหนดเพดานการผลิตน้ำนมดิบของประเทศสมาชิก 11 ประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5  อย่างไรก็ตามปริมาณการขายที่เกินความต้องการและราคาผลิตภัณฑ์นมในบางประเทศ ลดลง เช่น สหราชอณาจักร ฝรั่งเศส และ เยอรมันนี ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะนำโควตาเพิ่มเติม(extra quota) มาใช้หาประโยชน์ ทั้งนี้ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้นจะถูกป้อนเข้าโรงงานแปรรูปใน ประเทศสมาชิกใหม่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตเนยแข็งซึ่งคาดว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ในขณะที่การผลิตนมผงขาดมันเนยและเนยสดคาดว่าลดลง และ การผลิตนมผงเต็มมันเนยไม่เปลี่ยนแปลง
                     ในประเทศสหรัฐอเมริกา การผลิตนมคาดว่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายขนาดฝูงโคนมเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 1 และอัตราการให้นมของแม่โคที่เพิ่มขึ้น มีการคาดการณ์ว่าปี 2549 ปริมาณการผลิตนมเพิ่มขึ้น 332,000 ตัน เป็น 82.58 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 3  จากปีก่อน แต่กระนั้นด้วยราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นประกอบกับราคาน้ำนมดิบที่ ต่ำลงคาดว่าจะเป็นอุปสรรคในการขยายปริมาณการผลิต สำหรับการผลิตเนยแข็งของสหรัฐฯคาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากปีก่อน และต่ำกว่าการเติบโตโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีค่าร้อยละ 2.8  เป็นที่น่าประหลาดใจที่ตัวเลขการผลิตเนยสดเป็นรายเดือนเพิ่มขึ้นในปีนี้และ คาดว่าเพิ่มขึ้น 40,000 ตัน เป็น 660,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8 จากปีก่อน เช่นเดียวกับการผลิตนมผงขาดมันเนยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแต่การใช้ในตลาด พาณิชย์จะถูกจำกัดโดย CCC (Credit Commodity Corporation ) เพื่อให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 50,000 ตัน 

      ตารางสรุปการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตน้ำนมดิบและผลิตภัณฑ์ในปี 2549
เปรียบเทียบกับปี 2548

หน่วย : พันตัน

ประเทศ น้ำนมดิบ เนยแข็ง เนยสด นมผงขาดมันเนย นมผงเต็มมันเนย
สหรัฐฯ +2,300 +100 +49 +50 +5
สหภาพยุโรป-25 +273 +80 -25 -34 0
ออสเตรเลีย -179 -34 +1 +10 -9
นิวซีแลนด์ +400 -1 +54 +24 +55

ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา 

การค้าผลิตภัณฑ์นม (Dairy Trade)
               คาดว่าการค้าเนยแข็งในปี 2549 ของประเทศสำคัญจะลดลงร้อยละ 4 จากการคาดการณ์ในเดือนธันวาคม 2548 เนื่องจาก การส่งออกเนยแข็งของสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศโอซีเนียลดลง การผลิตเนยแข็งในประเทศนิวซีแลนด์ไม่เปลี่ยนแปลงและคาดว่าการส่งออกยังคงไม่ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ทั้งนี้ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมการ ผลิตนมผงเต็มมันเนยและไขมันเนย อย่างไรก็ตามการส่งออกเนยแข็งของออสเตรเลียคาดว่าลดลงถึงร้อยละ 14 จากปี 2548 เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำนมดิบภายในประเทศที่ลดลงและผลตอบแทนการส่งออกที่ ลดลง ในสหภาพยุโรป คาดว่าการส่งออกเนยแข็งลดลงร้อยละ 4 เป็น 480,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2 จากปี 2548 เนื่องจากการผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นและการเติบโตของการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
                ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นผู้ส่งออกเนยแข็งที่มีความสำคัญรองลงมา แต่จากราคาในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นทำให้การส่งออกเนยแข็งของสหรัฐฯเพิ่มขึ้น คาดว่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21 จากปี 2548 เป็น 70,000 ตัน โดยการส่งออกไปประเทศเม็กซิโกในปี 2549 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมคาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 57 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนตลาดเนยแข็งที่สำคัญรองลงมา คือ แคนาดา ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้         
                เดิมคาดว่าการนำเข้าเนยแข็งของสหรัฐฯในปี 2549 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แต่ราคาภายในประเทศต่ำลง ดังนั้น จึงปรับการคาดการณ์ใหม่เป็นลดลงร้อยละ 11 เหลือ 187,000 ตัน         
                สำหรับสถานการณ์การค้าไขมันเนยในตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเนื่องจาก สหภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้ส่งออกสำคัญแต่ส่งออกลดลงอย่างมาก เดิมคาดว่าการส่งออกไขมันเนยของสหภาพยุโรปไม่แตกต่างจากปีก่อนแต่ต้องประสบ ปัญหาการส่งออกไปยังรัสเซียลดลงเนื่องจากต้องแข่งขันกับประเทศยูเครน ปัจจุบันการส่งออกไขมันเนยของสหภาพยุโรปคาดว่าจะลดลงร้อยละ 18 ในปีนี้ เป็น 280,000 ตัน เนื่องจากราคาภายในประเทศลดลงและปริมาณสต็อกที่รัฐแทรกแซงไว้เพิ่มขึ้นถึง 50,000 ตันแล้ว ที่ระดับราคาประกันซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดประมาณร้อยละ 92 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไป ราคาแทรกแซงไขมันเนยลดลงร้อยละ 8 เป็น ตันละ 2,595.2 ยูโร และปริมาณสต็อกที่รัฐแทรกแซงจะถูกลดลงเหลือ 40,000 ตัน ในปี 2550           
                คาดว่าการส่งออกเนยในปี 2549 ของนิวซีแลนด์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำนมดิบที่ไหลเข้าสู่การผลิตไขมันเนยเพิ่มขึ้น แต่ยังคงต่ำกว่าการส่งออกที่มีค่าสูงที่สุดในปี 2546-2547          
               คาดว่าการส่งออกนมผงขาดมันเนยในปี 2549 ของประเทศสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เนื่องจากกลุ่มประเทศโอซีเนียส่งออกได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 จากปี 2548 เท่านั้น แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2546 – 2547 ซึ่งการค้านมผงขาดมันเนยมากกว่า 100,000 ตัน คาดว่าตลาดโลกยังคงสมดุลในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2549 และคาดว่าการส่งออกของสหรัฐฯ ยังไม่เปลี่ยนแปลงทั้งนี้การส่งออกนมผงขาดมันเนยของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน         
               สำหรับการส่งออกนมผงเต็มมันเนยของประเทศสำคัญคาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ แต่เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 4 โดยประเทศในกลุ่มโอซีเนียคาดว่าจะส่งออกในปี 2549 ได้ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1 แต่เพิ่มขึ้นจากปี 2547 จำนวน 54,000 ตัน ในขณะที่การส่งออกนมผงเต็มมันเนยของสหภาพยุโรปต่ำกว่าปี 2548  เนื่องจากไม่เพิ่มการสนับสนุนการส่งออก ราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลก         
                ราคาเนยแข็งและนมผงเต็มมันเนยในตลาดโลกลดลงในช่วง 6 -12 เดือน ที่ผ่านมา แต่ยังคงมีเสถียรภาพที่ราคาเกินกว่าตันละ 2,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯที่ตลาดยุโรปเหนือ ซึ่งแสดงว่าในปีนี้ตลาดอยู่ในภาวะสมดุลเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังเติบโต ก่อให้เกิดความต้องการในการบริโภคผลิตภัณฑ์นมและปริมาณการขายไม่มากหรือน้อย กว่าความต้องการ คาดว่าในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2549 ราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกจะลดลงเนื่องจากปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศโอซี เนียเพิ่มเป็นปกติ ประกอบกับสหภาพยุโรปลดการสนับสนุนการส่งออกนมผงและเนยแข็ง         
                 ราคาไขมันเนยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าสหภาพยุโรปพยายามที่จะลดปริมาณการขายส่วนเกินด้วยการสนับสนุนการส่ง ออก ตั้งแต่ต้นปี 2549 เงินสนับสนุนการส่งออกเนยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เป็นตันละ 995 ยูโร หรือ 1,245 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการขายส่วนเกินนี้ยังไม่มั่นคง เนื่องจากปริมาณสต็อกเนยของภาครัฐและเอกชนของสหภาพยุโรปในเดือนกรกฎาคมนี้ ประมาณ 216,000 ตันซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาซึ่งมีค่า 277,000 ตัน นอกจากนั้น สต็อกเนยของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะมีค่าสูงสุดในเดือนสิงหาคมและพฤศจิกายน หลังจากนั้นปริมาณการผลิตจะลดลงจนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิถัดไป ดังนั้น ราคาไขมันเนยในตลาดโลกจะเริ่มมีเสถียรภาพในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง         
                ราคานมผงขาดมันเนยในตลาดโลกได้รับผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาจากนมผงขาด มันเนยของสหรัฐฯ ซึ่งมีราคาส่งออกประมาณตันละ 2,000 บาท ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะของสหภาพยุโรป ในปัจจุบัน ตลาดภายในประเทศสหภาพยุโรปยังคงสมดุลในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2549 และยังไม่มีการแทรกแซงตลาดนมผงขาดมันเนย  แต่ในความเป็นจริงสหภาพยุโรปมีการสนับสนุนการส่งออกเพื่อให้ราคาภายในประเทศ มีเสถียรภาพ ดูเหมือนว่าการส่งออกนมผงขาดมันเนยของสหภาพยุโรปจะถูกจำกัดเพื่ออนาคต ดังนั้น ประเทศสหรัฐฯ จึงกลายเป็นผู้ขายนมผงขาดมันเนยที่สำคัญในตลาดโลก เพราะว่า การสนับสนุนราคาของ Credit Commodity Corporation (U.S. CCC) ที่ตันละ 1,764 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการกำหนดราคานมผงขั้นต่ำในตลาดโลกของปีนี้

 

แปลและเรียบเรียงโดย  กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์

วันที่เผยแพร่ 14 กันยายน 2006