เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

รายงาน/บทวิเคราะห์สถานการณ์สินค้าปศุสัตว์

บทวิเคราะห์สถานภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อของประเทศไทย

บทวิเคราะห์สถานภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อของประเทศไทย

โดยนายสว่าง  อังกุโร ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและพัฒนาโคเนื้อ

ภาวะตลาดสินค้าปศุสัตว์ปี 2551

 

ไก่เนื้อ

                ปี 2551 เป็นที่มีความผันผวนทางการตลาดค่อนข้างสูง กล่าวคือ ในช่วงต้นปี ราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ปรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับสินค้าเกษตร ตัวอื่น ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ต่อมาในช่วงปลายปี ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทำให้กำลังซื้อชะลอตัว และคาดว่าในปี 2552 จะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ สถานการณ์ราคาสินค้าปศุสัตว์สำคัญมี รายละเอียดดังนี้

                1.  ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม ปี 2551 กิโลกรัมละ 37.32 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.19 ในขณะที่ ราคาขายปลีกไก่สดที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปของกรุงเทพมหานครปี 2551 ในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นกิโลกรัมละ 65.03 บาท เปรียบเทียบกับปี 2550 ซึ่งราคาไก่สดกิโลกรัมละ 55.12 บาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.98 โดยการปรับเพิ่มราคาเกิดจากภาวะต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุ ดิบอาหารสัตว์สำหรับการส่งออกเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งของไทยในช่วงเดือน มกราคม – กันยายนของปี 2551 รวมทั้งหมด เป็น 16, 585 ตัน มูลค่า 939 ล้านบาท แสดงรายละเอียดในแต่ละพิกัดดังนี้

                  ตารางปริมาณและมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งปี 2551(ม.ค.-ก.ย.)

Image

                  ส่วนการส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุก กรมศุลกากรรายงานว่า ปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกในช่วงเวลาเดียวกัน รวมทั้งหมดเป็น 264,354 ตัน มูลค่า 35,205 ล้านบาท รายละเอียดแต่ละพิกัด ดังนี้

                  ตารางปริมาณและมูลค่าส่งออกเนื้อไก่แปรรูปปี 2551 (ม.ค. – ก.ย.)

                  Image 

                  ประเทศไทยส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกไปยังประเทศญี่ปุ่น จำนวน 114,929 ตัน มูลค่า 14,647 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของปริมาณส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกทั้งหมด รองลงมาคือสหราชอณาจักร ซึ่งประเทศไทยส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกปริมาณ 78,380 ตัน มูลค่า 10,982 ล้านบาท โครงสร้างตลาดส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกของไทยแสดงด้วยรูปกราฟวงกลมต่อไปนี้

                  Image

                  รูปภาพแสดงสัดส่วนปริมาณส่งออกเนื้อไก่แปรรูปของไทยปี 2551 (ม.ค. – ก.ย.)

                  กระทรวง เกษตรสหรัฐฯ รายงานสถานการณ์ไก่เนื้อของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 โดยกล่าวถึงปริมาณการนำเข้าเนื้อไก่ทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดือน มกราคม – กรกฎาคมเป็น 390,918 ตัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1 โดยปริมาณการนำเข้าเนื้อไก่ปรุงสุกจากประเทศไทย เป็น 92,932 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 ซึ่งมีปริมาณ 81,062 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในขณะที่ปริมาณนำเข้าเนื้อไก่ปรุงสุกจากประเทศจีนลดลงร้อยละ 38 เนื่องจากความต้องการบริโภคในจีนที่เพิ่มขึ้นจากการจัดงานกีฬาโอลิมปิคและ ความต้องการบริโภคทดแทนเนื้อสุกรภายในประเทศ ทำให้ประเทศจีนลดลำดับประเทศผู้ค้าเนื้อไก่ปรุงสุกในญี่ปุ่นจากเดิมอยู่ ลำดับแรก เป็นลำดับที่สองรองจากประเทศไทยในปีนี้

โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008

 

ไก่ไข่

ภาวะตลาดไข่ไก่ ปี 2551 

                ภาวะราคาไข่ไก่ทั้งระดับฟาร์มและระดับตลาดขายปลีกในปีนี้ ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยราคาไข่ไก่สดคละที่เกษตรกรขายได้ปี 2551เฉลี่ยช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม ฟองละ 2.35 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีราคาเฉลี่ยฟองละ 2.06 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ในขณะที่ราคาไข่ไก่ขายปลีกเฉลี่ยสำหรับจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปใน ช่วงเวลาเดียวกัน ฟองละ 3.04 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มีราคาฟองละ 2.62 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16

                ปริมาณการนำเข้าไข่สำหรับฟักในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2551 จำนวนรวมทั้งสิ้น 545.46 พันฟอง มูลค่า 21.78  ล้านบาท เป็นไข่ไก่สำหรับฟัก จำนวน 121.86 พันฟอง มูลค่า 4.41 ล้านบาท  และ ไข่เป็ดสำหรับฟัก ปริมาณ 423.60 พันฟอง มูลค่า 17.37 ล้านบาท รายละเอียดดังนี้

                  ตารางปริมาณและมูลค่าการนำเข้าไข่สัตว์ปีกสำหรับฟักทำพันธุ์ ปี 2551(ม.ค. – ก.ย)

                 Image

                 ปริมาณการส่งออกไข่ไก่สดและไข่สัตว์ปีกทำไว้ไม่ให้เสีย ในช่วงเวลาเดียวกัน เป็น 266,018 พันฟอง มูลค่า 574.61 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นไข่ไก่สด จำนวน 264,570 พันฟอง มูลค่า 556.15 ล้านบาท ซึ่งราคาต่ำกว่าราคาขายปลีกในตลาดกทม. เช่นเดียวกับทุกปีที่ผ่านมา ที่เกิดสภาวะปริมาณผลผลิตไข่มากกว่าความต้องการบริโภค จึงต้องส่งออกเพื่อรักษาตลาดภายในประเทศ ประกอบกับการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง จึงจำหน่ายในราคาที่ต่ำ รายละเอียด ดังนี้

                 Image

โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008

 

สุกร

  • สภาวะตลาดสุกรiปี 2551

               ภาวะราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยของสุกรพันธุ์ผสมมีชีวิต น้ำหนัก 100 กิโลกรัม ขึ้นไป ในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม ปี 2551 กิโลกรัมละ 53.49 บาท หลังจากปรับลดลงในปี 2550 ซึ่งมีค่าต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี เหลือกิโลกรัมละ 37.54 บาท โดยสาเหตุที่ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตในปี 2551 ปรับเพิ่มขึ้น คือ ปริมาณการเลี้ยงสุกรลดลงจากการเลิกเลี้ยงของเกษตรกรบางรายที่ไม่สามารถ แบกรับภาระหนี้สินจากต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นในปี 2550 ในขณะที่ราคาขายมิได้ปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเกิดโรค ท้องร่วงติดต่อในสุกร(Porcine Epidemic Diarrhea : PED)  ที่ ทำให้ลูกสุกรเสียชีวิตในช่วงปลายปี 2550 และส่งผลต่อราคาสุกรมีชีวิตในช่วงต้นปี 2551 ทางด้านราคาขายปลีกเฉลี่ยเนื้อสุกรที่ใช้จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไป ของกรุงเทพฯ ในปี 2551 ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม กิโลกรัมละ 109.40 บาท และ ราคากระดูกซี่โครงหมู กิโลกรัมละ 101.75 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 พบว่า ราคาเนื้อสุกรฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.96

                ปริมาณการส่งออกสุกรมีชีวิตของไทยในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2551 รวมทั้งสิ้น 337,560 ตัว มูลค่า 955.87 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นลูกสุกรพันธุ์ รายละเอียดดังนี้

                 Image

               ปริมาณการส่งออกเนื้อสุกรสดและปรุงสุกในช่วงเวลาเดียวกัน รวมทั้งสิ้น 7,499.76 ตัน มูลค่า 1,475.87 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ส่งออกในพิกัดเนื้อสุกปรุงสุกแบบอื่น และบรรจุภาชนะที่มิใช่กระป๋อง จำนวน 3,399.60 ตัน มูลค่า 1,475.87 ล้านบาท รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้              

Image

โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008

โคเนื้อ

  • สภาวะตลาดโคเนื้อปี 2551

              ราคาโคเนื้อขนาดกลาง (นน.350-450 กก.) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมกราคมถึง ตุลาคม พ.ศ. 2551 ตัวละ 13,255 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ราคาขายโคมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ ปรับลดลง จากตัวละ 13,255 บาท หรือลดลงร้อยละ 8 สำหรับราคาขายปลีกเฉลี่ยเนื้อโคที่ใช้จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไป ของกรุงเทพฯ ในปี 2551 ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม กิโลกรัมละ 140.89 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งราคากิโลกรัมละ 140.89 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.61 ในขณะที่ราคาขายปลีกเนื้อเค็มฯ ในช่วงเวลาเดียวกันกิโลกรัมละ 190.52 บาท ซึ่งลดลงจากกิโลกรัมละ 181.63 บาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.89

               ใน ปี2551 (ม.ค.-พ.ย.) ประเทศไทยนำเข้าเนื้อโคและส่วนอื่นที่บริโภคได้แช่เย็นและแช่แข็งจากประเทศ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดมาตรการปกป้องพิเศษ(Special Safeguard) รายละเอียดการนำเข้าเนื้อโคจากประเทศออสเตรเลีย ดังนี้

                Image

                จาก ข้อมูลข้างต้น พบว่าปริมาณนำเข้าเครื่องในโคกระบือมากกว่าโควตาที่กำหนดไว้ถึงห้าเท่า ส่วนปริมาณนำเข้าเนื้อโคกระบือเกินกว่าโควตาที่กำหนดไว้ร้อยละ 2.5  ในขณะที่การนำเข้าจากนิวซีแลนด์ พบว่า การนำเข้าเครื่องในเกินกว่าที่กำหนดโควตาไว้ร้อยละ 97.50 แต่ปริมาณนำเข้าเนื้อโคกระบือยังคงต่ำกว่าที่ผูกพันไว้กับ รายละเอียดการนำเข้าจากนิวซีแลนด์มีดังนี้

               

Image

โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008

โคนม

  • สภาวะตลาดโคนมปี 2551

                ในเดือนกันยายน ปี 2551 โรงงานผู้ผลิตนมพร้อมดื่มปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงานจากกิโลกรัมละ 14.50 บาท เป็นกิโลกรัมละ 18.00 บาท ตามการประกาศปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นมของกระทรวงพาณิชย์ ภายหลัง คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับขึ้นราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงานในวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ในขณะที่ราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้ในเดือนตุลาคม เป็นกิโลกรัมละ 16.15 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่ราคากิโลกรัมละ 15.45 บาท เปรียบเทียบกับปี 2550 พบว่าราคาน้ำนมดิบในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.69 ตามภาวะราคาต้นทุนการผลิตและการปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงาน การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำนมดิบส่งผลให้ต้นทุนการผลิตนมพร้อมดื่มเพิ่มขึ้น ดังนั้น ราคานมสดที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปของกรุงเทพมหานคร ปี 2551 ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม  จึงปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 6.9 โดยเพิ่มขึ้นจากลิตรละ 47.52 บาท เป็นลิตรละ  50.80 บาท เช่นเดียวกับเนยแข็งที่ใช้น้ำนมดิบเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็น 89.36 บาทต่อห่อ(ขนาด 200- 250กรัม) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.84 ทั้งนี้ปริมาณเนยแข็งที่บริโภคภายในประเทศต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ตามรสนิยมการบริโภคดังนั้น จากภาวะราคาเนยแข็งในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น จึงส่งผลต่อภาวะราคาเนยแข็งภายในประเทศ

               ใน ปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) ประเทศไทยยังคงขาดดุลการค้าผลิตภัณฑ์นม เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมเป็น 12,160 ล้านบาท แต่ มูลค่าการส่งออกเป็น 3,228 ล้านบาท ทั้งนี้ประเภทผลิตภัณฑ์นมที่ทำการค้ามากที่สุด อยู่ในพิกัด 0402 โดยนำเข้านมผง และส่งออกเป็นนมข้นทั้งชนิดจืดและหวาน ดังปรากฏรายละเอียดข้อมูลดังนี้

              Image

โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008

การตลาดและการค้าผลิตภัณฑ์นมครึ่งแรกของปี 2550

Image 

 

  • สรุป  
    ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ตลาดผลิตภัณฑ์นมของโลกเผชิญกับภาวะราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
                    1.  ปริมาณนมผงของสหภาพยุโรปเข้าสู่ตลาดโลกลดลงเนื่องจากการหยุดสนับสนุนส่งออกชั่วคราว
                    2.   ภัยแล้งในออสเตรเลีย ทำให้ปริมาณการผลิตนมลดลง
                    3.   การจำกัดการส่งออกของอาร์เจนตินาและการส่งออกของอินเดียขยายตัวลดลงเนื่องจากความ
    ไม่แน่นอนของผลผลิตแต่ความต้องการบริโภคภายในประเทศสูง
                    4.   ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ Pacific Rim ซึ่งมีจำนวนประชากรระดับกลาง (middle class) ที่นิยมบริโภคอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้น จึงทำให้ความต้องการนำเข้า dairy ingredent เพิ่มขึ้น             
                     5.  ความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์
                     6.  รายได้ของประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น
                  ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเนื่องถึงปี 2008 ได้แก่ ปริมาณการส่งออกของประเทศโอซีเนีย สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคเนยแข็งในสหรัฐฯเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตนมผงขาดมันเนย ทั้งนี้ สหภาพยุโรปยังคงใช้ระบบโควตาการผลิตน้ำนมดิบและหยุดการสนับสนุนส่งออกชั่ว คราว
                  ทางด้านภาวะเศรษฐกิจ พบว่า อัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2007 ชะลอตัวลง เติบโตไม่เกินร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยเศรษฐกิจของประเทศจีนเติบโตร้อยละ 10.2 ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียอื่น ๆ เติบโตประมาณร้อยละ 4.5 ต่อปี
                  อย่างไรก็ตาม ราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้นเป็นเพียงช่วงสั้น เช่น ราคานมผงขาดมันเนยในเดือนกรกฎาคม 2006 ซื้อขายในราคากิโลกรัมละ 2,300 เหรียญดอลลาร์ แต่ในเดือนกรกฎาคม 2007 ราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 5,000 เหรียญดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 115 ในหนึ่งปี ดังนั้นคาดว่าราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นวัฏวักร และความต้องการบริโภคจะลดลงเนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์นมปรับเพิ่มขึ้นและส่งผล ให้ราคาปรับลดลงต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ราคาผลิตภัณฑ์นมในปี 2007 และ 2008 จะลดลง 

Image

  • การผลิตของผลิตภัณฑ์นมปี 2007  Image
                   อุตสาหกรรมนมในออสเตรเลียยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรค เนื่องจากภัยแล้งที่ส่งผลให้ขนาดฝูงโคนมลดลงและมีผลต่อปริมาณการผลิตนม คาดว่าในฤดูกาล 2006/07(ก.ค.-มิ.ย.) ปริมาณการผลิตน้ำนมจะลดลงร้อยละ 6 จากปีก่อนเป็น 9.785 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตามถ้าฤดูกาลหน้ามีปริมาณน้ำฝนเป็นปกติ คาดว่าปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 – 10  ทั้งนี้อุตสาหกรรมนมของออสเตรเลียใช้น้ำชลประทานร้อยละ 60 ของน้ำชลประทานทั้งหมด
                   แม้ว่าอากาศในนิวซีแลนด์จะหนาวเย็นขึ้น แต่คาดว่าในฤดูกาล 2006/07 (เม.ย. – พ.ค.) ปริมาณการผลิตน้ำนมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อนเป็น 15.6 ล้านตัน ตลาดส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในนิวซีแลนด์ได้ รับราคานมเป็น 4.35 เหรียญนิวซีแลนด์ต่อกิโลกรัมของแข็งในน้ำนม หรือเท่ากับ 3.20 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ  และคาดว่าในปีหน้าเกษตรกรจะได้รับราคาน้ำนมดิบมากกว่า 5 เหรียญดอลลาร์นิวซีแลนด์ ถึงแม้ว่าราคาที่ดินจะสูงขึ้น แต่ผลตอบแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นจะจูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมและส่งเสริมให้มี การลงทุนเพิ่มขึ้นใน dairy facilities ดังนั้นคาดว่าในฤดูกาลหน้า ปริมาณการผลิตน้ำนมจะเพิ่มขึ้นเป็น
    16 ล้านตัน
                    ในสหภาพยุโรป คาดว่าปริมาณการผลิตนมในปี 2007 จะเพิ่มขึ้นเป็น 131.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2006 ร้อยละ 1 แต่ปริมาณการผลิตต่ำกว่าในปี 2005 โดยการผลิตนมในสหภาพยุโรปเติบโตเพียงร้อยละ 0.1 และ
    ร้อยละ 0.2 ในช่วง 5 ปี และ 8 ปี ตามลำดับ ในช่วงนี้ การบริโภคเนยแข็งและผลิตภัณฑ์นมสดเพิ่มขึ้น ส่งผลลบต่อการผลิตนมผงขาดมันเนย นมผงเต็มมันเนย และเนยสด

    ตารางที่ 1 การคาดการณ์ปริมาณการผลิตนมของประเทศสำคัญ
    Image 

                    การผลิตนมในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าปริมาณสต็อกหญ้าแห้งจะลดลงและการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตเอธานอ ลเพิ่มขึ้นซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ต้นทุนอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น และปริมาณการผลิตน้ำนมลดลง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในเดือนปัจจุบันนี้ ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นและการส่งออกนมผงขาดมันเนยและ ผลิตภัณฑ์นมขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ราคาน้ำนมดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น
                     คาดว่าในปี 2007 ราคาน้ำนมดิบในสหรัฐฯ จะมีค่า 19.00 – 19.30 เหรียญดอลลาร์ต่อ 100 ปอนด์ หรือ กิโลกรัมละ 0.419 – 0.425 เหรียญดอลลาร์(ประมาณกิโลกรัมละ 14.165 – 14.368 บาท ) และคาดว่าปริมาณการผลิตนมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เป็น 83.6 ล้านตัน และจากราคาผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณการผลิตนมในปี 2008 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เป็น 85.4 ล้านตัน และคาดว่าราคาน้ำนมดิบปี 2008 จะลดลงเป็น 18.20 – 19.20 เหรียญดอลลาร์ต่อ 100 ปอนด์ หรือ กิโลกรัมละ 0.401 – 0.423 เหรียญดอลลาร์

  • เนยแข็ง (Cheese) Image
                     คาดว่าการส่งออกเนยแข็งของออสเตรเลียปี 2006/07 (ก.ค. – มิ.ย.) เป็น 201,000 ตัน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 8 ปี เนื่องจากการผลิตนมต่ำที่สุดซึ่งเกิดจากภัยแล้ง ในขณะที่การส่งออกเนยแข็งของนิวซีแลนด์เป็น 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15 เนื่องจากปริมาณการผลิตนมเพิ่มขึ้น โดยในช่วงปี 2003 – 2006 การส่งออกเนยแข็งของนิวซีแลนด์ลดลงร้อยละ 3 ต่อปี และคาดว่าในปี 2008 ปริมาณการส่งออกเนยแข็งของนิวซีแลนด์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เป็น 307,000 ตัน
                     ปริมาณการผลิตเนยแข็งในสหภาพยุโรปช่วงไตรมาสแรกของปี 2007 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 แต่คาดว่าจะชะลอตัวลงในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากปริมาณน้ำนมดิบลดลง ดังนั้นคาดว่าปี 2007 การผลิตเนยแข็งของสหภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เป็น 6,700,000 ตัน ถึงแม้ว่าการส่งออกเนยแข็งของสหภาพยุโรปไปยังสหรัฐฯ จะลดลงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่การส่งออกไปรัสเซียเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 14 ต่อปี และคาดว่าการส่งออกเนยแข็งของสหภาพยุโรปในปี 2007 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เป็น 550,000 ตัน
                      คณะกรรมการสหภาพยุโรป คาดว่าปริมาณการผลิตเนยแข็งของสหภาพยุโรป(27ประเทศ) ในช่วงปี
    2005 – 2013 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี และจะใช้น้ำนมดิบร้อยละ 85 ของปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลานี้ ดังนั้นปริมาณน้ำนมดิบที่แปรรูปเป็นนมผงขาดมันเนยและเนยสดจึงมีข้อจำกัด
                      รัสเซียกลายเป็นตลาดเนยแข็งที่ใหญ่ที่สุดของโลกในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาแทนประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 9 ต่อปี โดยการนำเข้าเนยแข็งของสหรัฐฯ ในช่วงเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม 2007 ลดลงร้อยละ 6 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2006 ในขณะที่การส่งออกเนยแข็งของสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 โดยตลาดเนยแข็งที่สำคัญคือ ประเทศเม็กซิโก ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ในขณะที่การส่งออกเนยแข็งไปประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 และ ร้อยละ 24 ตามลำดับ

    ตารางที่ 2 แสดงตลาดเนยแข็งที่สำคัญของโลกปี 2003 – 2006
    Image
    หมายเหตุ : รวมปริมาณการส่งออก fresh cheese ด้วย
  • เนยสด (Butter) Image
                     คาดว่าการส่งออกเนยสดของออสเตรเลียในปี 2006/07(ก.ค. – มิ.ย.) ปรับลดลงเป็น 70,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 15 จากปีก่อน การส่งออกเนยสดของออสเตรเลียลดลงในช่วง10ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี เนื่องจากเน้นการส่งออกเนยแข็งและนมผงเต็มมันเนย โดยการส่งออกเนยแข็งและนมผงเต็มมันเนยในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และ ร้อยละ 4.5 ตามลำดับ
                     คาดว่าการส่งออกเนยสดของนิวซีแลนด์ในปี 2006/07(มิ.ย. – พ.ค.) จะเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 ตัน หลังจากเคยลดลงในปี 2005 เนื่องจากต้องเผชิญกับภาวะหนาวเย็นซึ่งทำให้ปริมาณการผลิตน้ำนมลดลงร้อยละ 3
                    ถึงแม้จะคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตเนยสดของสหภาพยุโรปในปี 2007 เท่ากับปี 2006 แต่การส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เป็น 260,000 ตันเนื่องจากราคาในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก ในช่างปี 2003 – 2005 การบริโภคและการส่งออกเนยสดของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณสต็อก(intervention stocks) ลดลง ด้วยเหตุผลดังกล่าว สหภาพยุโรปหยุดการสนับสนุนการส่งออกเป็นการชั่วคราว ในระยะยาว คณะกรรมการสหภาพยุโรปคาดว่าการผลิตและการส่งออกเนยสดจะลดลงเนื่องจากราคา ตลาดและราคาแทรกแซงของเนยสดลดลง และผู้ผลิตปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เป็นชนิดอื่นที่ให้มูลค่าเพิ่มขึ้น
                  รัสเซียเป็นผู้นำเข้าเนย รายใหญ่ที่สุดในโลก และคาดว่าในปี 2007 จะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปี2006
    ร้อยละ 13 เป็น 130,000 ตัน โดยมีสหภาพยุโรปและนิวซีแลนด์เป็นผู้ส่งออกที่สำคัญ 

  • นมผงขาดมันเนย (Nonfat Dry Milk) Image
                   คาดว่าการส่งออกนมผงขาดมันเนยของออสเตรเลียในปี 2007 (ก.ค. – มิ.ย.) จะลดลงร้อยละ 9จากปี2006 เนื่องจากภาวะภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณน้ำนมดิบลดลง ในขณะที่ปริมาณการส่งออกนมผงขาดมันเนยของนิวซีแลนด์ในปี 2007 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากปี 2006 โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การผลิตนมผงขาดมันเนยของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.6 และคาดว่าในปี 2008 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เป็น 335,000 ตัน ดังนั้นการส่งออกนมผงขาดมันเนยของนิวซีแลนด์ในปี 2008 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เป็น 331,000 ตัน

    ตารางที่ 3 การคาดการณ์ปริมาณส่งออกนมผงขาดมันเนยของประเทศสำคัญ ปี 2007                
    Image

    หมายเหตุ : ออสเตรเลีย(กรกฎาคม – มิถุนายน) และ นิวซีแลนด์(มิถุนายน – พฤษภาคม)

                  ปริมาณการผลิตนมผงขาดมันเนยของสหภาพยุโรปในปี 2007 คาดว่าเท่ากับปี 2006 แต่การส่งออกจะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ตัน หลังจากที่ลดลงเกือบร้อยละ 55 ในปี 2006 แต่ปริมาณการส่งออกดังกล่าวยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันสหภาพยุโรปไม่มีสต็อก(intervention stocks) เนื่องจากราคาภายในที่เพิ่มขึ้นและการยกเลิกสนับสนุนการส่งออกชั่วคราว
    รูปที่ 1 ปริมาณการผลิตนมผงขาดมันเนยของสหภาพยุโรป

    Image
    รูปที่ 1 ปริมาณการผลิตนมผงขาดมันเนยของสหภาพยุโรป



                   คาดว่าการส่งออกนมผงขาดมันเนยของสหรัฐฯ ในปี 2007 เป็น 270,000 ตัน ซึ่งต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ในเดือนธันวาคมปี 2006  ถึงแม้ว่าจะคาดการณ์ว่าการผลิตนมในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณนมที่เข้าสู่โรงงานนมผงขาดมันเนยลดลง เนื่องจากน้ำนมที่เพิ่มขึ้นเข้าสู่โรงงานเนยแข็งและหางนม(เวย์)ซึ่งให้ผลตอบ แทนที่สูง โดยปริมาณการส่งออกในช่วงเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม ปี 2007 ลดลงร้อยละ 10 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และปริมาณการส่งออกฯ ของประเทศสำคัญเปลี่ยนแปลงดังข้อมูลในตารางต่อไปนี้

    ตารางที่ 4 การส่งออกนมผงขาดมันเนยของประเทศสำคัญในช่วงเดือนม.ค. – พ.ค. ปี 2006 และ 2007                 
    Image

    ที่มา : GTIS (Global Trade Information System)

     ตารางที่ 5 การส่งออกนมผงขาดมันเนยของสหรัฐฯ ปี 2004 – 2006                                                             ปริมาณ : ตัน

    Image 
  • นมผงเต็มมันเนย (Whole Milk Powder) 
                   คาดว่าการส่งออกนมผงเต็มมันเนยในปี 2007 ของประเทศสำคัญเป็น 1.6 ล้านตัน โดยคาดว่าการส่งออกของออสเตรเลียจะลดลงร้อยละ 10 จากปี 2006  เนื่องจากปริมาณการผลิตที่ลดลง และคาดว่าการส่งออกของนิวซีแลนด์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปีก่อน สำหรับสหภาพยุโรป คาดว่าการส่งออกจะเท่ากับปี 2006 โดยในปีนี้ได้มีการยกเลิกการสนับสนุนการส่งออกและราคานมผงเต็มมันเนยในตลาด โลกเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลลบต่อการซื้อนมผงเต็มมันเนยจากสหภาพยุโรป

    ตารางที่ 6 ตลาดส่งออกนมผงเต็มมันเนยที่สำคัญของโลก ปี 2003 – 2006                                                    หน่วย : ตัน

    Image

    ที่มา : GTIS (Global Trade Information System)

    โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์  สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
    วันที่เผยแพร่  24 สิงหาคม 2007

สถานการณ์การผลิตและการตลาดนม พย.49

สถานการณ์การผลิตการตลาดนมและผลิตภัณฑ์ของไทยพ.ศ. 2549 (รายงานเดือนพฤศจิกายน 2549)

  •  ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบ

                  รูปกราฟนี้ แสดงถึงปริมาณการผลิตน้ำนมดิบทั้งหมดของไทยเป็นรายเดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง ปี 2549 พบว่า ปริมาณการผลิตในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ไม่แตกต่างกันมากนัก เฉลี่ยรายเดือน เดือนละ 60,000- 65,000 ตัน และปริมาณการผลิตน้ำนมดิบมีค่าสูงที่สุดในช่วงต้นปี และ จะลดลงในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม หลังจากนั้นจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีอีกครั้ง

    Image
    ที่มา : กรมปศุสัตว์

                  สำหรับปริมาณการผลิตน้ำนมดิบในปี 2549 ที่รวบรวมโดยสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมจำนวน 96 แห่ง และ ศูนย์เอกชนจำนวน 62 แห่ง  เฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม เป็น 2,093.57 ตันต่อวัน ประกอบด้วย น้ำนมดิบจากสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม 1,440.68 ตันต่อวัน และ น้ำนมดิบจากศูนย์เอกชนจำนวน 652.89 ตันต่อวัน เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 พบว่า ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบทั้งหมดลดลงร้อยละ 2.37 ทั้งนี้น้ำนมดิบที่รวบรวมจากสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมลดลงร้อยละ 6 แต่น้ำนมดิบที่รวบรวมโดยศูนย์เอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7
  • ภาวะราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้

                  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานภาวะราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้โดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ในช่วง11 เดือนของปี 2549 กิโลกรัมละ 11.20 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีพบว่า ลดลงร้อยละ 2 สาเหตุที่ทำให้ราคาฯ ลดลงน่าจะเกิดจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ค่าขนส่ง เพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาหน้าโรงงานถูกตรึงไว้ที่กิโลกรัมละ 12.50 บาท ทำให้เกษตรกรอาจต้องแบกรับราคาค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเกษตรกรบางรายยังกล่าวว่า ต้นทุนค่าอาหารเพิ่มขึ้นทำให้การให้อาหารแม่โคนมไม่เต็มที่ จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำนมดิบและราคาน้ำนมดิบที่ขายได้ต่ำลง ทั้งนี้ในเดือนกันยายนราคาน้ำนมดิบเริ่มกระเตื้องขึ้นตามภาวะความต้องการของ ตลาดผลิตภัณฑ์นมที่ขยายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบลดลง จากการเลิกเลี้ยงโคนมของเกษตรกรบางราย โดยชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมแจ้งว่า มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจำนวน 3,400 ราย หรือร้อยละ 13 ของจำนวนฟาร์มโคนมทั้งหมด ที่เลิกเลี้ยงและขายแม่โคนมเข้าโรงเฉือด ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมแห่งประเทศไทยในฐานะผู้แทน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงานจากกิโลกรัมละ 12.50 บาท เป็น กิโลกรัมละ 14.50 บาท โดยขอให้ปรับราคาเพิ่มขึ้นสองครั้ง แต่ผู้ประกอบการที่ใช้น้ำนมดิบทั้งโรงงานผลิตนมพร้อมดื่มและเนยแข็งไม่ สามารถแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงขอให้ปรับเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 1.25 บาท เป็นกิโลกรัมละ 13.75 บาท ทั้งนี้ต้องแก้ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติที่ห้ามขึ้นราคาสินค้าทั่ว ประเทศ โดยขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกาศเป็นกฎหมาย

                         รายละเอียดการเคลื่อนไหวราคาฯ รายเดือนแสดงดังรูปกราฟต่อไปนี้ โดย ราคาฯ รายเดือนของปี 2549 ต่ำกว่า สองปีก่อน ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของราคาฯ ทั้งสามปีมีความคล้ายกันตรงที่ ราคาฯ ในช่วงปลายปีจะปรับลดลงสำหรับราคาฯ ในปี 2549 นั้น เริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นราคาฯ เริ่มลดลงบ้าง ทำให้ราคาฯ รายเดือนของปี 2549 มีค่าสูงกว่าปี 2548 แต่ยังคงต่ำกว่าราคาฯ ในปี 2547
    Image
    ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • ภาวะราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์นมโดยเฉลี่ย      
         
                       สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานภาวะราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์นมในตลาดกรุงเทพฯ ที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไป ประกอบด้วย นมสด นมข้นหวาน นมผง นมเปรี้ยว  และเนยแข็ง พบว่า ราคาเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2549 ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนทุกรายการ โดยเฉพาะราคานมเปรี้ยวปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 5 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ราคาเนยแข็งภายในประเทศลดลงถึงร้อยละ 21.39 ดังแสดงในรูปกราฟข้างล่างนี้
                     
                      สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคานมเปรี้ยวเพิ่มขึ้นคือค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น และ ความต้องการของตลาดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ของนิวซีแลนด์คือ fontera ซึ่งเดิมจำหน่ายเพียงนมผงสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น ได้จ้างบริษัทดัชมิลค์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการไทยผลิตนมเปรี้ยวชนิดพร้อมดื่ม ภายใต้แบรนด์เดิมคือ Anlene ส่วนสาเหตุที่ทำให้ราคาเนยแข็งภาย ในประเทศลดลง เพราะว่าปริมาณการนำเข้าเนยแข็งที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็นอย่างมาก ซึ่งอาจมีสาเหตุจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นของไทยทำให้ราคานำเข้าสินค้าลดลง
    Image
    ที่มา  :  สำนักดัชนัเสรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์          
  • ภาวะการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์นมของไทย           
                     
                       จากข้อมูลของกรมศุลกากร พบว่า มูลค่าการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์นมของไทยในช่วง 11 เดือนของปี 2549 ลดลง โดยมูลค่านำเข้าฯ ปีนี้เป็น 14,995 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7 และมูลค่าส่งออกฯ ปีนี้เป็น 9,455 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6         

                      ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดในช่วง 11 เดือนของปีนี้ เป็น 186,238 ตัน มูลค่า 14,995 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ฯนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ นมผงขาดมันเนย หางนม(เวย์)หวาน นมผงเต็มมันเนย อาหารปนนมเลี้ยงทารกชนิดขายส่ง  และชนิดขายปลีก ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี ก่อน ยกเว้นปริมาณการนำเข้าหางนม(เวย์)หวานที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.23 ตามความต้องการใช้ภายในประเทศ รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงปริมาณนำเข้าผลิตภัณฑ์นม แสดงดังรูปกราฟต่อไปนี้

    Image
    ที่มา : กรมศุลกากร

                       สำหรับปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์นมทั้งหมด เป็น 222,108 ตัน มูลค่า 9,455 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์นมส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ นมข้นหวาน(สูตรแปลงไขมัน) นมข้นจืด นมข้นหวาน(สูตรเดิม) และ นมและครีมไขมัน
     1 – 6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวส่งออกได้ลดลงโดยเฉพาะนมข้นหวาน(สูตรเดิม) ที่ส่งออกลดลงถึงร้อยละ 81 แต่นมข้นหวาน(สูตรแปลงไขมัน) ปริมาณการส่งออกลดลงไม่มากไม่ถึงร้อยละ 1   รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงปริมาณส่งออกผลิตภัณฑ์นมสำคัญ แสดงดังรูปกราฟต่อไปนี้
    Image
    ที่มา  : กรมศุลกากร
     
                       3.1 ภาวะราคานำเข้า(c.i.f.) และราคาส่งออก(f.o.b.) โดยเฉลี่ย
                             ราคานำเข้า (c.i.f.) ซึ่ง เป็นราคาที่ยังไม่รวมอัตราภาษีนำเข้า โดยเฉลี่ยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2549 นี้ พบว่า ผลิตภัณฑ์นมที่มีราคานำเข้าเฉลี่ยลดลงได้แก่ นมผงขาดมันเนย ลดลงร้อยละ 8.57 ในขณะที่ราคานำเข้าฯ หางนม(เวย์)หวาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.80 ส่วนราคานำเข้าฯ อาหารปนนมเลี้ยงทารกชนิดขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16 ในขณะที่ราคานำเข้านมผงเต็มมันเนยและอาหารปนนมเลี้ยงทารก(ขายส่ง) ราคาลดลง และ เพิ่มขึ้น ไม่ถึงร้อยละ 1 ตามลำดับ
                            ราคาส่งออก (f.o.b.) ซึ่ง ไม่รวมค่าส่งสินค้าลงเรือ เฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่าผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มขึ้นได้แก่ นมข้นหวาน(สูตรเดิม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.40 แต่ราคาส่งออกนมข้นหวานสูตรแปลงไขมันลดลงเพียงร้อยละ 0.50 เท่านั้น ในขณะที่ราคาส่งออกฯ นมและครีมไขมัน 1 – 6 เปอร์เซ็นต์และนมข้นจืดลดลงร้อยละ 2.04 และร้อยละ 3.37 ตามลำดับ
                           ปัจจัยที่ทำให้ราคานำเข้าลดลงคือ อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น ส่วนปัจจัยที่ทำให้ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นเกิดจากต้นทุนการผลิตภายในประเทศที่ เพิ่มขึ้นตามค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น 

                       3.2 การนำเข้าผลิตภัณฑ์นมของไทยจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
                             กรมศุลกากรรายงานว่าในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน ปีนี้ ประเทศไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากประเทศออสเตรเลียในปริมาณที่น้อยกว่าการนำ เข้าจากนิวซีแลนด์ โดยนำเข้าจากออสเตรเลียจำนวนทั้งหมด44,098 ตัน และ นำเข้าจากนิวซีแลนด์จำนวน 58,873 ตัน ทั้งนี้ปริมาณและมูลค่านำเข้าจากออสเตรเลียเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อนถึงร้อยละ 22.14 และ 17.16 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์นมที่นำเข้ามากที่สุดสามลำดับแรก นมผงขาดมันเนย หางนม(เวย์)หวาน และ นมผงเต็มมันเนย ด้วยจำนวน 20,058 ตัน 8,252 ตัน และ 3,998 ตัน ตามลำดับ โดยนำเข้านมผงขาดมันเนยและนมผงเต็มมันเนยเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 และ ร้อยละ 68 ตามลำดับ แต่นำเข้าหางนม(เวย์)หวาน ลดลงร้อยละ  10 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
                             สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจาก นิวซีแลนด์นั้น ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าการนำเข้าจากออสเตรเลีย โดยปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 และมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.83 โดยผลิตภัณฑ์นมนำเข้าที่สำคัญสามลำดับแรกคือ นมผงเต็มมันเนย นมผงขาดมันเนย และอาหารปนนมเลี้ยงทารกขายส่ง ด้วยปริมาณ 16,875 ตัน 13,668 ตัน และ 12,341 ตัน ตามลำดับ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า นมผงเต็มมันเนยนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.66 แต่ นำเข้านมผงขาดมันเนยและอาหารปนนมเลี้ยงทารก(ขายส่ง) ลดลงร้อยละ 8.89 และ 11.35 ตามลำดับ 

                       3.3 การนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายใต้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard)
                             กรมศุลกากรรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม   ถึง วันที่ 28 ธันวาคม 2549 ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมภายใต้มาตรการปกป้องพิเศษ จากประเทศออสเตรเลียนั้น มีผลิตภัณฑ์นมจำนวน 2 ชนิดที่นำเข้าเกินกว่าที่กำหนดไว้(trigger volume) คือ เนยแข็งชนิดผง(0406200) กำหนดไว้ 52.50 ตัน แต่นำเข้าแล้ว 108.28 ตัน และเนยแข็งชนิดอื่น ๆ กำหนดไว้ 378 ตัน นำเข้าแล้ว 437.93 ตัน ในขณะที่ชนิดผลิตภัณฑ์นมที่นำเข้าจากนิวซีแลนด์เกินกว่าที่กำหนดไว้ ได้แก่ นมและครีมเข้มข้นไม่เติมน้ำตาลหรือสารหวาน(0402910) กำหนดไว้ 64.07 ตัน นำเข้าแล้ว 94.19 ตัน , เนยกำหนดไว้ 158.81 ตัน นำเข้าแล้ว 330.41 ตัน และเนยแข็งอื่น ๆ กำหนดไว้ 148.13 ตัน นำเข้าแล้ว 318.18 ตัน ซึ่งการนำเข้าเนยแข็งจากทั้งสองประเทศในปริมาณเพิ่มขึ้นดังกล่าว น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาขายปลีกเนยแข็งในประเทศลดลงถึงร้อยละ 26.73

    โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจปศุสัตว์  สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
    วันที่เผยแพร่ 11 มกราคม 2007

สรุปสถานการณ์การค้าสินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศในช่วงสามไตรมาสของปี พ.ศ. 2549

  • ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2549  ดุลการค้าสินค้าปศุสัตว์ของไทยอยู่ในภาวะเกินดุลการค้ามูลค่า 5,726.64 ล้านบาท แตกต่างจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุลการค้า เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทยในช่วงนี้มีมูลค่าสูงกว่า มูลค่านำเข้า ตามความสามารถของการส่งออกเนื้อไก่แปรรูปที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกไก่และผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าถึงร้อยละ 48 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ทั้งหมดปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็น 22,779.12 ล้านบาท  รายละเอียดตามตารางดังต่อไปนี้
    Image

               จากข้อมูลที่ปรากฏในตารางข้างต้น สินค้าปศุสัตว์นำเข้าที่สำคัญคือ วัตถุดิบอาหารสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์ และ โคกระบือและผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ และสินค้าปศุสัตว์ส่งออกที่สำคัญคือ ไก่และผลิตภัณฑ์ โคกระบือและผลิตภัณฑ์ และ นมและผลิตภัณฑ์ อาจกล่าวได้ว่าการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทยต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบ จากต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกเนื้อไก่ปรุงแต่งที่มีมูลค่าสูงที่สุดต้องใช้วัตถุดิบ อาหารสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากปริมาณในประเทศไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้ประโยชน์เนื่องจากมูลค่าการส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า

               สินค้าปศุสัตว์นำเข้าที่มีมูลค่ามาก ที่สุด 5 ลำดับแรก คือ กากถั่วเหลือง นมผงขาดมันเนย หนังโคกระบือสภาพแห้งฟอกแบบอื่น นมผงเต็มมันเนย หนังโคกระบือทั้งตัวฟอกแบบอื่น และตกแต่ง โดยในช่วงสามไตรมาสของปีนี้ ปริมาณการนำเข้ากากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 แต่ปริมาณการนำเข้านมผงขาดมันเนยและนมผงเต็มมันเนย ลดลงร้อยละ 8 เท่ากัน สำหรับสินค้าปศุสัตว์ส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด 5 ลำดับแรก คือ เนื้อไก่ปรุงแต่ง เนื้อเป็ดปรุงแต่ง นมข้นหวานสูตรแปลงไขมัน หนังโคกระบือสภาพแห้งฟอกแบบอื่น  และ นมข้นจืด  เนื่องจากภาวะการผลิตสัตว์ปีกเริ่มเป็นปกติภายหลังผ่านการเกิดโรคไข้หวัดนก ระบาดในไทยแต่ยังอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวัง ทำให้ปริมาณการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น และยังคงเป็นการส่งออกเนื้อที่แปรรูป ทั้งนี้ปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ปรุงเต่งและเนื้อเป็ดปรุงเต่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และเพิ่มขึ้นร้อยละ ตามลำดับ 14 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการส่งออกนมข้นหวาน(สูตรแปลงไขมัน) และ นมข้นจืด ลดลงร้อยละ 1.5 และ ลดลงร้อยละ 12  ตามลำดับ สำหรับหนังโคกระบือสภาพแห้งฟอกแบบอื่น เป็นการ Re-Export รายละเอียดตามตารางต่อไปนี้

    Image
  • ปัจจัยที่มีผลต่อการค้าสินค้าปศุสัตว์ระหว่างประเทศ     
               
                  1.  ความสามารถในการควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนก ถึงแม้ว่าในปี 2549 จะมีประกาศเกิดโรคไข้หวัดนกรอบที่ 4 (24 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม ) แต่จุดที่เกิดโรคมีเพียง 2 จังหวัด 2 อำเภอ และ 2 ตำบลเท่านั้น และ ปัจจุบัน ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ยังไม่มีรายงานพบโรคไข้หวัดนกเป็นเวลา 110 วัน เนื่องจากมีการใช้นโยบายด้านบริหารจัดการที่เน้นรูปแบบบูรณาการ ป้องกันโรคแบบเชิงรุก รวมทั้งนโยบายการเฝ้าระวังและควบคุมโรคด้วยวิธีการ X-Ray ทุกพื้นที่ทั่วประเทศปีละ สองครั้ง(เดือนกุมภาพันธุ์และกรกฎาคม) นำระบบ GIS มา ใช้วิเคราะห์สาเหตุ นอกจากนั้นยังมีนโยบายด้านประชาสัมพันธ์ ด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนา ด้านการปรับระบบการเลี้ยงสัตว์ปีก(ไก่พื้นเมือง/ไก่ชน ,เป็ดไล่ทุ่ง) ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ และในปี 2549 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 425.272 ล้านบาทเพื่อใช้ในการควบคุมโรคไข้หวัดนก

                   2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ อัตรา แลกเปลี่ยนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ย 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ เป็น 38.38 บาทต่อเหรียญดอลลาร์ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีค่า 40.02 เหรียญดอลลาร์ หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 4.08 จากปีก่อน ซึ่งค่าเงินที่แข็งขึ้นดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคในการขยายตลาดส่งออกสินค้าปศุ สัตว์ของไทยในปีนี้และปีหน้าถ้าค่าเงินยังคงแข็งอยู่เช่นนี้  

                   3. ความต้องการของประเทศผู้นำเข้า ภาวะ เศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสินค้าปศุสัตว์ของไทยยังคงมีอัตราเติบโตในปีนี้ โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นร้อยละ 2.6 ของประเทศญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 2.5 และของอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะชะลอ ตัวลง ทั้งนี้ เศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวร้อยละ 10.2 ส่วนภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซียและฟิลิปปินส์เติบโตร้อยละ 5.9 และ 5.5  ตามลำดับ ดังนั้นยังคงมีความต้องการของประเทศผู้นำเข้าเพิ่มขึ้น 

                   4. ภาวะการผลิตและการตลาดสินค้าปศุสัตว์ภายในประเทศ
                               
                              4.1 การผลิต
                                         เนื้อสัตว์
                                       สำนักงานเศรษฐกิจการ เกษตรคาดว่าในปี 2549 ปริมาณการผลิตสุกรทั้งหมดของไทยเป็น 19.020 ล้านตัว คิดเป็นเนื้อสุกร 1.427 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่มีปริมาณการผลิต 1.372 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 สำหรับการผลิตเนื้อไก่ คาดว่าปริมาณการผลิตไก่เนื้อเป็น 985.068 ล้านตัวหรือ คิดเป็นเนื้อไก่ 1.136 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 20 โดยปริมาณการผลิตขึ้นอยู่กับการขยายตสาดส่งออก ทั้งนี้ปี 2549 กำหนดเป้าหมายการส่งออกเนื้อไก่ 3.5 แสนตัน
                                       น้ำนมดิบ
                                       กรมปศุ สัตว์รายงานข้อมูลปริมาณการผลิตน้ำนมดิบเฉลี่ยในปี 2549 เป็นวันละ 1,866 ตัน ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีปริมาณการผลิต 2,119 ตัน ปัจจัยนี้จะเป็นการสร้างความต้องการนำเข้านมผงจากต่างประเทศเพื่อใช้ผลิต ผลิตภัณฑ์นมภายในประเทศ ยกเว้นผลิตภัณฑ์นมบางตัวที่ต้องใช้น้ำนมดิบเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ โยเกิร์ต และ เนยแข็ง ทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน
                                      ไข่           
                                      คณะกรรมการนโยบายไข่ไก่แห่งชาติประมาณการปริมาณการผลิตไข่ไก่ปี 2549 เป็น 10,072 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่มีปริมาณการผลิต 9,865 ล้านฟอง ซึ่งส่งผลต่อระดับราคาไข่ไก่ในปี 2549 ให้มีความผันผวน และมีทิศทางปรับลดลง ผู้ประกอบการต้องแก้ปัญหาด้วยการส่งออกไข่สดให้เพิ่มขึ้นเพื่อลดปริมาณการ ผลิตภายในประเทศ และ เร่งส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ เพื่อดึงราคาขายไข่ไก่ภายในประเทศไม่ให้ลดลง           

                           4.2  ต้นทุนการผลิต
                                 อาหารสัตว์เป็นต้นทุนการผลิต ที่สำคัญ โดยในปี 2549 ราคาขายส่ง(เงินสด)ของอาหารสัตว์สำเร็จรูปในตลาดกรุงเทพฯ ปรับเพิ่มขึ้นทุกชนิดตามต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น โดยอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ อาหารสุกรขุน และ อาหารไก่เล็ก-ไข่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.84 และ ร้อยละ 22.15 ตามลำดับ ส่วนราคาอาหารสุกรรุ่นและสุกรเล็ก ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.92 และ 20.89 ตามลำดับ สำหรับราคาอาหารไก่รุ่น-เนื้อ ปรับเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ร้อยละ 9.03 สำหรับราคาอาหารข้นที่ใช้เลี้ยงโคนม จากการสุ่มถามสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมภาคต่าง ๆ ของประเทศ พบว่า อาหารข้นที่สหกรณ์เป็นผู้ผลิตเองราคายังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน แต่อาหารข้นที่สหกรณ์รับซื้อมาจากบริษัทเพื่อขายต่อให้สมาชิก ราคาปรับเพิ่มขึ้น  

                             4.3 ราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้
                                  สินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขาย ได้ในราคาที่แพงขึ้นจากปี 2548 ได้แก่ โคเนื้อและกระบือมีชีวิต โดยราคาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.67 และ 7.21 ตามลำดับ แต่ราคาสุกรขุน ไก่รุ่นพันธุ์เนื้อราคาลดลง ร้อยละ 3.02 และ 14.49 ตามลำดับ เช่นเดียวกับราคาไข่ไก่สดคละและราคาไข่เป็ดคละที่ลดลงร้อยละ 19.91 และ 20.26 ตามลำดับ ในขณะที่ราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้ลดลงร้อยละ 2.75 แสดงการเปรียบเทียบราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้และการเคลื่อน ไหวของราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ในปี 2549 ตามรูปกราฟต่อไปนี้

    Image
    Image
                                 จากรูปกราฟดังกล่าว ราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับลดลง เนื่องจากภาวะตลาดเนื้อไก่ภายในประเทศที่ราคาปรับลดลงตามปริมาณเนื้อไก่ส่วน เกินภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น  

                           4.4  ราคาขายส่งและขายปลีกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เฉลี่ยในช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 2549
                                       สุกร
                                       ราคาลูกสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.65 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็นตัวละ 1,329.61 บาท แต่ราคาขายส่งสุกรชำแหละทั่วไปลดลงร้อยละ 2.91 เป็น กิโลกรัมละ 54.71 บาท ในขณะที่ราคาขายปลีกเนื้อสุกรค่อนข้างมีเสถียรภาพ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเท่านั้น โดยราคาเนื้อสันนอกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 97.13 บาท ราคาเนื้อสันในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.34 และ ราคาเนื้อหัวไหล่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.69 บาท·       
                                       ไก่ไข่
                                       ราคาลูกไก่ไข่ที่เกษตรกรซื้อเข้าเลี้ยงในฟาร์มลดลงร้อยละ 13.5 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็นตัวละ 14.43 บาท ในขณะที่ราคาขายส่งไข่ไก่คละลดลงถึงร้อยละ 29.03 เหลือฟองละ 1.61 บาท สำหรับราคาขายปลีกไข่ไก่ทุกขนาดลดลงร้อยละ 13 – 24 โดยไข่ไก่เบอร์ 4 ลดลงมากที่สุด เหลือฟองละ 2.05 บาท สำหรับเบอร์ 0 – 3 เหลือฟองละ 2.75 บาท ฟองละ 2.44 บาท ฟองละ 2.16 บาท ตามลำดับ และ เบอร์ 5 เหลือฟองละ 1.95 บาท ·      
                                      ไก่เนื้อ
                                      ราคาลูกไก่เนื้อ (ซีพี)  ลดลงร้อยละ 30.45 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เหลือตัวละ 8.48 บาท ตามภาวะราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มและหน้าโรงฆ่าที่ลดลงร้อยละ 10.85 และ ร้อยละ 17.14 ตามลำดับ เหลือกิโลกรัมละ 24.97 บาท และ 26.56 บาท ตามลำดับ ส่วนราคาขายส่งไก่สดรวมเครื่องในปรับลดลงเช่นกัน ร้อยละ 17.04 เหลือกิโลกรัมละ 36.23 บาท ทิศทางราคาดังกล่าวเป็นผลดีต่อต้นทุนในการแปรรูปเนื้อไก่เพื่อส่งออก ซึ่งอาจจะทดแทนค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ทำให้สามารถการแข่งขันในตลาดโลกได้ สำหรับภาวะราคาขายปลีกไก่สดทั้งตัวชนิดรวมเครื่องในและไม่รวมเครื่องในลดลง ร้อยละ 8 และ ร้อยละ 7 ตามลำดับ แต่ราคาขายปลีกชิ้นส่วนไก่เนื้อทั้งชนิดสันใน และ เนื้อล้วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 แล 4 ตามลำดับ ในขณะที่ชิ้นส่วนเนื้อไก่ติดกระดูก (ตะโพก,น่อง,ปีกเต็ม,ปีกบน) ลดลงร้อยละ 7 ร้อยละ 11 และร้อยละ 12 ตามลำดับ เนื่องจากไม่สามารถส่งออกได้
                                      โค กระบือ
                                     ราคาโคและราคากระบือมีชีวิตขายส่ง ยังคงไม่เสถียรภาพไม่ปรับเพิ่มหรือลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็นกิโลกรัมละ 52.50 บาท และ 50.50 บาท ตามลำดับ ส่วนราคาขายส่งเนื้อโคและเนื้อกระบือยังคงเท่ากับปีก่อน ราคากิโลกรัมละ 96 บาท และ กิโลกรัมละ 94 บาท ตามลำดับ เช่นเดียวกันราคาขายปลีกเนื้อโคและเนื้อกระบือที่ไม่ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยราคาเนื้อโคและกระบือสันใน กิโลกรัมละ 185 บาท  และราคาเนื้อโคกระบือธรรมดากิโลกรัมละ 117.5 บาท

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง
    1. ธนาคารแห่งประเทศไทย.ข่าวธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่29/2549.(www.bot.or.th)
    2.ธนาคารแห่งประเทศไทย. ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ .(www.bot.or.th)
    3. กรมศุลกากร.สถิติการนำเข้าและส่งออก. (www.customs.go.th)
    4.กรมการค้าภายใน.(www.dit.go.th)
    5. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(www.oae.go.th)
    6. คณะกรรมการนโยบายไข่ไก่แห่งชาติ (เอกสารการประชุมหารือ วันที่ 31 สิงหาคม 2549)

    โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
    วันที่เผยแพร่ 10 มกราคม 2007

การตัดสินกรณีสินค้าไก่หมักเกลือระหว่าง EU-ไทยและบราซิล

  • ภูมิหลัง
                 สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป รายงานผลการตัดสินกรณีพิพาทเรื่องสินค้าไก่หมักเกลือ (salted chickenmeat) ระหว่าง EU-ไทยและบราซิล โดยคณะกรรมาธิการอุธรณ์ของ WTO ได้ลงมติไม่เห็นด้วยต่อคำอุทธรณ์ของ EU และตัดสินให้บราซิลและไทยเป็นฝ่ายชนะ กำหนดให้สินค้าเนื้อไก่ตัดแต่งไม่มีกระดูกแช่แข็งที่มีการปนเปื้อนของเกลือ ในอัตรา 1.2%-3% ยังคงอยู่ในสินค้าประเภทไก่หมักเกลือ ภายใต้พิกัดศุลกากร 0210 อัตราภาษีร้อยละ 15 ในขณะที่สินค้าไก่แช่แข็ง พิกัด 0207 อัตราภาษีร้อยละ 53 (อัตราภาษีสำหรับสินค้าเนื้อไก่ปรุงสุก ร้อยละ 6)  

  • สถานะปัจจุบัน
                 1. กรรมาธิการสหภาพยุโรป ได้ยื่นเรื่องต่อ WTO เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2549 เพื่อขอใช้สิทธิในการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีและระบบการการนำเข้าสินค้าไก่หมัก เกลือ ไก่งวง และไก่ต้มสุก กับประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ตามข้อกำหนดในมาตรที่ XXVIII ของสัญญา GATT จากเดิมใช้ระบบภาษีเพียงอย่างเดียว โดยนำเข้าได้ไม่จำกัดจำนวน มาเป็นการจัดเก็บภาษี 2 ระบบ คือ ภาษีสำหรับสินค้าที่นำเข้าในโควตา และ นอกโควตา ดังนี้

    รายการสินค้า ในโควตา นอกโควตา
    ปริมาณ (ตัน) ภาษี(%)
    ไก่หมักเกลือ 264,245 15.4 เสียภาษีเหมาจ่าย  ที่ระดับ 1,300 ยูโร/ตัน
    ไก่งวง 103.896 8.5 เสียภาษีเหมาจ่าย  ที่ระดับ 1,024 ยูโร/ตัน
    ไก่ปรุงสุก 230,453 10.9 เสียภาษีเหมาจ่าย  ที่ระดับ 1,024  ยูโร/ตัน

                 2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เปิดเผยภายหลังการเจรจาขอชดเชยกับสหภาพยุโรป กรณีที่มีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีและระบบการนำเข้าสินค้าดังกล่าวว่า สหภาพยุโรปได้ตกลงกำหนดชดเชยโควตาให้ไทยสำหรับไก่หมักเกลือ จำนวน 92,610 ตัน และสินค้าไก่ปรุงสุก จำนวน 160,033 ตัน ทั้งนี้ ตามกติกา WTO สหภาพยุโรปมีสิทธิที่จะชดเชยผลกระทบให้กับไทยโดยคำนวณจากสถิติการนำเข้า 3 ปีย้อนหลังรวมกับอัตราการเติบโต 10% หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วงดังกล่าว หรือสถิติการนำเข้าปีล่าสุดรวมกับอัตราการเติบโต 10% ซึ่งเมื่อคำนวณจากสถิติส่งออกเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง ไทยส่งออกไก่ปรุงสุกจำนวน 80,626 ตัน และไก่หมักเกลือ 15,823 ตัน โดยในปี 2548 ไทยส่งออกไก่ปรุงสุกได้ 106,545 ตัน และไม่สามารถส่งออกไก่หมักเกลือได้เนื่องจากมีปัญหาไข้หวัดนก
                 3. การเจรจาครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากสามารถเจรจาให้สหภาพยุโรปชดเชยโควตาได้สูงกว่าปริมาณสูงสุดที่ควร จะได้รับจากการคำนวณ (การคำนวณโควตาสูงสุดที่ไทยจะได้รับสำหรับไก่หมักเกลือ 60,624 ตัน และไก่ปรุงสุกเท่ากับ 117,200 ตัน) และยังเจรจาลดอัตราภาษีในโควตาไก่ปรุงสุกจาก 10.9% เป็น 8% โดยขั้นตอนต่อจากนี้ สหภาพยุโรปจะต้องแจ้งผลเจรจาให้ประเทศสมาชิกรับทราบ ขณะที่ไทยจะนำเรื่องขอความเห็นชอบจาก ครม. คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนมีนาคม 2550


    ที่มา  :      1. หนังสือราชการสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
                   2. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2549
    เรียงเรียงโดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
    วันที่เผยแพร่ 16 ธันวาคม 2006

รายงานสถานการณ์ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ของประเทศบราซิลประจำปี 2006

รายงานสถานการณ์ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ของประเทศบราซิลประจำปี 2006
(Brazil Poultry and Products Annual Poultry Report 2006)

Image

รายงานโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
รายงาน ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2549

  • ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการผลิตและการส่งออกเนื้อไก่ของบราซิลขยายตัวเพิ่ม ขึ้น แต่ในปัจจุบันการผลิตและการส่งออกเนื้อไก่ลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากระบาด ของโรคไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นทั่วโลก  การแข็งตัวของค่าเงินเรียลและปัญหาทางด้านสุขภาพของสัตว์ในแต่ละพื้นที่  อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกจะฟื้นตัวในปี 2007 โดยการผลิตและการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และ 2 ตามลำดับ ความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนซึ่งคาดว่าจะเป็น ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการขยายตัวการส่งออกในปีถัดไป
  • สถานการณ์โดยรวม
                 การผลิตไก่เนื้อในปี 2007คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เนื่องผู้บริโภคภายในประเทศมีอำนาจซื้อสูงขึ้นประกอบมีการแข่งขันราคากับ เนื้อสัตว์ชนิดอื่นและความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้ปริมาณ การส่งออกเนื้อไก่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก  สำหรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการคาดว่าจะลดลงในปี 2007 เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ประกอบการในปี 2006 เนื่องจากค่าเงินของบราซิลแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าต้นทุนค่า อาหารสัตว์จะสูงขึ้น  ผู้ส่งออกเนื้อไก่ของบราซิลกังวลเรื่องอัตราภาษีที่เปลี่ยนแปลงของกลุ่ม สหภาพยุโรปซึ่งเป็นการจำกัดปริมาณการนำเข้าเนื้อไก่แปรรูป โดยคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกเนื้อไก่งวงด้วย
  • สถานการณ์การผลิต  
              
    การผลิตไก่เนื้อในปี 2007 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 โดยมีปัจจัยที่มีผลกระทบที่สำคัญดังนี้
               1.ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกในปีที่ผ่านมา
               2.ความต้องการบริโภคภายในประเทศมีเพิ่มขึ้น และ
               3.ความพยายามในการดำเนินนโยบายทางด้านการตลาดและมาตรการทางการเงินโดยรัฐบาลบราซิลเพื่อพัฒนาตลาดแหล่งใหม่   
               อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตามข้อบังคับทำให้มีการคาดการณ์ว่าผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมไก่เนื้อในบราซิลได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนในปี 2007 โดยผลกระทบมีดังนี้
                1.มีการคาดการณ์ค่าเงินของบราซิลอย่างต่อเนื่องประกอบกับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเพิ่มขึ้น
                2.คาดการณ์ว่าต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพดมีปริมาณลดลง
                3.ความเป็นไปได้ในการเปิดตลาดใหม่ในสหภาพยุโรปซึ่งจะทำใหปริมาณการส่งออกเนื้อไก่แปรรูปไปยังตลาดเดิมมีปริมาณลดลง
                 หลังการแก้ไขตัวเลขการผลิตเนื้อไก่ในปี 2006 โดยปริมาณการผลิตลดลงเหลือ  9.3 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปี 2005 ลดลงร้อยละ 1 โดยปริมาณการผลิตเนื้อไก่ในปี 2005 มีจำนวน 9.4 ล้านตัน สำหรับปริมาณการผลิตเนื้อไก่ที่ลดลงในปี 2006 มีการอ้างว่าประเทศคู่ค้าที่สำคัญระงับการนำเข้าเนื่องจากปริมาณผู้บริโภค เนื้อไก่ในตลาดโลกลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก  อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าปริมาณการผลิตในปีนี้จะลดลงแต่ความต้องการบริโภคภายใน ประเทศยังเพิ่มขึ้นเนื่องจากเนื้อไก่แช่แข็งมีราคาขายปลีกที่ถูกลงทำให้ บราซิลหันมาสนใจตลาดในประเทศแทนตลาดต่างประเทศ
                  ประมาณร้อยละ 97 ของปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์ปีกทั้งหมดของบราซิลเป็นการปริมาณการผลิตเนื้อ ไก่ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3 เป็นปริมาณการผลิตเนื้อไก่งวงซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับแหล่งข้อมูลการค้าต่างประเทศ ที่คาดว่าในปี 2006 ปริมาณการผลิตชิ้นส่วนเนื้อไก่คิดเป็นร้อยละ 58 ของปริมาณการผลิตไก่เนื้อทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 42 เป็นการผลิตเนื้อไก่ทั้งตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้กลยุทธ์ใหม่ในการแปรรูปซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับ สินค้าโดยเปลี่ยนจากการเพิ่มมูลค่าให้กับเฉพาะบางชิ้นส่วนมาเป็นการเพิ่ม มูลค่าให้กับเนื้อไก่ทั้งตัว  ซึ่งเป็นผลให้การส่งออกชิ้นส่วนเนื้อไก่ชำแหละและเนื้อไก่แปรรูปของบราซิล เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ ตลอดจนสามารถเปิดตลาดใหม่ได้สำเร็จ เช่น ตลาดซาอุดิอาระเบีย ที่ยังคงชอบเนื้อไก่ทั้งตัว
    การรวมตัวของอุตสาหกรรม
                
    ผู้ประกอบการเนื้อไก่แปรรูปรายใหญ่ในบราซิล จำนวน 10 ราย มีปริมาณของไก่เนื้อที่เข้าโรงฆ่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 52 ของปริมาณของไก่เนื้อที่เข้าโรงฆ่าทั้งหมด และมีปริมาณการส่งออกรวมกันคิดเป็นร้อยละ 79 ของปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ทั้งหมด ของบราซิล ซึ่งผู้ประกอบการเนื้อไก่แปรรูปบางรายยังเป็นผู้ส่งออกเนื้อสุกรรายใหญ่ ของบราซิลด้วย ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดและต้นทุนการผลิตทางด้านอาหารลดลง มีการรวมตัวของผู้ประกอบการผลิตกันอย่างเหนียวแน่นในระบบการผลิตไก่เนื้อ ของบราซิล
                 ตารางแสดงรายชื่อบริษัทแปรรูปเนื้อไก่รายใหญ่ของบราซิล
    Image
  • ปัจจัยการผลิต
                 ตารางแสดงจำนวน PS. และลูกไก่เนื้ออายุ 1 วัน ในประเทศบราซิล
    Image
    หมายเหตุ : จำนวน PS.ไก่ไข่เป็นจำนวนเฉลี่ยรายเดือน
    ที่มา : APINCO / UBA
  • ต้นทุนการผลิต
                  บริษัทผู้ผลิตไก่เนื้อทั้งหมดในบราซิลมีต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป  ในช่วงครึ่งแรกของปี ต้นทุนการผลิตไก่เนื้อลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เฉลี่ยกิโลกรัมละ1.37 เรียล เหลือกิโลกรัมละ 1.2 เรียล (น้ำหนักไก่เนื้อมีชีวิต) หรือลดลงร้อยละ 12.4 ซึ่งต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ยลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อัตราการแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปี 2006เท่ากับ 2.19 เรียลต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่อัตราการแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปี 2005 เท่ากับ 2.53 เรียลต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ  คาดการณ์ว่าต้นทุนทางด้านอาหารสัตว์จะเพิ่มขึ้นตลอดทั้งปีการเพาะปลูก 2006/07(1 ตุลาคม 2006 –30 กันยายน 2007 ) ทั้งข้าวโพดและถั่วเหลืองมีปริมาณผลผลิตเพียงเล็กน้อย รัฐบาลบราซิลยังคงมีนโยบายในการการจ่ายเงินอุดหนุนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพืช ผลทางการเกษตรเพื่อช่วยเหลือทางด้านต้นทุนการผลิต
                  ตารางแสดงต้นทุนการผลิตไก่เนื้อและราคาขายส่งเนื้อไก่แปรรูปพร้อมปรุง ข้าวโพดและกากถั่วเหลือง
    Image
  • สถานการณ์การระบาดของโรค
                  ตั้งแต่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเอเชีย รัฐบาลบราซิลให้การสนับสนุนให้แก่สภาการพัฒนาสัตว์ปีกและสุกรเพื่อดำเนิน มาตรการในการป้องกันไม่เกิดโรคไข้หวัดนกในบราซิล  รวมทั้งข้อบังคับทางด้านสุขภาพของสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสุขภาพ สัตว์ปีกแห่งชาติ  มาตรการการป้องกันหลายๆอย่างถูกนำมาใช้ เช่น การเข้มงวดในการควบคุมที่ท่าเรือและท่าอากาศยานสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ ที่เดินทางมาจากเอเซีย ห้ามการนำเข้าข้าวเปลือกจากประเทศในแถบเอเชีย ห้ามผู้ที่เดินทางมาจากเอเชียเดินทางเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกของบราซิล และข้อกำหนดใหม่สำหรับการนำเข้าสัตว์ปีกเช่น การนำเข้าลูกไก่อายุ 1 วัน
                 นโยบายในปัจจุบันส่วนใหญ่สนับสนุนการควบคุมสุขอนามัยสำหรับสัตว์ปีกในแต่ละ รัฐ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ก่อนปี 2007 ก่อให้เกิดสนธิสัญญาระหว่าง 6 รัฐจากเขตภาคใต้ทางตอนกลางของบราซิล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดสำหรับการขนส่งนก ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกอื่นๆและส่วนที่เหลือใช้จากผลิตภัณฑ์เพื่อนำไป สู่รัฐทางตอนกลางของบราซิลซึ่งเป็นเชิงพาณิชย์
                 รัฐบาลบราซิลได้ประกาศเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2006 และมีคำสั่งที่ 17 ให้ตั้งโครงการป้องกันและการควบคุมไข้หวัดนกและการป้องกันโรคนิวคาสเซิลแห่ง ชาติ  ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทางการค้าระหว่างประเทศ ปัญหาที่สำคัญในการดำเนินตามคำสั่งที่ 17 คือการขาดเงินทุน ซึ่งรัฐบาลบราซิลให้สัญญาว่าจะจัดสรรเงินสำหรับการดำเนินงานในโครงการดัง กล่าวจำนวน 130 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่วันที่ 30 สิงหาคม กองทุนยังไม่มีการดำเนินการใดๆ  ในปี 2002 บราซิลได้จัดตั้งโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศอาร์เจนตินาและปารากวัยใน เรื่องการแจ้งเตือนการอพยพของนกจากขั้วโลกใต้  ตั้งแต่ปี 2003 โครงการนี้ได้แจ้งเตือนและทดสอบนกในการตรวจหาไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดนก ซึ่งโครงการนี้เป็นการร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงสิ่งแวดล้อม
                 มี 2 กรณีสำหรับโรคนิวคาสเซิลซึ่งได้มีประกาศอย่างเป็นทางการว่ามีการระบาดของโรค นิวคาสเซิลในบราซิลในปี 2006 และได้แจ้งไปยังองค์การโรคระบาดระหว่างประเทศ  ในกรณีแรกได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ว่ามีการระบาดของโรคในเมือง แวลเรียล (Vale Real ) ในมลรัฐรีโอกรันดีโดซูล(Rio Grande do Sul ) อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้รับแจ้งการเกิดโรคจากฟาร์มสัตว์ปีก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม  ในขณะที่วันที่ 24 สิงหาคม 2006 ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับการระบาดของโรค ยังคงมีมาตรการที่เข้มงวดสำหรับพื้นที่เฝ้าระวังโรค  สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในมลรัฐรีโอกรันดีโดซูล(Rio Grande do Sul ) ซึ่งเป็นแหล่งส่งออกเนื้อไก่ที่สำคัญของบราซิลทำให้เกือบ 40 ประเทศใช้มาตรการเข้มงวดขึ้น

                กรณีที่สองโรคนิวคาสเซิลตรวจพบในหมู่บ้านเล็กๆใกล้กับเมืองมานาฮัส (ในรัฐอามาโซนัส) แต่ในปัจจุบันพื้นที่ทางตอนใต้ของบราซิลไม่ได้เป็นพื้นที่เสี่ยงสำหรับการ ผลิตสินค้าและการส่งออก
    ผลิตภัณฑ์

  • การบริโภค
                 การบริโภคเนื้อไก่ในปี 2007 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5   สำหรับในปี 2006 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างตัวเนื่อง  ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลง และอำนาจการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  การแข่งขันจากเนื้อสัตว์ชนิดอื่นไม่สามารถที่จะคาดการณ์ถึงผลกระทบที่มีต่อ การบริโภคเนื้อไก่ได้ตั้งแต่เนื้อไก่กลายเป็นสินค้าที่ผู้มีรายได้น้อย สามารถหาซื้อได้เมื่อเทียบกับเนื้อวัวและเนื้อสุกร  รวมทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารที่คาดว่าจะมีความต้องการเนื้อไก่เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่เนื้อไก่แช่แข็ง  เนื้อไก่พร้อมปรุงและเนื้อไก่สำหรับนำไปทำเบอเกอร์
                  ปริมาณการบริโภคนกและชิ้นส่วนไม่ได้ถูกนับรวมกับปริมาณการบริโภคเนื้อไก่  อย่างไรก็ตามผู้บริโภคในบราซิลยังคงนิยมบริโภคเนื้อไก่ที่มีขนาดตัวใหญ่ทั้ง ตัวซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากราคาไก่เนื้อต่ำกว่าเนื้อวัว  อย่างไรก็ตามสอดคล้องกับการวิเคราะห์ในบางตลาดที่คาดว่าโครงสร้างความต้อง การเนื้อไก่จะเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่เศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพในปี 1994 ผู้บริโภคในชนชั้นกลางและชนชั้นสูงส่วนใหญ่ของบราซิลได้เปลี่ยนพฤติกรรมใน การบริโภคโดยเปลี่ยนไปบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อไก่แปรรูป  พืชที่มีความสำคัญมาแต่ตั้งอดีตของบราซิลคือข้าวและถั่วได้สูญเสียพื้นที่ใน การเพาะปลูกให้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่ให้โปรตีนอย่างสัตว์ปีกและโค นม  ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกแปรรูปรายใหญ่ของบราซิลตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริโภคโดยการเปลี่ยนแผนการขายเป็นการขายชิ้นส่วนเนื้อไก่ส่วน ต่างๆรวมกัน(ส่วนใหญ่เป็นเนื้อสะโพกและหน้าอก) และเนื้อไก่แปรรูปเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่น เนื้อไก่พร้อมปรุง นักเก็ต และเบอเกอร์ไก่  ต้องมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในบางส่วน สถาบันทางด้านอาหารและตลาดอาหารจานด่วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจไก่เนื้อ ของบราซิลมีศักยภาพที่สูงขึ้น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่ ผู้แปรรูปนำมาใช้

  • ด้านการส่งออก
                การส่งออกคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2007 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4  โดยการคาดการณ์บนพื้นฐานของ
                 1.ความต้องการเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณสูงเนื่องจากการลดปริมาณการผลิตไก่เนื้อจากอันเป็นผลจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก
                 2.คาดว่าปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ไปยังรัสเซียและตลาดอื่นๆในแถบยุโรปตอนกลางจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น
                 3.บราซิลสามารถส่งเนื้อไก่ไปขายในตลาดใหม่ได้
                 อย่างไรก็ตามการกำหนดโควตาใหม่ของกลุ่มสหภาพยุโรปจะทำให้การขยายตัวของการ ส่งออกเนื้อไก่ลดลงในปี 2007 ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเนื้อไก่แปรรูป
                 สถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ในปี 2006 หลังจากมีการแก้ไขปรับลดปริมาณการส่งออก ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้สถานการณ์ตามความเป็นจริงของตลาดโลก ปัจจุบันผู้ส่งออกเนื้อไก่ของบราซิลคาดว่าปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ไปยัง ประเทศคู่ค้าที่สำคัญจะลดลงประมาณร้อยละ 14 เพราะว่ามีผลผลิตเนื้อไก่ส่วนเกินอยู่ในตลาดโลกเนื่องจากความต้องการเนื้อ สัตว์ปีกลดลง ประกอบกับการตื่นตระหนกเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกในประเทศคู่ค้าของบราซิล

  • การตลาด
                  สมาคมผู้ส่งออกสัตว์ปีกแห่งบราซิลเป็นองค์กรภาคเอกชน ไม่มีการแสวงหากำไร เป็นการรวมตัวกันของผู้ประกอบเนื้อสัตว์ปีกแปรรูปและผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ ปีกรายใหญ่ของบราซิล ซึ่งสมาคมฯนี้มีวัตถุประสงค์และการดำเนินงานเหมือนกับสภาสัตว์ปีกและการส่ง ออกไข่ไก่ของสหรัฐฯ การดำเนินงานของสมาคมฯในอดีตที่ผ่านมาเป็นการให้ข้อเสนอแนะ เชิญชวนให้กลุ่มผู้ส่งออกเนื้อไก่ ดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลบราซิล องค์กรระหว่างประเทศและรัฐบาลต่างประเทศให้การรับรองในด้านการเปิดตลาดและลด อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีสำหรับการส่งออกเนื้อไก่ของบราซิล  ผู้ประกอบการส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ของบราซิลจำนวน 5 ราย มีปริมาณการส่งออกสูงถึงร้อยละ 90 ของปริมาณการส่งออกเนื้อทั้งหมด 
                  สมาคมฯเป็นองค์กรภาคเอกชนซึ่งทำการสนับสนุนการส่งออกควบคู่ไปกับการประชา สัมพันธ์ทางด้านการตลาดให้แก่ภาครัฐบาลโดยผ่านทาง APEX  ตั้งแต่ปี 2000 สมาคมฯได้จัดงานแสดงสินค้าตามประเทศต่างๆ เช่น ยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง การประชาสัมพันธ์ทั้งการประชาสัมพันธ์ในประเทศ การจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และการวิจัยทางด้านตลาด ซึ่งคล้ายกับแผนการทางด้านตลาดของ FAS  สมาคมนี้สามารถลดปัญหาทางด้านมาตรการสุขอนามัยและดำเนินกิจกรรมทางด้านการ ตลาดต่างประเทศภายใต้งบประมาณสำหรับการประชาสัมพันธ์ งบประมาณสำหรับการจัดการ  สมาคมในปี 2006/07 คาดว่าจะมีจำนวน 2.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมาจกกองทุน APEX 
                 ตารางแสดงปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ ในช่วงเดือน มกราคม - มิถุนายน 2549

    Image
  • เรียบเรียงโดยกลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
    วันที่เผยแพร่ 16 พฤศจิกายน 2006

เขตเสรีการค้า (FTA) กับสินค้าปศุสัตว์


  •                รัฐบาลไทยมีนโยบายเชิงรุกในการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และสร้างพันธมิตรที่แน่นแฟ้นกับประเทศคู่ค้า จึงให้ความสำคัญในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในปัจจุบันไทยได้ทำความตกลงการค้าทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ จำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, สหรัฐ, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์,  อินเดีย, BIMST-EC, เปรู และบาห์เรน โดยในระดับทวิภาคีไทยได้ทำความตกลงแล้วกับบาห์เรน จีน อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
                   การจัดทำเขตการค้าเสรีมีหลักการสำคัญในการทะลายกำแพงภาษีศุลกากรระหว่างกัน และขจัดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย เช่น   โควตาภาษี มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช  การอุดหนุนทั้งการผลิตภายในประเทศและการส่งออก การไต่สวนในข้อหาทุ่มตลาด  หรือ อุปสรรคด้านการห้ามการนำเข้าสินค้าเกษตร เป็นต้น รวมทั้งรุกขยายตลาดการค้าและการลงทุน กระจายแหล่งส่งออกและนำเข้า สร้างพันธมิตรที่จะเกื้อกูลกันทางเศรษฐกิจแก้ไข ป้องกันปัญหา อุปสรรค และหาลู่ทางขยายการค้าและการลงทุน การทำเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้า จึงเป็นยุทธวิธีสำคัญด้านหนึ่งที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยให้ความสำคัญลำดับต้น ๆ แก่ประเทศที่เป็นหรือมีแนวโน้มจะเป็นตลาดใหญ่ใหญ่ของไทย           
                 การจัดทำเขตการค้าเสรีจะส่งผลกระทบด้านบวกต่อเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แต่อย่างไรก็ตามไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผลกระทบด้านลบก็มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทยอย่างใหญ่หลวงด้วยเช่นกัน ถ้าการปฏิบัติตามหลักการที่คาดหวังไว้กับการปฏิบัติที่เป็นจริงไม่สามารถ ดำเนินการได้ เช่น การบังคับให้ประเทศกำลังพัฒนาเปิดตลาดรับสินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง เสรี  แต่ในทางตรงข้ามประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงดำเนินการและมีมาตรการต่าง ๆ ที่กีดกันไม่ให้สินค้าเกษตรเข้าประเทศได้อย่างเสรี  นอกจากนี้สินค้าเกษตรหลายรายการประสบปัญหาด้านการแข่งขันกับสินค้านำเข้าจาก ต่างประเทศที่ไหลเข้ามาพร้อมกับเงื่อนไขการลดภาษี และทำให้เกษตรกรรายย่อยที่ผลิตสินค้าชนิดนั้นต้องเผชิญกับปัญหาราคาผลผลิตตก ต่ำ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับสินค้าเกษตรราคาถูกจากต่างประเทศได้ ส่งผลให้การผลิตและปริมาณการผลิตภายในประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว จนอยู่ในฐานะที่ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ  ต้องนำเข้าในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ  และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกร นอกจากนี้ FTA ก็ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้เกษตรกรรายย่อยได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดที่สม เหตุผลกับแรงงานการผลิตและต้นทุนที่ได้ลงไป แต่ผลประโยชน์กลับตกอยู่แก่กลุ่มทุนธุรกิจการเกษตรครบวงจร เป็นต้น     
  • แนวทางการเจรจาความตกลงการค้าเสรี           
                 การเจรจาความตกลงการค้าเสรี แบ่งกลุ่มการเจรจาออกเป็น ๒ กรอบ คือ กรอบการลดภาษี เป็นการเจรจาเพื่อขอให้มีการลดภาษีในทุกรายการสินค้าให้เหลือร้อยละ ๐ เร็วที่สุด มีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการเจรจา และกรอบการเจรจาด้านสุขอนามัย เป็นการเจรจาเพื่อขอให้ประเทศคู่ค้าผ่อนผันความเข้มงวดในการปฏิบัติทางด้าน สุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของประเทศคู่ค้า มี สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการเจรจา 
  • แนวทางการลดภาษีสินค้า
                  1)  รายการสินค้าปศุสัตว์

                   สินค้าปศุสัตว์และสินค้าที่เกี่ยวข้อง มีทั้งหมด 6 ตอน ดังนี้

ตอนที่

 รายการสินค้า

รายละเอียด

อัตราภาษี

01

สัตว์มีชีวิต

- สัตว์มีชีวิตสำหรับทำพันธุ์
- สัตว์มีชีวิตสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ

0
5  - 40

02

เนื้อสัตว์และส่วนอื่นของสัตว์ที่บริโภคได้

เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นของสัตว์ที่บริโภคได้ มันหมู
เนื้อและส่วนอื่นของสัตว์ใส่เกลือแห้งรมควัน

60

04

นมและผลิตภัณฑ์นม
ไข่สัตว์ปีก
น้ำผึ้งธรรมชาติ

5-65

05

ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ไม่ได้
ระบุหรือรวมไว้ที่อื่น

ขนสัตว์ กระดูกสัตว์ เชื้อพันธุ์สัตว์เครื่องในสัตว์

0-30

16

ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์

ไส้กรอกและผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน
ทำด้วยเนื้อสัตว์ ส่วนอื่นของสัตว์หรือเลือดสัตว์ 
รวมทั้งอาหารปรุงแต่งที่มีส่วนผสม
ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นหลัก

60

23

กากและเศษที่เหลือจากอุตสาหกรรมผลิตอาหาร อาหารที่จัดทำไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์

อาหารสุนัขและแมว

10

                2) รูปแบบการลดภาษี
                    การลดภาษี แบ่งรายการสินค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าทั่วไป (Normal Track) และกลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Track)  มีรายละเอียดดังนี้
                    1. กลุ่มสินค้าทั่วไป (Normal Track ) กำหนดอัตราภาษีลดลงในแต่ละปีจนเหลือเท่ากับร้อยละ 0 ในปีสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสินค้ากลุ่มนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี ในการทยอยลดภาษี และมีสินค้าบางกลุ่มที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันหรือเป็นสินค้าที่ไทยต้อง การให้มีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น เช่น พันธุ์สัตว์ วัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้แต่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศหรือมีไม่เพียงพอ กับความต้องการ และการนำเข้าก็ไม่ได้กระทบกระเทือนต่อเกษตรกร สินค้ากลุ่มนี้สามารถลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ได้ทันทีหลังจากที่ได้มีการลงนามความตกลงกัน
                   2. กลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Track) เป็น กลุ่มสินค้าที่หากมีการลดภาษีแล้วจะส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้เพิ่ม มากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการผลิตของเกษตรกรและผู้ประกอบการภายในประเทศ ดังนั้นการลดภาษีในสินค้ากลุ่มนี้จึงต้องใช้ระยะเวลาและค่อย ๆ ลดอัตราภาษีลง รวมทั้งบางรายการอาจจำเป็นต้องมีมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard) ซึ่ง หมายถึงมีการกำหนดปริมาณการนำเข้าในแต่ละปี ถ้าในปีใดมีการนำเข้ามากกว่าปริมาณที่กำหนดก็จะเรียกเก็บภาษีในอัตราปกติ ซึ่งเป็นอัตราที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าเท่าเทียมกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ที่ไม่ได้ทำ FTA  
               3)  ท่าทีและรูปแบบการลดภาษีสินค้าปศุสัตว์  แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
                   1. ลดภาษีสินค้าปศุสัตว์ของไทยเหลือร้อยละ 0 ทันทีหรือภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่มีเงื่อนไข ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีอัตราภาษีร้อยละ 0 อยู่แล้ว หรือเป็นรายการสินค้าที่สามารถลดอัตราภาษีได้โดยไม่มีผลกระทบต่อเกษตรกร
                   2. ลดภาษีสินค้าปศุสัตว์ของไทยในกรณีของรายการสินค้าอ่อนไหว ต้องใช้ระยะเวลาในการลดภาษีนานระหว่าง 10-15 ปี ส่วนใหญ่เป็นสินค้าหมวดเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และผลิตภัณฑ์นม
                   3. ลดภาษีสินค้าปศุสัตว์ของไทยกรณีเป็นสินค้าที่มีโควตานำเข้าและต้องยกเลิกภายใน 20 ปี คือ น้ำนมและนมผงพร่องมันเนย 

  • ความก้าวหน้าการจัดทำ FTA             
                  1. ไทย-จีน ลงนามกรอบความตกลงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 ในหมวดผักผลไม้ ส่วนสินค้าหมวดอื่น ๆ ยังไม่มีการเจรจาลดภาษี แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีการทำ FTA ระหว่างอาเซียน-จีน ดังนั้นจึงให้อนุโลมปฏิบัติตามแนวทางการลดภาษีภายใต้กรอบความร่วมมือนี้
                  2. อาเซียน-จีน อา เซียนและจีนได้ตกลงให้เลื่อนวันเริ่มลดภาษีจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ออกไปเป็นวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เนื่องจากจีนและอาเซียนบางประเภทเกิดความล่าช้าของกระบวนการออกประกาศการลด ภาษีและการบังคับใช้ทางกฎหมาย ทั้งนี้ สมาขิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน จะยกเลิกภาษีสินค้า หรือเปิดเสรีภายในวันที่ 1 มกราคม 2553
                   สำหรับรูปแบบการลดภาษีสินค้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าปกติและกลุ่มสินค้าอ่อนไหว ส่วนประเด็นการลดภาษีของสินค้าที่มีโควตาภาษี (TRQ) อาเซียนและจีนตกลงให้นำข้อสรุปจากการศึกษาของคณะกรรมการความร่วมมือว่าด้วยการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CCCA) เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อสินค้า TRQ ของประเทศอาเซียน เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะเจรจาอาเซียน-จีน พิจารณาต่อไป
                    กรอบการลดภาษีตามปกติ (Normal Track) จะมีการลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2553 และมีสินค้าไม่เกิน 150 รายการ สามารถยกเลิกภาษีไม่เกินปี พ.ศ. 2555
                    สินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) ซึ่ง จะสามารถชะลอการลดภาษีออกไปถึงปี 2561 โดยจะกำหนดรายการสินค้าได้ไม่เกิน 400 รายการ และมีมูลค่ารวมไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ทั้งนี้สามารถมีสินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List) ได้ไม่กิน 100 รายการ และมีกรอบข้อตกลงการลดภาษีแบบต่างตอบแทนรายการสินค้าระหว่างอาเซียน-จีน 
                    สำหรับสินค้าปศุสัตว์ อยู่ในกรอบการลดภาษีตามปกติ 
                  3. ไทย-ออสเตรเลีย   ทั้งสองประเทศได้ประกาศร่วมกันเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2545 ถึงเจตนารมณ์ที่จะเริ่มการเจรจาจัดทำความตกลง CER-FTA โดยจะมีขอบเขตกว้างกว่าการจัดทำ FTA (FTA Plus) ซึ่งนอกจาก จะเป็นการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการและการลงทุน แล้วยังรวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ ที่มีความสนใจร่วมกันด้วย  โดยนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปลงนามในความตกลงที่ประเทศออสเตรเลียในวันที่ 5 กรกฏาคม 2547  ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2548 โดยในหมวดสินค้าปศุสัตว์ ได้กำหนดแนวทางการลดภาษีสินค้าอ่อนไหว  คือ นมข้น Buttermilk ระยะเวลาการลดภาษี 10 ปี ในปีพ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)    เนื้อ นม เนย เนยแข็ง เครื่องในสัตว์ ระยะเวลาการลดภาษี 15 ปีในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020) และหางนมผง ระยะเวลาการลดภาษี 20 ปี ในปี พ.ศ. 2568 (2058)
                 4. ไทย-นิวซีแลนด์  สมัยที่พันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และนาง Helen Clark นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ได้หารือกันที่จะทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน โดยกำหนดแนวทางการเจรจาให้สอดคล้องกับหลักการของ WTO และความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการค้าเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น (Closer Economic Partnership:CEP) เพื่อ ให้เกิดความสะดวก และสร้างโอกาสที่จะสนับสนุนกิจกรรมทางการค้า การลงทุน การประกอบการและการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งสองฝ่าย รวมทั้งลดอุปสรรคทางการค้า เพื่อให้การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น สนับสนุนความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งผลการเจรจาระดับเจ้าหน้าที่รอบที่ 4 ณ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2547 คณะ รัฐมนตรีของไทยได้ให้ความเห็นชอบ และในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ณ กรุงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันประกาศแสดงความยินดีกับความคืบหน้า อย่างรวดเร็วในการบรรลุผลเจรจา พร้อมกับมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายจัดทำบทความตกลงฯ และ ตารางภาษีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ กรกฎาคม  ๒๕๔๘ 
                   5. ไทย-บาร์เรน  ลงนามกรอบความตกลง เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2545 โดยมีรายการสินค้าที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ทันที เท่ากับจำนวน 626 รายการ ในวันที่ 1 มกราคม 2548 และทยอยลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ทั้งหมดในวันที่ 1 มกราคม 2553 สถานะปัจจุบันยังไม่มีการลดภาษี เนื่องจากรัฐบาลบาห์เรนอยู่ระหว่างพิจารณาออกประกาศการลดภาษีตามข้อตกลง Early Harvest โดยเกิดความล่าช้าเนื่องจากมีปัญหาด้านการเมืองภายในประเทศและต้องการใช้เป็นกรณีต่อรองสำหรับการขอจัดตั้งธนาคารอิสลาม (Islamic Bank) ในไทย
                    6. ไทย-อินเดีย  ลงนามกรอบความตกลง เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546 ลงนามกรอบความตกลง และในวันที่ 30 สิงหาคม 2547 ได้มีการลงนามการลดภาษีสินค้าเร่งลดภาษี (Early Harvest Scheme:EHS) ระหว่างกัน โดยมีผลบังคับใช้กับสินค้า EHS จำนวน 82 รายการ แบ่งเป็นสินค้าเกษตร 11 รายการ ประกอบด้วย (1) มังคุด/มะม่วง (พิกัดเดียวกัน) (2) องุ่น (3) แอปเปิล (4) ทุเรียน (5) เงาะ/ลำไย/ทับทิม (พิกัดเดียวกัน) (6)ข้าวสาลีดูรัม (7) ข้าวสาลี-อื่นๆ (8) ปลาซาร์ดีนปรุงแต่ง (9) ปลาแซลมอนปรุงแต่ง (10) ปลาแมกเคอเรลปรุงแต่ง และ (11) ปูปรุงแต่ง สินค้าเร่งลดภาษีจะลดภาษีลงร้อยละ 50,75 และ 100 ในวันที่ 1 กันยายน 2547, 1 กันยายน 2548 และวันที่ 1 กันยายน 2549 ตามลำดับ การเจรจาความตกลงเพื่อให้ได้ข้อบรรลุอยู่ในระหว่างการเจรจา
                     7. ไทย-ญี่ปุ่น     ไทยและญี่ปุ่นได้จัดทำความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด (Japan-Thailand Economic Partnership - JTEP) ซึ่งรวมถึงการทำ FTA ด้วย โดยในการเจรจาจะมองทั้งสองด้านคือ การลดภาษีและความร่วมมือ การหารือข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่นหรือ JTEP รอบ ที่ 5 เมื่อวันที่ 8-9 ธันวาคม 2547 ได้ข้อสรุปผลการเจรจาว่ามีความคืบหน้าในบทที่เกี่ยวกับความร่วมมือ โดยในส่วนความร่วมมือด้านการเกษตร ฝ่ายญี่ปุ่นมีท่าทีพยายามรับฟังและเน้นสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหาร และในส่วนของไทยยังคงยืนยันที่จะเจรจาขอให้ญี่ปุ่นถอนรายการสินค้าไก่ น้ำตาล และมันสำปะหลัง ออกจากรายการสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่น ในขณะที่ยอมถอนข้าวออกจากการเจรจา  
                    8. ไทย-เปรู   การประชุมเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-เปรู รอบที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-18 ตุลาคม 2548 ณ กรุงลิม่า โดยมี ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย(TTR) หัวหน้าคณะการเจรจา ผลการประชุมพบว่า ผลการเจรจาคืบหน้าประมาณ 70% และยังถือว่าไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ผู้นำสองฝ่ายต้องการให้มีการลงนามความตกลง FTA กันในช่วงการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ที่ประเทศชิลี วันที่ 19 พฤศจิกายน 2547 แต่ก็นับได้ว่ามีความคืบหน้าไปมาก ทั้งด้านการค้าบริการและการลงทุน แหล่งกำเนิดสินค้า รวมทั้งด้าน SPS ส่วนที่ยังเป็นปัญหาในการเจรจาคือ ด้านการค้าสินค้า โดยเฉพาะข้าว ไก่ น้ำตาล ซึ่งเปรูยังต้องการใช้มาตรการ Price Ban เนื่องจากเปรูห่วงสินค้าเกษตรและหวั่นเกรงไทย  เหตุผลที่ประเทศไทยทำ FTA กับ เปรู เพราะมองเห็นว่าเปรูจะเป็นประตูเข้าสู่ตลาดละตินอเมริกา จากการที่เปรูเป็นสมาชิกกลุ่มแอนเดรียที่มีข้อตกลงพิเศษกับสหรัฐฯและยุโรปใน การนำสินค้าเข้าตลาดได้โดยไม่เสียภาษี การที่คนไทยไปลงทุนในเปรูมากขึ้นจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและใช้สิทธิ์ส่งสินค้าเข้า สหรัฐฯ และ EU   การเจรจาดำเนินการมาแล้วทั้งหมด 6 ครั้ง

    เรียบเรียงโดย กลุ่มความร่วมมือการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
    วันที่เผยแพร่ 13 พฤศจิกายน 2006

แนวโน้มและโอกาสของตลาดผลิตภัณฑ์นมโลก

แนวโน้มและโอกาสของตลาดผลิตภัณฑ์นมโลก
(World market trends and  prospects)
(บทวิเคราะห์สถานการณ์สินค้าปศุสัตว์ )

Image

  • ปัจจัยที่ขับเคลื่อนทางการตลาด(Key market drivers)
                 
    ราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกปี 2547 มีระดับราคาสูงซึ่งเป็นช่วงที่ราคาสูงอยู่เพียง 2 ปี หลังจากที่ระดับราคาตกต่ำมาตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีปัจจัยขับเคลื่อนดังต่อไปนี้
                  1. พฤติกรรมการบริโภคนมที่เป็นของเหลวซึ่งผลิตและแปรรูปใกล้สถานที่บริโภค ทำให้การตลาดผลิตภัณฑ์นมระหว่างประเทศแคบมีเพียงร้อยละ 7 ของการผลิตเท่านั้น
                  2. ข้อจำกัดในการเข้าตลาด
                  3. การสนับสนุนการส่งออก ซึ่งมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อปริมาณความต้องการซื้อและความต้องการขาย ผลิตภัณฑ์นม แต่ส่งผลต่อราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลก
                  4. สภาพอากาศของประเทศผู้ส่งออกมีอิทธิพลต่อราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลก เช่น โอซีเนีย ต้องเผชิญกับภัยแล้งทำให้ผลผลิตและการส่งออกลดลง และทำให้ราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์นมของสหภาพยุโรปลดลงเนื่องจากปริมาณการ ผลิตที่ลดลงและความต้องการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
                   5. ภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในเอเชียตะวันออก แอฟริกาเหนือและแหล่งผลิตน้ำมันอื่นๆ ของโลก อันเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นทำให้รายได้เพิ่มขึ้น และความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
                  6. ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ลดลงอย่างรวดเร็ว มีผลต่อราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลก โดยทำให้ราคาผลิตภัณฑ์นมในประเทศผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น เป็นข้อจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์นมสู่ตลาดโลก 
  • การพัฒนาในตลาดที่สำคัญ(Main Market Development)
                  1. ราคาผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ภายหลังการลดลงจากราคาที่มีค่าสูงที่สุดในปี 2547
                      ถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าราคาผลิตภัณฑ์นมในปี 2548 จะยังไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลกเมื่อเทียบกับความต้องการนำเข้า อาจทำให้ราคาอ่อนลง  คาดว่าตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2557 ราคาจะค่อยๆปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งแต่ยังคงต่ำกว่าราคาในปี 2547 ที่มีค่าสูงที่สุด คาดว่าในปี 2557 ราคาเนยแข็งจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 แต่ต่ำกว่าราคาในปัจจุบัน ขณะที่ราคาเนยสดแตกต่างจากปี 2547 ไม่มาก ส่วนราคานมผงจะลดลงเพียงเล็กน้อย โดยราคานมผงเต็มมันเนยลดลงร้อยละ 3 และราคานมผงขาดมันเนยลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับราคาในปี 2547 ปัจจัยที่ทำให้ราคาเนยและนมผงขาดมันเนยในตลาดโลกลดลงไม่มากเมื่อเทียบกับ ทศวรรษที่ผ่านมา คือ สหภาพยุโรปและสหรัฐฯที่ส่งออกเนยและนมผงขาดมันเนยลดลง ตามลำดับ ประกอบกับความต้องการบริโภคที่ยังไม่ลดลงเนื่องจากอัตราการเติบโตของประชากร พฤติกรรมการบริโภคอาหารโปรตีนสูงขึ้น และรายได้ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศที่เป็นผู้นำ เข้า ราคาผลิตภัณฑ์นมที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆนั้น เกิดขึ้นภายใต้สมมติฐานที่ว่า ภาวะอากาศ
    ภาวะเศรษฐกิจและนโยบายที่ไม่เปลี่ยนแปลง
                   2. ผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา โอซีเนีย และ สหรัฐอเมริกา
                       ปริมาณการผลิตนมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เป็น 747 ล้านตันในปี 2557  จำนวนสต็อกโคและกระบือที่ให้นมในโลกคาดว่าเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางแต่ผล ผลิตโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่า ประเทศผู้ผลิตนมที่สำคัญของโลก(ประมาณสองในสามส่วนของผลผลิตทั้งหมด) ได้แก่ สหภาพยุโรป อินเดีย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ปากีสถาน บราซิลและจีน โดยมีสหภาพยุโรปเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ขณะที่อินเดียเป็นประเทศที่มีปริมาณการผลิตน้ำนมมากที่สุดของโลก คาดว่าผู้ผลิตในประเทศกำลังพัฒนาจะมีส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53 เป็นร้อยละ 58 โดยเฉพาะในอินเดียและจีน สำหรับปริมาณการผลิตในประเทศสมาชิก OECD[1] ยังคงไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการควบคุมปริมาณการผลิต ถึงแม้ว่าปริมาณการผลิตนมในโอซีเนียและสหรัฐฯ จะมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นก็ตาม
                     3. เนยแข็ง นมผงเต็มมันเนย และ เนย เป็นผลิตภัณฑ์นมสำคัญที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น
                         คาดว่าการผลิตนมผงเต็มมันเนย เนยแข็งและเนยของโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ขณะที่การผลิตนมผงขาด
    มันเนยของโลกจะลดลงร้อยละ 4 โดยการผลิตในประเทศที่มิใช่สมาชิก OECD คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการลงทุนเพื่อการแปรรูปเพิ่มขึ้น ส่วนในประเทศสมาชิก OECD มีเพียงการผลิตเนยแข็งและนมผงเต็มมันเนยเท่านั้นที่จะเพิ่มขึ้น ขณะที่ เนยและนมผงขาดมันเนยจะลดลง
                        ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลิตนมผงเต็มมันเนยเพิ่มขึ้นคือ การใช้เพื่อทดแทนการผลิตนมในพื้นที่ที่ขาดแคลนและปริมาณนมลดลงในบางฤดูกาล ปริมาณการค้านมผงเต็มมันเนยของโลกเป็นครึ่งหนึ่งของการผลิตนมผงเต็มมันเนย ของโลก และคาดว่ายังคงเป็นผลิตภัณฑ์นมที่มีความสำคัญที่สุดในการค้าระหว่างประเทศ คาดว่านิวซีแลนด์และสหภาพยุโรปเป็นผู้ส่งออกที่มีความสำคัญในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียและอาร์เจนตินากำลังให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น การนำเข้าในบางประเทศเช่น ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และ แอฟริกาเหนือคาดว่าเพิ่มขึ้นตลอดช่วงเวลา 10 ปี ขณะที่การนำเข้าในบางประเทศเช่นจีนและบราซิลอาจเพิ่มขึ้นบางปีเนื่องจาก สามารถผลิตได้เอง
                        คาดว่าเนยแข็งยังคงเป็นผลิตภัณฑ์นมที่สำคัญที่สุดในโลก เนื่องจากปริมาณการผลิตเป็นร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดในตลาดโลก ในปี 2557 คาดว่าเนยแข็งร้อยละ 40 ของโลกผลิตที่สหภาพยุโรปและร้อยละ 25 ผลิตที่อเมริกาเหนือ  และคาดว่าปริมาณการผลิตเนยแข็งของประเทศที่มิใช่สมาชิกOECD จะเติบโตร้อยละ 29 ในช่วง 10 ปีที่คาดการณ์  โดยโอซีเนียและสหภาพยุโรปยังคงเป็นผู้ส่งออกที่มีความสำคัญที่สุดในตลาดโลก และมีส่วนแบ่งตลาดส่งออกเป็นร้อยละ 80  ส่วนประเทศที่เป็นผู้นำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ซาอุดิอาระเบีย และรัสเซีย
                       สำหรับการผลิตเนยของโลกในช่วงปี 2547 - 2557 คาดว่ามาจากประเทศที่มิใช่สมาชิก OECD และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35  โดยประเทศอินเดียเป็นผู้ผลิตเนยรายใหญ่ที่สุดของโลก คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิก OECD จะมีการใช้นมสดในการผลิต fresh dairy product ,เนยแข็งและนมผงเต็มมันเนยเพิ่มขึ้น แต่ผลิตนมผงขาดมันเนยลดลง ทั้งนี้รัสเซียยังคงเป็นประเทศหนึ่งที่นำเข้าเนยที่สำคัญที่สุดของโลกเช่น เดียวกับประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ การนำเข้าเนยของสหภาพยุโรปยังคงมีความสำคัญในช่วงเวลาที่คาดการณ์ โดยนำเข้าจากนิวซีแลนด์ตามโควตาที่จัดสรร
                      การผลิตนมผงขาดมันเนยของโลกที่ลดลงเนื่องจาก ในสหภาพยุโรปและสหรัฐฯผลิตลดลงร้อยละ 25 และ ร้อยละ 33 ตามลำดับ ในประเทศที่มิใช่สมาชิก OECD บริโภคนมขาดมันเนยแบบเหลวและนมผงขาดมันเนยมีความสำคัญน้อยกว่าผลิตภัณฑ์นม อื่น ทำให้คาดว่าการค้านมผงขาดมันเนยในช่วง 10 ปีหน้า ยังคงมีแรงซื้ออ่อนแบะลดลง ส่วนแบ่งการส่งออกนมผงขาดมันเนยของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว คาดว่าถูกแทนที่โดยกลุ่มประเทศโอซีเนีย อาร์เจนตินาและยุโรปตะวันออก บริษัท LICONSA(Leche Industialization) ซึ่งเป็นบริษัทของเม็กซิโกที่ขายนมผงขาดมันเนยให้แก่ประเทศยากจน คาดว่าจะเพิ่มปริมาณการใช้ภายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้านมผงขาดมันเนยจากต่างประเทศ
                   4. ความต้องการผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นเกิดจากประเทศที่มิใช่สมาชิก  OECD ( กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา )
                       ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภคนมและผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นยังคงเป็นอัตราการ ขยายตัวของประชากรและภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ความต้องการบริโภคยังถูกกระตุ้นด้วย ผลิตภัณฑ์ใหม่ การขยายตัวของสิ่งอำนวยความสะดวกในการแช่เย็น การปรับปรุงอายุสินค้า(Shelf Life)  การตลาดและการบรรจุหีบห่อ อย่างไรก็ตามอัตราการบริโภคนมยังคงมีข้อจำกัด ในประเทศสมาชิก OECD  คาดว่าปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์นมลดลง ยกเว้นเนยแข็ง ที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ในปี 2557  แต่ การบริโภคผลิตภัณฑ์นมในประเทศที่มิใช่สมาชิก OECD คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกชนิด โดยคาดว่าการบริโภคเนย เนยแข็ง และนมผงเต็มมันเนยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี ส่วนนมผงขาดมันเนยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ต่อปี ประเทศที่มีอัตราการบริโภคเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ จีน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 50-70 ในปี 2557
                       ความกังวลของผู้บริโภคคาดว่าจะมีความสำคัญทั้งประเทศที่เป็นสมาชิก OECD และมิใช่สมาชิก โดยจะคำนึงถึงความปลอดภัยมากกว่าประโยชน์และความสะดวก ทั้งนี้แนวโน้มการบริโภคดังกล่าวถูกกระตุ้นโดย อัตราเติบโตของรายได้ ช่วงอายุของประชากร การเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินชีวิต(lifestyles) และการเติบโตของการให้บริการด้านอาหาร 
                    5.  ปริมาณการผลิตนมในโอซีเนียกำลังฟื้นตัวจากปัจจุบัน
                         ปัญหาน้ำท่วมและอากาศที่หนาวเย็นในนิวซีแลนด์ จะทำให้ปริมาณการผลิตนมลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน และมีผลต่อปริมาณการขายผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลก ถ้าภาวะอากาศเป็นปกติ ปริมาณการผลิตนมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ในช่วงเวลาที่คาดการณ์ เนื่องจากจำนวนสต็อกโคนมที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตที่ขยายตัวคาดว่ายังคงต่ำกว่าปีก่อน ค่าเงินนิวซีแลนด์ที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้รายได้การส่งออกไม่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าฟอนเทอร่าจะมีนโยบายในการซื้อขายเงินต่างประเทศล่วงหน้าก็ตาม  คาดว่าประเทศนิวซีแลนด์จะกลายเป็นผู้ผลิตนมผงที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเพื่อ รองรับความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก
                        ปริมาณการผลิตนมในออสเตรเลียกำลังฟื้นตัวหลังจากผ่านช่วงเวลาแห้งแล้งในสอง ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ปริมาณการผลิตนมจะยังไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากปริมาณอาหารสัตว์และน้ำ ชลประทานที่สำรองไว้ยังน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดภัยแล้ง ถ้าสภาวะอากาศเป็นปกติ คาดว่าปริมาณน้ำนมดิบจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและ จำนวนสต็อกโคนมที่เพิ่มขึ้น แต่จะไม่เท่ากับปริมาณน้ำนมดิบในช่วงสิบปีก่อน(ก่อนภัยแล้ง) และคาดว่า ในปี 2557 ปริมาณการผลิตนมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละร้อยละ 1.7
                    6. ผลิตภัณฑ์นมของสหรัฐฯกำลังดีขึ้นจากปัจจุบัน
                        ปริมาณการผลิตนมในช่วงสองปีที่ผ่านมาของสหรัฐฯไม่เพิ่มขึ้น ด้วยคุณภาพอาหารหยาบที่ต่ำลงและความเป็นไปได้ในการใช้ฮอร์โมน Bovine Somatrotophin(BST)  ที่ลดลงทำให้ปริมาณการผลิตนมในปี 2547 ต่ำกว่าปีก่อน  ส่วนปริมาณการผลิตนมในปี 2548 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจาก ราคาผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนอาหารสัตว์ที่ต่ำลงและ การใช้ BST กลับเป็นปกติ และคาดว่าปริมาณการผลิตนมในปี 2557 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากปี 2547 เป็น 89 ล้านตัน เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทางด้านจำนวนสต็อกนมผงขาดมันเนยและการส่งออกคาดว่าจะลดลงในช่วงเวลาที่คาด การณ์(2549-2557) เนื่องจากราคานมผงขาดมันเนยในประเทศที่ไม่เปลี่ยนแปลงและมากกว่าระดับราคา ที่สนับสนุน(support prices)
                     7. ปริมาณการผลิตนมของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นไปตามโควตาที่จัดสรร
                         ในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นแหล่งผลิตนมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยปริมาณผลิตภัณฑ์นมที่จำหน่ายในตลาดโลกเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณทั้งหมด คาดว่าปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากปี 2549 ถึงปี 2551 ตามการปฏิรูปนโยบายเกษตรร่วมในปี 2546 จำนวนโควตานมในสหภาพยุโรป 15 ประเทศ คาดว่าเพิ่มขึ้นไม่มาก เนื่องจากจำนวนฝูงโคนมที่ลดลงในระยะยาว แต่ความเป็นไปได้ทางการตลาดนมของสหภาพยุโรป 10 ประเทศ คาดว่าเติบโตเนื่องจากจำนวนโควตาที่ได้รับเพิ่มขึ้นและส่วนใหญ่เป็นการใช้ ภายในฟาร์ม(ร้อยละ 20 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด)  การผลิตและการส่งออกนมผงขาดมันเนยและเนยคาดว่าลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจาก ความต้องการบริโภคเนยแข็งที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้ประกอบการต้องผลิตเนยแข็ง เพิ่มขึ้น และคาดว่าการผลิตและส่งออกนมผงเต็มมันเนยของสหภาพยุโรปจะลดลง
    ปานกลางในช่วงที่คาดการณ์(2547-2557)
                      8. ปริมาณการผลิตนมของประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
                          ในอเมริกาใต้ซึ่งยังคงใช้ระบบการเลี้ยงโคนมที่ต้นทุนต่ำโดยปล่อยทุ่งหญ้า และภายใต้สมมติฐานที่ว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่า ลง ทำให้อเมริกาใต้มีความสามารถทางการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกเพิ่ม ขึ้น
                          เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกที่สูงขึ้นและผลตอบแทนการเลี้ยงโคนมใน อาร์เจนตินาที่สูงขึ้นทำให้ปริมาณการผลิตนมในปี 2547 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและคาดว่าในปี 2549 ปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในทศวรรษที่ 1990 สำหรับในปี 2557 ปริมาณการผลิตนมของอาร์เจนตินาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 จากปี 2548 (ร้อยละ 4 ต่อปี)เนื่องจากการผลิตนมให้ผลกำไรเพิ่มขึ้นและฝูงโคที่มีคุณภาพมากที่สุด ภายหลังเกิดวิกฤตโคนมในปี 2543 - 2545
                          บราซิลเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ของโลกมาหลายปี โดยเฉพาะการนำเข้านมผงเต็มมันเนย อย่างไรก็ตามการผลิตนมและผลิตภัณฑ์ของบราซิลก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันจึงทำ ให้การนำเข้าลดลง คาดว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี และการบริโภคก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกันเนื่องจากโครงการนมโรงเรียนของรัฐบาล และการเพิ่มศักยภาพเพื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์นมในช่วง 10 ปีข้างหน้า 
                         เช่นเดียวกับประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ เช่น อุรุกวัยและปารากวัยซึ่งมีทุ่งหญ้าขนาดใหญ่และจำนวนประชากรน้อย จึงคาดว่าประเทศดังกล่าวจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม การเติบโตด้านผลิตภัณฑ์นมของประเทศดังกล่าวยังคงต่ำในปัจจุบัน และมีแนวโน้มเช่นนี้ต่อไป
                    9.  ความต้องการผลิตภัณฑ์นมในเอเชียกำลังกระตุ้นให้มีการพัฒนาในอุตสาหกรรมนม
                        การผลิตนมในจีนยังคงเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้นมและผลิตภัณฑ์นมเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ การผลิตเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายฝูงโคนม คาดว่าในช่วงที่คาดการณ์(2547-2557)ปริมาณการผลิตนมของจีนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ต่อปี ในขณะที่อัตราการให้น้ำนมของแม่โคยังไม่ปรับปรุงให้เพิ่มขึ้นจากสิบปีก่อน และจีนยังคงเผชิญกับข้อจำกัดในด้านความเสื่อมโทรมกับทุ่งหญ้า,การขาดแคลนน้ำ ,การขาดแคลนอาหารสัตว์และแม่โคคุณภาพสูง การผลิตในจีนยังคงไม่สมดุลโดยปริมาณการผลิตเกินความต้องการในภาคตะวันตกใน ขณะที่ภาคตะวันออกยังมีปริมาณนมไม่เพียงพอต่อการบริโภค การเติบโตของการบริโภคผลิตภัณฑ์นมของจีนคาดว่าจะถูกตอบสนองด้วยการผลิตภายใน ประเทศ อย่างไรก็ตาม การผลิตนมของจีนยังมีข้อจำกัด ทำให้ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์นม
                        การผลิตนมของอินเดียในทศวรรษหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ต่อปี หลังจากในทศวรรษนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี เนื่องจากเป็นผู้ผลิตนมรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยร้อยละ 57 เป็นนมกระบือและที่เหลือเป็นนมโค ทั้งนี้อัตราการให้นมของโค กระบือ ในอินเดียยังคงต่ำ แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี ในทศวรรษหน้า เนื่องจากโครงการของรัฐบาล ที่เรียกว่า Operation Flood ซึ่งดำเนินการในช่วงปี 2513 ถึง 2539 โดยพัฒนาระบบการผลิตนมของอินเดียให้ทันสมัยขึ้น ด้วยการปรับปรุงการตลาดและการกระจายผลิตภัณฑ์นมสู่ผู้บริโภคชาวอินเดีย อย่างไรก็ตาม อินเดียเป็นชาติที่มีปริมาณการผลิตนมมากที่สุดและเป็นฟาร์มขนาดเล็ก (ร้อยละ 70 เลี้ยงโคกระบือ 2 ตัว) แต่ยังไม่สามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้ เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น เพราะว่ารายได้และประชากรเพิ่มขึ้น 
  • ประเด็นสำคัญและความไม่แน่นอน(Key issues and uncertainties)
                  นมเป็นสินค้าเหมือนสินค้าเกษตรอื่น ซึ่งมีปัจจัยของความไม่แน่นอนที่มีผลต่อระบบของตลาดนมและผลิตภัณฑ์นม คือ อากาศ ระบบเศรษฐกิจ สภาวะแวดล้อม นโยบาย ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลต่อระบบตลาดนม รวมถึง การพัฒนาในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเงินซึ่งมีอิทธิพลค่อนข้างสูง เนื่องจากระบบการค้าผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกจะอิงกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ แต่ประเทศผู้ผลิตและส่งออกจะขึ้นอยู่กับประเทศในแถบ Ocenia ยุโรป และ อเมริกาใต้ สรุปดังนี้
                  1. นโยบายด้านผลิตภัณฑ์นม
                      การพัฒนาด้านนโยบายผลิตภัณฑ์นมคาดว่าจะเป็นสิ่งสำคัญในตลาด เนื่องจากการผลิตนมในประเทศสมาชิก OECD เกือบทุกประเทศมีการสนับสนุนอย่างมาก การค้าผลิตภัณฑ์นมระหว่างประเทศต้องเผชิญกับอัตราภาษีสูงที่สุดในสินค้า เกษตรทั้งหมด ด้วยการกำหนดโควตาภาษี (Tress : Tariff Quotas) ซึ่งเก็บภาษีนำเข้าในโควตาอัตราต่ำและใช้การสนับสนุนการส่งออกและมาตรการ สนับสนุนทางการค้าอื่นๆ ดังนั้น ข้อตกลงขององค์การการค้าโลกจึงมีอิทธิพลต่ออนาคตของตลาดผลิตภัณฑ์นม นอกจากนั้น อุตสาหกรรมนมต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและสวัสดิ์ภาพสัตว์ และในอนาคตยังต้องเผชิญกับ ความเสื่อมโทรมของทุ่งหญ้า ปริมาณน้ำที่จำกัด มลภาวะทางน้ำ และ การปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่บรรยากาศ
                  2. โลกาภิวัตร globalisation)
                     การแปรรูปผลิตภัณฑ์นมมีการปรับโครงสร้างอย่างรวดเร็วด้วยการรวมกิจการ (mergers) ความร่วมทุนกับต่างประเทศ(joint-ventures) การลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติ(foreign direct investment) และการเข้าถือสิทธิ(acquisition)  เนื่องจากอุตสาหกรรมนมต้องเผชิญกับการรวมตัวอย่างรวดเร็วและการค้าปลีกที่ ขยายตัว โดยเฉพาะประเภท discount store ที่ทำให้ผู้ผลิตต้องพยายามลดต้นทุนการผลิต นอกจากนั้น ในประเทศพัฒนาแล้วยังมีการกำหนดโควตาการผลิตซึ่งเป็นอุปสรรคของผู้แปรรูปภาย ในประเทศ ดังนั้นอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมจึงพยายามปรับตัวเข้าสู่โลกาภิวัตร
                 3. ตลาดที่ไม่เป็นทางการ(informal market) กระทบต่อการมีส่วนร่วมทางการค้าของประเทศกำลังพัฒนา
                    ในประเทศกำลังพัฒนา การลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติและบริษัทผลิตภัณฑ์นมร่วมทุนมีจำนวนเพิ่ม ขึ้น อีกทั้งรัฐบาลส่งเสริมให้เพิ่มการผลิตน้ำนมดิบซึ่งปรับปรุงทั้งประสิทธิภาพ การผลิตและคุณภาพการผลิต อย่างไรก็ตามการผลิตนมและผลิตภัณฑ์นมในประเทศกำลังพัฒนายังมีการ ผลิตอย่างกว้างขวางและตลาดมีทั้งเป็นทางการ(พาณิชย์)และไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ตลาดที่ไม่เป็นทางการยังคงมีความสำคัญมาก ทั้งสองตลาดมีโครงสร้างที่ต่างกัน  ตลาดที่เป็นทางการต้องเผชิญกับมาตรฐานสินค้าและการแข่งขันทางการค้าที่เพิ่ม ขึ้นเนื่องจากการเติบโตของตลาดในเมือง ในขณะที่ตลาดไม่เป็นทางการผลิตสินค้าต้นทุนต่ำและไม่มีมาตรฐานซึ่งครองตลาด ในชนบท ตลาดไม่เป็นทางการพบมากในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศส่วนใหญ่ในทวีป แอฟริกา ประเทศอินเดียและปากีสถาน ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงตลาดไม่เป็นทางการคือการเติบโตของเมือง การลดต้นทุนโครงสร้างพื้นฐาน และ การปรับปรุงเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การขยายเงินลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติและการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ การเปลี่ยนแปลงความพึงพอใจและโภชนาการของผู้บริโภค และ โอกาสทางการค้า
                    การแทรกแซงตลาดผลิตภัณฑ์นมของรัฐบาลกำลังลดลง เนื่องจาก สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมและผู้ประกอบการที่แปรรูปนมต้องการเพิ่มความสามารถทาง การแข่งขัน นโยบายของรัฐบาล เช่น สต็อกสาธารณะ การสนับสนุนการส่งออกนมผงขาดมันเนยและเนยคาดว่าจะถูกแทนที่ด้วยความต้องการ บริโภคสินค้าที่หลากหลาย  ปัจจุบันตลาดส่วนผสม(ingredient)เติบโตอย่างรวดเร็วและมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่อย่างรวดเร็วซึ่งจะมีผลต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมนมในอนาคต  ความสามารถในการสร้างรายได้จากความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับการลด ความเสี่ยงทางการตลาดของสหกรณ์หรือธุรกิจและการจำกัดการเคลื่อนไหวของราคา น้ำนมดิบ  ในขณะที่ ธุรกิจในตลาดเฉพาะจะเกิดการพัฒนาเช่นกัน ได้แก่ ตัวกรองนมชนิดไมโครและอัลตรา (micro and ultra) ซึ่งทำให้ความสามารถในการแยกองค์ประกอบนมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ โปรตีนนมเพื่อความหลากหลายในวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ใน nutraceutical , cosmeceuticals และ pharmaceuticals ซึ่งให้ผลตอบแทนสูง
                 4. มาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยกลายเป็นบรรทัดฐาน
                     ความสามารถในการประกันคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารจะเป็นปัจจัยสำคัญใน อนาคต ทางด้านความปลอดภัยของอาหารและสุขภาพ รวมทั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับกลายเป็นบรรทัดฐานที่ทำให้ผู้ผลิตต้องยอมรับ เทคโนโลยีใหม่ ตลาดผลิตภัณฑ์นมในอนาคตต้องเข้าถึงผู้บริโภค ส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์นมอาจจะได้รับผลกระทบ ดังนั้นอุตสาหกรรมนมจำเป็นต้องรักษาภาพพจน์เพื่อที่จะสร้างความสามารถทางการ แข่งขัน ในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งรายได้เพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤตกรรมการ บริโภคจากบริโภคธัญพืชเป็นโปรตีน ดังนั้นภาพพจน์ของผลิตภัณฑ์นมจะเป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ พัฒนานิสัยการบริโภคและมีพฤติกรรมการควบคุมอาหาร
 

ประเทศสมาชิก OECD ประกอบด้วย 30 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา สาธารณรัฐเชค เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้  ลักเซมเบิร์ก เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สาธารณรัฐสโลวัก สเปน สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ ตุรกี สหราชอณาจักรและสหรัฐอเมริกา
 

 จาก หนังสือ Agricultural Outlook OECD-FAO 2005-2014 ที่เผยแพร่ทางเว็บไซด์ของ FAO

เรียบเรียงโดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 21 พฤศจิกายน 2006

อุตสาหกรรมโคนมของประเทศญี่ปุ่น


  • ประเทศญี่ปุ่นเป็น ประเทศหนึ่งที่มีธุรกิจการเลี้ยงโคนม  มีผลผลิตน้ำนมดิบมากกว่าประเทศไทยกว่า  10  เท่า  ผลผลิตน้ำนมดิบจะเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตนมพร้อมดื่ม  และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ  แต่ขณะเดียวกันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ  ต้องมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมชนิดต่างๆ จากต่างประเทศทุกปี  ซึ่งในปี  2015  ญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าหมายไว้จะผลิตให้ได้ร้อยละ  75  ของความต้องการภายในประเทศ
  • การผลิตน้ำนมดิบ 
                  
     ในปี  2006  ญี่ปุ่นมีจำนวนฟาร์มโคนม  26,600  ฟาร์ม  และจำนวนโคนม  1,635  พันตัว  ซึ่งจำนวนฟาร์มโคนม ลดลงจากปี  2002  จำนวน  4,400  ฟาร์ม  และจำนวนโคนม ลดลงจากปี  2002  จำนวน  91,000  ตัว  หรือคิดเป็นร้อยละ  14.2  และ  5.3  ตามลำดับ  ขนาดของฟาร์มเฉลี่ยปี  2002  คือ  55.7  ตัว / ฟาร์ม  และเพิ่มเป็น  61.5  ตัว / ฟาร์ม  ในปี  2006  แต่ปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้ค่อนข้างคงที่คือปี  2002  ผลิตได้  8,379,969  ตัน  และในปี  2006  (ม.ค. – มิ.ย.)  ระยะเวลา  6  เดือน  ผลิตได้  4,161,550  ตัน  โดยคาดว่าปี  2006  ทั้งปี  ปริมาณน้ำนมดิบน่าจะอยู่ระดับ  8,300,000  ตัน  แหล่งผลิตน้ำนมดิบที่สำคัญของประเทศอยู่ที่  Hokkaido  ซึ่งผลิตได้ประมาณร้อยละ  45  ของประเทศ  สำหรับสัดส่วนของแม่โคนมต่อโคสาวโดยเฉลี่ยคือ  65 : 35  ประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมดิบของแม่โค ปี  2002  คือ  7,442  กก. / ตัว / ปี  และเพิ่มเป็น  7,859  กก. / ตัว / ปี  ในปี  2005
  • การแปรรูป 
                   
     น้ำนมดิบร้อยละ  57 – 60  ที่ผลิตได้ภายในประเทศ   จะเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตนมพร้อมดื่ม    ซึ่งนมพร้อมดื่มจะประกอบด้วยนมสด  เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนม  นมเปรี้ยว  และ  Bacteria  drinks  ในส่วนของผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ  จะประกอบด้วยนมผง  นมข้นหวานและไม่หวาน  เนย  เนยแข็ง  และไอศกรีม  ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตมากที่สุดคือ  นมผงขาดมันเนย  ซึ่งในปี  2005  มีปริมาณการผลิต  189,733  ตัน  รองลงมา คือ  เนยแข็ง  จำนวน  123,170  ตัน   
  • การนำเข้า 
                     ผลิตภัณฑ์นมที่มีการนำเข้ามากคือ  เนยแข็ง  ในปี  2005  มีการนำเข้า  197,575  ตัน  รองลงมาคือ  Lactose  ในส่วนของนมผงขาดมันเนย  ( SMP )  มีการระบุวัตถุประสงค์ของการนำเข้าดังเช่นในปี  2005  มีการนำเข้า  SMP  เพื่อเป็นอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียน จำนวน  2,653  ตัน,  เพื่อเป็นอาหารสัตว์  30,422  ตัน  และเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ  จำนวน  1,212  ตัน  การนำเข้า  SMP  เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อื่นๆ  จากสถิติพบว่า  ปี  2005  การนำเข้า  SMP  เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อื่นๆ  ลดลงจากปี  2001  ที่มีการนำเข้า  12,795  ตัน  ซึ่งลดลงกว่า  10  เท่า   ในช่วงระยะเวลา  5  ปี   ในขณะที่ผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ   ก็มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าค่อนข้างต่ำ  หรือบางชนิดลดลง  ยกเว้น  เนย  ที่มีการนำเข้าในปี  2001  จำนวน  379  ตัน  และเพิ่มเป็น  4,716  ตัน  ในปี  2005
                     จากสถิติการผลิตผลิตภัณฑ์นมภายในประเทศของญี่ปุ่น  เทียบกับปริมาณการนำเข้า  พบว่าอุตสาหกรรมนม  ของญี่ปุ่นมีการขยายตัวค่อนข้างช้า  ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกับการนำเข้า  ในขณะที่ฟาร์มโคนม ลดลงค่อนข้างมาก  และจำนวนโคนม ลดลงเช่นกัน  โดยที่ผลผลิตน้ำนมดิบค่อนข้างคงที่ตลอดระยะเวลา  5  ปี  ที่ผ่านมา   โดยการเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการฝูงโคนมให้มีสัด ส่วนของแม่โคนมที่สูงกว่าโคนมสาว

 ตารางที่ 1 จำนวนฟาร์มโคนม และโคนม

ปี

จำนวน

ฟาร์มโคนม

จำนวน

โคนมทั้งหมด

จำนวน

แม่โคนมทั้งหมด

จำนวน

แม่โคที่รีดนม

จำนวน

แม่โคที่แห้งนม

จำนวน

โคสาว

เฉลี่ยจำนวน

โคนม

(ฟาร์ม)

(พันตัว)

(พันตัว)

(พันตัว)

(พันตัว)

(พันตัว)

(ตัว/ฟาร์ม)

2002

31,000

1,726

1,126

966

160

599

55.70

( 65.3 )

( 34.7 )

2003

29,800

1,719

1,120

964

156

599

57.70

( 65.2 )

( 34.8 )

2004

28,800

1,690

1,088

936

152

603

58.70

( 64.4 )

( 35.6 )

2005

27,700

1,655

1,055

910

145

600

59.70

( 63.7 )

( 36.3 )

2006

26,600

1,635

1,046

900

146

589

61.50

( 64.0 )

( 36.0 )

ที่มา : MAFF " Liverstock  Statistics ",  " Dairy  Cattle  Statistics "
หมายเหตุ  :     1 )  ข้อมูลเป็นการสำรวจ  ณ  วันที่  1  กุมภาพันธ์  ของทุกปี
                      2 )  ในเครื่องหมายวงเล็บ (....) หมายถึง ร้อยละของจำนวนโคนมทั้งหมด

ตารางที่ 2

 ( หน่วย  :  ตัน )

ปี

ผลผลิตน้ำนม

การนำไปใช้ประโยชน์

ผลิตภัณฑ์นม

ผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ

อื่นๆ

( ตัน )

พร้อมดื่ม

2001

8,311,848

4,903,260 (59.0)

3,316,630 (39.9)

91,958  (1.1)

2002

8,379,969

5,046,042  (60.2)

3,245,423  (38.7)

88,504  (1.1)

2003

8,404,999

5,017,971  (59.7)

3,301,744  (39.3)

85,284  (1.0)

2004

8,284,746

4,902,005  (59.2)

3,301,434  (39.8)

81,308  (1.0)

2005

8,291,534

4,737,729  (57.1)

3,472,058  (41.9)

81,747  (1.0)


ที่มา :MAFF " Milk  and  Milk Products  Statistics "
หมายเหตุ  :  ในเครื่องหมายวงเล็บ (......)  คือ ร้อยละของผลผลิตน้ำนม
ตารางที่  3  Production  of  Drinking  Milk  and  Milk  Beverages

ปี

Drinking  Milk

Milk  Beverages

Fermented Milk

Lactic â

Total

Milk

Processed  Milk

Bacteria  drinks

( KL)

( KL)

( KL)

( KL)

( KL)

( KL)

2001

4,402,203

3,840,122

562,081

1,225,693

698,142

174,697

2002

4,430,271

3,976,636

453,635

1,173,306

798,915

185,271

2003

4,478,913

4,020,871

458,042

1,174,909

793,335

180,076

2004

4,404,370

3,926,680

477,690

1,185,274

782,036

172,662

2005

4,261,231

3,793,862

467,369

1,207,946

801,630

172,278

ที่มา : MAFF " Milk  and  Milk Products  Statistics "ที่มา : MAFF " Milk  and  Milk Products  Statistics "
ตารางที่  4  Production  of  Dairy  Products

ชนิดผลิตภัณฑ์

ปี

2001

2002

2003

2004

2005

นมข้นหวาน

             31,899

             31,911

             33,106

             35,253

             32,276

นมระเหยน้ำ

                1,778

                2,573

                1,645

                1,528

                1,209

นมผงเต็มมันเนย  ( WMP )

             17,456

             17,021

             15,010

             14,659

             14,523

Prepared  milk  powder

             34,006

             36,876

             36,427

             35,269

             31,225

เนย

             83,172

             79,598

             81,566

             80,555

             85,468

ครีม

             78,607

             85,150

             87,762

             82,888

             83,301

เนยแข็ง

           116,362

           124,946

           123,577

           119,496

           123,170

Natural  Cheese  for final  use

             14,159

             13,448

             13,773

             12,104

             13,941

นมขาดมันเนยข้นหวาน

                5,806

                5,395

                6,047

                5,933

                6,723

SMP

           177,855

           178,905

           184,372

           182,656

           189,733

Ice  cream

           105,875

           102,427

           103,921

           112,622

           119,753

ที่มา : MAFF " Milk  and  Milk Products  Statistics "ที่มา : MAFF " Milk  and  Milk Products  Statistics "

ตารางที่  5  Dairy  Products  Import

 

ชนิดผลิตภัณฑ์

ปี

2001

2002

2003

2004

2005

SMP (เพื่ออาหารกลางวันสำหรับโรงเรียน)

3,196

2,643

2,907

2,767

2,653

SMP  ( อาหารสัตว์ )

37,266

34,931

34,989

30,511

30,422

SMP  ( เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ )

12,795

5,136

2,173

1,011

1,212

นมข้น  ( รวมชนิดหวานและไม่หวาน )

1,410

1,521

1,489

1,456

1,740

นมผง ( รวม  Whey  และ  WMP )

48,630

48,565

42,823

49,775

50,862

เนย

379

6,648

10,818

8,192

4,716

Natural  Cheese

199,551

189,109

195,751

208,317

197,575

Processed  Cheese

6,935

7,198

8,289

7,583

9,011

Lactose

92,197

86,633

86,287

85,505

85,586

นมที่มีส่วนผสมของโกโก้  (ไม่เติมน้ำตาล)

44,696

46,160

48,239

44,641

46,576

Prepared  edible  fats

29,302

29,165

31,345

31,203

31,274

Casein

16,572

16,231

17,462

18,068

17,737

Ice  cream

22,714

19,199

20,244

22,176

19,303

ที่มา : Ministry  of  Finance  " Japan  Exports  and  Imports "


 จาก  :  Monthly  Statistics 18–7  No. 202  October 2006 Agriculture & Liverstock Industries  Corporation
เรียบเรียงโดย :  นางวิภาวรรณ  ปาณะพล กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์  สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 21ตุลามค 2006