บทวิเคราะห์สถานภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อของประเทศไทย
บทวิเคราะห์สถานภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อของประเทศไทย
โดยนายสว่าง อังกุโร ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและพัฒนาโคเนื้อ
บทวิเคราะห์สถานภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อของประเทศไทย
โดยนายสว่าง อังกุโร ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและพัฒนาโคเนื้อ
ปี 2551 เป็นที่มีความผันผวนทางการตลาดค่อนข้างสูง กล่าวคือ ในช่วงต้นปี ราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ปรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับสินค้าเกษตร ตัวอื่น ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ต่อมาในช่วงปลายปี ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทำให้กำลังซื้อชะลอตัว และคาดว่าในปี 2552 จะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ สถานการณ์ราคาสินค้าปศุสัตว์สำคัญมี รายละเอียดดังนี้
1. ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม ปี 2551 กิโลกรัมละ 37.32 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.19 ในขณะที่ ราคาขายปลีกไก่สดที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปของกรุงเทพมหานครปี 2551 ในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นกิโลกรัมละ 65.03 บาท เปรียบเทียบกับปี 2550 ซึ่งราคาไก่สดกิโลกรัมละ 55.12 บาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.98 โดยการปรับเพิ่มราคาเกิดจากภาวะต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุ ดิบอาหารสัตว์สำหรับการส่งออกเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งของไทยในช่วงเดือน มกราคม – กันยายนของปี 2551 รวมทั้งหมด เป็น 16, 585 ตัน มูลค่า 939 ล้านบาท แสดงรายละเอียดในแต่ละพิกัดดังนี้
ตารางปริมาณและมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งปี 2551(ม.ค.-ก.ย.)
ส่วนการส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุก กรมศุลกากรรายงานว่า ปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกในช่วงเวลาเดียวกัน รวมทั้งหมดเป็น 264,354 ตัน มูลค่า 35,205 ล้านบาท รายละเอียดแต่ละพิกัด ดังนี้
ตารางปริมาณและมูลค่าส่งออกเนื้อไก่แปรรูปปี 2551 (ม.ค. – ก.ย.)
ประเทศไทยส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกไปยังประเทศญี่ปุ่น จำนวน 114,929 ตัน มูลค่า 14,647 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของปริมาณส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกทั้งหมด รองลงมาคือสหราชอณาจักร ซึ่งประเทศไทยส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกปริมาณ 78,380 ตัน มูลค่า 10,982 ล้านบาท โครงสร้างตลาดส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกของไทยแสดงด้วยรูปกราฟวงกลมต่อไปนี้
รูปภาพแสดงสัดส่วนปริมาณส่งออกเนื้อไก่แปรรูปของไทยปี 2551 (ม.ค. – ก.ย.)
กระทรวง เกษตรสหรัฐฯ รายงานสถานการณ์ไก่เนื้อของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 โดยกล่าวถึงปริมาณการนำเข้าเนื้อไก่ทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดือน มกราคม – กรกฎาคมเป็น 390,918 ตัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1 โดยปริมาณการนำเข้าเนื้อไก่ปรุงสุกจากประเทศไทย เป็น 92,932 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 ซึ่งมีปริมาณ 81,062 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในขณะที่ปริมาณนำเข้าเนื้อไก่ปรุงสุกจากประเทศจีนลดลงร้อยละ 38 เนื่องจากความต้องการบริโภคในจีนที่เพิ่มขึ้นจากการจัดงานกีฬาโอลิมปิคและ ความต้องการบริโภคทดแทนเนื้อสุกรภายในประเทศ ทำให้ประเทศจีนลดลำดับประเทศผู้ค้าเนื้อไก่ปรุงสุกในญี่ปุ่นจากเดิมอยู่ ลำดับแรก เป็นลำดับที่สองรองจากประเทศไทยในปีนี้
โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008
ภาวะราคาไข่ไก่ทั้งระดับฟาร์มและระดับตลาดขายปลีกในปีนี้ ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยราคาไข่ไก่สดคละที่เกษตรกรขายได้ปี 2551เฉลี่ยช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม ฟองละ 2.35 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีราคาเฉลี่ยฟองละ 2.06 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ในขณะที่ราคาไข่ไก่ขายปลีกเฉลี่ยสำหรับจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปใน ช่วงเวลาเดียวกัน ฟองละ 3.04 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มีราคาฟองละ 2.62 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16
ปริมาณการนำเข้าไข่สำหรับฟักในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2551 จำนวนรวมทั้งสิ้น 545.46 พันฟอง มูลค่า 21.78 ล้านบาท เป็นไข่ไก่สำหรับฟัก จำนวน 121.86 พันฟอง มูลค่า 4.41 ล้านบาท และ ไข่เป็ดสำหรับฟัก ปริมาณ 423.60 พันฟอง มูลค่า 17.37 ล้านบาท รายละเอียดดังนี้
ตารางปริมาณและมูลค่าการนำเข้าไข่สัตว์ปีกสำหรับฟักทำพันธุ์ ปี 2551(ม.ค. – ก.ย)
ปริมาณการส่งออกไข่ไก่สดและไข่สัตว์ปีกทำไว้ไม่ให้เสีย ในช่วงเวลาเดียวกัน เป็น 266,018 พันฟอง มูลค่า 574.61 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นไข่ไก่สด จำนวน 264,570 พันฟอง มูลค่า 556.15 ล้านบาท ซึ่งราคาต่ำกว่าราคาขายปลีกในตลาดกทม. เช่นเดียวกับทุกปีที่ผ่านมา ที่เกิดสภาวะปริมาณผลผลิตไข่มากกว่าความต้องการบริโภค จึงต้องส่งออกเพื่อรักษาตลาดภายในประเทศ ประกอบกับการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง จึงจำหน่ายในราคาที่ต่ำ รายละเอียด ดังนี้
โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008
ภาวะราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยของสุกรพันธุ์ผสมมีชีวิต น้ำหนัก 100 กิโลกรัม ขึ้นไป ในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม ปี 2551 กิโลกรัมละ 53.49 บาท หลังจากปรับลดลงในปี 2550 ซึ่งมีค่าต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี เหลือกิโลกรัมละ 37.54 บาท โดยสาเหตุที่ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตในปี 2551 ปรับเพิ่มขึ้น คือ ปริมาณการเลี้ยงสุกรลดลงจากการเลิกเลี้ยงของเกษตรกรบางรายที่ไม่สามารถ แบกรับภาระหนี้สินจากต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นในปี 2550 ในขณะที่ราคาขายมิได้ปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเกิดโรค ท้องร่วงติดต่อในสุกร(Porcine Epidemic Diarrhea : PED) ที่ ทำให้ลูกสุกรเสียชีวิตในช่วงปลายปี 2550 และส่งผลต่อราคาสุกรมีชีวิตในช่วงต้นปี 2551 ทางด้านราคาขายปลีกเฉลี่ยเนื้อสุกรที่ใช้จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไป ของกรุงเทพฯ ในปี 2551 ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม กิโลกรัมละ 109.40 บาท และ ราคากระดูกซี่โครงหมู กิโลกรัมละ 101.75 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 พบว่า ราคาเนื้อสุกรฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.96
ปริมาณการส่งออกสุกรมีชีวิตของไทยในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2551 รวมทั้งสิ้น 337,560 ตัว มูลค่า 955.87 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นลูกสุกรพันธุ์ รายละเอียดดังนี้
ปริมาณการส่งออกเนื้อสุกรสดและปรุงสุกในช่วงเวลาเดียวกัน รวมทั้งสิ้น 7,499.76 ตัน มูลค่า 1,475.87 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ส่งออกในพิกัดเนื้อสุกปรุงสุกแบบอื่น และบรรจุภาชนะที่มิใช่กระป๋อง จำนวน 3,399.60 ตัน มูลค่า 1,475.87 ล้านบาท รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008
ราคาโคเนื้อขนาดกลาง (นน.350-450 กก.) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมกราคมถึง ตุลาคม พ.ศ. 2551 ตัวละ 13,255 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ราคาขายโคมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ ปรับลดลง จากตัวละ 13,255 บาท หรือลดลงร้อยละ 8 สำหรับราคาขายปลีกเฉลี่ยเนื้อโคที่ใช้จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไป ของกรุงเทพฯ ในปี 2551 ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม กิโลกรัมละ 140.89 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งราคากิโลกรัมละ 140.89 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.61 ในขณะที่ราคาขายปลีกเนื้อเค็มฯ ในช่วงเวลาเดียวกันกิโลกรัมละ 190.52 บาท ซึ่งลดลงจากกิโลกรัมละ 181.63 บาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.89
ใน ปี2551 (ม.ค.-พ.ย.) ประเทศไทยนำเข้าเนื้อโคและส่วนอื่นที่บริโภคได้แช่เย็นและแช่แข็งจากประเทศ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดมาตรการปกป้องพิเศษ(Special Safeguard) รายละเอียดการนำเข้าเนื้อโคจากประเทศออสเตรเลีย ดังนี้
จาก ข้อมูลข้างต้น พบว่าปริมาณนำเข้าเครื่องในโคกระบือมากกว่าโควตาที่กำหนดไว้ถึงห้าเท่า ส่วนปริมาณนำเข้าเนื้อโคกระบือเกินกว่าโควตาที่กำหนดไว้ร้อยละ 2.5 ในขณะที่การนำเข้าจากนิวซีแลนด์ พบว่า การนำเข้าเครื่องในเกินกว่าที่กำหนดโควตาไว้ร้อยละ 97.50 แต่ปริมาณนำเข้าเนื้อโคกระบือยังคงต่ำกว่าที่ผูกพันไว้กับ รายละเอียดการนำเข้าจากนิวซีแลนด์มีดังนี้
โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008
ในเดือนกันยายน ปี 2551 โรงงานผู้ผลิตนมพร้อมดื่มปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงานจากกิโลกรัมละ 14.50 บาท เป็นกิโลกรัมละ 18.00 บาท ตามการประกาศปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นมของกระทรวงพาณิชย์ ภายหลัง คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับขึ้นราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงานในวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ในขณะที่ราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้ในเดือนตุลาคม เป็นกิโลกรัมละ 16.15 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่ราคากิโลกรัมละ 15.45 บาท เปรียบเทียบกับปี 2550 พบว่าราคาน้ำนมดิบในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.69 ตามภาวะราคาต้นทุนการผลิตและการปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงาน การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำนมดิบส่งผลให้ต้นทุนการผลิตนมพร้อมดื่มเพิ่มขึ้น ดังนั้น ราคานมสดที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปของกรุงเทพมหานคร ปี 2551 ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม จึงปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 6.9 โดยเพิ่มขึ้นจากลิตรละ 47.52 บาท เป็นลิตรละ 50.80 บาท เช่นเดียวกับเนยแข็งที่ใช้น้ำนมดิบเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็น 89.36 บาทต่อห่อ(ขนาด 200- 250กรัม) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.84 ทั้งนี้ปริมาณเนยแข็งที่บริโภคภายในประเทศต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ตามรสนิยมการบริโภคดังนั้น จากภาวะราคาเนยแข็งในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น จึงส่งผลต่อภาวะราคาเนยแข็งภายในประเทศ
ใน ปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) ประเทศไทยยังคงขาดดุลการค้าผลิตภัณฑ์นม เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมเป็น 12,160 ล้านบาท แต่ มูลค่าการส่งออกเป็น 3,228 ล้านบาท ทั้งนี้ประเภทผลิตภัณฑ์นมที่ทำการค้ามากที่สุด อยู่ในพิกัด 0402 โดยนำเข้านมผง และส่งออกเป็นนมข้นทั้งชนิดจืดและหวาน ดังปรากฏรายละเอียดข้อมูลดังนี้
โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2008
ตารางที่ 1 การคาดการณ์ปริมาณการผลิตนมของประเทศสำคัญ
การผลิตนมในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าปริมาณสต็อกหญ้าแห้งจะลดลงและการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตเอธานอ ลเพิ่มขึ้นซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ต้นทุนอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น และปริมาณการผลิตน้ำนมลดลง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในเดือนปัจจุบันนี้ ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นและการส่งออกนมผงขาดมันเนยและ ผลิตภัณฑ์นมขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ราคาน้ำนมดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น
คาดว่าในปี 2007 ราคาน้ำนมดิบในสหรัฐฯ จะมีค่า 19.00 – 19.30 เหรียญดอลลาร์ต่อ 100 ปอนด์ หรือ กิโลกรัมละ 0.419 – 0.425 เหรียญดอลลาร์(ประมาณกิโลกรัมละ 14.165 – 14.368 บาท ) และคาดว่าปริมาณการผลิตนมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เป็น 83.6 ล้านตัน และจากราคาผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณการผลิตนมในปี 2008 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เป็น 85.4 ล้านตัน และคาดว่าราคาน้ำนมดิบปี 2008 จะลดลงเป็น 18.20 – 19.20 เหรียญดอลลาร์ต่อ 100 ปอนด์ หรือ กิโลกรัมละ 0.401 – 0.423 เหรียญดอลลาร์
เนยสด (Butter)
คาดว่าการส่งออกเนยสดของออสเตรเลียในปี 2006/07(ก.ค. – มิ.ย.) ปรับลดลงเป็น 70,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 15 จากปีก่อน การส่งออกเนยสดของออสเตรเลียลดลงในช่วง10ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี เนื่องจากเน้นการส่งออกเนยแข็งและนมผงเต็มมันเนย โดยการส่งออกเนยแข็งและนมผงเต็มมันเนยในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และ ร้อยละ 4.5 ตามลำดับ
คาดว่าการส่งออกเนยสดของนิวซีแลนด์ในปี 2006/07(มิ.ย. – พ.ค.) จะเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 ตัน หลังจากเคยลดลงในปี 2005 เนื่องจากต้องเผชิญกับภาวะหนาวเย็นซึ่งทำให้ปริมาณการผลิตน้ำนมลดลงร้อยละ 3
ถึงแม้จะคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตเนยสดของสหภาพยุโรปในปี 2007 เท่ากับปี 2006 แต่การส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เป็น 260,000 ตันเนื่องจากราคาในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก ในช่างปี 2003 – 2005 การบริโภคและการส่งออกเนยสดของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณสต็อก(intervention stocks) ลดลง ด้วยเหตุผลดังกล่าว สหภาพยุโรปหยุดการสนับสนุนการส่งออกเป็นการชั่วคราว ในระยะยาว คณะกรรมการสหภาพยุโรปคาดว่าการผลิตและการส่งออกเนยสดจะลดลงเนื่องจากราคา ตลาดและราคาแทรกแซงของเนยสดลดลง และผู้ผลิตปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เป็นชนิดอื่นที่ให้มูลค่าเพิ่มขึ้น
รัสเซียเป็นผู้นำเข้าเนย รายใหญ่ที่สุดในโลก และคาดว่าในปี 2007 จะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปี2006
ร้อยละ 13 เป็น 130,000 ตัน โดยมีสหภาพยุโรปและนิวซีแลนด์เป็นผู้ส่งออกที่สำคัญ
นมผงขาดมันเนย (Nonfat Dry Milk)
คาดว่าการส่งออกนมผงขาดมันเนยของออสเตรเลียในปี 2007 (ก.ค. – มิ.ย.) จะลดลงร้อยละ 9จากปี2006 เนื่องจากภาวะภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณน้ำนมดิบลดลง ในขณะที่ปริมาณการส่งออกนมผงขาดมันเนยของนิวซีแลนด์ในปี 2007 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากปี 2006 โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การผลิตนมผงขาดมันเนยของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.6 และคาดว่าในปี 2008 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เป็น 335,000 ตัน ดังนั้นการส่งออกนมผงขาดมันเนยของนิวซีแลนด์ในปี 2008 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เป็น 331,000 ตัน
ตารางที่ 3 การคาดการณ์ปริมาณส่งออกนมผงขาดมันเนยของประเทศสำคัญ ปี 2007
คาดว่าการส่งออกนมผงขาดมันเนยของสหรัฐฯ ในปี 2007 เป็น 270,000 ตัน ซึ่งต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ในเดือนธันวาคมปี 2006 ถึงแม้ว่าจะคาดการณ์ว่าการผลิตนมในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณนมที่เข้าสู่โรงงานนมผงขาดมันเนยลดลง เนื่องจากน้ำนมที่เพิ่มขึ้นเข้าสู่โรงงานเนยแข็งและหางนม(เวย์)ซึ่งให้ผลตอบ แทนที่สูง โดยปริมาณการส่งออกในช่วงเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม ปี 2007 ลดลงร้อยละ 10 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และปริมาณการส่งออกฯ ของประเทศสำคัญเปลี่ยนแปลงดังข้อมูลในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 4 การส่งออกนมผงขาดมันเนยของประเทศสำคัญในช่วงเดือนม.ค. – พ.ค. ปี 2006 และ 2007
ที่มา : GTIS (Global Trade Information System)
ตารางที่ 5 การส่งออกนมผงขาดมันเนยของสหรัฐฯ ปี 2004 – 2006 ปริมาณ : ตันนมผงเต็มมันเนย (Whole Milk Powder)
คาดว่าการส่งออกนมผงเต็มมันเนยในปี 2007 ของประเทศสำคัญเป็น 1.6 ล้านตัน โดยคาดว่าการส่งออกของออสเตรเลียจะลดลงร้อยละ 10 จากปี 2006 เนื่องจากปริมาณการผลิตที่ลดลง และคาดว่าการส่งออกของนิวซีแลนด์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปีก่อน สำหรับสหภาพยุโรป คาดว่าการส่งออกจะเท่ากับปี 2006 โดยในปีนี้ได้มีการยกเลิกการสนับสนุนการส่งออกและราคานมผงเต็มมันเนยในตลาด โลกเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลลบต่อการซื้อนมผงเต็มมันเนยจากสหภาพยุโรป
ตารางที่ 6 ตลาดส่งออกนมผงเต็มมันเนยที่สำคัญของโลก ปี 2003 – 2006 หน่วย : ตัน
ที่มา : GTIS (Global Trade Information System)
โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 24 สิงหาคม 2007
สถานการณ์การผลิตการตลาดนมและผลิตภัณฑ์ของไทยพ.ศ. 2549 (รายงานเดือนพฤศจิกายน 2549)
รายการสินค้า | ในโควตา | นอกโควตา | |
ปริมาณ (ตัน) | ภาษี(%) | ||
ไก่หมักเกลือ | 264,245 | 15.4 | เสียภาษีเหมาจ่าย ที่ระดับ 1,300 ยูโร/ตัน |
ไก่งวง | 103.896 | 8.5 | เสียภาษีเหมาจ่าย ที่ระดับ 1,024 ยูโร/ตัน |
ไก่ปรุงสุก | 230,453 | 10.9 | เสียภาษีเหมาจ่าย ที่ระดับ 1,024 ยูโร/ตัน |
รายงานสถานการณ์ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ของประเทศบราซิลประจำปี 2006
(Brazil Poultry and Products Annual Poultry Report 2006)
รายงานโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
รายงาน ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2549
กรณีที่สองโรคนิวคาสเซิลตรวจพบในหมู่บ้านเล็กๆใกล้กับเมืองมานาฮัส (ในรัฐอามาโซนัส) แต่ในปัจจุบันพื้นที่ทางตอนใต้ของบราซิลไม่ได้เป็นพื้นที่เสี่ยงสำหรับการ ผลิตสินค้าและการส่งออก
ผลิตภัณฑ์
การบริโภค
การบริโภคเนื้อไก่ในปี 2007 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 สำหรับในปี 2006 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างตัวเนื่อง ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลง และอำนาจการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันจากเนื้อสัตว์ชนิดอื่นไม่สามารถที่จะคาดการณ์ถึงผลกระทบที่มีต่อ การบริโภคเนื้อไก่ได้ตั้งแต่เนื้อไก่กลายเป็นสินค้าที่ผู้มีรายได้น้อย สามารถหาซื้อได้เมื่อเทียบกับเนื้อวัวและเนื้อสุกร รวมทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารที่คาดว่าจะมีความต้องการเนื้อไก่เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่เนื้อไก่แช่แข็ง เนื้อไก่พร้อมปรุงและเนื้อไก่สำหรับนำไปทำเบอเกอร์
ปริมาณการบริโภคนกและชิ้นส่วนไม่ได้ถูกนับรวมกับปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ อย่างไรก็ตามผู้บริโภคในบราซิลยังคงนิยมบริโภคเนื้อไก่ที่มีขนาดตัวใหญ่ทั้ง ตัวซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากราคาไก่เนื้อต่ำกว่าเนื้อวัว อย่างไรก็ตามสอดคล้องกับการวิเคราะห์ในบางตลาดที่คาดว่าโครงสร้างความต้อง การเนื้อไก่จะเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่เศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพในปี 1994 ผู้บริโภคในชนชั้นกลางและชนชั้นสูงส่วนใหญ่ของบราซิลได้เปลี่ยนพฤติกรรมใน การบริโภคโดยเปลี่ยนไปบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อไก่แปรรูป พืชที่มีความสำคัญมาแต่ตั้งอดีตของบราซิลคือข้าวและถั่วได้สูญเสียพื้นที่ใน การเพาะปลูกให้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่ให้โปรตีนอย่างสัตว์ปีกและโค นม ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกแปรรูปรายใหญ่ของบราซิลตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริโภคโดยการเปลี่ยนแผนการขายเป็นการขายชิ้นส่วนเนื้อไก่ส่วน ต่างๆรวมกัน(ส่วนใหญ่เป็นเนื้อสะโพกและหน้าอก) และเนื้อไก่แปรรูปเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่น เนื้อไก่พร้อมปรุง นักเก็ต และเบอเกอร์ไก่ ต้องมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในบางส่วน สถาบันทางด้านอาหารและตลาดอาหารจานด่วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจไก่เนื้อ ของบราซิลมีศักยภาพที่สูงขึ้น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่ ผู้แปรรูปนำมาใช้
ด้านการส่งออก
การส่งออกคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2007 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 โดยการคาดการณ์บนพื้นฐานของ
1.ความต้องการเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณสูงเนื่องจากการลดปริมาณการผลิตไก่เนื้อจากอันเป็นผลจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก
2.คาดว่าปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ไปยังรัสเซียและตลาดอื่นๆในแถบยุโรปตอนกลางจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น
3.บราซิลสามารถส่งเนื้อไก่ไปขายในตลาดใหม่ได้
อย่างไรก็ตามการกำหนดโควตาใหม่ของกลุ่มสหภาพยุโรปจะทำให้การขยายตัวของการ ส่งออกเนื้อไก่ลดลงในปี 2007 ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเนื้อไก่แปรรูป
สถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ในปี 2006 หลังจากมีการแก้ไขปรับลดปริมาณการส่งออก ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้สถานการณ์ตามความเป็นจริงของตลาดโลก ปัจจุบันผู้ส่งออกเนื้อไก่ของบราซิลคาดว่าปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ไปยัง ประเทศคู่ค้าที่สำคัญจะลดลงประมาณร้อยละ 14 เพราะว่ามีผลผลิตเนื้อไก่ส่วนเกินอยู่ในตลาดโลกเนื่องจากความต้องการเนื้อ สัตว์ปีกลดลง ประกอบกับการตื่นตระหนกเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกในประเทศคู่ค้าของบราซิล
สินค้าปศุสัตว์และสินค้าที่เกี่ยวข้อง มีทั้งหมด 6 ตอน ดังนี้
ตอนที่ |
รายการสินค้า |
รายละเอียด |
อัตราภาษี |
01 |
สัตว์มีชีวิต |
- สัตว์มีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ |
0 |
02 |
เนื้อสัตว์และส่วนอื่นของสัตว์ที่บริโภคได้ |
เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นของสัตว์ที่บริโภคได้ มันหมู |
60 |
04 |
นมและผลิตภัณฑ์นม |
5-65 |
|
05 |
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ไม่ได้ |
ขนสัตว์ กระดูกสัตว์ เชื้อพันธุ์สัตว์เครื่องในสัตว์ |
0-30 |
16 |
ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ |
ไส้กรอกและผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน |
60 |
23 |
กากและเศษที่เหลือจากอุตสาหกรรมผลิตอาหาร อาหารที่จัดทำไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ |
อาหารสุนัขและแมว |
10 |
2) รูปแบบการลดภาษี
การลดภาษี แบ่งรายการสินค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าทั่วไป (Normal Track) และกลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Track) มีรายละเอียดดังนี้
1. กลุ่มสินค้าทั่วไป (Normal Track ) กำหนดอัตราภาษีลดลงในแต่ละปีจนเหลือเท่ากับร้อยละ 0 ในปีสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสินค้ากลุ่มนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี ในการทยอยลดภาษี และมีสินค้าบางกลุ่มที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันหรือเป็นสินค้าที่ไทยต้อง การให้มีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น เช่น พันธุ์สัตว์ วัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้แต่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศหรือมีไม่เพียงพอ กับความต้องการ และการนำเข้าก็ไม่ได้กระทบกระเทือนต่อเกษตรกร สินค้ากลุ่มนี้สามารถลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ได้ทันทีหลังจากที่ได้มีการลงนามความตกลงกัน
2. กลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Track) เป็น กลุ่มสินค้าที่หากมีการลดภาษีแล้วจะส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้เพิ่ม มากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการผลิตของเกษตรกรและผู้ประกอบการภายในประเทศ ดังนั้นการลดภาษีในสินค้ากลุ่มนี้จึงต้องใช้ระยะเวลาและค่อย ๆ ลดอัตราภาษีลง รวมทั้งบางรายการอาจจำเป็นต้องมีมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard) ซึ่ง หมายถึงมีการกำหนดปริมาณการนำเข้าในแต่ละปี ถ้าในปีใดมีการนำเข้ามากกว่าปริมาณที่กำหนดก็จะเรียกเก็บภาษีในอัตราปกติ ซึ่งเป็นอัตราที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าเท่าเทียมกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ที่ไม่ได้ทำ FTA
3) ท่าทีและรูปแบบการลดภาษีสินค้าปศุสัตว์ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ลดภาษีสินค้าปศุสัตว์ของไทยเหลือร้อยละ 0 ทันทีหรือภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่มีเงื่อนไข ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีอัตราภาษีร้อยละ 0 อยู่แล้ว หรือเป็นรายการสินค้าที่สามารถลดอัตราภาษีได้โดยไม่มีผลกระทบต่อเกษตรกร
2. ลดภาษีสินค้าปศุสัตว์ของไทยในกรณีของรายการสินค้าอ่อนไหว ต้องใช้ระยะเวลาในการลดภาษีนานระหว่าง 10-15 ปี ส่วนใหญ่เป็นสินค้าหมวดเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และผลิตภัณฑ์นม
3. ลดภาษีสินค้าปศุสัตว์ของไทยกรณีเป็นสินค้าที่มีโควตานำเข้าและต้องยกเลิกภายใน 20 ปี คือ น้ำนมและนมผงพร่องมันเนย
แนวโน้มและโอกาสของตลาดผลิตภัณฑ์นมโลก
(World market trends and prospects)
(บทวิเคราะห์สถานการณ์สินค้าปศุสัตว์ )
จาก หนังสือ Agricultural Outlook OECD-FAO 2005-2014 ที่เผยแพร่ทางเว็บไซด์ของ FAO
เรียบเรียงโดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 21 พฤศจิกายน 2006
ตารางที่ 1 จำนวนฟาร์มโคนม และโคนม
ปี |
จำนวน ฟาร์มโคนม |
จำนวน โคนมทั้งหมด |
จำนวน แม่โคนมทั้งหมด |
จำนวน แม่โคที่รีดนม |
จำนวน แม่โคที่แห้งนม |
จำนวน โคสาว |
เฉลี่ยจำนวน โคนม |
(ฟาร์ม) |
(พันตัว) |
(พันตัว) |
(พันตัว) |
(พันตัว) |
(พันตัว) |
(ตัว/ฟาร์ม) |
|
2002 |
31,000 |
1,726 |
1,126 |
966 |
160 |
599 |
55.70 |
( 65.3 ) |
( 34.7 ) |
||||||
2003 |
29,800 |
1,719 |
1,120 |
964 |
156 |
599 |
57.70 |
( 65.2 ) |
( 34.8 ) |
||||||
2004 |
28,800 |
1,690 |
1,088 |
936 |
152 |
603 |
58.70 |
( 64.4 ) |
( 35.6 ) |
||||||
2005 |
27,700 |
1,655 |
1,055 |
910 |
145 |
600 |
59.70 |
( 63.7 ) |
( 36.3 ) |
||||||
2006 |
26,600 |
1,635 |
1,046 |
900 |
146 |
589 |
61.50 |
( 64.0 ) |
( 36.0 ) |
ที่มา : MAFF " Liverstock Statistics ", " Dairy Cattle Statistics "
หมายเหตุ : 1 ) ข้อมูลเป็นการสำรวจ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
2 ) ในเครื่องหมายวงเล็บ (....) หมายถึง ร้อยละของจำนวนโคนมทั้งหมด
ตารางที่ 2
( หน่วย : ตัน ) |
||||
ปี |
ผลผลิตน้ำนม |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
||
ผลิตภัณฑ์นม |
ผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ |
อื่นๆ |
||
( ตัน ) |
พร้อมดื่ม |
|||
2001 |
8,311,848 |
4,903,260 (59.0) |
3,316,630 (39.9) |
91,958 (1.1) |
2002 |
8,379,969 |
5,046,042 (60.2) |
3,245,423 (38.7) |
88,504 (1.1) |
2003 |
8,404,999 |
5,017,971 (59.7) |
3,301,744 (39.3) |
85,284 (1.0) |
2004 |
8,284,746 |
4,902,005 (59.2) |
3,301,434 (39.8) |
81,308 (1.0) |
2005 |
8,291,534 |
4,737,729 (57.1) |
3,472,058 (41.9) |
81,747 (1.0) |
ปี |
Drinking Milk |
Milk Beverages |
Fermented Milk |
Lactic â |
||
Total |
Milk |
Processed Milk |
Bacteria drinks |
|||
( KL) |
( KL) |
( KL) |
( KL) |
( KL) |
( KL) |
|
2001 |
4,402,203 |
3,840,122 |
562,081 |
1,225,693 |
698,142 |
174,697 |
2002 |
4,430,271 |
3,976,636 |
453,635 |
1,173,306 |
798,915 |
185,271 |
2003 |
4,478,913 |
4,020,871 |
458,042 |
1,174,909 |
793,335 |
180,076 |
2004 |
4,404,370 |
3,926,680 |
477,690 |
1,185,274 |
782,036 |
172,662 |
2005 |
4,261,231 |
3,793,862 |
467,369 |
1,207,946 |
801,630 |
172,278 |
ชนิดผลิตภัณฑ์ |
ปี |
||||
2001 |
2002 |
2003 |
2004 |
2005 |
|
นมข้นหวาน |
31,899 |
31,911 |
33,106 |
35,253 |
32,276 |
นมระเหยน้ำ |
1,778 |
2,573 |
1,645 |
1,528 |
1,209 |
นมผงเต็มมันเนย ( WMP ) |
17,456 |
17,021 |
15,010 |
14,659 |
14,523 |
Prepared milk powder |
34,006 |
36,876 |
36,427 |
35,269 |
31,225 |
เนย |
83,172 |
79,598 |
81,566 |
80,555 |
85,468 |
ครีม |
78,607 |
85,150 |
87,762 |
82,888 |
83,301 |
เนยแข็ง |
116,362 |
124,946 |
123,577 |
119,496 |
123,170 |
Natural Cheese for final use |
14,159 |
13,448 |
13,773 |
12,104 |
13,941 |
นมขาดมันเนยข้นหวาน |
5,806 |
5,395 |
6,047 |
5,933 |
6,723 |
SMP |
177,855 |
178,905 |
184,372 |
182,656 |
189,733 |
Ice cream |
105,875 |
102,427 |
103,921 |
112,622 |
119,753 |
ตารางที่ 5 Dairy Products Import
ชนิดผลิตภัณฑ์ |
ปี |
||||
2001 |
2002 |
2003 |
2004 |
2005 |
|
SMP (เพื่ออาหารกลางวันสำหรับโรงเรียน) |
3,196 |
2,643 |
2,907 |
2,767 |
2,653 |
SMP ( อาหารสัตว์ ) |
37,266 |
34,931 |
34,989 |
30,511 |
30,422 |
SMP ( เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ) |
12,795 |
5,136 |
2,173 |
1,011 |
1,212 |
นมข้น ( รวมชนิดหวานและไม่หวาน ) |
1,410 |
1,521 |
1,489 |
1,456 |
1,740 |
นมผง ( รวม Whey และ WMP ) |
48,630 |
48,565 |
42,823 |
49,775 |
50,862 |
เนย |
379 |
6,648 |
10,818 |
8,192 |
4,716 |
Natural Cheese |
199,551 |
189,109 |
195,751 |
208,317 |
197,575 |
Processed Cheese |
6,935 |
7,198 |
8,289 |
7,583 |
9,011 |
Lactose |
92,197 |
86,633 |
86,287 |
85,505 |
85,586 |
นมที่มีส่วนผสมของโกโก้ (ไม่เติมน้ำตาล) |
44,696 |
46,160 |
48,239 |
44,641 |
46,576 |
Prepared edible fats |
29,302 |
29,165 |
31,345 |
31,203 |
31,274 |
Casein |
16,572 |
16,231 |
17,462 |
18,068 |
17,737 |
Ice cream |
22,714 |
19,199 |
20,244 |
22,176 |
19,303 |
ที่มา : Ministry of Finance " Japan Exports and Imports "