คุณภาพซากและปริมาณเนื้อที่มีมูลค่าของโคขุนลูกผสมพื้นเมือง

คุณภาพซากและปริมาณเนื้อที่มีมูลค่าของโคขุนลูกผสมพื้นเมือง
Carcass Quality and Quantity of Value Lean Cross Breed Thai Native Cattle
โดย นางสาวนารถตยา ชมนารถ , นายสมพิศ  ชูแสงจันทร์

บทคัดย่อ 

            ศึกษาคุณภาพซากและปริมาณเนื้อที่มีมูลค่าของโคขุนลูกผสมพื้นเมือง วางแผนการทดลองแบบ Complete Randomized Design มี 2 ปัจจัย คือ ระยะเวลาการขุน 12 เดือน จำนวน 7 ตัว กับ ระยะเวลาการขุน 18 เดือน จำนวน 7 ตัว รวมเป็น 14 ตัว มีอายุก่อนขุนโดยเฉลี่ย 1 ปี ได้รับอาหารมีสัดส่วนของอาหารหยาบ : อาหารข้น คือ 50 : 50 เข้า กระบวนการฆ่าและชำแหละตัดแต่ง พบว่า เปอร์เซ็นต์ซากโคขุน เปอร์เซ็นต์ผลพลอยได้ เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักที่เกิดจากกระบวนการฆ่า พื้นที่หน้าตัดสันนอก เปอร์เซ็นต์เนื้อแดงส่วนขาหน้า เปอร์เซ็นต์เนื้อแดงส่วนขาหลัง เปอร์เซ็นต์ไขมัน และเปอร์เซ็นต์กระดูก ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ทั้งในระยะเวลาการขุน 12 เดือน และ 18 เดือน แต่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงส่วนขาหน้ามากกว่าส่วนขาหลัง Rib หรือสันนอก เป็นชิ้นเนื้อที่มีความนุ่มมากที่สุดในทั้ง 2 ระยะเวลาการขุน Rump กับ Topside ของโคขุน 18 เดือน มีความเหนียวมากกว่าโคขุน 12 เดือน (p<0.05) ผลการคำนวณมูลค่าเฉลี่ยของซากโคขุน และมูลค่าชิ้นเนื้อคุณภาพดี พบว่า โคขุน 12 เดือน มีมูลค่าประมาณ 30,855.06 และ 12,122.10 บาท ตามลำดับ ส่วนโคขุน 18 เดือน มีมูลค่า 32,169.49 และ 11,950.20 บาท

คำสำคัญ :   โคขุนลูกผสมพื้นเมือง   คุณภาพซาก   ชิ้นเนื้อคุณภาพดี   มูลค่าชิ้นเนื้อ


เลขทะเบียนผลงาน   52 (2) – 0211 – 095
1   กลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์  สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์