ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรพื้นที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรพื้นที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี
นายสมคิด  วิมุกตานนท์   นางสาวอมรรัตน์  ชื่นสุวรรณ

 

 บทคัดย่อ

 

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ทราบถึงสภาพพื้นฐานทางด้านบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อการรับข้อมูลข่าวสารความรู้การเลี้ยงโคเนื้อ ความรู้และการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรพื้นที่นิคม เศรษฐกิจพอเพียง ในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี  โดยการสัมภาษณ์เกษตรกร 100 ราย ในปี 2552  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า  ไค-สแควร์ พบว่า

              เกษตรกรร้อยละ 61.00  เป็นชาย อายุเฉลี่ย 44.7 ปี  เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.00         มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีที่ดินเฉลี่ย 26.43 ไร่/ครัวเรือน      มีประสบการณ์เลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 9.43 ปี ขนาดฟาร์มเฉลี่ย 17.77 ตัว  ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มและใช้เงินกู้เพื่อเลี้ยงโคเนื้อ ในรอบปีที่ผ่านมาจำหน่ายโคเนื้อเฉลี่ยรายละ 1 ตัว  มีรายได้จากการจำหน่ายโคเนื้อเฉลี่ยรายละ 50,250  บาท  เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 78.00  ติดต่อ พบปะกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ได้รับข่าวสารการเลี้ยงโคเนื้อจาก โทรทัศน์ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการเลี้ยงโคเนื้อในด้าน ทัศนศึกษาดู งาน การฝึกอบรม และการชมนิทรรศการด้านโคเนื้อ  เกษตรกรมากกว่าร้อยละ 60.00 มีความรู้ในประเด็น โรงเรือน พันธุ์และการผสมพันธุ์โค อาหารและการให้อาหารโคเนื้อ สำหรับการควบคุมป้องกันโรคเกษตรกรร้อยละ 59.00   มีความรู้ว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคคอบวมเป็นประจำ ทุกปี เกษตรกรร้อยละ 62.00 ยอมรับเทคโนโลยีการใช้อาหารหยาบเป็นอาหารหลักสำหรับโคเนื้อ และนำไปปฏิบัติ เกษตรกรร้อยละ 77.00 ไม่ยอมรับเทคโนโลยีการตรวจท้องหลังการผสมพันธุ์ 2-3 เดือน และร้อยละ 70.00ไม่ ยอมรับเทคโนโลยีการฉีดวัคซีนโรคแท้งติดต่อให้ลูกโคเพศเมียอายุ  3-8 เดือน และจากการทดสอบสมมุติฐานพบว่า เพศ การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ การรับข่าวสารการเลี้ยงโคเนื้อจากโทรทัศน์ เอกสารสิ่งพิมพ์ การเข้ารับการฝึกอบรม การเข้าชมนิทรรศการที่แตกต่างกัน จะมีความรู้ในการเลี้ยงโคเนื้อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การเข้ารับการฝึกอบรม การทัศนศึกษาดูงาน การได้เข้าชมนิทรรศการเลี้ยงโคเนื้อที่แตกต่างกัน จะยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

 


 

1/  ทะเบียนวิชาการเลขที่ 53(2)-0216(7) -123
2/  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
3/ สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี  กรมปศุสัตว์  กรุงเทพมหานคร

Abstact

Knowledge on technology application on beef cattle raising  of the farmers in the self-sufficiency economy settlement land reform area in Kanchanaburi province1/

Somkid Wimooktanon 2/   Amornrat Chuensuwan 3/

                 The aim of this study was to realise the information of human, economic and social background that influenced reception of information and knowledge and adoption of technology for beef cattle raising of farmers in the self-sufficiency economy settlement land reform area in Laokhwan district, Kanchanaburi province. The study was done by interviewing 100 farmers in 2009 and the data were statistically analysed for percentages, means and chi-squares

.                 It was found that 61% of the farmers were male. The average age of all farmers was 44.7 years old. Most of them (75%) had primary level of education. There were 5 members on average in a family. Farmers owned 26.43 rai of land per family with 9.43 years experience in beef cattle raising and an average farm size of 17.77 heads of cattle. Most of them (69%) did not participate in group activities and did not receive loan for beef cattle raising. The average number of beef cattle sold in the previous year was 1 head per family from which generated an income of 50,250 Baht per farmer. Most of the farmers (78%) were in contact with livestock officers and received information about beef cattle raising from television. Majority of them (50%) never joined in the beef cattle raising activities such as study visit, training and visiting beef cattle exhibition. More than 60% of the farmers had a good knowledge of housing, breed and breeding of beef cattle, feed and feeding. For disease prevention, 59% of farmers knew that vaccination of FMD and Haemorrhagic septicemia should be done annually for their cattle. Sixty two per cent of farmers adopted technology of roughage usage as principle feed for beef cattle. Seventy seven per cent of farmers did not accept technology for pregnancy test after mating for 2-3 months and 70% of all farmers did not accept technology for vaccination of Brucellosis to female calves of 3 – 8 months of age. From hypothesis testing, it was found that statistically significant factors affecting knowledge level of farmers were gender, participation of group activities, contact with livestock officers, reception of information from television and publications, training and visiting exhibition. The significant factors that influenced adoption of technology were participation of group activities, training, study visit, and visiting exhibition.

 


 

1/   Research  Project No. 53(2)-0216(7) -123
2/   Khanchanaburi Provincial Livestock Office Muang Khanchanaburi.
3/   Bureou Livestock Development and Technology Transfer ,Bangkok.