การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคขุนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคขุนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย นางสาวอมรรัตน์  ชื่นสุวรรณ และ นายบรรเทิง ทิพย์มณเฑียร

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพการผลิตโคขุน การตลาด และปัญหาการเลี้ยงโคขุนของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนในจังหวัด         สุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 – เมษายน 2551 จำนวน 57 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และร้อยละ พบว่า

             เกษตรกร มีโคในฟาร์ม เฉลี่ย 15.61 ตัว เป็นโคขุน 6.25 ตัว มีประสบการณ์เลี้ยงโคขุน 3.84 ปี   เลี้ยงโดยใช้แรงงานในครอบครัว โคที่นำเข้าขุนส่วนใหญ่ซื้อจากฟาร์มในพื้นที่อำเภอท่าชนะ และไชยา  จังหวัด       สุราษฎร์ธานี  เกษตรกรส่วนใหญ่ขุนโคพันธุ์ลูกผสมชาโรเล่ส์ เพศผู้ไม่ตอน อายุระหว่าง 19 - 24 เดือน  น้ำหนัก เฉลี่ย 341.85 กิโลกรัม  ราคาเฉลี่ยตัวละ 18,277.78 บาท ใช้เวลาขุน ประมาณ 5.41  เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกหญ้าเนเปียร์ กินนี หรือรูซี่   โดยปลูกแซมในสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน หรือสวนผลไม้  สภาพพื้นที่ปลูกหญ้าร้อยละ 97.78 เป็นพื้นที่ดอน   เกษตรกรให้อาหารข้นสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาขุนที่เพิ่มขึ้น และให้โคกินหญ้าเนเปียร์วันละ 2-3 ครั้ง  โดยมีแร่ธาตุให้กินตลอดเวลา  และไม่นิยมใช้ฮอร์โมนในการขุนโค   เกษตรกรร้อยละ 92.98   มีโรงเรือนเลี้ยงโคขุน ส่วนใหญ่คิดแบบโรงเรือนเอง  ก่อนนำโคเข้าขุนร้อยละ 52.63 ไม่ถ่ายพยาธิโค ร้อยละ 91.23 ทำวัคซีน    เกษตรกรร้อยละ 68.42 ขายโคให้กับพ่อค้าในอำเภอ   โดยการชั่งน้ำหนัก ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ  51.15 บาท เกษตรกรที่ขายโคแบบเหมาตัวราคาเฉลี่ยระหว่าง 21,238 - 27,032 บาท/ตัว และมีความพึงพอใจปานกลางในราคาซื้อ-ขายในแต่ละครั้งจะขายได้   1-2 ตัว เกษตรกรส่วนใหญ่ลงทุนเลี้ยงโคขุนโดยใช้เงินทุนส่วนตัว  ต้นทุนการผลิตโคขุนต่อตัวเฉลี่ย  21,055.69 บาท  ใช้เวลาขุน 5 เดือน  กำไรเฉลี่ย 4,568 บาท/ตัว  และได้ข้อมูลการเลี้ยงโคขุนจากเอกสารเผยแพร่  หนังสือการเลี้ยงโคขุน และเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์  

              ปัญหา อุปสรรคในการเลี้ยงโคขุน คือ ขาดแคลนพันธุ์โคที่จะนำเข้าขุนเป็นปัญหาที่เกษตรกรพบมากที่สุด  รองลงมาคือขาดแคลนน้ำในการทำแปลงหญ้า  และไม่มีพื้นที่ปลูกหญ้า

1/ ทะเบียนวิชาการเลขที่ ๕๓(๒)-๐๒๑๖(๘)-๑๒๑

2/ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์  กรุงเทพมหานคร

3/ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี  อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Abstact

A study of raising conditions for fattening cattle in Suratthani province1/ by Amornrat  Chuensuwan and Banterng Tipmomtien

             This study was aimed at obtaining the information about raising and management of fattening cattle as well as its production costs and returns and problems related to the production of fattened cattle of farmers in Suratthani province. The data were collected from 57 farmers who raised cattle for fattening in Suratthani province from October 2006 to April 2008 and analysed for means and percentages.

             There were 15.61 heads of cattle per farm on average. The farmers had 2.84 years experience in raising fattening cattle and used labors in their families. Most of cattle for fattening were from farms in the districts of Tha Chana and Chaiya as young intact Charolais crossbred males aged between 19 and 24 months with an average weight of 341.85 kg. The average price of a young male bought for fattening was 18,277.78 Baht/head. The duration for fattening was 5.41 months. Most of farmers planted Napier. Guinia or Ruzi grasses within the areas of rubber or oil palm plantations or fruit orchard where 97.78% of the grass planting areas were in the high land.  Most of the farmers fed the cattle with concentrates and the amount of feeding increased with the fattening period and they supplemented with fresh Napier grass 2-3 times a day. Mineral was available to the cattle at all time. Using of hormones was not common among them. The proportion of 92.98 % of the farmers had feedlot for fattening cattle and the feedlots were designed by the farmers themselves.  A 52.63% were not dewormed before fattening and 91.23% were vaccinated. There were 68.42% of farmers selling the cattle to merchants in the districts by weight basis at 48 – 55 Baht per kg with an average of 51.15 Baht. Some farmers sold cattle by wholesale basis at 21,238 - 27,032 Baht per head and had a moderate level of satisfaction of the sale price. Farmers sold 1-2 fattened cattle at a time. Most of farmers invested for fattening cattle using their own money with an average production cost of 21,055.69 Baht/head, a fattening period of 5 months and an average profit of 4,568 Baht. Farmers obtained information on fattening of cattle from disseminated documents, books and livestock officers. 

            The problems in fattening cattle were the lack of breeding stocks of cattle for fattening, followed by the lack of water for pasture making  and lack of land area for grass planting. 


1/   Research  Project No. 53 (2)-0216(8)-121

2/   Bureau Livestock Development and Technology Transfer ,Bangkok.

3/   Suratthani Provincial Livestock Office Muang Suratthani.