การบริหารจัดการโครงการธนาคารโค-กระบือโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่บ้านโนนพอก จ.สกลนคร

การบริหารจัดการโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ โดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่บ้านโนนพอก ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร
โดย ธีรวิทย์ ขาวบุปผา

บทคัดย่อ

                         การศึกษาการบริหารจัดการโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ โดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่บ้านโนนพอก ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลโดยทั่วไปของเกษตรกร  การจัดการดูแลโค-กระบือ ของเกษตรกร  ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม และความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ

                        ประชากรและขนาดตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกรสมาชิกโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ในพื้นที่บ้านโนนพอก ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร จำนวน 60 ราย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด สูงสุดและการศึกษาเชิงลึกจากการสนทนากลุ่ม (Focus group interview)

                       ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรเป็นเพศชาย และเพศหญิงอย่างละเท่ากัน เกษตรกร   ร้อยละ 38.33 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี  เฉลี่ยมีอายุ 48.03 ปี  เกษตรกรร้อยละ 80.00  จบการศึกษาระดับประถมศึกษา  ร้อยละ38.33 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนอยู่ระหว่าง  3 - 4  คน  เฉลี่ยครัวเรือนละ  4.96  คน  ร้อยละ 55.00 มีแรงงานในภาคการเกษตรอยู่ระหว่าง 1 - 2  คน  เฉลี่ยครัวเรือนละ 2.65  คน  เกษตรกรร้อยละ 38.33 มีพื้นที่ถือครองอยู่ระหว่าง 1-10 ไร่ เฉลี่ยครัวเรือนละ 18.45 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 51.67 ประกอบอาชีพการทำนาเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 56.67 เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 59,566.66  บาท           

                      เกษตรกรร้อยละ  91.67   ได้รับทราบข้อมูลโครงการจากผู้นำท้องถิ่นคือกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน  เกษตรกรร้อยละ 51.67 ได้รับโคเพศเมียรายละ  1  ตัว และร้อยละ 48.33 ได้รับกระบือเพศเมียรายละ 1 ตัว เกษตรกรร้อยละ 80.00 ได้รับสัตว์ที่มีสภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี เกษตรกรร้อยละ 56.67 จะเลี้ยงแบบปล่อยฝูงร่วมกับผูกเชือกหรือขังคอกเป็นบางเวลา  เกษตรกรร้อยละ 35.00 ใช้จากแหล่งหญ้าธรรมชาติร่วมกับหญ้าตนเอง เกษตรกรร้อยละ 53.33 ใช้พ่อพันธุ์ผสม เกษตรกรร้อยละ 100.00  ได้รับการตรวจเยี่ยมจากเจ้าหน้าที่ เกษตรกรร้อยละ 100.00 ได้รับบริการตรวจสุขภาพสัตว์ 

                      เกษตรกรร้อยละ 98.33 ได้รับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เกษตรกรร้อยละ 81.67 ได้รับบริการรักษาสัตว์ป่วย และเกษตรกรร้อยละ  46.67 ได้รับบริการผสมเทียม เกษตรกรร้อยละ 100.00 ได้แจ้งลูกเกิดให้เจ้าหน้าที่ทราบ  แม่โค-กระบือร้อยละ 98.33 ให้ลูกแล้ว มีเพียงร้อยละ 1.67 ที่ยังไม่ได้ผลผลิต แต่กำลังตั้งท้อง                    เกษตรกร ร้อยละ 98.33 สมัครใจรวมกลุ่มด้วยตนเอง เกษตรกรร้อยละ 56.67 ได้รับการชักชวน เกษตรกรร้อยละ 53.33 คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์  และเกษตรกรร้อยละ 18.33 ศรัทธาในผู้นำกลุ่ม เกษตรกรที่มีตำแหน่งบริหารในกลุ่ม ร้อยละ 100.00 จะมีทำ หน้าที่ในกลุ่มที่ชัดเจน คือ ติดตามและรายงานจำนวนสัตว์ในกลุ่ม แจ้งข้อมูลข่าวสารแก่สมาชิก และรับเรื่องจากเกษตรกรเพื่อแจ้งให้ส่วนราชการทราบ  เกษตรกรร้อยละ 80.00 ได้เข้าร่วมประชุมกลุ่มสม่ำเสมอ  ประโยชน์ที่ได้รับจากการรวมกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 98.33 ได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เกษตรกรร้อยละ 85.00 ได้รับการตรวจเยี่ยมเอาใจใส่จากผู้นำกลุ่ม เกษตรกรร้อยละ 83.33 ได้รับแจกปัจจัยการผลิตต่างๆ เกษตรกรร้อยละ 83.33 ได้มีโอกาสพบปะสังสรรคกับเพื่อนสมาชิก และ เกษตรกรร้อยละ 76.67 ได้รับการตรวจเยี่ยมจากเจ้าหน้าที่ เกษตรกรร้อยละ 100.00 เห็นด้วยกับการรวมกลุ่ม

                        กษตรกรร้อยละ  98.33  มีความเห็นว่าการเลี้ยงโค-กระบือทำให้มีแรงงานและมีรายได้เพิ่มขึ้น   เกษตรกรร้อยละ 88.33  ต้องการที่จะเลี้ยงสัตว์เพิ่ม  เกษตรกรร้อยละ 100.00 มีความพึงพอใจต่อโครงการ  โดยเกษตรกรร้อยละ 90.00 พอใจมาก เกษตรกรร้อยละ 100.00 ยังคงเลี้ยงสัตว์ของ โครงการต่อไป และเกษตรกรร้อยละ 83.33 ต้องการที่จะเลี้ยงสัตว์เพิ่ม

คำสำคัญ : ธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ   การมีส่วนร่วม 


1/เลขทะเบียนผลงาน        54 (2) – 211 – 127
2/ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

ดาวน์โหลดเรื่องเต็ม

วันที่เผยแพร่ 26 กรกฎาคม 2554 เว็บไชต์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์