สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ มีโครงการคัดเลือกเกษตรกรสาขาอาชีพการเลี้ยงสัตว์ กลุ่มเกษตร อาสาปศุสัตว์ และโรงเรียนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ดีเด่น เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานให้ปรากฏต่อสาธารณชน เป็นการเสริมสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในกิจกรรมและอาชีพของตนเองสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมยิ่งขึ้น และเป็นแบบอย่างในแนวทางปฏิบัติงานของบุคคลสถาบันอื่นต่อไป อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ และคนรุ่นใหม่ที่จะสืบทอดอาชีพต่อไป
โดยมีการคัดเลือกดังนี้
1. การคัดเลือกเกษตรกรดีเด่น สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่น(สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์)
2. การคัดเลือกกลุ่มธนาคารโค-กระบือ ดีเด่น ตามโครงการธนาคารโค – กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ
3. การคัดเลือกโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ กิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น
4. การคัดเลือกอาสาปศุสัตว์ดีเด่น
เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรสาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์ดีเด่น
หลักการและเหตุผล
ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการคัด เลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติเป็นประจำทุกปี เพื่อค้นหาเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น เพื่อเป็นการยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานให้ปรากฏต่อสาธารณชน เป็นการเสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจในการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วน รวมยิ่งขึ้น และเป็นแบบอย่างในแนวทางปฏิบัติงานของบุคคลสถาบันอื่นต่อไป ในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่น (สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์) และสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่น (ประเภทกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์) กรมปศุสัตว์
วัตถุประสงค์
เกษตรกร/บุคคลทางการเกษตรดีเด่น (สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์)
- เพื่อค้นหาเกษตรกร/บุคคลที่มีผลงานทางการเกษตรสาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์ดีเด่น ที่ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ บำเพ็ญประโยชน์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของส่วนรวม
- เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร/บุคคลที่มีผลงานทางการเกษตรสาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์ดี เด่นได้ทำงานด้วยความอุตสาหะ มานะ พยายามและพร้อมที่จะแข่งขันกันสร้างผลงานให้ปรากฎต่อสาธารชน
- เพื่อยกย่องเกียรติคุณของเกษตรกร/บุคคลที่มีผลงานทางการเกษตรสาขาอาชีพ เลี้ยงสัตว์ดีเด่นให้ปรากฎและยึดถือเป็นตัวอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานของ บุคคลอื่นต่อไป
สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่น (ประเภทกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์)
- เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ให้ปรากฎต่อ สาธารณชนและเป็นตัวอย่างแก่สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์อื่น
- เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย สาขา/ประเภทการคัดเลือก
1. เกษตรกร/บุคคลทางการเกษตรดีเด่น (สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์) จำนวน 1 ราย
2. สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่น (ประเภทกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์) จำนวน 1 กลุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ในพื้นที่ 76 จังหวัด
กำหนดการคัดเลือกเกษตรกรฯ
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ คัดเลือกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2552
- สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย คัดเลือกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2552
- กรมปศุสัตว์ (คณะกรรมการระดับกรมฯ) คัดเลือกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553
กำหนดการคัดเลือกระดับกรมฯ
คณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่น กรมปศุสัตว์ จะดำเนินการออกไปคัดเลือกฯ ระหว่างวันที่ 4 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์ 2553
เงินรางวัล / โล่รางวัล
- เกษตรกรดีเด่น (สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์) และสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่น (ประเภทกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์) ระดับชาติ จะได้รับโล่รางวัลและเงินรางวัลๆ ละ 10,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สร้างขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจแก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ ด้านการเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับรางวัลดีเด่น รวมทั้งทำให้เกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนาอาชีพเลี้ยงสัตว์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นในอนาคต
2. เป็นแบบอย่างและช่วยกระตุ้นให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ด้านการเลี้ยงสัตว์รายอื่นๆ เกิดความมุมานะในการพัฒนาอาชีพเลี้ยงสัตว์ของตนเองและกลุ่มให้ประสบความ สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
3. ส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์ของประเทศในภาพรวมให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ตามรูปแบบและมาตรฐานตามที่กำหนด สามารถสร้างรายได้และความมั่นคงอย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรและครอบครัว
การคัดเลือกกลุ่มธนาคารโค-กระบือ ดีเด่น ตามโครงการธนาคารโค – กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ
โรงเรียนโครงการตามพระราชดำริกิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น โครงการตามพระราชดำริ
อาสาปศุสัตว์ดีเด่น
กรมปศุสัตว์เห็นความสำคัญของอาสาสมัครเกษตรด้านปศุสัตว์ที่เรียกว่าอาสาปศุสัตว์ (อสป.) ว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการปศุสัตว์ระดับท้องที่ และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้อาสาปศุสัตว์มีกำลังใจปฏิบัติงานต่อไป นั้น กรมปศุสัตว์ จึงได้มีนโยบายให้มีการมอบรางวัล “อาสาปศุสัตว์ดีเด่น” สำหรับอาสาปศุสัตว์ ที่ให้ความร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์อย่าง ต่อเนื่องสม่ำเสมอและสามารถปฏิบัติงานได้ดีเด่นกว่าอาสาปศุสัตว์อื่นๆ เป็นผู้ได้รับรางวัลอาสาปศุสัตว์ดีเด่น
ก. ประเภทของอาสาปศุสัตว์ดีเด่นประจำปี มี 2 ระดับ คือ
ระดับจังหวัดสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดๆ ละหนึ่งราย รวมทั้งสิ้น 77 ราย
ระดับสำนักงานปศุสัตว์เขต แห่งละหนึ่งราย รวมทั้งสิ้น 9 ราย
ข. คณะกรรมการ ให้จัดตั้งคณะกรรมการพิจารณา
1. คณะกรรมการระดับจังหวัด : ดำเนินการ ณ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด
หน้าที่
- พิจารณาอาสาปศุสัตว์ดีเด่นระดับจังหวัดๆ ละ หนึ่งราย
- ส่งชื่อพร้อมประวัติของอาสาปศุสัตว์ดีเด่นระดับจังหวัด ให้แก่ สำนักงานปศุสัตว์เขต เพื่อให้คณะกรรมการระดับสำนักงานปศุสัตว์เขตพิจารณาอาสาปศุสัตว์ดีเด่นระดับสำนักงานปศุสัตว์เขต
- มอบรางวัลให้อาสาปศุสัตว์ดีเด่นระดับจังหวัดในวันอาสาปศุสัตว์ ซึ่งตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปีดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ในเดือนพฤษภาคม
2.คณะกรรมการระดับสำนักงานปศุสัตว์เขต: ดำเนินการ ณ สำนักงานปศุสัตว์เขต
หน้าที่
- พิจารณาอาสาปศุสัตว์ดีเด่นระดับพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต แห่งละ หนึ่งราย
- ส่งรายชื่อพร้อมประวัติตามแบบประวัติอาสาปศุสัตว์ดีเด่นให้สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์
- นำอาสาปศุสัตว์ดีเด่นระดับพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต เดินทางมารับโล่รางวัลจากท่านอธิบดีกรมปศุสัตว์ ในวันที่ 5 พฤษภาคม ณ กรมปศุสัตว์
ค. คุณสมบัติของอาสาปศุสัตว์ดีเด่น
- ทำหน้าที่เป็นอาสาปศุสัตว์ที่ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ไม่น้อยกว่า 3 ปีต่อเนื่อง โดยให้พิจารณาการปฏิบัติงานของอาสาปศุสัตว์ที่ได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ไม่น้อยกว่า 3 ปีต่อเนื่อง เช่น กรณีในปีงบประมาณ 2555 ให้คณะกรรมการพิจารณาอาสาปศุสัตว์ดีเด่นระดับจังหวัด โดยพิจารณาผลการปฏิบัติงานของอาสาปศุสัตว์กับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นต้น
- มีความประพฤติดี มีคุณธรรม และมีจริยธรรม
- มีบุคลิกภาพและมีมนุษยสัมพันธ์ดี
- เป็นผู้ที่สังคมหรือชุมชนให้การยอมรับ
ง. หลักเกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย
- การทำหน้าที่เป็นอาสาปศุสัตว์
- การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
- ความประพฤติ
- บุคลิกภาพ
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม