เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

ข่าวกิจกรรม

งานแพะ "ประกวดแพะ-แกะ อีสานตอนบน ครั้งที่ 1/2561"

 Image0000812เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2561 นายประยูร ครองยุติ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาสัตว์เล็ก ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในเวทีเสวนาแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงแพะในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนเพื่อการส่งออก ในช่วงการจัดงานประกวดแพะ-แกะ อีสานตอนบน ครั้งที่ 1/2561 ณ บริเวณสหกรณ์การเกษตรท่าบ่อ จำกัด อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย โดยมีนายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดงาน มีกลุ่มพัฒนาแพะ-แกะ อีสานตอนบน (เครือข่ายชารมเลี้ยงแพะ - แกะ นำเจริญทั่วไป) ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรท่าบ่อ จำกัด และหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดงานนี้ขึ้นมา โดยการจัดงานในครั้งนี้ประกอบด้วย กิจกรรมการสัมมนาให้ความรู้ด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ - แกะ และผู้สนใจทั่วไป แยละการประกวดแพะจำนวน 9 รุ่น ซึ่งพื้นที่ภาคอีสานตอนบน (จังหวัดหนองคาย) ยังมีการประกอบอาชีพการเลี้ยงแพะ - แกะ น้อย ต้องนำแพะจากที่แหล่งอื่นมาเลี้ยงเพื่อเตรียมการส่งออกจึงจำเป็นต้องมีการจัดงานดังกล่าวขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรมีการตื่นตัว และหันมาประกอบอาชีพการเลี้ยงแพะมากขึึ้น ลดพื้นที่การทำพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีราคาตกต่ำ สองคล้องกับนโบายของรัฐบาล

 

ประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์การผลิตและการตลาดสุกร

Image0001212 วันที่ 28 มีนาคม 2561 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาสัตว์เล็ก จัดประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์การผลิตและการตลาดสุกร ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องประชุมกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ชั้น 6 ตึกชัยอัศวรักษ์ โดยมีรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ (นายจีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ) เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สภานศึกษา และผู้ประกอบการ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมการค้าภายใน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ รวมทั้งมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาการเลี้ยงสุกร เป็นต้น โดยในที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ราคาสุกรในปัจจุบัน (มาตรการแก้ไขปัญหาราคาสุกร โดยใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ) และขอความเห็นชอบที่ประชุมเสนอ/จัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี 2561 กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เป็นต้น ซึ่งผลการประชุมจะได้ขรายงานต่อกรมปศุสัตว์ และเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ พร้อมทั้งคณะกรรมการนโยบายฯ (pig board) ต่อไป ทั้งนี้ที่ประชุม (อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ) ได้ถือโอกาสนี้ขอยื่นหนังสือปิดผนึกต่อรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ด้วย

 

 

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ติดตามตรวจราชการ ณ ศบส.เทพา จังหวัดสงขลา

Image0000712วันเสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์  2561 อธิบดีกรมปศุสัตว์ ติดตามตรวจราชการ ณ ศบส.เทพา จังหวัดสงขลา มอบนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านปศุสัตว์ในพื้นที่ชายแดนใต้ และแนวทางพัฒนาสายพันธุ์แท้ แพะพื้นเมืองโหนดวังพญา แพะ ก.ป.ศ. แกะซานต้าอิเนส แพะนม แพะดำแบล็คเบงกอล การจัดมหกรรมแพะแกะชายแดนใต้ที่ตลาดกลางปศุสัตว์ชายแดนใต้ จังหวัดปัตตานีตลอดจนจะคัดพันธุ์แพะ ไปสนับสนุนโครงการธนาคารแพะ อ.ห้ายกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งนายประยูร คลองยุติ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ ร่วมหารือด้วย

 

ประชุมแนวปฏิบัติฯมาตรฐานกรรมการตัดสินแพะและรับรองพันธุ์

   Image0000412วันจันทร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09 30 น. ห้องประชุมลีลาวดี 3 ชั้น 5  กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ (กลุ่มวิจัยฯสัตว์เล็ก) จัดประชุมแนวปฏิบัติฯมาตรฐานกรรมการตัดสินแพะและรับรองพันธุ์/ฟาร์มจำหน่ายพันธุ์แพะ ที่จะขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะระดับจังหวัด/เขต/ประเทศ 

 

 

 

 

อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการดูแลรักษาแก้ไขปัญหาเครื่องรีดนม รุ่นที่ 1 วันที่ 22 ก.พ. 2561

   Image0000112
วันที่ 22 กุมภาพันธ์  2561 กลุ่มวิจัยและพัฒนาระบบฟาร์มปศุสัตว์ (โคนม) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการดูแลรักษาแก้ไขปัญหาเครื่องรีดนม รุ่นที่ 1 โดยเข้าศึกษาดูงานในฟาร์มเกษตรกร สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์ค สูงเนิน ในเรื่องการบำรุงรักษาเครื่องรีดเบื้องต้น แบบระบบท่อ (Pipe line) และถังรีด (Bucket type)

 

 

 

อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการดูแลรักษาแก้ไขปัญหาเครื่องรีดนม รุ่นที่ 1

   Image0000112วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มวิจัยและพัฒนาระบบฟาร์มปศุสัตว์ (โคนม) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการดูแลรักษาแก้ไขปัญหาเครื่องรีดนม รุ่นที่ 1 ณ โรงแรมสบาย โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยวิทยากร คุณอิเคดะ  โทโมฮิ บริษัทโอริออน แมชชีนเนอรี่ จำกัด ในหัวข้อเครื่องรีดนมอย่างง่าย

 

 

 

 

 

 

การประชุมเพื่อร่วมหารือจัดทำแนวทางการช่วยเหลือและส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย

 Image0000112 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ (กลุ่มวิจัยฯ สัตว์เล็ก) จัดประชุมหารือแนวททางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรางเกษตรและสหกรณ์ (นายลักษณ์ วจนานวัช) ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์หาแนวทางช่วยเหลือดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยทั้งระบบ และนำผลการหารือแจ้งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) ครั้งต่อไป โดย ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ได้มอบหมายให้นายประยูร ครองยุติ เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก สพพ. สอส. สคบ. สพส. กพก. สกม. กผง. กองผงิตภัณฑ์ปศุสัตว์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร ประธานชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออก และผู้เี่ยวข้องร่วมให้ข้อมูล โดยในที่ประชุมได้หารือแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผุ้เลี้ยงสุกรรายย่อยในรูปแบบการร่วมกลุ่ม/สหกรณ์ การจัดทำระบบฟาร์มและการป้องกันโรคที่เหมาะสม (GFM) ฟาร์มปลอดโรค โรงฆ่า การลดต้นทุน การจัดหาพันธุ์ การแปรรูป/การตลาด การใช้กฏหมายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ร่วมไปถึงการเสนอแนวทางการเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ (สุกรชีวภาพ) และแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรในพื้นที่สูง ตามโครงการพระราชดำริฯ โดยเบื้อต้นที่ประสชุมได้มีมติให้ กอง/สำนัก ส่งข้อมูลโครงการ/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ/ส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรราย่อยด้านต่างๆ ซึ่งกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์จะรวบรวมและยกรา่งแนวทางการช่วยเหลือและส่งเสริมเกษตรกรฯ ในด้านต่างๆ ที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม ต่อไป

 

การประชุมคณะทำงานพัฒนาด้านแพะ-แกะ ครั้งที่ 4/2561

        IMG 8592   เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ (กลุ่มวิจัยฯ สัตว์เล็ก) จัดประชุมคณะทำงานพัมนาด้านแพะ-แกะ ครั้งที่ 4/2561 ณ ห้องประชุมลีลาวดี 1 ชั้น 6 ตึกชัยอัศวรักษ์ กรมปศุสัตว์ มีผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์เป็นประธานการประชุม มีนายประยูร ครองยุติเป็นเลขาฯ มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก สพส.  สพพ. สคบ. สทป. ประธานเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแห่งประเทศไทย (นายวีระศักดิ์ เนตรเกื้อกูล) เป็นต้น โดยในที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับประเด็นปรับประเด็นยุทธศาสตร์/กลยุทธของยุทธศาสตร์แพะปี 2560-2564 การจัดทำแบบแปลนโรงฆ่าแพะ ตลอดจนการเร่งรัดให้ดำเนินการจัดทำฟาร์มปลอดโรค และฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคที่เหมาะสม (GFM) การย้ายฝากตัวอ่อน/ผสมเทียมในโครงการต่างๆ แก่เกษตรกรพร้อมทั้งหารือการจัดงานแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2561 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้จัดงานแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้านปศุสัตว์ (ด่านกักสัตว์เพชรบุรี) จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจะเสนอให้กรมปศุสัตว์อนุมัติในลำดับต่อไป

ติดตามความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะ ในพื้นที่ สปก. กาญจนบุรี

IMG 7947 วันที่ 19 มกราคม 2561 นายประยูร ครองยุติ และคณะ (กลุ่มวิจัยฯ สัตว์เล็ก) ร่วมประชุมคณะกรรมการโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) จังหวัดกาญจนบุรี (ระดับจังหวัด) เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการฯ ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวักกาญจนบุรี โดยมีปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรีเป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก สปก.จ.กาญจนบุรี สหกรณ์จังหวัดกาฐจนบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สุพรรณบุรี ศบส.หนองกวาง ดานกักสัตว์ กรรมการสหกรณ์การเกษตรอาชีพเลี้ยงแพะ อ.ไทรโยค และประธานเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแห่งประเทศไทย เป็นต้น หลังจากนั้นลงพื้นที่ติดตามและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการฯ พร้อมด้วยนายวัรศักดิ์ฯ ประธานเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแห่งประเทศไทย นายยศกรฯ ประธานสหกรณ์แพะแปลงใหญ่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี และกรรมการสหกรณ์การเกษตรอาชีพเลี้ยงแพะ อ.ไทรโยค ในด้านต่างๆ เช่น การปรับพื้นที่ ระบบไฟฟ้า เจาะบาดาล/ถังพักน้ำ/ระบบประปา การสรา้งพี่พักอาศัยแก่เกษตรกร การจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ โรงเรือนเลี้ยงแพะ แผนการจัดหาพันธุ์แพะ การจัดการสหกรณ์ เป็นต้น

 

 

การประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig board)

Image0000912          เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ (กลุ่มวิจัยฯ สัตว์เล็ก) จัดประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig board) ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องประชุม 134 - 135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายลักษณ์ วจนสนวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม มีนายอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นคณะกรรมการและเลขานุการ และตัวแทนจากงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ เช่นกรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตัวแทบผู้ประกอบการ/สมาคมผู้เลี้ยงสุกร/สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร เข้าร่วมประชุม ในที่ประชุมได้หารือแนวทางแก้ไขปัญหาราคาสุกรตกต่ำ ไม่มีเสถียรภาพและมาตรการรองรับเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาสุกร ซึ่งในเบื้องต้นที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการ จำนวน 3 มาตรการ ได้แก่การตัดวงจรลูกสุกร การลดจำนวนแม่พันธุ์สุกร และการเก็บสุกรเข้าห้องเย็น (สต็อก) และประธานในที่ประชุมได้เสนอให้ดำเนินการประสานกับผู้ประกอบการรายใหญ่ขอความร่วมมือให้ลดจำนวนแม่พันธุ์สุกร และหยุดการผลิตลูกสุกร 1 รอบการผลิตเพื่อลดจำนวนสุกรเข้าระบบ

            ภาพ : วัชรนันท์

            ข่าว : ญานิศา/วัชรนันท์