เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

งานวิจัย / ผลงานวิชาการ หน่วยงานอื่น

การศึกษาสภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมในการผลิตแพะแผ่นปรุงรส

การศึกษาสภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมในการผลิตแพะแผ่นปรุงรส ดาวน์โหลด

การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและต้นทุนการเลี้ยงโคนมทดแทนในระบบชีวภาพของชุมชนสหกรณ์โคนมภาคใต้ จำกัด

การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและต้นทุนการเลี้ยงโคนมทดแทนในระบบชีวภาพของชุมชนสหกรณ์โคนมภาคใต้ จำกัด

 

จันทนา บุญศิริ วาณี ศิลประสาทเอก วิภาวรรณ ปาณะพล  วรางคณา โตรส และ สินชัย เรืองไพบูลย์

 

ทะเบียนวิจัยเลขที่  57 (1) – 0516 (7) – 015

 

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์

 

Download คลิก

ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมโดยปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดศรีสะเกษ

ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมโดยปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดศรีสะเกษ ดาวน์โหลด

การศึกษาสภาพการจัดการฟาร์มโคนมของเกษตรกรรายย่อยจังหวัดศรีสะเกษ

การศึกษาสภาพการจัดการฟาร์มโคนมของเกษตรกรรายย่อยจังหวัดศรีสะเกษ ดาวน์โหลด

การศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการผลิตกระบือของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี

การศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการผลิตกระบือของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี1

ขวัญชัย เนตรน้อย2  วชิรพล ศุกรภาค3

บทคัดย่อ 

                 การศึกษาปัญหา อุปสรรคในการผลิตกระบือของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ  ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตกระบือของเกษตรกร  โดยศึกษาจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง 187 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 

                  ผลการศึกษาพบว่า ครอบครัวเกษตรกรตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  อายุเฉลี่ย 57.9 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้หลักมาจากการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกพืชเฉลี่ย 86,823.5 บาท รายได้เฉลี่ยจากการเลี้ยงกระบือ 35,727.3 บาท มีหนี้สินโดยเฉลี่ย 30,492.0 บาท ที่ดินถือครอง 16.3 ไร่ เช่าเลี้ยงกระบือ 18.1 ไร่ ใช้พื้นที่สาธารณะเลี้ยงกระบือ 24.8 ไร่   ระยะเวลาในการเลี้ยงกระบือเฉลี่ย 28.7 ปี  เป็นเจ้าของกระบือร้อยละ 99.5  ปัจจุบันเลี้ยงกระบือเฉลี่ย 16.6 ตัว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการจำหน่าย ลักษณะการเลี้ยงเป็นแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ในพื้นที่ของผู้อื่นไม่เสียค่าเช่า รองลงมาคือ  พื้นที่สาธารณะ พื้นที่เช่า และพื้นที่ของตนเอง ตามลำดับ ไม่มีการเสริมอาหารข้น แร่ธาตุ อาหารเสริม  กระบือส่วนใหญ่ไม่เกิดโรคระบาด พยาธิภายนอกที่พบมากที่สุดคือยุง ป้องกันกำจัดด้วยการสุมไฟและนอนหล่ม(โคลน)  ฉีดวัคซีนปีละ 2 ครั้ง  เมื่อกระบือป่วยเกษตรกรจะซื้อยาแผนปัจจุบันมารักษาเอง  ส่วนใหญ่ไม่ต้องจ้างแรงงานเลี้ยงกระบือ ไม่ตอนกระบือเพศผู้ ใช้พ่อพันธุ์ของตนเองในการผสมพันธุ์ เกษตรกรมีคอกกระบืออยู่ภายนอกบ้าน  เลี้ยงโดยวิธีไล่ต้อนรวมฝูง  และจะขายกระบือออกจากฝูงมากกว่าการซื้อเพิ่ม  โดยขายให้พ่อค้าที่มารับซื้อถึงบ้าน

                  การศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการผลิตกระบือ จำนวน 7 ประเด็น หลัก สรุปได้ว่าเกษตรกรไม่มีปัญหาในการเลี้ยงกระบือ ปัญหาที่พบจำนวนรายสูงที่สุดคือ ฟางอาหารสำรองฤดูฝน ฤดูแล้ง   รองลงมาคือแมลงรบกวน พยาธิภายใน/ภายนอก  พันธุ์กระบือ และการให้บริการดูแลรักษาโรคกระบือจากภาครัฐ      


คำสำคัญ : ปัญหา อุปสรรค การผลิตกระบือ
1 ทะเบียนวิชาการเลขที่    :    51(2) - 0516(1) - 085
2 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรี
3 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี