เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงสัตว์ปีก

สารบัญ

กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงสัตว์ปีก

วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีกสร้างรายได้เสริมในครัวเรือนแก่เกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้2.เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์ปีกในพื้นที่ สร้างแหล่งอาหารโปรตีนให้กับชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้3.เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนในอาชีพและพัฒนาสู่อุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์ปีกในอนาคต

เป้าหมาย

ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีกแก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 11,333 ราย

กิจกรรม

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

รวม

ยะลา

ปัตตานี

นราธิวาส

สตูล

สงขลา

1. ส่งเสริมเกษตรกรรายใหม่ (ราย)

3,806

1,532

3,403

0

1,092

9,833

2. พัฒนาประสิทธิภาพเกษตรกรรายเดิม (ราย)

450

300

450

100

200

1,500

รวม

4,256

1,832

3,853

100

1,292

11,333

วิธีการดำเนินงาน

หน่วยงานดำเนินการ

1.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด (สนง.ปศจ.)  รับผิดชอบ : เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ คัดเลือกเกษตรกร อบรม สนับสนุนปัจจัยการผลิตจัดตั้งและพัฒนากลุ่ม ติดตามให้คำปรึกษาแนะนำและให้บริการสนับสนุนเกษตรกร2.สำนักงานปศุสัตว์เขต 9 รับผิดชอบ : ประชุมสัมมนา ติดตาม นิเทศและประเมินผล

 ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.การเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่

1.1  สนง.ปศจ. ทั้ง 5 จังหวัด และ สนง.ปศข. 9 ดำเนินการจัดจ้างเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน ตามเป้าหมายและงบประมาณที่ได้รับ โดยดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535    และที่แก้ไขเพิ่มเติม1.2  สนง.ปศจ. และ สนง.ปศข.9 ชี้แจงทำความเข้าใจ กำหนดมอบหมายงานพื้นที่และเกษตรกรเป้าหมายในความรับผิดชอบ1.3  สนง.ปศจ. และ สนง.ปศข.9ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาความพร้อมและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

2.การเตรียมความพร้อมเกษตรกร

2.1  การตรวจสอบเกษตรกรร่วมกิจกรรม (กรณีเกษตรกรรายใหม่)1) สนง.ปศจ. ร่วมกับ สนง.ปศอ. และ ผู้เกี่ยวข้อง ประสาน ตรวจสอบเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรม2) จัดทำประวัติและเก็บข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร3) ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการรับปัจจัยการผลิตและการ นำปัจจัยการผลิตที่ได้รับไปดำเนินการตามรูปแบบการผลิตที่กำหนดไว้2.2  การคัดเลือกกลุ่มเกษตรกร (กรณีเกษตรกรรายเดิม)  สนง.ปศจ. คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกที่จัดตั้งและดำเนินการตามงบ TKK ปี 2553 – 2554 โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ ดังนี้1) ยังดำรงสถานภาพความเป็นกลุ่มที่ชัดเจน และขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์แล้ว2) มีความเป็นไปได้และความพร้อมในการพัฒนาสู่กลุ่มที่เข้มแข็ง3) มีสมาชิกในกลุ่มไม่น้อยกว่า 10 คน

3.การสนับสนุนปัจจัยการผลิต (กรณีเกษตรกรรายใหม่)

3.1  สนง.ปศจ. ดำเนินการจัดซื้อจัดหาปัจจัยการผลิตสำหรับสนับสนุนแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ปีกรายใหม่ ภายใต้งบประมาณตามโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกในครัวเรือนตามแผนงานลง ทุนเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตในระดับชุมชน และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (แผน TKK)3.2  สนง.ปศจ. ร่วมกับ สนง.ปศอ. ประสานเกษตรกรเป้าหมายที่ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อม3.3  สนง.ปศจ. สนับสนุนวัสดุในการจัดสร้างโรงเรือนแก่เกษตรกรเป้าหมาย รวมทั้งติดตามให้คำปรึกษาแนะนำแก่เกษตรกรในการจัดสร้างโรงเรือน3.4  เกษตรกรดำเนินการจัดสร้างโรงเรือนตามแบบที่กรมปศุสัตว์กำหนด3.5  เมื่อเกษตรกรจัดสร้างโรงเรือนแล้วเสร็จ สนง.ปศจ. สนับสนุนอุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์ปีก และให้เกษตรกรจัดเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการนำสัตว์ปีก มาเลี้ยงภายใต้การติดตามแนะนำของเจ้าหน้าที่ สนง.ปศจ.

4.เมื่อเกษตรกรเตรียมฟาร์มพร้อมแล้ว สนง.ปศจ. ส่งมอบพันธุ์สัตว์ปีกให้แก่เกษตรกร

5.การติดตามเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ปีก (กรณีเกษตรกรรายใหม่)

5.1  การจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ปีก สนง.ปศจ. โดย สนง.ปศอ. นำเกษตรกรจดทะเบียนจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองหรือเป็ด เทศกับสำนักงานเกษตรจังหวัดหรือเกษตรอำเภอ จัดตั้งเป็นกลุ่มระดับตำบล5.2  เกษตรกรดำเนินการเลี้ยงสัตว์ปีกตามเทคนิคและวิธีการที่กรมปศุสัตว์กำหนดและ ได้รับการอบรมมา โดยมีเจ้าหน้าที่ของ สนง.ปศจ. และ สนง.ปศอ. ติดตามให้คำปรึกษาแนะนำและให้บริการด้านสุขภาพสัตว์อย่างใกล้ชิด5.3  มอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับชอบติดตามให้คำปรึกษาแนะนำ ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการบริการเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างสม่ำเสมอ อาทิ การให้ความรู้เพิ่มเติม บริการควบคุมป้องกันโรค และรักษาพยาบาลสัตว์ป่วย เป็นต้น5.4  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานด้านการตลาดเพื่อรองรับสัตว์ปีกที่เกษตรกรผลิตได้ ประกอบด้วย

6.การพัฒนาประสิทธิภาพเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกเดิม

สนง.ปศจ. มอบหมายเจ้าหน้าที่ติดตามพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกเดิมที่เข้า ร่วมโครงการตามงบปกติ และ TKK ปีงบประมาณ 2553 - 2554

6.1  ร่วมกับคณะกรรมการกลุ่ม ทบทวน ปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของสมาชิก และปรับเปลี่ยนตามสภาพการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไป6.2  สร้างกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรภายใต้ตัวชี้วัดที่กรมปศุสัตว์ กำหนด ได้แก่ การพัฒนาผู้นำกลุ่ม การสร้างกองทุนกลางจากการระดมทุนหรือปัจจัยการผลิต เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกลุ่ม การส่งเสริมให้เกิดระบบการออมจากผลผลิตของสมาชิก การสร้างบริการของกลุ่มสำหรับสมาชิก เช่น กองทุนยาและเวชภัณฑ์ บริการป้องกันโรคและรักษาสัตว์ป่วย เป็นต้น6.3  พบปะและจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของสมาชิก6.4  ติดตามให้การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกร ผู้รับผิดชอบกลุ่มเกษตรกรของ สนง.ปศจ. บูรณาการผู้เกี่ยวข้องเพื่อติดตามให้บริการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและ พัฒนาการเลี้ยงสัตว์ของกลุ่มเกษตรกร

7.การติดตามประเมินและรายงานผล

1 )สนง.ปศจ. รายงานผลการดำเนินงานตามแบบฟอร์มที่กำหนด2) สน ง.ปศข.9 ประสานรวบรวมผลการดำเนินงาน (ความก้าวหน้า) และดำเนินการเพื่อติดตามประเมินผลความสำเร็จของกิจกรรมพร้อมสรุปและจัดทำ รายงานผลเสนอกรมปศุสัตว์

 


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก จำนวน 9,833 ราย มีรายได้จากการบริโภคและจำหน่ายในปีแรกอย่างน้อยรายละ 4,250 บาท

2. เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสามารถผลิตลูกสัตว์ปีกได้รายละอย่างน้อย 700 ตัวต่อปี คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยประมาณ 20,000 บาท ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป

3. เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก จำนวน 11,333 ครอบครัว มีความมั่นคงยั่งยืนในอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีก มีเนื้อและไข่สำหรับการบริโภคลดรายจ่ายและมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายสัตว์ ปีกที่เหลือจากการบริโภคมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น