เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงแพะ

สารบัญ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเพิ่มปริมาณแพะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคและใช้แพะในกิจกรรม ทางศาสนา รวมทั้งรองรับความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมอาหารที่จะเกิดขึ้น
  2. เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงแพะของเกษตรกรรายย่อย โดยการปรับปรุงพันธุ์ เพิ่มผลผลิตและลดอัตราการตาย รวมทั้งให้สามารถจำหน่ายผลผลิตเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ตามเป้าหมาย ที่วางไว้
  3. เพื่อพัฒนากลุ่มและเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะ อันจะนำสู่การเสริมสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพการเลี้ยงแพะเนื้อให้ กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

เป้าหมาย

 

ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะเนื้อแก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคไต้ จำนวน 7,514 ราย

กิจกรรม

จังหวัด

ยะลา

ปัตตานี

นราธิวาส

สตูล

สงขลา

รวม

1.ส่งเสริมเกษตรกรรายใหม่ (ราย)

2,188

838

801

0

187

4,014

2.พัฒนาประสิทธิภาพผู้เลี้ยงแพะเดิม (ราย) 50%)

630

1,250

890

450

280

3,500

รวม

2,818

2,088

1,691

450

467

7,514

วิธีการดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

  1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด (สนง.ปศจ.) 
    รับผิดชอบ : เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกร อบรม อุดหนุนปัจจัยการผลิต ติดตามให้คำปรึกษาแนะนำและให้บริการสนับสนุนเกษตรกร พัฒนากลุ่มและเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะ
  2. หน่วยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์แพะ (ศบส.ยะลา/สบส.ปัตตานี/ศวท.นราธิวาส/สบส.เทพา/ศผท.สงขลา)
    รับผิดชอบ : ผลิตและกระจายแพะพันธุ์ดี ให้บริการผสมเทียมแพะ พัฒนาเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะ
  3. หน่วยพัฒนาพืชอาหารสัตว์ (ศอส.นราธิวาส/สอส.สตูล
    รับผิดชอบ : สนับสนุนการพัฒนาแปลงพืชอาหารสัตว์และอาหารสัตว์อื่นๆแก่เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร
  4. สำนักงานปศุสัตว์เขต 9
    รับผิดชอบ : พัฒนากลุ่มและเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะ ติดตาม นิเทศและประเมินผล

 ขั้นตอนการดำเนินการ

      • การเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่
        1.1  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดจ้างเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานตามเป้าหมายและงบประมาณที่ได้รับ โดยดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
        1.2  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจ กำหนดมอบหมายงาน พื้นที่และเกษตรกรเป้าหมายในความรับผิดชอบ
        1.3  สนง.ปศข.9 ร่วมกับ สนง.ปศจ. และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาความพร้อมและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
      • การเตรียมความพร้อมเกษตรกร
        2.1  การตรวจสอบเกษตรกรร่วมกิจกรรม (กรณีเกษตรกรรายใหม่) สนง.ปศจ. ร่วมกับ สนง.ปศอ. และผู้เกี่ยวข้องประสานตรวจสอบเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยต้องเป็นเกษตรกรตามบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านกระบวนการเวทีประชาคมมาแล้ว และผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดเมื่อปีงบประมาณ 2554 แล้ว
        2.2  การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อรายย่อย (กรณีเกษตรกรรายใหม่) สนง.ปศจ. โดย สนง.ปศอ. นำเกษตรกรที่ร่วมกิจกรรม จดทะเบียนจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะรายย่อยกับสำนักงานเกษตรจังหวัดหรือสำนักงานเกษตรอำเภอ
      • การอุดหนุนปัจจัยการผลิตให้กลุ่มและเกษตรกร ให้ดำเนินการตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนภายใต้การลงทุนเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตในระดับชุมชนและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (แผนTKK) โดย สนง.ปศจ. ดำเนินการประสานกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายที่ได้รับการอุดหนุนปัจจัยการผลิต เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อม
      • การติดตามให้บริการสนับสนุนการเลี้ยงแพะ
        4.1  เกษตรกรดำเนินการเลี้ยงแพะตามแผนการผลิตและเทคนิควิธีที่ได้รับการอบรม โดยเลี้ยงแพะที่ได้รับอุดหนุนร่วมกับแพะที่เกษตรกรมีอยู่เดิม
        4.2  สนง.ปศจ. มอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกลุ่มออกติดตามเยี่ยมเยือนจัดกิจกรรมกลุ่ม
        4.3  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานด้านการตลาดเพื่อรองรับผลผลิตแพะของเกษตรกร
        1) สนง.ปศจ. ประสานพ่อค้าในระดับท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อรับซื้อแพะของเกษตรกร2) ศวท. ประสาน สนง.ปศจ. จัดกิจกรรมตลาดนัดเพื่อเป็นแหล่งซื้อขายแพะของเกษตรกรในระดับพื้นที่จังหวัดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง3) ประสานเชื่อมโยงการผลิตกับฟาร์มต้นแบบ โรงฆ่า และโรงงานแปรรูปในพื้นที่เพื่อให้เกิดเครือข่ายการผลิตและการตลาด4) สนง.ปศข.9 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดลู่ทางในการจัดสร้างเครือข่ายการผลิต การตลาดและการแปรรูปผลผลิตแพะ เพื่อรองรับผลผลิตแพะของเกษตรกร รวมทั้งการขยายการผลิตสู่อุตสาหกรรมฮาลาล
      • การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์แพะของเกษตรกร
        5.1  ศผท.สงขลา ดำเนินการเพื่อให้บริการผสมเทียมแก่เกษตรกร
        5.2  ศบส.ยะลา สทส.ปัตตานี สทส.เทพา และ ศวท.นราธิวาส ดำเนินการเพื่อผลิตพ่อแม่แพะพันธุ์ดีเพื่อสนับสนุนเกษตรกร
      • การพัฒนาประสิทธิภาพเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะรายเดิม
        6.1  สนง.ปศจ. คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะรายเดิม โดยพิจารณาจากคุณสมบัติให้กับสมาชิกกลุ่ม โดยมีเป้าหมายดังนี้

        เป้าหมาย

        ยะลา

        ปัตตานี

        นราธิวาส

        สตูล

        สงขลา

        รวม

        กลุ่มเกษตรกรเดิม (กลุ่ม)

        63

        125

        89

        45

        28

        350


        6.2  อบรมพัฒนาทักษะและประสบการณ์
        1) สนง.ปศจ.คัดเลือกแกนนำเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายเดิมเข้ารับการอบรม ตามเป้าหมายที่สนง.ปศข.9 กำหนด2) สนง.ปศข.9 ดำเนินการจัดทำหลักสูตรเพื่อการอบรม โดยเน้นการพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ในการเลี้ยงแพะแบบมืออาชีพ โดยประกอบด้วย 3 หลักสูตรหลัก แต่ละหลักสูตรใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรม 3 วัน ได้แก่
        (1) หลักสูตร เทคนิคการเลี้ยงแพะแบบปราณีต   ดำเนินการโดย ศบส.ยะลา(2) หลักสูตร เทคนิคการผลิตอาหารแพะ            ดำเนินการโดย ศอส.นราธิวาส
      (3) หลักสูตร เทคนิคการปลูกพืชอาหารสัตว์       ดำเนินการโดย ศอส.นราธิวาส3) สนง.ปศข.9 จัดส่งหลักสูตรและแผนการอบรมให้จังหวัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานจัดส่งเกษตรกรเข้ารับการอบรมตามกำหนดเวลาดังกล่าว4) ประเมินผลก่อนและหลังการอบรม สรุปรายงานผลต่อ ส.ส.ส.

    6.3  การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ1) การพัฒนาเครือข่ายระดับจังหวัด สนง.ปศจ. ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาเครือข่ายระดับจังหวัด2) การพัฒนาเครือข่ายระดับเขต ปศข. และ ศวท. ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาเครือข่ายระดับเขตประกอบด้วย
    • ติดตามประเมินผล
      7.1  สนง.ปศจ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานผลการดำเนินงาน (ความก้าวหน้า) ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
      7.2  สนง.ปศข.9 ประสานรวบรวมผลการดำเนินงาน (ความก้าวหน้า) และติดตามประเมินผลความสำเร็จของโครงการ พร้อมสรุปและจัดทำรายงานผล