เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

กิจกรรมพัฒนาโคนมเข้าสู่ระบบบริหารจัดการที่ดี

หลักการและเหตุผล

                        พระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 ตราขึ้นเพื่อให้เกิดขบวนการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ รักษาผลประโยชน์และให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนมทั้งระบบ และกำหนดให้มีคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม มีหน้าที่กำหนดนโยบายแผนงานมาตรการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงโคนม รวมถึงกำหนดนโยบายแผนการผลิตและจำหน่ายน้ำนมโคและผลิตภัณฑ์นมทั้งระบบในประเทศและต่างประเทศ และจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 เรื่องการแก้ไขปัญหานมในภาพรวมทั้งระบบได้ให้ความสำคัญด้านการควบคุมกำกับคุณภาพนมตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต โดยกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหานมในภาพรวมทุกระดับ ดังนี้

                        1. ระดับเกษตรกร ให้มีทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เพื่อง่ายต่อการพัฒนาและส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การดูแล กำกับ คุณภาพน้ำนมโคระดับฟาร์ม

                        2. ระดับศูนย์รวบรวมน้ำนมโค ให้มีใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์รวบรวมน้ำนมโค และจัดทำบันทึกข้อตกลงการบริหารจัดการน้ำนมดิบ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการกับศูนย์รวบรวมน้ำนมโค เพื่อสะดวกต่อการควบคุม กำกับปริมาณและคุณภาพน้ำนมดิบ วัตถุดิบ ต้นทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมไปสู่ตลาดผู้บริโภค

                        3. ระดับผลิตภัณฑ์ ให้คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เข้ามามีบทบาทร่วมกับกรมปศุสัตว์ในการตรวจสอบโรงงานแหล่งแปรรูปผลิตภัณฑ์นม เพื่อให้ได้มาตรฐาน ให้มีการดูแลรักษาควบคุมการตรวจสอบและการเฝ้าระวังคุณภาพผลิตภัณฑ์

                        การวางระบบการจัดการฟาร์มที่ดี จะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและประกันคุณภาพน้ำนมโคจากฟาร์มถึงโรงงานแปรรูปนม จึงจำเป็นต้องมีการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโคนมเข้าสู่ระบบบริหารจัดการที่ดี ทั้งการพัฒนาระบบฟาร์มโคนมและพัฒนาระบบศูนย์รวบรวมน้ำนมโค

 วัตถุประสงค์                 

                        1. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เข้าสู่ระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agriculture Practices ; GAP)

                        2. เพื่อสนับสนุนองค์กรเกษตรกรสามารถบริหารจัดการผลผลิตน้ำนม ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีสำหรับการผลิตเป็นการจัดการสภาวะแวดล้อมพื้นฐานของกระบวนการผลิต ( Good Manufacturing Practice ; GMP)

                        3. เพื่อสนับสนุนประชาสัมพันธ์ผลผลิตน้ำนมโคของเกษตรกรไทย ที่มีความสดใหม่ ให้คุณค่าทางโภชนะสูง รณรงค์ให้คนไทยหันมาบริโภคนมเพื่อพัฒนาสมองที่ดี โดยเฉพาะในวัยเด็กและพัฒนาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคภัย

 

 

 

 

 เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ

 

หน่วยงาน

ติดตามนิเทศ

ศูนย์รวมนม(ศูนย์)

ประกันคุณภาพน้ำนมดิบ(ศูนย์)

ตรวจประเมิน

(ฟาร์ม)

พัฒนาระบบการจัดการฟาร์มที่ดี

(ฟาร์ม)

ฟาร์มสาธิต

คลินิกโคนม

(ฟาร์ม)

รวม 185 40 2,000 400 40

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                        1.ฟาร์มโคนมของเกษตรกรพัฒนาเข้าสู่ระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม

                        2.องค์กรเกษตรกรและเกษตรกรสามารถพัฒนาระบบการจัดการผลผลิตน้ำนมได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ มีความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคนมพร้อมดื่มและผลิตภัณฑ์นมอื่น