เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

การพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อและกระบือ

การพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อและกระบือ

 หลักการและเหตุผล

            การเลี้ยงโคเนื้อและกระบือ เป็นอาชีพทางการเกษตรที่สำคัญอาชีพหนึ่ง เพราะนอกจากจะเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้ของครอบครัว และยังสามารถใช้แรงงานในการทำการเกษตร ใช้มูลเป็นปุ๋ยเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เป็นการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศ เป็นการออมทรัพย์ เป็นหลักประกันของครอบครัว และช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ ทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองภายในประเทศ

            ปัจจุบันการเลี้ยงโคเนื้อและกระบือได้เปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงเพื่อการค้ากันมากขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้น ทั้งจากความต้องการของประชากรในประเทศเอง และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ตลอดจนความต้องการของต่างประเทศ ส่งผลให้จำนวนโคเนื้อและกระบือของไทยลดลงอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงและพัฒนาปรับปรุงด้านสายพันธุ์ ปรับปรุงด้านการตลาดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วโคเนื้อและกระบือของไทยอาจจะขาดแคลน และมีราคาสูงมากขึ้นหรืออาจสูญพันธุ์ได้ ในปีงบประมาณ 2555 มีแผนที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ดังนี้

          1.    กิจกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ
          2.    กิจกรรม การพัฒนาระบบการเลี้ยงกระบือ

วัตถุประสงค์

           1.  เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านระบบการเลี้ยงโคเนื้อและกระบือ

           2.  เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและกระบือ

           3.  เพื่อส่งเสริม และพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อและกระบืออย่างเข้มแข็ง

           4.  เพื่อสร้างเยาวชนคนรักควาย ฟื้นฟูการใช้แรงงานกระบือและสืบทอดภูมิปัญญาด้านการเลี้ยงกระบือไทย

 เป้าหมาย

  1. กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ
            1.1   จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรจำนวน 64 กลุ่ม ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร 1,600 ราย

                     1.2    กอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อเชิงธุรกิจ จำนวน 50 ราย

                     1.3    จัดประชุมสัมมนาเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ 9 ครั้ง จำนวน 450 ราย

                     1.4   จัดประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคเนื้อ-กระบือและผลิตภัณฑ์แห่งชาติ

       2.   กิจกรรม การพัฒนาระบบการเลี้ยงกระบือ

                     2.1   จัดตั้งกลุ่มเกษตรกร จำนวน 50 กลุ่ม ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร 1,000 ราย

                     2.2   จัดตั้งกลุ่มเยาวชนคนรักควาย 10 กลุ่ม ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เยาวชน 300 ราย

                     2.3   จัดฝึกอบรมการใช้แรงงานกระบือ จำนวน 590 ราย

                     2.4    จัดประชุมสัมมนาเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ จำนวน 180 ราย

พื้นที่ดำเนินการ

       1.   กิจกรรม การพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อ

                สำนักงานปศุสัตว์เขต 1-9

                สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด 64 จังหวัด

                ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี 5 แห่ง

        2.   กิจกรรม การพัฒนาระบบการเลี้ยงกระบือ

                สำนักงานปศุสัตว์เขต 4

                สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด 35 จังหวัด

                โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 10 โรงเรียน

                ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี 9 แห่ง