เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

โครงการจัดทำระบบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืน

 หลักการและเหตุผล 

            ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีนโยบายพัฒนาด้านเกษตรกรรมยั่งยืน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยด้านปศุสัตว์มีรูปแบบผสมผสาน เป็นทั้งอาชีพหลัก อาชีพรอง และอาชีพเสริม ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร เพิ่มรายได้ และสันทนาการ

             ตามข้อมูล ปี 2554 ครัวเรือนเกษตรกรจำนวนมากเลี้ยงสัตว์เล็กได้แก่ แพะที่มีจำนวนรวม 427,567 ตัว เกษตรกรที่เลี้ยง จำนวน 41,582 ราย   และสัตว์ปีกได้แก่ ไก่งวง จำนวน 64,721 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยงจำนวน 6,486 ราย -เป็ดเทศ 6,092,135 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยงจำนวน 385,047 ราย เป็นต้น  

              เกษตรกรยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่มาก ในด้านเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม และด้านต้นทุน – ผลตอบแทนและอื่นๆ ดังนั้นจึงสมควรมีการจัดทำรูปแบบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืนและเหมาะสมที่ทดสอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรในชุมชนที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่ รวมถึง การจัดการผลิตระดับฟาร์มเกษตรกรและการพัฒนาสถาบันเกษตรกร ในลักษณะกลุ่ม ชมรม หรือ เครือข่าย

วัตถุประสงค์

               1.   เพื่อศึกษาจัดทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืน (สัตว์เล็ก-สัตว์ปีก) นำร่องในชุมชนและในศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเละทั่วไป

               2.   เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างการผลิตและธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ที่ยั่งยืน ทั้งฟาร์มเกษตรกร กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ที่มีความยั่งยืนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

               3.   เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืนแก่เกษตรกร

 เป้าหมาย

               1.   จัดทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืนเป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยี 45 แห่ง

               2.   เกษตรกรได้รับการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี 240 ราย

พื้นที่ดำเนินงาน            

              1.   ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี 4 แห่ง ได้แก่   ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุบลราชธานี มหาสารคาม เชียงราย   และนครศรีธรรมราช

              2.   สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด 5 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสกลนคร เลย หนองบัวลำภู เชียงราย และนครพนม

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน

              1.   สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์

                          1) ร่วมกำหนดแผนปฏิบัติงานและงบประมาณ และศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี และ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

                          2) ร่วมจัดทำโครงการกับหน่วยงานภูมิภาค และกำหนดชนิดสัตว์เล็ก – สัตว์ปีก ที่จะดำเนินงาน ดังนี้

                                        -   ด้านสัตว์ปีก (ไก่งวง) ดำเนินงานในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 หน่วยงานดำเนินงานได้แก่ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาสารคาม , สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สกลนคร เลย นครพนม และ หนองบัวลำภู

                                        -   ด้านสุกร (หมูหลุม)   ดำเนินงานได้แก่ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเชียงราย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย

                                        -   ด้านแพะ ดำเนินงานในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 8 หน่วยงานดำเนินงานได้แก่ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช

                                        -    ด้านสัตว์ปีก (เป็ดเทศ) ดำเนินงานในพื้นที่ สำนักงานปศุสัตว์เขต 3 โดยศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอำนาจเจริญ

               2.  ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาสารคาม   เชียงราย นครศรีธรรมราช และ อำนาจเจริญ

                             1)  จัดประชุมสัมมนาผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์จัดทำข้อมูลวิชาการ โครงสร้างการผลิต - ธุรกิจชนิดปศุสัตว์ที่เลือกศูนย์ๆละ 1 ครั้งๆละ 30 คน

                             2)   คัดเลือก และศึกษาจัดทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืนในพื้นที่ศูนย์ฯ และ ฟาร์มเกษตรกร 4 ศูนย์ๆละ 5 แห่ง รวม 20 ฟาร์ม

                             3)   จัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์สัตว์ที่ยั่งยืนแก่เกษตรกร รวม 4 ครั้งๆละ 30 คน รวมเกษตรกร 120 คน

               3.  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร เลย หนองบัวลำภู เชียงราย และ นครพนม

                            1)   ประชุมสัมมนาผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์จัดทำข้อมูลเครือข่ายผู้เลี้ยงสัตว์และผู้เกี่ยวข้อง โครงสร้างการผลิต -ธุรกิจชนิดปศุสัตว์ที่เลือก ในเขตจังหวัด 5 จังหวัดๆละ 2 ครั้งๆละ 30 คน

                            2)    ศึกษาจัดทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืนของเกษตรกรชนิดที่เลือกในพื้นที่จังหวัดละ 5 ฟาร์ม รวม 30 ฟาร์ม

                            3)    จัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์สัตว์ที่ยั่งยืนแก่เกษตรกรจังหวัดละ 1 ครั้ง ๆ ละ 30 ราย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

               ทราบผลวิเคราะห์ ลักษณะการผลิตปศุสัตว์ที่ยั่งยืน (สัตว์เล็ก-สัตว์ปีก) ของจังหวัดนำร่อง,ทราบเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องของธุรกิจปศุสัตว์ใช้ในการบริการแก่ผู้เกี่ยวข้อง และถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืนที่เหมาะสมแก่เกษตรกรทั่วไป