เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

โครงการฟาร์มต้นแบบภายใต้โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ

 

bannercowbank

1. หลักการและเหตุผล

          ตามที่ ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนโค-กระบือลดลงอย่างน่าใจหาย เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเพิ่มมากขึ้น แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือกลับลดจำนวนลง ด้วยสาเหตุสำคัญเพราะมีพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้อยลง ประกอบกับแรงงานภาคเกษตรกรปรับเปลี่ยนมาเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่สนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโค-กระบือเพื่อจะได้มีโค-กระบือเป็นของตนเองและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกร ซึ่งหากมีการบูรณาการองค์ความรู้และกิจกรรมทุกภาคส่วน รวมทั้งการเพิ่มจำนวนโค-กระบือที่สนับสนุนให้เกษตรกรตามโครงการ จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตโค-กระบือ และส่งผลให้เกิดประโยชน์จากการเลี้ยงโค-กระบืออย่างครบวงจร อันจะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนในการเพิ่มประชากรโค-กระบือในประเทศ และเกษตรกรในโครงการได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

 

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อ

2. เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนโคเนื้อ

3. เพื่อส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์และเพิ่มทางเลือกอาชีพให้แก่เกษตรกร

 

3. การดำเนินการ

          ร้างฟาร์มต้นแบบโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เพื่อเป็นจุดสาธิตการเรียนรู้ตามโมเดลการผลิตโคและการใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร

 

4. เป้าหมาย

สร้างฟาร์มต้นแบบโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ จำนวน 100 แห่ง

 

5. งบประมาณ

          จำนวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) ขอสนับสนุนจากโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ประกอบด้วยรายละเอียด

          - เป็นค่าก่อสร้างฟาร์มต้นแบบโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 100 แห่ง เป็นเงิน 5,000,000 บาท

          - เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการออกเงินสมทบรายละ 25,000 บาท     

 

6. พื้นที่เป้าหมาย

          จังหวัดในพื้นที่ฝนตกชุก และในเขตชลประทาน จำนวน 20 จังหวัด ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต พัทลุง สงขลา สตูล ตรัง อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี

 

7. รายละเอียดกิจกรรม

1. สร้างฟาร์มต้นแบบโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เพื่อเป็นจุดเรียนรู้และสาธิตการเลี้ยงโคตามโมเดลการผลิตโคและการใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร จำนวน 100 แห่ง ในพื้นที่ดำเนินการ 20 จังหวัด

2. เชิญปศุสัตว์สัตว์จังหวัดที่เกี่ยวข้องหารือรายละเอียดโครงการเพื่อรับทราบแนวทางและพิจารณาคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย

3.จังหวัดพื้นที่เป้าหมายพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยเกษตรกรต้องได้รับการรับรองจากท้องถิ่น สถานที่ตั้งฟาร์มต้นแบบต้องมีการคมนาคมสะดวก มีแรงงานเพียงพอ และมีความสามารถในการเลี้ยงสัตว์

4. ธคก. / คณะทำงานฯ ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ชี้แจงทำความเข้าใจถึงแนวทางและเงื่อนไขการดำเนินโครงการให้เกษตรกรรับทราบ

5. สร้างฟาร์มต้นแบบการผลิตโคและการใช้ประโยชน์อย่างครบวงจรตามแบบที่กำหนด ประกอบด้วย แปลงหญ้าขนาดไม่น้อยกว่า 1 ไร่ คอกโคขนาด 32 ตารางเมตร (บ่อแก๊สขนาดเล็ก 1 บ่อ หากเกษตรกรประสงค์เพิ่มเติมเอง โดย สอส.เป็นผู้ให้คำแนะนำ)

6. สนับสนุนโคของโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ จำนวน 5 ตัว ต่อ แห่ง โดยทำสัญญายืมเพื่อการผลิตตามระเบียบของ ธคก.

7. สอส.ให้ความรู้ด้านการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ และสนับสนุนท่อนพันธุ์ โดยเน้นพันธุ์เนเปียร์ปากช่อง 1

8. สสส.ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรที่เป็นจุดเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ตั้งแต่การจัดการแปลงหญ้า การเลี้ยงโคแบบยืนโรง และการใช้มูลโคทำแก๊สชีวภาพใช้ปรุงอาหารในครัวเรือน รวมทั้งนำแก๊สมาใช้ประโยชน์ในการจัดการแปลงหญ้า

9. สทป.ให้บริการผสมเทียม / สพพ.พิจารณาสนับสนุนพ่อพันธุ์

10. สคบ.ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพสัตว์         

11. กพก.เก็บข้อมูลและประเมินผลการดำเนินการ  

 

          โมเดลการเพิ่มขีดความสามารถการผลิตโคและการใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร

1. มีคอกและบริเวณที่โคอยู่สบายได้มาตรฐาน เป็นเอกลักษณ์ของคอกโคโครงการธนาคารโค – กระบือ

2. เลี้ยงโคเพศเมียอย่างน้อย 5 ตัว

3. ตัดหญ้าให้โคกิน ไม่นำโคไปผูกล่ามหรือปล่อยหากินนอกคอก

4. มีแปลงหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 อย่างน้อย 1 ไร่

5. ได้ขี้โคใส่บ่อแก๊สทุกวันหรือขายขี้โคได้ทุกวัน (มีหรือไม่ก็ได้)

          ผลผลิตและมูลค่าที่ได้รับตลอดระยะเวลา 5 ปี ตามระเบียบ ธคก.

        1. เกษตรกรได้รับโคเป็นกรรมสิทธิ์ตามสัญญายืมเพื่อการผลิตของ ธคก. (5 ปี) รายละ 15-20 ตัว คิดเป็นมูลค่า 300,000 – 400,000 บาท

          2. เกษตรกรได้ปุ๋ยมูลสัตว์คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000 บาท/ครัวเรือน/ปี

          3. เป็นการเพิ่มรูปแบบทางเลือกในการเลี้ยงโคของ ธคก. และขยายการดำเนินการในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ

 

          ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

         1. เป็นฟาร์มต้นแบบในการผลิตโคและการใช้ประโยชน์อย่างครบวงจรของโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ

         2. เพิ่มรูปแบบทางเลือกในการให้บริการของ ธคก. แก่เกษตรกร

 

คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์