โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
หลักการและเหตุผล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงตระหนักถึงการเตรียมพระองค์ฯ ให้มีความพร้อมด้านพระสุขภาพ พระพลานามัย ตลอดจนควบคุมด้านโภชนาการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งพระครรภ์ และพระองค์ทรงมีพระปณิธานอย่างแน่วแน่ในการประทานพระกษีธาราถวายแด่พระโอรส ให้นานที่สุด โดยทรงประทานพระกษีธาราถวายแด่พระโอรสนานถึง 7 เดือน บรรลุผลสำเร็จอย่างดีเลิศ และด้วยทรงเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง จึงทรงมีรับสั่งว่า "่น่าจะจัดทำเป็นโครงการสำหรับข้าราชบริพารในพระองค์ฯ และครอบครัว เป็นสวัสดิการบำรุงขวัญและกำลังใจ เพื่อลดภาระในการเลี้ยงดูบุตร - ธิดา โดยไม่กระทบต่อหน้าที่ถวายงานและการดำรงชีพ และถือว่าเป็นโครงการตัวอย่างหรือต้นแบบ ซึ่งผลสำเร็จที่ได้รับจะสามารถพัฒนาให้เป็นโครงการสำหรับชุมชนทั่วไปใน อนาคต" และจึงได้มีการจัดตั้งโครงการ "สายใยรักแห่งครอบครัว" โดยพระองค์ทรงทำพิธีเปิดนิทรรศการโครงการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2548 ณ วังศุโขทัย และต่อมาโครงการนี้เป็นโครงการในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะส่วนราชการหนึ่งที่มีบทบาทในการส่งเสริมการ ผลิตทางการเกษตร ซึ่งจัดว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะเป็นแหล่งอาหารเพื่อการบริโภคครัวเรือน รวมไปถึงบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมการประกอบอาชีพทางการเกษตรแก่เกษตรกร และประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีรายได้จากการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน ได้เห็นถึงความสำคัญในการให้หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมลูกได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนการทำการเกษตรในครัวเรือนที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนสร้างอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงดู บุตร ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองพระปณิธานที่จะทรงส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่และสมาชิกโครงการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในโครงการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะด้านการเกษตรและการประกอบอาชีพ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานโครงการขึ้น และกรมปศุสัตว์ร่วมดำเนินกิจกรรมเกษตรสมบูรณ์เพิ่มพูนสุขภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สมาชิกโครงการได้บริโภคอาหารที่มีภาวะโภชนาการด้านโปรตีน
2. ส่งเสริมการทำการเกษตรในครัวเรือนที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อลดรายจ่ายของครอบครัว
3. สร้างอาชีพเสริมให้กับสมาชิกโครงการ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการครองชีพตามสถานภาพ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI)
สมาชิกโครงการทั้งในชนบทและชุมชนเมืองที่มีฐานะยากจนที่เข้าร่วมโครงการมีอาชีพ รายได้เสริม จำนวน 640 ราย
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กอง/สำนัก
1. สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ จัดทำแผน งบประมาณ จัดสรรงบประมาณ ติดตามผลการดำเนินงาน และเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่
2. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สนับสนุนการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เพื่อโภชนาการที่ดี ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในครัวเรือน โดยเลือกชนิดของสัตว์ปีก ที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามคำแนะนำสภาพพื้นที่ เพื่อให้สมาชิกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสะอาดปลอดภัยจากสาร พิษ เป็นการลดค่าใช้จ่ายให้แก่ครอบครัว โดยมีกิจกรรมดำเนินงาน คือ
- ร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรมกับหน่วยงานบูรณาการ เพื่อให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพการปศุสัตว์ที่เหมาะสมกับสถานภาพของแต่ละ ครัวเรือนและมีคุณค่าทางโภชนาการ
- สนับสนุนปัจจัยการเกษตร ได้แก่ สัตว์ปีก อาหารสัตว์เพื่อให้สมาชิกเป็นพื้นฐานเริ่มต้นอาชีพด้านปศุสัตว์ เป็นอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน
- ติดตามการดำเนินงานและให้ความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
การรายงานผล
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด รายงานผลตามแบบ e-operation ของกองแผนงาน และรายงานรายละเอียด ชื่อ - นามสกุล ที่อยู่ เลขบัตรประชาชนของสมาชิกใหสำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ทราบ
เป้าหมายการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2556
ดำเนินงานในพื้นที่ 77 จังหวัด รวม 80 จุด (จังหวัดนครราชสีมา, เชียงใหม่, นครศรีธรรมราช จังหวัดละ 2 จุด) รวมสมาชิกเข้าร่วมโครงการด้านปศุสัตว์จุดละ 8 ราย สนับสนุนสัตว์ปีกรายละ 9 ตัว รวมเป้าหมายสมาชิก 640 ราย สนับสนุนสัตว์ปีก 5,760 ตัว
งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายต่อจุด จุดละ 20,500 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง 480 บาท
- ค่าวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิง 1,820 บาท
- ค่าวัสดุการเกษตร 18,200 บาท
(สัตว์ปีก 9 ตัว ตัวละ 175 บาท สมาชิก 8 ราย เป็นเงิน 12,600 บาท
อาหารสัตว์เบื้องต้น รายละ 700 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
การประเมินผล
โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกตามเอกสารแนบซึ่งจังหวัดเป็นผู้ สรุปตามแบบประเมินแจ้งในระบบ e-operation เกณฑ์ผ่านคือ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ครอบครัวของสมาชิกโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ทำการเลี้ยงสัตว์ปีกภายในครัวเรือนมีภาวะอาหารด้านโปรตีน ลดรายจ่ายในครัวเรือน มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
***********************