เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

การศึกษาสถานภาพจุดสาธิตปศุสัตว์ กิจกรรมศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในพื้นที่ภาคตะวันออก

การศึกษาสถานภาพจุดสาธิตปศุสัตว์  กิจกรรมศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล 
ในพื้นที่ภาคตะวันออก 1/

จารุวัฒน์  นุตเดชานันท์ 2/       ไมตรี  ชีวธารณากร 3/

บทคัดย่อ

                การศึกษาสถานภาพจุดสาธิตปศุสัตว์  กิจกรรมศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล  ในพื้นที่ภาคตะวันออก  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานจุดสาธิตปศุสัตว์  ที่จะเป็นแหล่งประสานงานและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์ไปสู่เกษตรกรใน พื้นที่  2) ศึกษาความพร้อมในการดำเนินงานของวิทยากรเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะ  ในการดำเนินงานของวิทยากรเกษตรกรและจุดสาธิตปศุสัตว์

            กลุ่มตัวอย่างได้แก่วิทยากรเกษตรกร  จำนวน 126  คน  และเกษตรกรที่ต้องการใช้บริการ  จำนวน 198  คน  รวม  324  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบสัมภาษณ์  และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS  for  window           

             ผลการวิจัยพบว่า  วิทยากรเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  มีอายุเฉลี่ย  43.4 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดร้อยละ 56.4  จบชั้นประถมศึกษา  มีสมาชิกในครัวเรือน  เฉลี่ย  4.5  คน  มีจำนวนผู้ใช้แรงงานเฉลี่ย  3  คน  ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักเลี้ยงสัตว์  มีรายได้จากการเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ย 8,362  บาทต่อเดือน วิทยากรเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยมีจำนวนไก่พื้นเมืองสำหรับใช้เป็นจุดสาธิตปศุสัตว์  เฉลี่ย  63.5  ตัว  รองลงมาเป็นจุดสาธิตโคเนื้อ    มีจำนวนโคเนื้อ สำหรับใช้เป็นจุดสาธิตปศุสัตว์  เฉลี่ย 15.5  ตัว  จุดสาธิตปศุสัตว์ส่วนใหญ่ไม่เคยถูกคัดเลือกเป็นฟาร์มสาธิตมาก่อน  โดยมีสมาชิกในครัวเรือนเป็นผู้ทำหน้าที่เลี้ยงสัตว์ ผู้ทำหน้าที่เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย

            วิทยากรเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยรับการอบรมการเลี้ยงสัตว์มาก่อน  ส่วนใหญ่เมื่อผ่านการอบรม  หลักสูตร  2  วัน  คิดว่าตนเองได้รับความรู้เพียงพอ เพื่อใช้ในการทำหน้าที่วิทยากรเกษตรกรประจำจุดสาธิต  ปศุสัตว์  กิจกรรมศูนย์บริการและถ่ายทอเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล  สิ่งจูงใจการเข้ารับหน้าที่วิทยากรเกษตรกรอันดับแรก คือได้รับความรู้ในการประกอบอาชีพ  รองลงมาจะได้ช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อนบ้าน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานเป็นวิทยากรเกษตรกร อยู่ในระดับปานกลาง  โดยมีปัญหาอุปสรรค    ขาดการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ รองลงมาคือขาดอุปกรณ์และเครื่องมือ  สำหรับเกษตรกรที่ต้องการใช้บริการ  ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุมากว่า  50  ปี  มีการศึกษาระดับประถมศึกษา  ส่วนใหญ่ใช้แรงงานในครัวเรือน  เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรอง ต้องการใช้บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่มากที่สุด รองลงมาคือ การเลี้ยงโคเนื้อ 

คำสำคัญ : เกษตรกรวิทยากร, จุดสาธิตปศุสัตว์, ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล1/

 

ทะเบียนวิชาการเลขที่  48(4)-1111-158
2/  สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์
3/  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต