เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

คู่มือการเขียนบทความด้านปศุสัตว์ให้น่าสนใจ

คู่มือการเขียนบทความด้านปศุสัตว์ให้น่าสนใจ  โดย พิจารณา สามนจิตติ

บทนำ 

  • หลักการและเหตุผล ประชาสัมพันธ์เป็นงานที่ต้องสร้างความเข้าใจที่ดี  สร้างความรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาให้มีต่อหน่วยงาน/องค์กร บทความเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสนอข้อเท็จจริง ความคิด  ความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดี  บทความที่มีคุณค่าในสายตาของสื่อมวลชนก็จะได้รับการเผยแพร่ออกสู่สายตา ประชาชน
                     กรมปศุสัตว์ เป็นองค์กรหลักในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ให้ได้สินค้าปศุสัตว์ ที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการบริโภคและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก  บนพื้นฐานการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและ ยั่งยืน กรมปศุสัตว์ยังต้องมีหน้าที่ในการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ กำหนดมาตรฐาน กำกับ ควบคุม ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์  และสถานประกอบการด้านการปศุสัตว์  รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต  โดยการพัฒนาสุขภาพสัตว์และส่งเสริมอาชีพการปศุสัตว์คู่มือนี้จะเป็นแนวทาง ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง  ในการที่จะเขียนบทความนำเสนอ  เพื่อประชาสัมพันธ์งานด้านปศุสัตว์ 
                     คู่มือเล่มนี้จะเป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการจุดประกายแนวคิดในการเขียนบทความ เผยแพร่ความรู้  ซึ่งประสิทธิภาพและความน่าสนใจของบทความขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน อาทิ ประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ความสมบูรณ์ของเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ เป็นต้น
                     คู่มือเล่มนี้ ผู้เขียนได้แนะนำวิธีการเขียนบทความให้น่าสนใจ  ที่เข้าใจง่าย  เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้  รวมทั้งได้รวบรวมบทความทั้งที่ใช้เผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์หรือที่ใช้เผยแพร่ ทางวิทยุกระจายเสียง ฯลฯ  ที่ได้จัดทำขึ้นและได้รับการเผยแพร่ทางสื่อมวลชนแขนงต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์  วิทยุ  โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ มารวมไว้  เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลความรู้แก่บุคคลทั่วไปนำไปใช้ประโยชน์ได้ 
  • วัตถุประสงค์ 
                      1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์มีหลักการและ แนวทางการเขียนบทความที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ 
                      2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์มีตัวอย่างบท ความ ที่ได้เผยแพร่ทางสื่อมวลชน  อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์  วิทยุ  โทรทัศน์  ฯลฯ     
  • ขอบเขตการดำเนินการ
                      ข้อมูลที่นำเสนอใน ”คู่มือการเขียนบทความด้านปศุสัตว์ที่น่าสนใจ” ดำเนินการศึกษา ในระหว่างเดือนกันยายน 2548  ถึง  เดือนกรกฎาคม 2549   
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  คู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ 
                     1. เจ้าหน้าที่หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์ได้ศึกษาเป็นตัวอย่าง ในการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ทางสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
                     2. เจ้าหน้าที่หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์สามารถพัฒนาหรือ ประยุกต์แนวทางการเขียนบทความ เพื่อเผยเพื่อแพร่ทางสื่อมวลชนให้น่าสนใจได้มากขึ้น


    เลขทะเบียนวิชาการ             50 (2) – 0511 - 065
    สถานที่ดำเนินการ               สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์
    ระยะเวลาดำเนินการ             กันยายน  2548 – กรกฎาคม  2549
    การเผยแพร่                       สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 1 – 9 และหน่วยงานของกรมปศุสัตว์
    ดาวน์โหลดเรื่องเต็ม