เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

ประเภทของเนื้อโคไทย

           เนื้อโคจัดอยู่ในเนื้อกลุ่มที่มีสีแดง ( red meat ) ที่มาจากสัตว์มีกีบเท้า เนื้อสัตว์กลุ่มนี้ที่สำคัญและเป็นเนื้อสัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่  เนื้อโค เนื้อกระบือ เนื้อแพะ เนื้อแกะ และเนื้อสุกร อาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ไม่รวมอาหารทะเลและปลาน้ำจืด  เนื้อสัตว์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคคนไทยมากที่สุด คือเนื้อสุกร ซึ่งมีปริมาณการบริโภคใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ปีก  ปริมาณการบริโภคเนื้อสุกรและเนื้อสัตว์ปีกแต่ละชนิด เฉลี่ยอยู่ที่ 3 – 5  กิโลกรัม / คน / ปี เนื้อโคที่มีอยู่ในประเทศมีความแตกต่างกัน  เนื่องจากพันธุ์และระบบการผลิต ทำให้คุณภาพเนื้อที่ได้มีความแตกต่างกัน  ในด้านคุณภาพก็ไม่ใช่ข้อเสีย เพราะคุณภาพสินค้าขึ้นอยู่กับความต้งการของตลาด หรือผู้บริโภค  ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจ  ผู้บริโภคก็คือผู้ที่จะนำเนื้อโคนั้นไปใช้ประโยชน์  โดยเนื้อแต่ละประเภทจะมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกันไป

ประเภทของเนื้อโคไทย

เนื้อโคไทยที่ผลิตได้ในประเทศ  แบ่งเป็นปรเภทใหญ่ ๆ  ได้ตามระบบการผลิต ดังนี้

            1. เนื้อโคขุนคุณภาพสูง  หมายถึงเนื้อโคที่มีความนุ่มมาก เป็นเนื้อที่มีไขมันแทรกในเนื้อ (marbling หรือ intermuscula fat ) และผ่านขั้นตอนการบ่มเนื้อ (ageing )  ภายใต้อุณหภูมิการเก็บรักษาเนื้อในห้องเย็น  0 – 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา  4 – 7 วันก่อนการจำหน่าย

               เนื้อโคคุณภาพสูงได้มาจากการเลี้ยงโคลูกผสมเลือดโคยุโรป  ที่นิยมมากคือ โคพันธุ์ชาโรเล่ส์  โดยโคลูกผสมมีเลือดโคยุโรปมากกว่า  50  เปอร์เซ็นต์   การเลี้ยงขุนโคลูกผสมเริ่มต้นที่น้ำหนักตัว  300 – 350  กิโลกรัม จะได้รับอาหารข้น (concentrate feed) ที่มีพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตสูง  รวมกับกสารให้หญ้าสดและฟาง เป็นเวลา 8– 14 เดือน  อาจมีการเสริมกากน้ำตาลเป็นเวลา  3  เดือน  ก่อนสิ้นสุดการขุนที่น้ำหนักโคมีชีวิต  550 – 650  กิโลกรัม

                เนื้อโคขุนคุณภาพสูงเลือดโคยุโรปที่เป็นที่รู้จักคือ เนื้อโคขุนโพนยางคำ หรือเนื้อโค Thai-French  ที่มาจากโคของสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จังหวัดสกลนคร  และเนื้อโคขุน เคยูบีฟ (KU-Beef) ของสหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

               นอกจากนี้เนื้อโคคุณภาพสูงอาจจะมาจากโคขุนลูกผสมเลือดพันธุ์บราห์มันระดับสูง และเป็นพันธุ์บราห์มันสายเลือดที่ได้รับการคัเลือกมาอย่างดี โดจะเริ่มขุนที่อายุไม่ถึง  2 ปี  ทีน้ำหนักตัว  250 – 300  กิโลกรัม  เลี้ยงด้วยอาหารข้นและหญ้าสดคุณภาพสูงเป็นเวลา  8  เดือน  จนได้น้ำหนักสิ้นสุดการขุนที่  500  กิโลกรัม  เนื้อโคที่ได้มีไขมันแทรกและมีความนุ่มน้อยกว่าเนื้อโคขุนลูกผสมเลือดโค ยุโรป  แม้จะใช้เวลาในการบ่มเนื้อ  14 – 21  วันแล้วก็ตาม  เนื้อโคขุนกลุ่มนี้   คุณภาพไม่ด้อยกว่าเนื้อโคขุนที่นำเข้าจากต่างประเทศ  แต่มีส่วนแบ่งการตลาดไม่ถึง  1 เปอร์เซ็นต์ และเป็นตลาดระดับสูง  เช่น  ร้านสเต็ก  บาบีคิวมีระดับ  ร้านแมคดนอล  วิลล่าซุปเปอร์มาเกต  โมเดิร์นเทรดระดับ  5  ดาว เป็นต้น

         2.  เนื้อโคขุนคุณภาพปานกลาง หมายถึงเนื้อโคที่มีความนุ่มปานกลาง  เป็นเนื้อที่มีไขมันแทรก  ได้มาจากการขุนโคลูกผสมพันธุ์บราห์มันเลือดสูง  โดยเริ่มที่น้ำหนักตัว 300  กิโกรัม  ขุนด้วยอาหารข้นและหญ้าสด หรือฟาง  เป็นระยะเวลา  5 – 6  เดือน  จนได้น้ำหนักตัว  450  กิโลกรัม  เนื้อโคขุนกลุ่มนี้อาจจะผ่านขั้นตอนการบ่มหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับตลาดของเนื้อโค โคขุนลูกผสมพันธุ์บราห็มันเลือดสูงนี้สามารถที่จะขยายโอกาสเข้าสู่ตลาดโม เดิร์นเทรด  ซุปเปอร์มาเกตและร้านสเต็กได้  หากผู้ผลิตมีการพัฒนาและปรับปรุงขบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่ของการผลิต  โดยเริ่มจากการคัดเลือกโคที่จะนำเข้ามาขุน  คุณภาพของอาหารข้น และชนิดของอาหารหยาบ  ระยะเวลาในการขุนนานขึ้น  เพื่อให้มีการสร้างไขมันมากขึ้น  ผ่านกระบวนการฆ่า  การตัดแต่งและการเก็บรักษาเนื้อจากโรงฆ่า และโรงงานแปรรูปที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามหลักการปฏิบัติจัดการที่ถูกต้อง (GMPs)   อย่างไรก็ตาม เนื้อโคขุนกลุ่มนี้จะมีความนุ่มด้อยกว่าเนื้อโคขุนคุณภาพ  แม้จะมีการบ่มเนื้อนานถึง  21  วันก็ตาม  ทั้งนี้เพราะเป็นโคขุนลูกผสมพันธุ์บราห์มันและพันธุ์พื้นเมืองที่อยู่ใน ตระกูลโคอินเดีย (Indicus) ที่มีเอนไซม์ calpastatins  ที่เป็นตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ calpains  ที่ทำให้เนื้อนุ่มมากกว่าโคในตระกูลโคยุโรป (Taurus)  นอกจากนี้โคในตระกูลโคอินเดียยังมีปริมาณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันธุ์ที่ย่อยสลายยากอยู่สูงกว่า

           3. เนื้อโคมัน  หมายถึง เนื้อที่ได้มาจากโคอายุมาก  ส่วนใหญ่เป็นโคลูกผสมพันธุ์บราห์มันและพันธุ์พื้นเมือง  หรืออาจเป็นโคที่นเข้ามาจากชายแดน  โคเหล่านี้จะถูมนำมาขุนเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง  2 – 3  เดือน ก่อนส่งโรงฆ่า  เนื้อจะค่อนข้างเหนียวและมีกลิ่นแรง เส้นใยกล้ามเนื้อหยาบ มีไขมันหุ้มซากหนา  เนื้อโคจะไม่ผ่านขั้นตอนการบ่มเนื้อ  ส่วนใหญ่จะจำหน่ายในตลาดสด

           4. เนื้อโคพื้นเมือง  หมายถึง เนื้อโคที่ได้มาจากคันธุ์พื้นเมือง  ซึ่งถูกเลี้ยงผล่อยหากินหญ้าตามธรรมชาติ   เนื้อโคจะมีคุณภาพไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับอายุของโค  ความุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารธรรมชาติ  เนื้อโคพื้นเมืองอายุ ประมาณ 2  ปี และมาจากแหล่งที่มีหญ้าธรรมชาติสมบูรณ์เกือบตลอดปีจะมีน้ำหนักตัวประมาณ  200  กิโลกรัม  เนื้อที่ได้จะมีความนุ่มปานกลาง  เส้นใยกล้ามเนื้อละเอียด  ไม่มีไขมันแทรก  เนื้อมีสีออกแดงคล้ำ  ผิวสัมผัสเป็นมันวาว เนื้อค่อนข้างแห้ง ไม่ฉ่ำน้ำเหมือนเนื้อโคขุนโดยทั่วไป  เนื้อโคพื้นเมืองจะค่อนข้างเหนียว เนื่องจากแหลงหญ้าตามธรรมชาติไม่เพียงพอในฤดูแล้ง  ต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงถึง  3  ปี  จึงจะได้น้ำหนัก  200 – 250  กิโลกรัม  เนื้อโคพื้นเมืองส่วนใหญ่มีจำหน่ายตามตลาดสดในต่างจังหวัด  ร้านขายเนื้อริมถนนหลวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และตามตลาดนัดเคลื่อนที่

             5. เนื้อโคแก่  หมายถึงเนื้อที่ได้มาจากโคอายุมาก  โคคัดทิ้ง โคนำเข้าจากชายแดน  โคผอม  เนื้อโคจะเหนียวมาก  ไม่มีมัน มีพังผืดมาก  เนื้อมีกลิ่นแรง  เนื้อโคกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ถูกส่งเข้าโรงงานทำลูกชิ้น  อาจจะมีจำหน่ายอยู่บ้างตามตลาดสดชนบท  ตลาดนัดเคลื่อนที่ 

              6. เนื้อโคนมขุน  จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อโคขุนคุณภาพสูง  เนื้อมีความนุ่มมากและมีไขมันแทรก เนื่องจากเป็นเนื้อโคที่มีเลือดโคยุโรปสูง ในตลาดของไทยยังไม่มีการผลิตเนื้อโคประเภทนี้ แต่คาดว่าในอนาคตอันใกล้จะมีเนื้อโคนมขุนจากโคนมเพศผู้ (dairy  beef) จำหน่าย