ผลิตภัณฑ์เนื้อประเภทต่าง ๆ
ดร. รุจริน ลิ้มศุภวานิช และ รศ. ดร. จุฑารัตน์ เศรษฐกุล
อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ
จุดประสงค์หลักในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อ หรือถนอมอาหารจากเนื้อก็เพื่อให้ได้ผลิตจภัณฑ์เนื้อที่ผลอดภัยสำหรับรับ ประทาน ลดโอกาสการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย (spoilage microorganism) ยืด อายุการเก็บรักษา และเพิ่มความหลากหลายของธรรมชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัสหรือรูปแบบชองการบริโภค ทั้งนี้ความสะดวกในการรับประทาน ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคในปัจจุบันมักเรียกหาเป็นอันดับต้น
ประเภทของผลิตภัณฑ์
การจัดแบ่งผลิตภัณฑ์เนื้อตามลักษณะทางกายภาพของตัวผลิตภัณฑ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แบบคงรูป หรือแบบขนาดคงเดิม (non-comminuted meat products)
หมายถึง ผลิตภัณฑ์เนื้อที่ไม่ผ่านการบดหรือการย่อขนาดลง ตัวผลิตภัณฑ์เนื้อยังคงมีรูปร่างและลักษณะของกล้ามเนื้อ หรือชิ้นเนื้อยู่ (intact or whole muscle) แต่ อาศัยวิธีการถนอมรักษาอาหารหรือ กระบวนการแปรรูปต่าง ๆ มาช่วยในการผลิต เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เนื้อที่มีกลิ่น รส สี ลักษณะเนื้อสัมผัสที่น่ารับประทาน และที่สำคัญที่สุด คือทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค และมีอายุในการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น ตัวอย่าง เช่น ในการผลตผลิตภัณฑ์เนื้อเบคอน(bacon) ของชาวตะวันตก หรือที่ชาวไทยเรียกว่า เนื้อสามชั้น
ซึ่งในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์เบคอนเนื้อโค (beef bacon) มักจะใช้เนื้อโคส่วน brisket และ short plate ผ่านการถนอมรักษาและแปรรูปโดยวิธี curing (การหมักหรือแช่ในน้ำเกลือปรุงรส หรือเกลือแกงและที่สำคัญคือ มีเกลือไนไตรต์เป็นส่วนประกอบ) ในบางประเทศ อาจเรียกน้ำเกลือปรุงรสว่า pickle หรือ brine ใน การผลิตเนื้อเบคอนมักมีการฉีด นวด และแช่หมักดองด้วยน้ำเกลือปรุงรสก่อนจะทำให้สุก ทั้งนี้ลักษณะของตัวเนื้อสามชั้นยังคงมีอยู่ให้เห็นภายหลังผลิตภัณฑ์เนื้อ เบคอนได้ผ่านกระบวนการแปรรูปแล้ว
2. ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แบบลดรูป หรือ แบบลดขนาด (comminuted meat products) คือ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้ชิ้นเนื้อมีขนาดย่อยเล็กลง จนไม่เห็นเป็นชิ้นกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แบบลดรูปยังสามารถแบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อ สัตว์แบบลดรูปชนิดบดหยาบ (coarse ground meat product) คือ การที่ชิ้นเนื้อถูกบดด้วยเครื่องบดแบบธรรมดาเพื่อย่อยขนาดของชิ้นเนื้อลง แต่ไม่ถึงในระดับเส้นใยกล้ามเนื้อ เช่น ผลิตภัณฑ์แหนม หรือกุนเชียงของไทย หรือแฮมเบอร์เกอร์ และซาลามี่ของชาวตะวันตกและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ลดรูปชนิดบดละเอียดแบบอิมัล ชั่น (fine ground or emulsion type meat product) เช่นไส้กร อกแฟรงค์เฟอร์เตอร์ของชาวตะวันตก ซึ่งประกอบไปด้วยไขมัน เนื้อแดง น้ำ เครื่องเทศ และสารปรุงแต่งชนิดต่าง ๆ ถูกบดผสมและสับละเอียด จนทำให้โครงสร้างในระดับเส้นใยกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงไป จนได้เป็นมวลเหนียว ที่มีลักษณะคล้ายการเกิดอิมัลชั่น
ผลิตภัณฑ์เนื้อแบบหมักเปรี้ยว(fermented meat products)
โดยทั่วไปแล้วการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร รวมทั้งในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ถือเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย (spoilage microoganism) หรือที่ก่อให้เกิดโรค ( pathogenic microoganism) ในทางตรงกันข้าม สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อแบบหมักเปรี้ยว (fermented meat product) กลับ ต้องการให้มีการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์เกิดขึ้น เพราะจุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถใช้คาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะน้ำตาลกลูโคส หรือเด็กซ์โตส(glucose or dextrose) ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเป็นแหล่งอาหารเพื่อสร้างเป็นกรดแลกติค เป็นผลให้ได้ผลิตภัณฑ์เนื้อที่มีรสออกเปรี้ยว (tangy) และการเสื่อมสภาพของโปรตีน (protein denaturation) ใน วัตถุดิบเนื้อสัตว์ซึ่งเกิดจากการทำงานของกรดแลคติค และการลดความชื้น ทำให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะเนื้อสัมผัสเฉพาะตัว นอกจากนี้ปริมาณกรดที่ถูกสร้างขึ้นนี้สามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อ จุลินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์ และช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ได้
ในอดีตการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อแบบหมักเปรี้ยว เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละประเทศ ดังเช่น การผลิตแหนมของไทย หรือซาลามี่ (salami) ของชาวตะวันตก จุลินทรีย์กลุ่มแลคติคนี้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยอาจมาจากตัวเนื้อสัตว์เอง หรือมาจากอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผลิตแต่ละครังอาจมีรสชาติที่แตกต่างกัน ไม่คงที่ จึงมีการเก็บเนื้อหมักที่ได้จากการผลิตครั้งก่อน นำไปผสมกับเนื้อและส่วนผสมในการผลิตในครั้งถัดไป (back slopping) เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหมือนครังก่อนให้มากที่สุด
แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการวิจัยจึงมีกระบวนการคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ กลุ่มแลคติคที่ช่วยในการหมักเนื้อ นำมาผลิตเป็นเชื้อจุลินทรีย์ตั้งต้น (starter culture) เพื่อ ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อหมักเปรี้ยว ซึ่งการใช้เชื้อจุลินทรีย์ตั้งต้นจะช่วยให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวมาก ขึ้น สามารถควบคุมกระบวนการหมักได้ดีขึ้น การผลิตในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในต่างประเทศก็มักจะใช้เชื้อจุลินทรีย์ตั้งต้นด้วย เพราะนอกจากจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับผลิตภัณฑืในระดับหนึ่ง
เนื่องมาจากปริมาณกรดที่ถูกผลิตโดยเชื้อจุลินทรีย์ตั้งต้นนั้น สำหรับเชื้อจุลินทรีย์ตั้งต้น อาจมาจากจุลินทรีย์บริสุทธิ์ประเภทเดียว (pure culture) หรือหลายประเภท ( mixed culture) เช่น กลุ่ม Lactobacillus, Pediococcus cerevisea หรือ Micrococcus ในทางการค้าจะมีเชื้อจุลินทรีย์ตั้งต้นจำหน่ายในรูปของเชื้อแช่แข็ง (frozen) หรือแบบแห้ง (freeze-dried) เชื้อ จุลินทรีย์ตั้งต้นที่ใช้ต้องเป็นเชื้อที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค สามารถสร้างกรดได้อย่างรวดเร็วเพื่อลดเวลาในการผลิตลง และควรมีความสม่ำเสมอในการสร้างกรดอีกด้วย
ในปัจจุบันความก้าวหน้าของการวิจัยยังนำไปสู่การค้นพบเชื้อจุลินทรีย์ที่นอก จากจะช่วยในเรื่องคุณภาพสำหรับการหมักแล้ว นักวิชาการพยายามคัดสรรให้ได้เชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างสารปฏิชีวนะ (natibiotic) หรือ สร้างสารแบคทิริโอซิน (bacteriocin) โดยเฉพาะพวกที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Listeria ซึ่งเจริญได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ รวมถึงการใช้จุลินทรีย์ตั้งต้นที่สามารถควบคุมการผลิตสารพิษ enterotoxic ที่เป็นอัตรายซึ่งผลิตโดยเชื้อ Staphylococcus aureus ที่มีความสามารถเจริญได้แม้ในผลิตภัณฑ์นั้นจะมีความเค็มหรือมีความชื้นต่ำ (ค่า AW ต่ำ)
นอกจากนี้นักวิชาการยังพยายามคัดสรรให้ได้เชื้อตั้งต้นที่มีคุณภาพและความปลอดภัยดังกล่าว ซึ่งในการจัดตั้ง “โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายการวิจัยด้านเทคโนโลยีเนื้อสัตว์” ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานสนับสนุนกองทุนการวิจัย(สกว.) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อเป็ฯศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีเนื้อ สัตว์มีจุดปราสงค์ที่จะนำกล้าเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์เริ่มต้นที่มี คุณสมบัติเป็น probiotic ซึ่งค้นพบโดยนักวิจัยภายใต้ชุด โครงการวิจัยเดียวกันมาศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อประเภท หมักเปรี้ยวกึ่งแห้งแบบตะวันตกที่มีคุณสมบัติเป็น functional foods เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อของสัตว์ไทยอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์เนื้อบดละเอียดแบบอิมัลชั่น
ผลิตภัณฑ์เนื้อบดละเอียดแบบอิมัลชั่น (fine ground or emulsion type meat products)
ผลิตภัณฑ์เนื้อลดรูปชนิดละเอียดแบบอิมัลชั่นครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อหลากหลายชนิด ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นผลิตภัณฑ์ไส้กรอกสุก (cooked sausages) ที่มีการใช้เกลือไนไตรต์เป็นส่วนประกอบจึงจัดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท cooked cure meat ด้วย ตัวอย่างเช่น ไส้กรอกแฟรงค์เฟอร์เตอร์ (frankfurter) หรือบางแห่ง เรียกว่า วีนเนอร์ (weiner) หรือ ฮอทดอก (hot dog) รวมถึงไส้กรอกเวียนนา (veinna) ไส้กรอกคอกเทล (cocktail) วึ่งจัดเป็นกลุ่มไส้กรอกที่ใช้ไส้บรรจุที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็ก (small diameter casings) ส่วนโบโลญ่า (bologna) และมอร์ทาเดลลา(mortadella) มักจะอัดลงในไส้บรรจุที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ( large diameter casings) เป็นต้น
สำหรับตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อของไทย เช่น ลูกชิ้น หมูยอ จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์เนื้อแบบอิมัลชั่น หากแต่ไม่จำเป็น cooked cured meat products เนื่องจากไม่มีการใช้เกลือไนไตรต์เป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกับการผลิตไส้กรอกลูกวัว (weisswurst) และ บราทเวอร์ส (bratwurst) ของชาวเยอรมัน
ผลิตภัณฑ์เนื้อแบบอิมัลชั่นประกอบด้วยวัตถุดิบเนื้อแดง (lean meat) จากสัตว์ เช่น สุกร วัว ไก่ ไก่งวง หรืออาจผลิตจากวัตถุดิบเนื้อหลายชนิดรวมกัน ในอดีตมักจะใช้เนื้อร้อน (prerigor meat) คือ เนื้อที่ยังไม่เข้าสู่ระยะการเกร็งตัว (rigor mortis) ของกล้ามเนื้อภายหลังสัตว์ตา หรือเรียกว่า เนื้อตาย ซึ่งโปรตีนเส้นใยกล้ามเนื้อ (myofibrilla proteins) หลักสองชนิด คือ โปรตีนไมโอซิน (myosin) และโปรตีนแอคติน(actin) จะเคลื่อนตัวเข้าหากันทำให้ความสามารถในการอุ้มน้ำของโปรตีนดังกล่าวลดน้อยลง
แต่ในปัจจุบันไม่มีความจำเป็นนัก เพราะการใส่เกลือฟอสเฟตจะช่วยปรับระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของ เนื้อ และช่วยสลายโปรตีนไมโอซินและโปรตีนแอคตินให้แยกออกจากกัน ทำให้โปรตีนโดยเฉพาะไมโอซินจับกับไขมันและน้ำดีได้ ขั้นตอนการผลิตเริ่มจากนำเนื้อแดงไปบดหยาบ (coarse ground lean) โดยจะเป็นเนื้อแช่เย็นหรือเนื้อแช่แข็งก็ได้ห แต่ไม่แข็งจนไม่สามารถตีได้ ในบางกรณีอาจมีการหมักเนื้อกับเกลือไว้ก่อน 1-2 วัน ที่อุณหภูมิ 2-5 องศาเซลเซียส ซึ่งเรียกว่า preblending เพื่อการสกัดโปรตีนที่ดีขึ้น
จากนั้นนำเนื้อแดงบดหยาบ เกลือฟอสเฟต และเกล็ดน้ำแข็งบางส่วนมาสับผสม (chopping) ในเครื่องสับผสม เติมไขมันบดหยาบ(coarse ground fat) และเกล็ดน้ำแข็งส่วนที่เหลือ เติมเครื่องเทศ และสารปรุงแต่ง สับผสมจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันเป็นมวลเหนียว (meat batter) ควร ควบคุมอุณหภูมิในการสับผสมให้อยู่ในช่วง 12-14 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ อุณหภูมิสูงสุดที่ใช้ในการสับผสมจะขึ้นกับชนิดของไขมันที่ใช้ว่า เป็นไขมันจากวัว สุกร หรือไก่ ซึ่งควรควบคุมไม่ให้อุณหภูมิในการสับผสมสูงกว่า 18,14 และ 8 องศาเซลเซียส ตามลำดับ
การบดเนื้อในช่วงแรกโดยบดผสมกับเกลือชนิดต่าง ๆ และน้ำแข็งจะช่วยสกัดและละลายเอาโปรตีนเส้นใยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะโปรตีนไมโอ ซิน และโปรตีนแอคตินออกมา เมื่อบดละเอียดจนทำให้โครงสร้างในระดับเส้นใยกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงไปจน โปรตีน ไขมัน และน้ำรวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ได้เป็นมวลเหนียว เนื้อเนียนละเอียด (meat amulsion) เกาะตัวกันอย่างดี จึงมีลักษณะคล้ายการเกิดอิมัลชั่น คือมีการผสมรวมเป็นเนื้อเดียวกันของของเหลวสองชนิดที่ปกติไม่สามารถรวมเป็น เนื้อเดียวกันได้ ดังเช่นน้ำ และน้ำมัน
แต่เมื่อเกิดเป็นอิมัลชั่นโดยมีตัวกลางช่วยให้เข้ากันได้ ที่เรียกว่าอิมัลสิฟายเออร์ (emulsifier) จึงรวมกันได้ดีดังเช่นการทำน้ำสลัด หรือมายองเนส แต่ meat amulsion ไม่ จัดเป็นอิมัลชั่นอย่างแท้จริง เนื่องจากส่วนผสมไม่ได้เป็นของเหลวทั้งหมด แต่จะมีลักษณะค้ายการเกิดอิมัลชั่นแบบไขมันกระจายตัวในน้ำ (fat in water amulsion) โดยมีโปรตีนที่ถูกสกัดออกมาะลายรวมกับน้ำ และตัวทำละลายอื่น ๆ เป็นส่วนต่อเนื่อง (continuous phase) อยู่ล้อมรอบอนุภาคของไขมัน (fat particles) เล็กละเอียดที่เกิดจากการสับผสมและปฏิบัติตัวเป็นส่วนกระจาย (disperse phaes) ขณะ ที่โปรตีนจากเนื้อทำหน้าที่เป็นอิมัลสิฟายเออร์ คือ เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างอนุภาคของไขมันและโมเลกุลของน้ำ ทำให้เกิดเป็นส่วนผสมเนื้อเนียนละเอียด
ดังนั้นการใช้วัตถุดิบเนื้อที่มีปริมาณโปรตีนเส้นใยกล้ามเนื้อมาก และมีความสามารถในการจับน้ำ (water binding ability) ได้ ดี เช่น เนื้อจากโคพื้นเมือง จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ได้ผลิตภัณฑ์เนื้ออิมัลชั่นที่มีคุณภาพดี คงทน ไม่เกิดการแยกตัวของของส่วนผสมได้ง่าย ซึ่งส่วนผสมเนื้อเนียนละเอียดที่ได้คือ meat amulsion หรือเรียกให้เหมาะสม คือ meat batter จะถูกนำมาบรรจุลงในไส้ธรรมชาติ หรือไส้สังเคราะห์ที่มีขนาดตามเหมาะสมและมัดเป็นท่อน ๆ (linking) ก่อนทำให้สุก (cooking) โดยมากจะผ่านการรมควัน (smoking) ด้วยและได้เป็นไส้กรอกอิมัลชั่น (emulsion sausages) ประเภทต่าง ๆ โดยอุณหภูมิใจกลางของผลิตภัณฑ์ควรอยู่ในช่วง 70-71 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้อาจไม่ผ่านขั้นตอนการบรรจุลงในไส้ แต่บรรจุลงในบล็อกสี่เหลี่ยม ลักษณะเหมือนถาดสี่เหลี่ยมลึกที่ใช้ทำขนมเค้กและนำไปอบ เช่นการทำมีทโลฟ (meat loaf) หรือในการผลิตเป็นลูกชิ้นอิมัลชั่น เมื่อได้ meat batter แล้วก็นำเข้าเครื่องปั้นลูกชิ้นและผ่านลงในน้ำร้อนเพื่อทำให้สุก
ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอิมัลชั่นที่ได้มาตรฐานในต่างประเทศมักกำหนดให้มีปริมาณไขมันได้ไม่เกิน 30% สำหรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของไทยระบุให้ไส้กรอกหมู และไก่ มีไขมันได้ไม่เกิน 30% และมีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า 10% ส่วนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนดให้ไส้กรอกเวียนนาและฮอดดอก มีไขมันได้ไม่เกิน 25% และมีโปรตีนไม่เกิน 13%
ทั้งนี้สัดส่วนของปริมาณโปรตีนเส้นใยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะโปรตีนไมโอซินต่อไขมัน และน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระบวนการเกิดอิมัลชั่น ซึ่งมีผลต่อคุณภาพทางกายภาพของผลิตภัณฑ์อิมัลชั่น โดยเฉพาะลักษณะทางเนื้อสัมผัส เช่น ความเนียน ความแน่น ความยืดหยุ่น ความนุ่มภายใต้ผิวและความกรอบของผิวไส้กรอก เป็นต้น
ในสหรัฐอเมริกามีการผลิตไส้กรอกแฟรงค์เฟอร์เตอร์เนื้อโค (beef frankfurter) ที่มำจากเนื้อ และไขมันจากโคล้วน ๆ แต่หากที่ฉลากระบุว่าเป็นไส้กรอกแฟรงค์เฟอร์เตอร์และเนื้อไก่งวง (beef and turkey frankfurter) นั่นหมายถึงว่า วัตถุดิบเนื้อสัตว์มากกว่าครึ่งหนึ่งที่ใช้ผลิตแฟรงค์เฟอร์เตอร์นั้นเป็นเนื้อโค และอีกอย่างน้อย 15% จะเป็นเนื้อไก่งวง
ผลิตภัณฑ์แบบแช่ด้วยน้ำเกลือ
ผลิตภัณฑ์เนื้อแบบหมักเค็ม หรือแช่ด้วยน้ำเกลือ (cured meat product)
การถนอมอาหารโดยการหมักกับเกลือ (salting) เป็นวิธีการที่ใช้กันมานับเป็นพัน ๆ ปี คำว่า “curing” หมายถึงการรักษาหรือถนอมอาหาร ซึ่งกรรมวิธีที่ใช้ในการถนอมรักษาเนื้อโดยวิธี curing จะรวมถึงการทำแห้ง (drying) การหมักด้วยเกลือ (salting) และการรวควัน (smoking) ด้วย เนื่องจากกระบวนการ meat curing เป็นการนำเนื้อมาหมักกับส่วนผสมของเกลือบริโภค (เกลือแกง) หรือ เกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เกลือโซเดียมไนไตรต์ (NaNO2) และส่วนผสมอื่น ๆ
โดยส่วนประกอบที่สำคัญก็คือ เกลือไนไตรต์ เกลือช่วยในการถนอมอาหารโดยช่วยลดความชื้น ( ลด Aw) และเปลี่ยนแปลงความดันออสโมติก (osmotic pressure) ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีผลช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้ปฏิกิริยา curing ที่เกิดในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ หมายถึง ปฏิกิริยาการเกิดสีชมพู (pink) หรือสีชมพูแดงอ่อน ๆ (reddish pink) ของ cooked cured color ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์กลุ่มนี้อันเนื่องมาจากการที่ไนไตรต์ทำปฏิกิริยากับไมโอโกลบิน (myoglobin) ซึ่งเป็นรงควัตถุ (pigment) หลักในเนื้อสัตว์
ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์เนื้อที่เกลือ มีบทบาทอย่างมากในการช่วยถนอมรักษาและยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานยิ่ง ขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อแบบตะวันตกกลุ่มเนื้อคงรูปที่ผ่านการหมักแห้งด้วยเกลือประเภท ที่เรียกว่า “country cured style” หรือประเภท air dried meat product โดยการนำส่วนผสมของเกลือไนไตรต์ และ หรือ ไนเตรต และส่วนผสมอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงเครื่องเทศต่าง ๆ มาทาเคลือบ (dry rubbing) และนวด (massaging) ให้ ทั่วทั้งผลิตภัณฑ์ โดยอาจจะทาและนวดถึง 3-4 รอบ ภายหลังจากทิ้งระยะเวลาสักระยะหนึ่ง เช่น 3-5 วัน หรือมากกว่านั้น เพื่อให้ส่วนผสมของเกลือที่เข้มข้นมากนี้ได้แทรกซึมเข้าไปภายใน ผลิตภัณฑ์ เมื่อสิ้นสุดการหมักแห้ง ความเข้มข้นของเกลือในผลิตภัณฑ์ จะมีค่าอย่างต่ำประมาณ 4.5% ผลิตภัณฑ์เนื้อประเภทนี้มักใช้เวลาค่อนข้างยาวนานในการผลิตดังได้กล่าวมาแล้ว และจัดอยู่ในกลุ่ม low acid meat product ด้วย ในปัจจุบันปริมาณการใช้เกลือผลิตภัณฑ์ curing จะมีความเข้มข้นลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์มีมากขึ้น
นอกจากนี้ผู้บริโถคก็อาจคำนึงถึงผลเสียที่อาจมีผลในการช่วยถนอมอาหารได้ สำหรับในปัจจุบันระดับความเข้มข้นของเกลือในผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและมักจะ ใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อ cured meat จะอยู่ที่ 2-3% แต่ ทั้งนี้การที่จะใช้ในปริมาณเท่าไรนั้น ยังขึ้นอยู่กับรสชาติของผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคได้ หรือไม่ การใช้เกลือในปริมาณน้อยเกินไปจะมีผลให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เกิดจากการหดตัว (shrinkage) มาก เพราะขาดความสามารถในการอุ้มน้ำ และไม่เกาะตัวกันเนื่องจากการสกัดโปรตีนไม่เพียงพอ
การใช้เกลือไนเตรตและไนไตรต์ทั้งในรูปของเกลือโปแตสเซียมหรือเกลือโซเดียมช่วยให้เกิดสีชมพู หรือ สีชมพูแดง (reddish pink) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ cooked cured meat ทั้งข่วยให้เกิดกลิ่นรสเฉพาะตัว ( cooked cured meat flavor) แก่ผลิตภัณฑ์ ไนไตรต์ยังมีบทบาทเป็น antioxidant ช่วยลดการเกิดกลิ่นหืน (Oxidative rancidity) ในผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้บทบาทที่สำคัญของเกลือไนไตรต์ คือ สามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะเชื้อ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เจริญได้ดีในสภาวะอับอากาศ สามารถสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายถึงชีวิต (Botulism) ดัง ที่เกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต จากการบริโภคหน่อไม่บรรจุปี๊ปที่ปรากฏในเมืองไทยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ สำหรับการใช้เกลือไนเตรตนั้นมักจะใช้ร่วมกับเกลือไนไตรต์ โดยจะใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทหมักแห้งที่ใช้เวลาการหมักนาน ๆ เช่น dry cured meat และ ไม่นิยมใช้แต่เกลือไนเตรตเพียงอย่างเดียว เพราะไนเตรตไม่มีผลโดยตรงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ หรือมีน้อยมากต่อเชื้อจุลินทรีย์ เช่น กลุ่ม Micrococci ที่สามารถเปลี่ยนไนเตรตให้เป็นไนไตรต์ได้เสียก่อน จึงจะมีผลยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี
เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีสารทดแทนที่ดีสำหรับเกลือไนไตรต์ ในการควบคุม Clostridium botulinum ในผลิตภัณฑ์เนื้อ การใช้เกลือไนไตรต์ในการผลิต cured meat จึงมีความจำเป็น แต่ทั้งนี้การ ใช้เกลือไนไตรต์นั้นจะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากการใช้ในปริมาณมากเกินไปเพียงเล็กน้อยสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิต ได้ สำนักงานอาหารและยากำหนดให้ใช้เกลือไนไตรต์ในปริมาณไม่เกิน 125 ppm (125 มก. ต่อเนื้อ 1 กิโลกรัม ) โดยคำนวณเป็นปริมาณโซเดียมไนไตรต์ และการใช้เกลือไนเตรตในผิตภัณฑ์เนื้ออยู่ที่ปริมาณไม่เกิน 500 ppm ( 500 มก.ต่อเนื้อ 1 กก.) โดยคำนวณเป็นปริมาณโซเดียมไนเตรต หากใช้เกินกำหนดจะมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาของการตกค้างในผลิตภัณฑ์ เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าไนไตรต์ตกค้างนี้จะทำปฏิกิริยากับกลุ่ม เอมีน (amines) ในเนื้อสัตว์ และเปลี่ยนเป็นสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งมีรายงานว่าเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง
แต่สารนี้มักพบในผลิตภัณฑ์เนื้อแบบ curing ที่ ผ่านการให้ความร้อนด้วยอุณหภูมิสูง ๆ เช่น การปิ้ง หรือการย่าง เห็นได้ว่าในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อมักใช้เกลือไนไตรต์ในปริมาณเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น และเนื่องจากความลำบากในการชั่งเกลือไนไตรต์ในปริมาณน้อย ๆ ให้มีความถูกต้อง จึงมีการผสมเกลือไนไตรต์เข้ากับเกลือบริโภค (nitrited salt) ออก จำหน่าย เพื่อความสะดวกในการชั่งตวงและการใช้ ซึ่งส่วนผสมนี้มีชื่อเรียกทางการค้าต่างกันไป โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของเกลือไนไตรต์ประมาณ 0.5% ถึง 20% ทั้ง นี้ขึ้นกับข้อกำหนดของแต่ละประเทศ สำหรับในประเทศไทยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนระบุว่า ส่วนผสมของเกลือไนไตรต์เรียกว่า ผงเพรก จะมีปริมาณเกลือบริโภค 94 ส่วน และเกลือไนไตรต์ 6 ส่วน โดยกำหนดให้ใช้ ผงเพรกได้ในปริมาณ 2 กรัม ต่อเนื้อ 1 กก. เช่น ในการผลิตแหนมเนื้อ เป็นต้น
เกลือฟอสเฟต (phosphate) มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำเกลือปรุงรส (curing pickle) มากกว่าการใช้ในผลิตภัณฑ์หมักแห้ง (dry curing) เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถนการอุ้มน้ำ (water holding capacity) ให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับผลิตภัณฑ์และลดการสูญเสียน้ำภายหลังการทำให้สุก
นอกจากนี้ฟอสเฟตยังช่วยลดการเกิดกลิ่นหืนในผลิตภัณฑ์ด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กำหนดให้ใช้เกลือฟอสเฟต ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมักในปริมาณไม่เกิน 3,000 ppm หรือ 3 กรัม ต่อเนื้อ 1 กก.(คำนวณเป็น P2O5 จาก ฟอสฟอรัสทั้งหมด) โดยปกติเกลือฟอสเฟตจะมีความสามารถในการละลายต่ำ จึงมักละลายฟอสเฟตก่อนก่อนที่จะละลายเกลือและส่วนผสมชนิดอื่น ๆ หรืออาจละลายฟอสเฟตด้วยน้ำอุ่นจำนวนหนึ่งแค่พอละลาย ก่อนที่จะผสมเข้ากับน้ำเย็นและส่วนผสมอื่น ๆต่อไป ตัวอย่างของเกลือฟอสเฟต ได้แก่ sodium tripolyphosphate, sodium hexametaphosphate และ sodium acid pyrophosphate
ส่วนผสมอีกชนิดที่สำคัญมากคือ น้ำสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำน้ำเกลือปรุงรสสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (injection) หรือใช้หมักแช่ยน้ำเกลือ (immersion curing) เพราะ น้ำทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายและตัวพาให้ส่วนผสมชนิดอื่น ๆ เกิดการผสมผสานเข้ากัน และแทรกซึมเข้าสู่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ปริมาณน้ำที่ใช้ละลายส่วนผสมอื่น ๆ จะมีผลต่อรสชาติและความฉ่ำน้ำของเนื้อ ทั้งนี้ปริมาณน้ำหนักของผลผลิต (yield) ที่ได้ภายหลังการแปรรูป และการทำให้สุกขึ้นอยู่กับความสามารถของผลิตภัณฑ์ที่จะอุ้มน้ไว้ได้
น้ำตาล (Sugar) ใช้ได้ทั้งน้ำตาลทราย (sucrose) น้ำตาล กลูโคส น้ำตาลทรายแดง น้ำผึ้ง หรือสารให้ความหวานอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบอีกชนิดที่สำคัญ โดยการให้รสหวานแก่ผลิตภัณฑ์ ช่วยลดความเค็ม ทำให้รสชาติกลมกล่อมขึ้น นอกจากนี้น้ำตาลยังเพิ่มรสชาติและสีสันที่น่ารับประทานแบบ คาราเมลเคลือบที่ผิวนอกของผลิตภัณฑ์ ปริมาณที่มักใช้น้ำเกลือปรุงรส คือ ประมาณ 1 – 3% แต่ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์ด้วย
แอสคอร์เบท ที่นิยมจะใช้อยู่ในรูปของโซเดียมแอสคอร์เบท (sodium ascorbate) และโซเดียมอิริทอร์เบท (sodium erythorbate) ทำหน้าที่ช่วยเร่งกระบวนการ curing reaction โดยช่วยเร่งการเกิดรีดักชั่น (reduction) ซึ่งเปลี่ยนไนไตรต์ให้เป็นไนเตรตออกไซด์ ก่อนที่จะรวมกับสารสี ไมโอโกลบิน (myoglobin) ในเนื้อสัตว์เกิดเป็น ไนโตรโซไมโอโกลบิน (nitrosomyoglobin) ที่มีสีแดงคล้ำ และเมื่อผลิตภัณฑ์ถูกทำให้สุกที่อุณหภูมิประมาณ 54-60 องศาเซลเซียส จะได้เป็นสีชมพูหรือชมพูแดงอ่อน ของไนโตรโซฮีโมโครม (nitrosohemochrome) ซึ่งเป็นสีที่เป็นผลิตภัณฑ์แบบ cooked cured meat ดังที่พบในไส้กรอกแบบต่าง ๆ โบโลญ่า เบคอน หรือแฮม
กระบวนการเปลี่ยนเป็นไนโตรโซฮีโมโครมจะค่อนข้างสมบูรณ์ที่ประมาณ 70 องศาเซลเซียส ได้เป็นสีชมพูที่ค่อนข้างคงทน แต่จะไม่ทนต่อการเกิด oxidationโดยจะทำปฏิกิริยาได้ดีกับอากาศหรือออกซิเจนและแสง (photooxidation) การใช้แอสคอร์เบทในปริมาณที่พียงพอจะช่วยให้สีของผลิตภัณฑ์ cooked cured meat หรือสารสีไนโตรโซฮีโมโครมนี้มีความคงทนขึ้น และช่วยลดโอกาสการเกิดสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า ไนโตรซามีน เพราะแอสคอร์เบทจะช่วยลดปริมาณสารไนไตรต์ตกค้างในผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ปริมาณสูงสุดของแอสคอร์เบท หรือกรดไอโซแอสคอร์บิก (isoascorbic acid) ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้ใช้ คือ 300 ppm หรือ 300 มก. ต่อเนื้อ 1 กก. จากการที่แอสคอร์เบท มีคุณสมบัติในการเร่งการสลายตัวของไนไตรต์ จึงไม่ควรเก็บน้ำปรุง (curing pikle) ที่ มีการผสมแอยคอร์เบทไนไตรต์ไว้ด้วยกันนานเกินกว่า 24 ชั่วโมง เพราะปริมาณไนไตรต์ใสนน้ำปรุงจะสูญเสียไปเรื่อย ๆ และขาดประสิทธิภาพในการทำงาน
การ curing ยังสามารถทำได้โดยวิธีการฉีดน้ำปรุงเข้าในกล้ามเนื้อร่สมกับการหมักแช่ โดยอาจใช้เข็มฉีดที่มีรูฉีดเพียงรูเดียว (stitch method) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกว่าการแช่เพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงมีการพัฒนาเป็นเข็มฉีดที่มีรูฉีดหลาย ๆ ทาง (spray method) ซึ่งช่วยให้เกิดการกระจายตัวที่มีความสม่ำเสมอขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการฉีน้ำเกลือปรุงรสให้เข้าระบบไหลเวียนต่าง ๆ (atery pumping) รวมถึงการใช้เครื่องฉีดน้ำเกลือ (pumping machine) ที่ประกอบไปด้วยเข็มฉีดจำนวนมาก (multineedles) ที่มีทางออกของน้ำเกลือหลาย ๆ ทาง และอาจใช้ร่วมกับการนวด (massaging and tumbling) ใน ลักษณะต่าง ๆ ซึ่งใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรม ในระหว่างการฉีด หรือแช่ด้วยน้ำเกลือ ควรควบคุมอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในช่วงประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส
สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแฮมสุก (cooked cured ham) มักนำมารมควันและทำให้สุก(smoking and cooking) กระบวน การรมควันจะช่วยถนอมรักษาผลิตภัณฑ์อีกระดับหนึ่ง และให้กลิ่น รส และสีสันเฉพาะแก่ผลิตภัณฑ์ โดยปกติ ช่วง 8 ชั่วโมงแรกของการของการรมควันและทำให้สุก จะเป็นการลดความชื้นของผลิตภัณฑ์ ใช้อุณหภูมิประมาณ 52 องศาเซลเซียส โดยไม่รมควัน ต่อมาอีก 8 ชั่วโมง เพิ่มอุณหภูมิ เป็น 57 องศาเซลเซียส พร้อมกับเพิ่มความชื้นขึ้นเล็กน้อยและเริ่มรมควัน ในชั่วโมงสุดท้ายจะเพิ่มอุณหภูมิมากขึ้นและเพิ่มอุณหภูมิเป็น 80 องศาเซลเซียส จนได้อุณหภูมิที่ใจกลางผลิตภัณฑ์ที่ 61 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักมีการรมควันอีกระดับหนึ่ง โดยผู้บริโภค เพื่อให้มีความนุ่มมากขึ้น
ส่วนผลิตภัณฑ์แบบสุกเต็มที่ (fully cooked ham) จะทำให้สุกจนได้อุณหภูมิใจกลางผลิตภัณฑ์ต่ำที่สุดที่ 65 องศษเซลเซียส สำหรับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทยระบุว่า แฮมสุกที่พร้อมรับประทานได้ หมายถึงแฮมที่มำให้สุกจนอุณหภูมิใจกลางอยู่ที่ 66-69 องศาเซลเซียส ต้วอย่างอื่น ๆ ของผลิตภัณฑ์เนื้อโคหมักเกลือแบบทำสุก (cooked cured meat ) เช่น cooked beef ham, beef ham, beef bacon และ Pastrami
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อโคในประเทศตะวันตกที่จัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์กลุ่ม dry curing ได้แก่ air-dried beef เช่น bresaola ของอิตาลี และ Bundnerfleish ของชาวสวิส ซึ่งกล่าวถึงในส่วนต้น นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์เนื้อเจอร์กี้ (jerky) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อแบบแห้งและอาจผ่านการรมควันด้วย เจอร์กี้เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวสหรัฐอเมริกา (native Americans) หรืออเมริกันอินเดียนทำขึ้น เพื่อใช้เป็นเสบียงอาหาร โดยในอดีตจะใช้เนื้สัตว์ป่า (game meat) ที่ ล่าได้เป็นวัตถุดิบ ซึ่งจะมีปริมาณเนื้อแดงสูง ไขมันแทรกต่ำ ความนิยมเนื้อเจอร์กี้ขยายไปยังวงคาวบอยที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนหลังม้า เนื่องจากพวกเขาสามารถเก็บเนื้อเจอร์กี้ไว้ได้นานเพื่อรับประทาน
ในปัจจุบันความนิยมในการรับประทานเนื้อเจอร์กี้ยังแพร่หลายในรูแบบอาหารทานเล่นจากเนื้อสัตว์ที่ผ่านการทำแห้ง (dried or semi-dried meat snacks) แท้ จริงเนื้อเจอร์กี้เกิดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมในหลายประเทศรวมทั้งไทย แต่กรรมวิธีแตกต่างกัน เช่น เนื้อเค็ม เนื้อแดดเดียว ในประเทศตะวันตกจะนำเนื้อสัตว์มากหมักกับเครื่องปรุงรสที่มีความเค็ม หวานและเปรี้ยว เพื่อเพิ่มรสชาติและเป็นการถนอมอาหาร จากนั้นนำมาผ่านกรรมวิธีลดความชื้น เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ จนได้เนื้อเจอร์กี้ที่มีความปลอดภัยสำหรับการรับประทาน และมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น แม้จะไม่ได้แช่เย็น
ใน ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เนื้อเจอร์กี้ที่ผลิตทางอุตสาหกรรมมักจะมีเกลือโซเดียมไน ไตรต์เป็นส่วนประกอบ เพื่อลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ Clostridium botulinum และช่วยสร้างสีที่น่ารับประทาน จึงจัดเป็นผลิตภัณฑ์ dried cured meat อีกประเภทหนึ่ง เนื้อ เจอร์กี้จะทำมาจากเนื้อที่เลาะเอาเอ็น พังผืด และไขมันออก จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อเจอร์กี้เป็นอาหารทานเล่นเคี้ยวเพลินจากเนื้อสัตว์ ที่มีปริมาณโปรตีนสูง และไขมันต่ำ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื้อเจอร์กี้เป็นที่นิยมมากสำหรับนักท่องเที่ยวและนักเดนป่าชาวตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่ม backpackers
งานวิจัยส่วนหนึ่งของโครงการ “การขยายโอกาสธุรกิจเนื้อโคไทย” ได้พัฒนาเนื้อเจอร์กี้รูปแบบใหม่รสเนื้อแดดเดียว โดยใช้เนื้อโคพื้นเมือง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบเนื้อโคพื้นเมือง จุดประสงค์ต่อมา คือ ต้องการที่จะสร้างทางเลือกใหม่สำหรับเนื้อแดดเดียวแบบใหม่ที่มีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ มีคุณค่าทางอาหารสูงขึ้น ปริมาณไขมันต่ำ และจากการผ่านกระบวนการอบแห้งด้วยความร้อนจนเนื้อสุกแทนการทอดให้สุกในน้ำมันจะช่วยลดโอกาสการเกิดการหืน (oxidative rancidity) และมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น ทั้งยังเป็นผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนั้น ยังมีโอกาสในการทำตลาด สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่นิยมเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเป็น จำนวนมากไม่น้อยในแต่ละปี หรือแม้แต่กลุ่มนักท่องเที่ยวอนุรักษ์นิยมชาวไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน
สูตรผลิตเนื้ออิมัลชั่น
สูตรผลิตภัณฑ์เนื้ออิมัลชั่น
วัตถุดิบหลัก
เนื้อต้นขา 5 กก.
เนื้อพื้นท้อง/เนื้อสีข้าง 7 กก.
เนื้อสะโพกหมู 5 กก.
ไขมันวัว 3 กก.
ไขมันหมู 4 กก.
น้ำแข็ง 6 กก.
สารปรุงแต่งและเครื่องเทศ
เกลือผสมไนไตรต์(โซเดียมไนไตรต์0.7%) 450 กรัม
เกลือฟอสเฟต 120 กรัม
เกลืออิริโทโทรเบท 50 กรัม
น้ำตาลทราย 250 กรัม
ผงชูรส 50 กรัม
หอมหัวใหญ่ 400 กรัม
กระเทียมสด 200 กรัม
เครื่องเทศรวม1 200 กรัม
1เครื่องเทศรวมประกอบด้วย แป้งมัน 100 กรัม
พริกไทยป่น 60 กรัม
ดอกจันเทศ 25 กรัม และปาปริก้า 25 กรัม
ตรลูกชิ้นเนื้อโคไทย
วัตถุดิบ
เนื้อแดงแต่งเกลี้ยง2 2 กก.
เนื้อติดมัน3 5 กก.
น้ำแข็ง 5 กก.
2หมายถึงเนื้อโคพื้นเมืองส่วนต้นขาหน้า ได้แก่เนื้อปลา
ช่อน(สัน ในเทียม) เนื้อรักบี้(เนื้อตะพาบ) หรืออาจใช้เนื้อ
สะโพก
3หมายถึง เนื้อพื้นท้อง เนื้อสีข้าง จากโคพื้นเมือง ซึ่ง
จะมีไขมันปนอยู่ประมาณ 20%
สารปรุงแต่งและเครื่องเทศ
เกลือบริโภค (เกลือแกง) 300 กรัม
เกลือฟอสเฟต 50 กรัม
แป้งมัน 500 กรัม
น้ำตาลทราย 250 กรัม
กระเทียมสด 100 กรัม
พริกไทย 50 กรัม
ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์เนื้ออิมัลชั่น
1. นำเนื้อแดงบดหยาบ เกลือขนิดต่าง ๆ ตามสูตร
และเกลือน้ำแข็งหนึ่งในสามส่วนมาสับผสมในเครื่องสับผสม
2.เติมไขมันบดหยาบและเกล็ดน้ำแข็งอีกหนึ่งในสามส่วน เพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิในการสับผสมให้อยู่ในช่วง 12-
14 องศาเซลเซียส เติมเครื่องเทศ สารปรุงแต่ง และเกล็ดน้ำแข็งที่เหลือสับผสมต่อจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
3. เนื้ออิมัลชั่น (meat batter) ที่ได้หลังจากสับผสม จนเป็นเนื้อเดียวกันและเกาะตัวเป็นมวลเหนียว สามารถอัดลง
จนไส้คอลลาเจนเบอร์ 21 มัด ทำให้สุกและรมควันเพื่อทำแฟรงค์เฟอร์เตอร์ หรืออัดลงในไส้ไฟบรัสที่มีเส้นผ่า
ศูนย์กลาง 5/70 มม. มัด และนำไปต้มเพื่อทำโลโลญ่า หรือบรรจุถาดสี่เหลี่ยม มอบเป็นมีทโลฟ หรือปั้นเป็น
ลูกและต้มเป็นลูกชิ้น
ไส้กรอก โบโลญ่า
บีฟโลน ลูกชิ้น
ภาพที่ 4.1 ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์เนื้ออิมัลชั่น
{tab=}