เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

รายงาน/บทวิเคราะห์สถานการณ์สินค้าปศุสัตว์

อุตสาหกรรมโคเนื้อของอาร์เจนตินา

             การทำเขตการค้าเสรีของไทยกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์    สินค้าปศุสัตว์ด้านโคเนื้อ  โคนม  เป็นสินค้าที่เกษตรกรไทยให้ความสนใจและคาดว่าจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั้ง สองชนิดนี้ของไทยค่อนข้างมาก  เนื่องจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์  มีศักยภาพการผลิตโคเนื้อและโคนมที่สูง  มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ  เนื่องจากมีการเลี้ยงโดยอาศัยทุ่งหญ้า

             ประเทศที่ไทยยังไม่ได้ทำเขตการค้าเสรีด้วย  แต่เป็นประเทศที่น่าจับตามองอีกประเทศหนึ่ง  โดยเฉพาะ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโคเนื้อ  นั่นคือ  อาร์เจนตินา  ประเทศนี้พึ่งจะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ  มีศักยภาพค่อนข้างสูงในการเลี้ยงโคเนื้อ  จากสถิติพบว่าในช่วง  30  ปีที่ผ่านมา  อาร์เจนตินามีจำนวนโคเนื้อค่อนข้างคงที่คือ ประมาณ  55  ล้านตัว  และตั้งเป้าหมายไว้ในปี  2015  จะเพิ่มเป็น  67  ล้านตัว  โดยเพิ่มอัตราลูกเกิดในฝูง ขณะเดียวกันจะเพิ่มน้ำหนักโคที่เข้าโรงฆ่าจาก  384  กิโลกรัมเป็น 426  กิโลกรัม อย่างไรก็ตามนโยบายของภาครัฐในปัจจุบันของอาร์เจนตินา  ยังไม่สนับสนุนการส่งออกเนื้อโค  เนื่องจากยังมีความต้องการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้อยู่ในระดับที่เคย บริโภค  ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอาร์เจนตินาต้องประสบกับภาวะวิกฤต เศรษฐกิจตั้งแต่ปี  2002  ทำให้การบริโภคเนื้อโคลดลงจากที่เคยบริโภคกว่า 70 กิโลกรัม / คน / ปี  เหลือต่ำกว่า  55  กิโลกรัม / คน / ปี  แต่ในปี  2005  การบริโภคได้ขยับสูงขึ้นเป็น  63  กิโลกรัม / คน / ปี 

           การจำกัดการส่งออกของรัฐเพื่อทำให้ราคาขายใน ประเทศอยู่ในระดับต่ำเป็นการกระตุ้นการบริโภคของคนในประเทศ  ขณะเดียวกันจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก  อย่างไรก็ตาม ในตลาดส่งออกของประเทศอาร์เจนตินา  ยังมีความหวังในการส่งออกใหม่  เช่นตลาดสหรัฐอเมริกา  ซึ่งอเมริกาได้ระงับการนำเข้าจากอาร์เจนตินาตั้งแต่ปี   2001 หลังจากพบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย   และเมื่อปลอดจากโรคดังกล่าวแล้วน่าจะส่งออกไปอเมริกาได้ดังเดิม 

ตลาดโคเนื้อ

               Mercado  de  Liniers  คือตลาดโคเนื้อของอาร์เจนตินา  ตลาดนี้มีอายุ  105  ปี  ถือเป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดของอาร์เจนตินา  และเป็นตลาดโคเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของโลก  และกว่า  10 ปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 15–25  ของโคที่เข้าโรงฆ่าในอาร์เจนตินาในแต่ละปีจะมาจากตลาดแห่งนี้    ตลาดนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่  32  เฮคตาร์    ในค่ำคืนของทุกสัปดาห์จะเห็นขบวนรถบรรทุกนำโคเข้าสู่ตลาด  40,000 – 50,000  ตัว  เพื่อรอการประมูล  ประมาณ  90 %  ของโคมาจากฟาร์มในรัศมี  600  กิโลเมตร  และประมาณ  10 %  มาจากฟาร์มที่ไกลกว่า  800  กิโลเมตร  ตลาดแห่งนี้จะมีบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นโบรคเกอร์  55  บริษัท  เพื่อเข้ามาประมูลโค  ก่อนที่โคจะเข้ามาอยู่ในคอกประมูลของตลาด  ซึ่งมีทางเข้า – ออกถึง  450  แห่ง  จะมีสัตวแพทย์มาตรวจเป็นการประเมินโดยภายนอก       และตรวจสอบใบรับรองถึงแหล่งที่มาและใบรับรองจากองค์กรสาธารณะสุขของรัฐบาล  ว่าโคนั้นได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย  ซึ่งจะมีการฉีดป้องกันปีละ  3  ครั้ง  ถ้าโคตัวใดไม่มีใบรับรองดังกล่าวจะไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้าย

              จากโปรแกรมการฉีดวัคซีนโรคปากและเท้า เปื่อย     ทำให้อาร์เจนตินามีความหวังว่าจะเป็นเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยได้ในปี  2549  และถือว่าเป็นประเทศที่ปลอดจากโรควัวบ้า  ( BSE. )  โคตัวผู้จะถูกตอนตั้งแต่อายุ  5 – 6 เดือน  และการใช้ฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตเป็นข้อห้าม

              ตลาดแห่งนี้จะมีคอกกักสัตว์  2,000  คอก  ผู้ที่คุมสัตว์ประจำคอกจะขี่ม้าและเป็นผู้ควบคุมโคให้อยู่ในคอก  ซึ่งในคอกจะมีน้ำสะอาดให้โคกิน  บริษัทโบรคเกอร์แต่ละแห่งจะมีคอกเป็นของตัวเอง  และขายให้กับโรงฆ่าโค  99  แห่ง  ตลาดแห่งนี้เป็นการถือหุ้นโดยบริษัทโบรคเกอร์ซึ่งต่างจากโรงฆ่าที่สามารถ เข้าตลาดนี้โดยไม่ต้องลงทุน

              สายพันธุ์หลักของโคเนื้อคือ  Aberdeen  Angus  ( ดำและแดง )  หรือ  Hereford  โค ที่เข้าตลาดแห่งนี้ส่วนใหญ่จะไม่มีเลขรหัสประจำตัว  การติดรหัสประจำตัวโคจะมีเพียงในฟาร์มที่เลี้ยงเพื่อการส่งออกและสัตว์เหล่า นั้นจะไม่นำเข้ามาขายในตลาดเพราะจะขายโดยตรงไปสู่โรงฆ่า

              เนื้อโคที่ดีที่สุดจะมาจากตอนกลางของ ประเทศ   ซึ่งเป็นที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทั้งดินและน้ำ  ทำให้มีหญ้าและอาหารเพียงพอสำหรับโค  สายพันธุ์ที่เลี้ยงในแหล่งนี้คือพันธุ์  Angus  และ  Hereford  ถ้าขึ้นไปทางตอนเหนือซึ่งมีปริมาณน้ำฝนน้อยและอุณหภูมิสูง  พันธุ์โคลูกผสม  Nelore  และ  Brahman  จะมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกว่า

               ตลาดค้าโคแห่งนี้จะเริ่มประมูลเวลา  07.15  นาฬิกา  โดยมีผู้ชายที่อยู่บนหลังม้าจะเป็นผู้ที่ใช้สีเขียนหมายเลขของผู้ซื้อโคตัว นั้นไว้  โคที่เข้าตลาดแห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นโคที่มีคุณภาพดี  และถ้ามีคุณภาพดีที่สุดจะถูกส่งไปที่โรงฆ่าโดยตรง  การเปิดตลาดแต่ละครั้งจะเสร็จสิ้นการประมูลภายใน  3  ชั่วโมง

               ระบบการซื้อขาย  ผู้ซื้อจะจ่ายเป็นเงินสดให้กับโบรคเกอร์  หรืออาจให้เครดิต  25  วัน  กรณีที่มีความเชื่อถือกัน  ถ้าเป็นการชำระผ่านธนาคารหรือจ่ายเป็นเช็ค  โบรคเกอร์จะต้องชำระภาษี  1 %  แต่ถ้าชำระเป็นเงินสดไม่ต้องเสียภาษี  และผู้ขายจะต้องชำระค่าธรรมเนียมจำนวน  5.5 % ของรายได้ให้กับตลาด

              หลังจากการซื้อขายได้เสร็จสิ้นลง  โคในแต่ละคอกจะถูกต้อนไปชั่งน้ำหนักที่เครื่องชั่งกลาง  เมื่อเสร็จจากการชั่งน้ำหนักจะถูกส่งไปที่โรงฆ่า  ซึ่งโรงฆ่าส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณ  50  กิโลเมตร  ใกล้เมือง  Buenos  Aires 

 

[1] จาก :  Meat  International  2006  Vol.16  No.6 
เรียบเรียงโดย :  นางวิภาวรรณ  ปาณะพล  กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์
วันที่เผยแพร่ 17 ตุลาคม 2006

สถานการณ์การผลิตการตลาดนมและผลิตภัณฑ์ของไทย

สรุปสถานการณ์การผลิตการตลาดนมและผลิตภัณฑ์ของไทย
(ช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม)

Image

กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจปศุสัตว์
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์
กรมปศุสัตว์

  • ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบ
                   กรมปศุสัตว์เก็บข้อมูลการรวบรวมน้ำนมดิบจากสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมจำนวน 96 แห่งและศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบของภาคเอกชนจำนวน 62 แห่ง พบว่า ปริมาณน้ำนมดิบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 รวมทั้งหมด 1,985.917 ตันต่อวัน เป็นของสหกรณ์ฯ ร้อยละ 71 และ เป็นของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบภาคเอกชนร้อยละ 29 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด กระจายไปยังแหล่งแปรรูปน้ำนมดิบสองแห่ง ได้แก่ ผู้ประกอบการรายใหญ่ 16 ราย จำนวน 1,588.167 ตันต่อวัน(ร้อยละ 80 ) และ ผู้ประกอบการนมพาสเจอร์ไรส์ 397.750 ตันต่อวัน(ร้อยละ 20 ) เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการผลิตน้ำนมดิบในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 พบว่า ปริมาณการผลิตในปี 2549 ลดลงจากปี 2548 ที่เคยมีปริมาณการผลิตเป็นวันละ2,077.02 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4
  • ภาวะราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้
                สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรรายงานภาวะราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้โดยเฉลี่ย ทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน เป็นกิโลกรัมละ 11.17 บาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2 โดยราคาฯ รายเดือนลดลงจากปีก่อนตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา และเริ่มเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนนี้ สาเหตุที่ทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ ลดลง น่าจะเกิดจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่ม ขึ้น ในขณะที่ราคาหน้าโรงงานถูกตรึงไว้ที่กิโลกรัมละ 12.50 บาท ทำให้เกษตรกรอาจต้องแบกรับราคาค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเกษตรกรบางรายยังกล่าวว่า ต้นทุนค่าอาหารเพิ่มขึ้นทำให้การให้อาหารแม่โคนมไม่เต็มที่ จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำนมดิบและราคาน้ำนมดิบที่ขายได้ต่ำลง ทั้งนี้ในเดือนกันยายนราคาน้ำนมดิบเริ่มกระเตื้องขึ้นตามภาวะความต้องการของ ตลาดผลิตภัณฑ์นมที่ขยายเพิ่มขึ้น รายละเอียดการเคลื่อนไหวราคาฯ รายเดือนแสดงดังรูปกราฟต่อไปนี้

    Image
  • ภาวะราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์นมโดยเฉลี่ย
                 สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานภาวะราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์นมในตลาดกรุงเทพฯ ประกอบด้วย นมสด นมข้นหวาน นมผง นมเปรี้ยว  และเนยแข็ง พบว่า ราคาเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน ปี พ.ศ. 2549 ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนทุกรายการ ยกเว้นราคาเนยแข็งภายในประเทศที่ลดลงถึงร้อยละ 26.73 ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์นมที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ นมเปรี้ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15 รองลงมาเป็นราคานมข้นหวานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86 ดังแสดงในรูปกราฟข้างล่างนี้
                  สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคานมเปรี้ยวเพิ่มขึ้นคือค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น และ ความต้องการของตลาดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ของนิวซีแลนด์คือ fontera ซึ่งเดิมจำหน่ายเพียงนมผงสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น ได้จ้างบริษัทดัชมิลค์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการไทยผลิตนมเปรี้ยวชนิดพร้อมดื่ม ภายใต้แบรนด์เดิมคือ Anlene

    Image

ภาวะการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์นมของไทย
              กรมศุลกากรรายงานข้อมูลการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์นมของไทย พบว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2549 นี้ ประเทศไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์นมปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.61 แต่ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 20.56 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
              ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดเป็น 141,360 ตัน มูลค่า 11,698 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ฯนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ นมผงขาดมันเนย หางนม(เวย์)หวาน นมผงเต็มมันเนย อาหารปนนมเลี้ยงทารกชนิด
ขายส่ง  และชนิดขายปลีก ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี ก่อน ยกเว้นปริมาณการนำเข้าหางนม(เวย์)หวานที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.76 ตามความต้องการใช้ภายในประเทศ รายละเอียดแสดงดังรูปกราฟต่อไปนี้ 

Image

              สำหรับปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดเป็น 150,203 ตัน มูลค่า 6,378 ตัน โดยผลิตภัณฑ์นมส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ นมข้นหวาน(สูตรแปลงไขมัน) นมข้นจืด นมข้นหวาน(สูตรเดิม) และ นมและครีมไขมัน
 1 – 6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งส่งออกได้ลดลงทุกชนิด โดยปริมาณการส่งออกนมข้นหวานสูตรแปลงไขมันลดลงเพียงร้อยละ 3.33 เท่านั้น ในขณะที่ปริมาณการส่งออกนมข้นหวานสูตรเดิมลดลงถึงร้อยละ 83.31 แต่การส่งออกนมและครีมไขมัน 1 – 6 เปอร์เซ็นต์ลดลงเพียงร้อยละ 0.9 เท่านั้น  รายละเอียดแสดงดังรูปกราฟต่อไปนี้

Image
             3.1 ภาวะราคานำเข้า(c.i.f.) และราคาส่งออก(f.o.b.) โดยเฉลี่ย
             ราคานำเข้า (c.i.f.) ซึ่ง เป็นราคาที่ยังไม่รวมอัตราภาษีนำเข้า โดยเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2549 นี้ พบว่า ผลิตภัณฑ์นมที่มีราคานำเข้าเฉลี่ยลดลงได้แก่ นมผงขาดมันเนยและนมผงเต็มมันเนย ลดลงร้อยละ 4.74 และ 0.52 ตามลำดับ ในขณะที่ราคานำเข้าฯ หางนม(เวย์)หวาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.77 ส่วนราคานำเข้าฯ อาหารปนนมเลี้ยงทารกชนิดขายปลีกและขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.77 และ ร้อยละ 3.49 ตามลำดับ
             ราคาส่งออก(f.o.b.) ซึ่ง ไม่ค่าส่งสินค้าลงเรือ เฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกัน ของผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มขึ้นได้แก่ นมข้นหวาน(สูตรเดิม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.10 และ ราคาส่งออกฯ นมข้นหวานสูตรแปลงไขมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.02 ส่วนราคาส่งออกฯ นมและครีมไขมัน 1 – 6 เปอร์เซ็นต์และนมข้นจืดลดลงร้อยละ 1.70 ตามลำดับ
             ปัจจัยที่ทำให้ราคานำเข้าลดลงคืออัตราแลก เปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น ส่วนปัจจัยที่ทำให้ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นเกิดจากต้นทุนการผลิตภายในประเทศที่ เพิ่มขึ้นตามค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้
             3.2 การนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายใต้มาตรการปกป้องพิเศษ(Special Safeguard)
             กรมศุลกากรรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2549  วันที่ 6 ตุลาคม 2549 การนำเข้าผลิตภัณฑ์นมภายใต้มาตรการปกป้องพิเศษ จากประเทศออสเตรเลียนั้น มีผลิตภัณฑ์นมจำนวน 2 ชนิดที่นำเข้าเกินกว่าที่กำหนดไว้(trigger volume) คือ เนยแข็งชนิดผง(0406200) กำหนดไว้ 52.50 ตัน แต่นำเข้าแล้ว 108.28 ตัน และเนยแข็งชนิดอื่น ๆ กำหนดไว้ 378 ตัน นำเข้าแล้ว 395.93 ตัน ในขณะที่ชนิดผลิตภัณฑ์นมที่นำเข้าจากนิวซีแลนด์เกินกว่าที่กำหนดไว้มีจำนวน มากกว่า ได้แก่ นมและครีมเข้มข้นไม่เติมน้ำตาลหรือสารหวาน(0402910) กำหนดไว้ 64.07 ตัน นำเข้าแล้ว 94.19 ตัน , เนยกำหนดไว้ 158.81 ตัน นำเข้าแล้ว 290.35 ตัน และเนยแข็งอื่น ๆ กำหนดไว้ 148.13 ตัน นำเข้าแล้ว 318.18 ตัน ซึ่งการนำเข้าเนยแข็งจากทั้งสองประเทศในปริมาณเพิ่มขึ้นดังกล่าว น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาขายปลีกเนยแข็งในประเทศลดลงถึงร้อยละ 26.73

เริ่มเผยแพร่เมื่อ 17 ตุลาคม 2006

สถานการณ์การผลิตนมและผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์

  • สถานการณ์การผลิตนมและผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์

รายงานสถานการณ์การผลิตนมและผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์
ช่วงครึ่งแรกของปี  2549
(New Zealand  Dairy and Products Semi Annual 2006)

ที่มา จาก GAIN Report Number : NZ6007 วันที่ 23/05/2006 

 
  • Report Highlights  
                  การผลิตนมของนิวซีแลนด์ระหว่างปี 2548/49 (มิถุนายน 48 – พฤษภาคม 49) คาดว่าเป็น 14.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นเนื่องจาก Fonterra ลงทุนเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชียซึ่งเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นในอัตราเติบโตสูง โดยส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์นมว่าเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับรสนิยมของชาวเอเชีย ทั้งนี้        รัฐบาลจีนยอมรับข้อเสนอของ Fonterra ในการซื้อหุ้นร้อยละ 43 ของ บริษัท San Lu ซึ่งเป็นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมของจีน 
  • Situation and Outlook         
                 การผลิตนมของนิวซีแลนด์ในระหว่างปี 2548/49(มิถุนายน48 – พฤษภาคม49) คาดว่าเป็น 14.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน โดยคาดว่าจำนวนโคนมต้นปี 2548/49 เพิ่มขึ้นเป็น 4.1 ล้านตัว และจำนวนแม่โคให้นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน ถึงแม้ว่าฤดูกาลนี้จะได้รับกระทบจากภัยแล้งแต่ไม่ทำให้อัตราการให้ของแม่โค ลดลงจากปีก่อนแต่อย่างใด เนื่องจากจำนวนแม่โคให้นมเพิ่มขึ้น         
                 Fonterra ยังคงขยายกิจการอย่างต่อเนื่องโดยลงทุนเพิ่มขึ้นในเอเชียด้วยการส่งเสริมการ บริโภคผลิตภัณฑ์นมว่าเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอีกทั้งยังพัฒนาให้ตรงกับ รสนิยมของชาวเอเชีย  ทางด้านรัฐบาลจีนได้มีมติเมื่อเดือนเมษายน 2549 อนุมัติให้ Fonterra ซื้อหุ้นร้อยละ 43 ของ บจก. San Lu ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมในจีน ซึ่งทำให้สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์นมในจีนที่เติบโตอย่างรวด เร็ว         
                 การร่วมทุนของ Fonterra กับ Campina ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมของเนเธอร์แลนด์ ได้ประกาศขึ้นเมื่อ มีนาคม 2549 โดยเน้นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ประเภท pharmaceutical lactose ของทั้งสองบริษัท นอกจากนั้น Fonterra ยังได้ลงนามร่วมกับ Dairy Management Inc (DMI) เพื่อทำวิจัยร่วมกันในการส่งเสริมสุขภาพและผลประโยชน์ทางโภชนาการของ ผลิตภัณฑ์นมซึ่งจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือผลิตภัณฑ์จากโปรตีน อื่น ๆ         
                 Dairy Investment Fund Limited (DIFL) ได้เสนอปล่อยเงินกู้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมชาวนิวซีแลนด์เพื่อลงทุนใน Fonterra โดยแลกกับหุ้นที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น (value-added share) นอกจากเกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนจากการจำหน่ายน้ำนมดิบแล้วยังได้รับผลตอบแทน จากการลงทุน มีสิทธิในการออกคะแนนเสียง โดย DIFL ได้ออกตราสารอนุพันธ์(derivative) ราคานม ทั้งนี้เกษตรกรมีโอกาสติดต่อกับ DIFL ในตอนต้นฤดูกาลซึ่งมีการกำหนดราคา milk solid          
                 สมาคม Dairy 21 ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมดิบร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม โดย Dairy  21 ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน Dairy 21 ไม่ได้รับเงินสนับสนุนทางตรงจากแหล่งใดและรับสมัครสมาชิกด้วยความสมัครใจ สมาชิกของ Dairy 21 ประกอบด้วย Dexcel ,AgResearch, Livestock Improvement Corporation, Fonterra, Westland Milk Products และ Dairy Companies Association ของนิวซีแลนด์

Derivatives หรือตราสารอนุพันธ์ เป็นสัญญาหรือเครื่องมือทางการเงินที่มูลค่าของสัญญาขึ้นอยู่กับมูลค่าของ สินค้าอ้างอิง (Underlying asset) ตราสารอนุพันธ์แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น ออปชัน (Options) สวอป (Swap) ฟอร์เวิร์ด (Forward) และฟิวเจอร์ส (Futures)

เรียบเรียงโดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
เริ่มเผยแพร่เมื่อ 8 ตุลาคม 2006

สถานการณ์สัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป(25 ประเทศ)ในปี 2549

สถานการณ์สัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป( 25 ประเทศ ) ในปี 2549

Image 

รายงานโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐ
วันที่ 14 กรกฎาคม 2549

  • สถานการณ์เด่น
                    การผลิตไก่เนื้อของสหภาพยุโรปในปี 2549 มีปริมาณลดลงเนื่องจากผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก การนำเข้าเนื้อไก่จะเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการวินิจฉัยขององค์การการค้าโลกใน กรณีของไก่หมักเกลือ การส่งออกเนื้อไก่ลดลงเนื่องจากปริมาณความต้องการลดลงและประเทศฝรั่งเศสหยุด ส่งออกเนื้อไก่ชั่วคราวเนื่องจากมีการระบาดของโรคไข้หวัดนก  การบริโภคโดยรวมมีปริมาณลดลงเพียงเล็กน้อย แต่การบริโภคในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างยุโรปตอนใต้และ ยุโรปตอนเหนือ สำหรับปี 2550 คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิต การส่งออกและการบริโภคจะกลับมาบางส่วน สำหรับการนำเข้าคาดว่าจะมีการนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปเพิ่มขึ้น
                   สำหรับสถานการณ์ของไก่งวงในปี 2549 ก็คล้ายกับของไก่เนื้อ คือ การผลิต การส่งออกและการบริโภคมีปริมาณลดลงเนื่องจากโรคไข้หวัดนก สำหรับการนำเข้ามีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับเนื้อไก่ ส่วนที่แตกต่างจากไก่เนื้อก็คือในเรื่องของตลาดไก่งวงซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ การกลับคืนมาของตลาดได้ แต่ในระยะยาวจะลดลงอย่างแน่นอน

  • ไก่เนื้อ : สรุปภาพรวม 
                  การผลิตไก่เนื้อของสหภาพยุโรปในปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณลดลงร้อยละ 4 ซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเองและผลจาก การตื่นตระหนกของผู้บริโภคในการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกโดยเฉพาะประเทศสมาชิกใน แถบเมดิเตอเรเนียน แม้ว่าปริมาณการผลิตจะลดลง จำนวนสต๊อกเนื้อไก่ในเดือนเมษายน 2549 มีจำนวน 3 แสนตัน การนำเข้าเนื้อไก่ของสหภาพยุโรปในปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาษีการนำเข้าเนื้อไก่หมักเกลือจากประเทศบราซิล และไทยมีอัตราลดลงเท่าเดิมโดยเริ่มหลังจากวันที่ 27 มิถุนายน  2549 เป็นต้นไป ซึ่งทางประเทศบราซิลและไทยได้ทำเรื่องร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก  การนำเข้าเนื้อไก่ปรุงสุกจากประเทศไทยจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากที่ประเทศ ไทยเปลี่ยนมาผลิตเนื้อไก่ปรุงสุกซึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากการเกิดโรคไข้ หวัดนกทำให้มีการห้ามการส่งออกเนื้อไก่สดไปยังสหภาพยุโรป  การส่งออกเนื้อไก่ในช่วงกลางปี 2549 ของสหภาพยุโรปคาดว่าจะมีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลมาจากปริมาณความต้องการในตลาดโลกลดลงเนื่องจากวิกฤตของโรคไข้หวัดนก และราคาเนื้อไก่ที่ถูกกว่าจากประเทศบราซิลและสหรัฐฯ 
                  การส่งออกเนื้อไก่ของสหภาพยุโรปในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2549 มีปริมาณลดลงร้อยละ 22 เนื่องจากมีการห้ามนำเข้าเนื้อไก่จากฝรั่งเศสหลังจากมีการระบาดของโรคไข้ หวัดนกในฟาร์มไก่งวงเมื่อเดือนภุมภาพันธ์ 2549  การบริโภคเนื้อไก่โดยรวมของสหภาพยุโรปในปี 2549 คาดว่าจะมีปริมาณการบริโภคลดลงร้อยละ 1.3  อย่างไรก็ตามปริมาณการบริโภคยังไม่แน่นอนเนื่องจากปริมาณการบริโภคในบางช่วง เวลาลดลงอย่างกว้างขวางตามสภาพภูมิประเทศในยุโรป  ในบางช่วงเวลาปริมาณการบริโภคในประเทศกรีซและอิตาลีลดลงถึงร้อยละ 90 และ 70 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการบริโภคใน สหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกใหม่มีปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากราคาที่ถูกลง
                  การผลิตไก่เนื้อในปี 2550 คาดว่าปริมาณการผลิตจะกลับมาเพียงบางส่วนแต่ไม่ใช่ทั้งหมด การนำเข้าเนื้อไก่คาดว่าจะมีการนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกคาดว่าจะกลับมาบางส่วนเหมือนกันเป็นเพราะการแข่งขันที่รุนแรง ขึ้นจากประเทศบราซิล ไทย และสหรัฐอเมริกา การบริโภคภายในประเทศคาดว่าจะกลับมาเกือบทั้งหมดและเชื่อว่าจะมีการจัดการ กับการระบาดของโรคไข้หวัดนกได้
                 ตารางแสดงการผลิตเนื้อไก่ของสหภาพยุโรป(25 ประเทศ)                        

หน่วย:พันตัน

ปี

2548

2549

2550

ตัวเลขเดิม

ตัวเลขใหม่

ตัวเลขเดิม

ตัวเลขใหม่

ตัวเลขคาดการณ์

การผลิต

7,625

7,736

7,540

7,425

7,530

การนำเข้า

485

522

450

600

645

TOTAL SUPPLY

8,110

8,250

7,990

8,025

8,175

การส่งออก

740

755

720

620

685

บริโภคในประเทศ

7,370

7,503

7,270

7,405

7,490

TOTAL DISTRIBUTION

8,110

8,258

7,990

8,025

8,175

  • สถานการณ์ไก่เนื้อปี 2548   ตลอดทั้งปี 2548 ปริมาณการผลิตไก่เนื้อของประเทศสมาชิกสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนการนำเข้าสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ทั้งนี้เนื่องจากมีการนำเข้าเนื้อไก่ ปรุงสุกจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 การส่งออกยังคงมีอย่างต่อเนื่องจนถึงปลายปี  การบริโภคภายในประเทศสูงกว่าที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ถึงแม้ว่าจะมีการตื่นตระหนกของโรคไข้หวัดนกของประเทศในสหภาพยุโรปบริเวณ เมดิเตอร์เรเนียน
  • สถานการณ์ไก่เนื้อปี 2549 
    การผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก
                   การผลิตไก่เนื้อของสหภาพยุโรปในปี 2549 คาดว่าจะลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4  ประเทศกรีซและอิตาลีมีการผลิตไก่เนื้อลดลงเช่นเดียวกันกับประเทศโรมาเนีย ตุรกี ที่มีการผลิตลดลงเนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ต่อจากนั้นตามมาด้วยการเกิดโรคไข้หวัดนกในประเทศกรีซทำให้ผู้บริโภคในกรีซ และอิตาลีตื่นตระหนกในการบริโภคสัตว์ปีก  โรคไข้หวัดนกเริ่มระบาดในยุโรปโดยเริ่มจากฟาร์มไก่งวงในประเทศฝรั่งเศสเมื่อ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2549 แพร่กระจายไปยังไก่เนื้อ การระบาดของโรคไข้หวัดนกมีผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกไก่เนื้อของประเทศ ฝรั่งเศส มีรายงานข่าวในเรื่องของโรคไข้หวัดนกในประเทศฝั่งเศส  อิตาลี และสเปน ในขณะที่ยุโรปทางตอนเหนือหรือกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ไม่ได้รับผลกระทบจากการ ระบาดของโรคไข้หวัดนกแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามการที่เนื้อไก่มีราคาลดลงและการสูญเสียตลาดเป็นปัจจัยที่ทำให้ ผู้ผลิตในประเทศต่างๆในกลุ่มสหภาพยุโรปต้องลดปริมาณการผลิตเนื้อไก่ โดยเฉพาะประเทศสมาชิกที่อยู่ทางตะวันออกซึ่งมีปริมาณการส่งออกสูงอย่างประ เทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนีและเดนมาร์ก การส่งออกเนื้อไก่ของสหภาพยุโรปในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 22 ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณความต้องการในตลาดโลกลดลง ราคาเนื้อไก่ที่ถูกกว่าจากประเทศบราซิลและสหรัฐอเมริกาและการห้ามการส่งออก ของประเทศฝรั่งเศส ในที่สุดการห้ามการส่งออกของประเทศฝรั่งเศสทำให้ผู้บริโภคในหลายประเทศคลาย ความกังวลในการบริโภคเนื้อสัตว์ปีก มีการคาดการณ์ว่าจะมีการอนุญาตให้สหภาพยุโรปส่งออกเนื้อไก่บางส่วน ในช่วงเวลาที่เหลือในปี 2549 การส่งออกน่าจะกลับมาเป็นปกติ
  • การวินิจฉัยขององค์การการค้าโลกในกรณีไก่หมักเกลือและผลกระทบในตลาดสหภาพยุโรป 
                   การนำเข้าเนื้อไก่คาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 หรือมากกว่านั้นถึงแม้ว่าจะมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกก็ตามซึ่งเป็นผลเนื่อง มาจากการวินิจฉัยขององค์การการค้าโลกที่ไม่เห็นด้วยกับสหภาพยุโรปในกรณีของ ไก่หมักเกลือที่ถูกฟ้องร้องโดยประเทศบราซิลและไทย ภายใต้การวินิจฉัยนี้ทำให้ประเทศไทยและบราซิลสามารถเริ่มส่งออกเนื้อไก่ไป ยังสหภาพยุโรปในอัตราภาษีเดิมตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2549  มีรายงานว่ามีการกล่าวถึงกันก่อนหน้านี้แล้ว การนำเข้าของสหภาพยุโรปคาดว่าจะสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2549  ซึ่งการส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกของไทยไปยังสหภาพยุโรปมีปริมาณสูงอยู่แล้วซึ่ง เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างการส่งออกใหม่เนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในประเทศไทยทำให้ห้ามมีการส่งออกเนื้อไก่สด การบริโภคภายในของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป คาดว่าจะมีปริมาณลดลงโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 ซึ่งเป็นผลมาจากการตื่นตระหนกในเรื่องโรคไข้หวัดนกในแถบยุโรปทางตอนใต้ ส่วนยุโรปทางตอนเหนือมีรายงานว่ามีการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น เช่น สหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากราคาเนื้อไก่ ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสหราชอาณาจักรนำเข้าเนื้อไก่จากรประเทศอิตาลีและเนเธอร์แลนด์เป็นส่วน ใหญ่
  • การคาดการณ์ไก่เนื้อในปี 2550
                   การผลิตไก่เนื้อในปี 2550 คาดว่าจะกลับมาบางส่วน แต่อย่างไรก็ตามยังน้อยกว่าปริมาณการผลิตในช่วงก่อนการเกิดโรคไข้หวัดนก การเกิดโรคไข้หวัดนกในสหภาพยุโรปในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 2549 ทำให้มีการปรับโครงสร้างการผลิตใหม่
                    การนำเข้าคาดว่าจะมีการนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการ วินิจฉัยในกรณีการลดภาษีไก่หมักเกลือขององค์การการค้าโลกและความสามารถในการ ผลิตเนื้อไก่ปรุงสุกที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทย การส่งออกคาดว่าจะกลับมาเพียงบางส่วนทั้งนี้เพราะภาวะการแข่งขันของตลาด เนื้อไก่ที่สูงขึ้นโดยเฉพาะกับประเทศบราซิล ไทยและสหรัฐฯ การบริโภคลดลงซึ่งเป็นผลมาจากโรคไข้หวัดนก

                     ปริมาณการผลิตไก่เนื้อ 5 อันดับแรกของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
                                                                                                                                                            (หน่วย: พันตัน
    )

    ประเทศ

    2548

    2549

    2550

    สหราชอาณาจักร

    1,281

    1,250

    1,280

    เบเนลักซ์1

    1,069

    1,060

    1,060

    สเปน

    1,040

    1,000

    1,000

    ฝรั่งเศส

    923

    840

    830

    อิตาลี

    656

    580

    620

     
              
    ปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ 5อันดับแรกของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

(หน่วย: พันตัน)

ประเทศ

2548

2549

2550

สหราชอาณาจักร

1,557

1,580

1,600

สเปน

1,074

1,021

1,020

เยอรมนี

766

785

805

ฝรั่งเศส

765

745

755

อิตาลี

620

650

650

               ปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ 5 อันดับแรกของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

(หน่วย: พันตัน)

ประเทศ

2548

2549

2550

เบเนลักซ์

204

190

190

ฝรั่งเศส

235

170

180

เยอรมนี

86

85

90

สหราชอาณาจักร

46

50

55

เดนมาร์ก

41

40

50

หมายเหตุ : 1เบเนลักซ์ กลุ่มประเทศที่เกิดจากการรวมตัวของ 3 ประเทศ คือ เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก เพื่อผลทางเศรษฐกิจ เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1948

 

เรียบเรียงโดย เรียบเรียงโดยกลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์
เริ่มเผยแพร่เมื่อ 20 กันยายน 2006

สรุปสถานการณ์การค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ

  • สรุปสถานการณ์การค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ
    ในช่วงครึ่งเดือนแรกของปี พ.ศ. 2549  
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
                     ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงาน ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศโดยเน้นประเทศสำคัญของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศในเอเชีย สรุปว่า ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแต่ชะลอตัวลงจากการบริโภคภาคเอกชนและ การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น  การจ้างงานเริ่มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่วนภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปขยายตัวดีขึ้นจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่ง ออกที่เพิ่มขึ้น ดัชนีภาคอุตสาหกรรมและบริการสูงสุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการว่างงานที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปี อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันแต่การใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดทำให้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลง ด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คาดว่าสิ้นปี 2549 อัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 3.25 เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.75 ต่อปี ในทำนองเดียวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการลงทุนภาคเอกชน การปรับขึ้นราคาน้ำมันและค่าจ้างแรงงานส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทรงตัวเป็นร้อย ละ 0.5 ทั้งนี้อัตราการว่างงานต่ำสุดในรอบ 7 ปี แต่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อในช่วง ครึ่งปีหลัง ทางด้านการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจาก การส่งออกรถยนต์ไปสหรัฐฯ และ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปจีน ส่วนภาวะเศรษฐกิจในเอเชียโดยรวมยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อบางประเทศลดลงเพราะค่าเงินที่สูงขึ้นซึ่งทำให้ธนาคาร กลางของประเทศคงอัตราดอกเบี้ย ในขณะทีประเทศที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากราคาขายปลีกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและ เศรษฐกิจขยายตัวเร่งขึ้น เช่น ไต้หวัน และ เกาหลีใต้เป็นต้น  ธนาคารของประเทศดังกล่าวจึงใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดด้วยการปรับเพิ่ม อัตราดอกเบี้ย         
                 สำหรับภาวะเศรษฐกิจของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยรานงานว่า ในช่วงไตรมาสที่สอง(เม.ย.-มิ.ย.) ของปี 2549 เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก โดยภาคอุปทานด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลง แต่ภาคเกษตร(พืชผล) และบริการขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสแรก สำหรับด้านอุปสงค์นั้น การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวเล็กน้อย การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อน แต่การส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เสถียรภาพของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ ได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล
  • สถานการณ์การผลิตสินค้าปศุสัตว์ภายในประเทศ
                   มีทิศทางที่ดีขึ้นกว่า ปี 2548 เนื่องจากความสามารถในการควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนกในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งออกเนื้อไก่แปรรูปของไทย และทำให้ประเทศไทยได้รายได้จากการค้าสินค้าปศุสัตว์ระหว่างประเทศเพิ่ม ขึ้น    โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงมูลค่านำเข้าและส่งออกสินค้าปศุสัตว์และ ผลิตภัณฑ์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 เทียบกับปี 2548 ตามตารางดังต่อไปนี้ 

    ประเภทสินค้า

    มูลค่านำเข้า

    มูลค่าส่งออก

    2548

    2549

    2548

    2549

    นมและผลิตภัณฑ์

    โคกระบือและผลิตภัณฑ์

    สุกรและผลิตภัณฑ์

    ไก่และผลิตภัณฑ์

    เป็ดและผลิตภัณฑ์

    แพะแกะและผลิตภัณฑ์

    วัตถุดิบอาหารสัตว์

    9,034.16

    10,008.87

    151.01

    367.45

    14.38

    563.79

    8,901.67

    8,909.69

    8,146.19

    171.62

    284.32

    7.12

    636.25

    8,541.50

    5,489.12

    6,617.70

    464.71

    12,343.49

    2,979.74

    85.01

    415.35

    5,025.57

    5,928.10

    614.39

    14,320.83

    3,650.93

    34.90

    1,531.99

    รวมทั้งหมด

    29,041.33

    26,696.96

    28,395.12

    31,096.71

    ดุลการค้า

    -646.21

    4,400.02

    ที่มา กรมศุลกากร
                     จากตัวเลขในตารางข้างต้น สรุปว่า ในครึ่งปีแรกของปี 2549 นี้ ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยดุลการค้าเพิ่มขึ้นกลายเป็นเกินดุลการค้ามูลค่า 4,400 ล้านบาท จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุลการค้ามูลค่า 646.21 ล้านบาท เนื่องจากการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 28,395 ล้านบาท เป็น 31,097 ล้านบาท แต่การนำเข้ามีมูลค่าลดลงจาก 29,041 ล้านบาท เป็น 26,697 ล้านบาท         
                     สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ เป็ดเนื้อและผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์ โคกระบือและผลิตภัณฑ์  ไก่และผลิตภัณฑ์ เป็ดและผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ดังแสดงในรูปกราฟต่อไปนี้

Image

  • สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
                  1. ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์
                       ผลิตภัณฑ์จากไก่เนื้อที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกมากที่สุดคือ เนื้อไก่ปรุงแต่ง(1602.320.000) โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 มูลค่าการส่งออกมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 97.49 ของมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 พบว่า ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 107.388 พันตัน เป็น 120.402 พันตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12  และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 12,105.06 ล้านบาท เป็น 13,961.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในขณะที่ราคาส่งออกโดยเฉลี่ยในช่วงนี้เป็นกิโลกรัมละ 115.96 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงร้อยละ 2.8  โดยมีประเทศญี่ปุ่นและสหราชอณาจักรเป็นตลาดสำคัญลำดับที่หนึ่งและสอง ด้วยปริมาณการส่งออกเป็น 54.386 พันตัน และ 39.329 พันตัน ตามลำดับ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 45 และ ร้อยละ 32 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการส่งออกเนื้อไก่แปรรูปไปประเทศสหราชอณาจักรเพิ่มขึ้นจากช่วง เวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 39 แต่ ปริมาณการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น
                    จากข้อมูลของ Global Agricultural Information Network(GAIN) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดว่าการผลิตเนื้อไก่ของสหราชอณาจักรในปี 2549 เป็น 1,280 พันตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 10,000 ตัน ในขณะที่การบริโภคเนื้อไก่เป็น 1,560 พันตัน เพิ่มขึ้นถึง 20,000 ตัน จึงเป็นโอกาสทางการตลาดของเนื้อไก่ปรุงแต่ง(further) จากประเทศไทย ท่ามกลางการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนกในโรมาเนีย โครเอเชียและตุรกีซึ่งมีชายแดนติดประเทศอิตาลี ส่วนตลาดญี่ปุ่นนั้น GAIN คาดว่าความต้องการบริโภคจาก food service อ่อนตัวลงประกอบกับปริมาณสต็อกเนื้อไก่ไม่ปรุงสุกเพิ่มขึ้นจากก่อนถึงร้อยละ 40 โดยคาดว่าปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ทั้งหมดของญี่ปุ่นในปี 2549 เท่ากับปี 2548 เป็น 1.88 ล้านตัน ทั้งนี้การนำเข้าเนื้อไก่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4 เป็น 720 พันตัน ซึ่งคาดว่าการนำเข้าเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งลดลงร้อยละ 9 เป็น 380 พันตัน และ การนำเข้าเนื้อไก่ปรุงแต่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็น 340 พันตัน ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นคู่ค้าเนื้อไก่ปรุงสุกที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรอง จากประเทศจีน โดยปี 2548 ประเทศญี่ปุนนำเข้าเนื้อไก่ปรุงสุกจากจีนจำนวน 178 พันตัน หรือร้อยละ 54 และนำเข้าจากไทยจำนวน 99 พันตัน หรือร้อยละ 44 ของปริมาณการนำเข้าเนื้อไก่ปรุงสุกทั้งหมด
                    2.เป็ดเนื้อและผลิตภัณฑ์
                       ผลิตภัณฑ์เป็ดเนื้อที่มีการส่งออกมากที่สุดคือ เนื้อเป็ดปรุงแต่ง (1602.390.000) ด้วยสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 99 ของมูลค่าการส่งออกเป็ดเนื้อและผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ปริมาณการส่งออกเนื้อเป็ดปรุงแต่งในช่วงครึ่งปี 2549 เป็น 23.230 พันตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 20 ในขณะที่ราคาเฉลี่ยของเป็ดเนื้อปรุงแต่งที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 เท่านั้น ประเทศที่เป็นตลาดเนื้อเป็ดปรุงแต่งสำคัญคือ ญี่ปุ่น ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 76.89  รองลงมาเป็น สิงคโปร์ และ สหราชอณาจักร ด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 7.30 และ 6.57 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการส่งออกเนื้อเป็ดปรุงแต่งในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 พบว่า ประเทศไทยส่งออกเนื้อเป็ดปรุงแต่งไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เป็น 17.861 พันตัน ส่งออกไปสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 105 เป็น 1.696 พันตัน และ ส่งออกไปสหราชอณาจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 62 เป็น 1.526 พันตัน
                    3.วัตถุดิบอาหารสัตว์
                       วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ส่งออกเพิ่มขึ้นคือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(1005.900.020) และ ปลาป่น(2301.200.106) โดยช่วงครึ่งปี 2549 ไทยส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 77.367 พันตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 136 และส่งออกปลาป่นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 298 เป็น 38.519 พันตัน ประเทศผู้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของไทยคือ เวียดนาม ซึ่งมีปริมาณนำเข้าเป็น 51.75 พันตัน หรือร้อยละ 67 ของปริมาณทั้งหมด รองลงมาคือ ประเทศอินโดนีเซีย ปริมาณนำเข้าเป็น 13.4 พันตัน หรือร้อยละ 17 ของปริมาณทั้งหมด เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่วนประเทศผู้นำเข้าปลาป่นรายสำคัญของไทยคือ จีน ไต้หวัน อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ไทยส่งออกปลาป่นไปยังจีนจำนวน 12.546 พันตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเป็นจำนวนมากถึง 11.860 พันตัน และส่งออกไปไต้หวันจำนวน 8.073 พันตัน เพิ่มขึ้นจำนวน 5.773 พันตัน ส่วนตลาดที่สำคัญรองลงมาคือ อินโดนีเซีย ส่งออกไปจำนวน 5.082 พันตัน เพิ่มขึ้นจำนวน 4.337 พันตัน และอินเดีย ส่งออกไปจำนวน 4.622 พันตัน ทั้งนี้ในช่วงครึ่งปี 2548 ไม่มีการส่งออกปลาป่นไปยังประเทศอินเดีย 
                     จากรายงานของ Global Agricultural Information Network(GAIN) คาดว่าในปี 2549 ปริมาณการผลิตข้าวโพดของเวียดนามเป็น 4,004 พันตัน ราคาซื้อขายข้าวโพดในเวียดนามเมื่อเดือนมีนาคม ประมาณกิโลกรัมละ  0.14 – 0.16 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเทียบกับราคาส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยไปยังเวียดนามพบว่ามีค่าไม่ แตกต่างกัน ทั้งนี้ข้าวโพดร้อยละ 75 – 80 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ของเวียดนาม ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะที่การผลิตข้าวโพดในเวียดนามต้องเผชิญกับข้อ จำกัดด้านพื้นที่การเพาะปลูก สภาพอากาศ  รวมทั้งข้อจำกัดในการเก็บรักษา(storage)  แต่เดิมนั้นประเทศไทยมิใช่แหล่งนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำคัญของเวียดนาม แต่เป็นอาร์เจนตินาและจีน ซึ่งมีสัดส่วนปริมาณร้อยละ 64 และร้อยละ 34 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในปี 2549 ประเทศเวียดนามเริ่มใช้อัตราภาษีนำเข้าพิเศษสำหรับประเทศสมาชิกภายใต้ข้อ ตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งทำให้ประเทศไทยและจีนจะได้เปรียบทางการค้า

  • สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง 
                     1. นมและผลิตภัณฑ์
                        ผลิตภัณฑ์นมที่สำคัญซึ่งมูลค่านำเข้าเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ นมผงขาดมันเนย
    นมผงเต็มมันเนย อาหารปนนมเลี้ยงทารก(ขายปลีก) อาหารปนนมเลี้ยงทารก(ขายส่ง) หางนม (เวย์) หวาน  และไขมันเนย ตามลำดับ

    Image
                     จากรูปกราฟข้างต้น แสดงว่า ผลิตภัณฑ์นมสำคัญที่มีมูลค่านำเข้าลดลงคือ นมผงขาดมันเนยและอาหารปนนมเลี้ยงทารก ในขณะที่นมผงเต็มมันเนย และ ไขมันเนย มูลค่านำเข้าไม่แตกต่างจากเดิม โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ประเทศไทยนำเข้านมผงขาดมันเนยจำนวน 23,766 ตัน มูลค่า 2,036 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 6 และ ร้อยละ 8  ตามลำดับ เนื่องจากราคาเฉลี่ยลดลงจากกิโลกรัมละ 86.99 บาท เป็นกิโลกรัมละ 85.66 บาท แต่แหล่งนำเข้าสำคัญในปีนี้ เปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญ จากเดิมเคยนำเข้าจากประเทศ นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และ สหราชอณาจักร ตามลำดับ เป็น นำเข้าจาก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเชค เนเธอร์แลนด์ และ สหรัฐอเมริกา ตามลำดับ สาเหตุที่ออสเตรเลียกลายเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญลำดับแรกในช่วงครึ่งปีแรกนี้ น่าจะเกิดจาก การจัดสรรโควตานมผงขาดมันเนยภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย ออสเตรเลีย(TAFTA) ที่ดำเนินการเป็นปีที่สอง  ทั้งนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตนมผงขาด มันเนยในปี 2549 เทียบกับปี 2548 พบว่า การผลิตของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 10,000 ตัน การผลิตของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้น 24,000 ตัน และ การผลิตของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 50,000 ตัน แต่การผลิตนมผงขาดมันเนยของประเทศสหภาพยุโรป(25ประเทศ)ลดลง 34,000 ตัน สำหรับการผลิตนมผงเต็มมันเนยของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นจำนวน 55,000 ตัน แต่การผลิตของออสเตรเลียลดลง 9,000 ตัน และ การผลิตของสหภาพยุโรปไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
                      2. โคกระบือและ ผลิตภัณฑ์
                          ผลิตภัณฑ์จากโคกระบือที่มีสัดส่วนมูลค่านำเข้ามากกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ หนังโคกระบือ สภาพแห้ง ฟอกแบบอื่น(4104.490.000) สัดส่วนร้อยละ 26.35 ชิ้นส่วนหนังโคกระบือดิบ(4101.900.004) สัดส่วนร้อยละ 13.68 หนังดิบของโคทั้งตัว นน.เกิน 16 กก.(4101.500.109) สัดส่วนร้อยละ 12.15 หนังโคกระบือสภาพแห้งฟอกแบบฟลูเกรน(4104.410.000) สัดส่วนร้อยละ 10.99 และหนังโคกระบือทั้งตัวฟอกแบบอื่นแล้วตกแต่ง(4107.190.000) สัดส่วนร้อยละ 10.83 โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ มูลค่าการนำเข้าโคกระบือและผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 18.61 เหลือ 8,146.19 ล้านบาท เนื่องจากนำเข้าผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ลดลง ตามรูปกราฟต่อไปนี้

     Image
    • มูลค่านำเข้าลดลงทุกชนิดยกเว้น หนังโกระบือ แห้ง ฟอกแบบอื่น
    • มูลค่านำเข้าหนังโคกระบือทั้งตัวฟอกแบบอื่นแล้วตกแต่งลดลงมากที่สุดเป็นร้อยละ 36.48 

    Image 
    • ปริมาณนำเข้าลดลงทุกชนิดยกเว้น หนังโกระบือ แห้ง ฟอกแบบอื่น
    • ปริมาณนำเข้าชิ้นส่วนหนังโคกระบือดิบ ลดลงมากที่สุด เป็นร้อยละ 25.51

                      3.ไก่และผลิตภัณฑ์
                         ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 ประเทศไทยนำเข้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ลดลง ร้อยละ 22.62 เหลือมูลค่า 284.32 ล้านบาทโดยไม่นำเข้าพันธุ์ไก่เนื้อ น้ำหนักไม่เกิน 185 กรัม สำหรับทำพันธุ์ (0105.111.008) จากเดิมที่เคยนำเข้าเป็นจำนวน 328,158 ตัว มูลค่านำเข้า 70.40 ล้านบาท และนำเข้าไข่ไก่ฟัก(0407.001.200) ลดลงจาก 545,253 ฟอง มูลค่า 18.99 ล้านบาท เหลือ 6,000 ฟอง มูลค่า 2.52 ล้านบาท 
                      4. เป็ดและผลิตภัณฑ์
                         ในทำนองเดียวกับไก่เนื้อ กล่าวคือ ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มูลค่านำเข้าเป็ดและผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 50.47 เหลือมูลค่า 7.12 ล้านบาท โดยไม่มีการนำเข้าพันธุ์เป็ดที่น้ำหนักไม่เกิน 185 กรัมสำหรับทำพันธุ์(0105.191.010) จากเดิมเคยนำเข้าจำนวน 473 ตัว มูลค่า 7.68 ล้านบาท  และไม่นำเข้าไข่เป็ดฟัก(0407.001.004) จากเดิมเคยนำเข้าจำนวน 7,100 ฟอง มูลค่า 0.75 ล้านบาท5. วัตถุดิบอาหารสัตว์มูลค่านำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญทั้งสามชนิดคือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง และ ปลาป่น ลดลงร้อยละ 4.05 เหลือมูลค่า 8,541.50 ล้านบาท ซึ่งลดลงไม่มากนัก โดยมูลค่านำเข้ากากถั่วเหลืองลดลงร้อยละ 5.91 เหลือ 8,258.23 ล้านบาท แต่ปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.77 เนื่องจากราคานำเข้าเฉลี่ยลดลงจากกิโลกรัมละ 9.98 บาท เหลือ 9.05 บาท
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง
                  1. ธนาคารแห่งประเทศไทย. ข่าวธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 29/2549.(http://www.bot.or.th/)
                  2. ธนาคารแห่งประเทศไทย. ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ .(http://www.bot.or.th/)
                  3. กรมศุลกากร.สถิติการนำเข้าและส่งออก.(http://www.customs.go.th/)
                  4.USDA Foreign Agricultural Service.GAIN Report Number : JA600
                  5.Japan Poultry and Products Broiler Semiannual 2006.5.USDA Foreign Agricultural Service. GAIN Report Number : VM601
                  6. Vietnam Grain and feed annual 20066. USDA Foreign Agricultural Service.GAIN Report Number : E36015.EU-25 Poultry and Products Semi-annual 2006.
                  7. USDA Foreign Agricultural Service.Dairy production and Trade Development, 20 July 2006
  • โดย กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์  สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี  กรมปศุสัตว์ เริ่มเผยแพร่เมื่อ 20 กันยาน 2006

พัฒนาการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์นม

พัฒนาการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์นม (dairy production and trade developments)


  • บทสรุป
                 ภาวะตลาดผลิตภัณฑ์นมระหว่างประเทศในปี 2549 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดว่าประเทศ กำลังพัฒนามีการเติบโตมากกว่าร้อยละ 6 และ ประเทศในเอเชียเติบโตเกินร้อยละ 7 ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวแสดงว่าผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นและใช้ จ่ายในการบริโภคสินค้าทั้งประเภทอาหารทั่วไปและอาหารที่มีราคาแพง เพิ่มขึ้น ในประเทศจีนซึ่งคาดว่าอัตราการเติบโตของตลาดอาจจะลดลงเพียงเล็กน้อยแต่ยังคง เติบโตประมาณร้อยละ 10  อย่างไรก็ตาม ต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองต่อภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น 
                  ราคาผลิตภัณฑ์นมที่สำคัญในตลาดโลก ได้แก่ นมผงขาดมันเนย นมผงเต็มมันเนย และ เนยแข็ง ลดลงบ้างเล็กน้อยแต่ยังคงมีราคาแพง ในทางตรงกันข้ามตลาดไขมันเนย(butterfat) ยังคงไม่แน่นอนเนื่องจากปริมาณการขายในสหภาพยุโรปที่มากเกินความต้องการ และจำกัดการแทรกแซงราคาด้วยการกำหนดราคาสนับสนุน(support price)คงที่ ทำให้ราคาลดลงเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันและสหภาพยุโรปต้องเพิ่มการชดเชยการส่งออก(export restitution) เพื่อกระตุ้นการส่งออกไขมันเนยและรักษาความสมดุลของตลาดภายใน ประเทศ         
                  สภาวะการผลิตนมคาดว่าคงที่ โดยปริมาณการผลิตนมในประเทศกลุ่มโอซีเนียเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1  เนื่องจากปริมาณการผลิตนมของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นแต่การผลิตของออสเตรเลียลด ลง สำหรับปริมาณผลิตภัณฑ์นมของสหภาพยุโรปในปี 2549 คาดว่าสูงขึ้น ส่วนการบริโภคเนยแข็งและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ ยังคงเพิ่มขึ้นเพื่อดูดซับปริมาณการขายส่วนเกินและการชดเชยการส่งออกนมผง เต็มมันเนยและเนยแข็งอยู่ในระดับต่ำ         
                  การผลิตนมของประเทศสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาผลิตภัณฑ์นมที่ลดลงคาดว่าจะกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ส่วนการส่งออกในปีงบประมาณนี้คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 1.6 พันล้านเหรียญดอลลาร์ซึ่งเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 ร้อยละ 33 การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ยังคงมีต่อเนื่องซึ่งสร้างความสามารถทางการแข่งขัน ด้านราคาให้แก่ผลิตภัณฑ์นมของสหรัฐฯ ที่ส่งออก และในปีปฏิทิน 2549 นี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์นมของสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
  • การผลิต (Milk Production)
                   คาดว่าการผลิตนมของออสเตรเลียในปี 2549 ลดลงร้อยละ 5 เป็น 10.25 ล้านตัน เนื่องจากพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญกับภาวะอากาศร้อนในฤดู กาลที่ผ่านมา ส่งผลต่อรัฐวิคตอเรียที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ โดยในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน มีรายงานว่าการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.9 และ ร้อยละ 5.8 ตามลำดับ สำนักอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย (Australian Bureau of Meterology) ตั้งข้อสังเกตว่า ภาวะแห้งแล้งของออสเตรเลียที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนนี้เป็นครั้งที่ 5 ในรอบ 107 ปี ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในภาคตะวันตกของออสเตรเลีย และ เป็นครั้งที่สามที่เกิดขึ้นในรัฐวิคตอเรีย ดังนั้น ปริมาณผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดของออสเตรเลียจึงคาดว่าจะลดลงร้อยละ 2 จากปีก่อน นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียที่แข็งขึ้นประกอบกับราคาส่งออกลดลงต่ำกว่าส่วน ต่างกำไรและการรักษาภาวะกดดันทางการเงินของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ทั้งนี้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียคาดว่าในช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลผลิตหน้า อุณหภูมิจะลดลงปกติและมีฝนตก
                   คาดว่าในปี 2549 ปริมาณการผลิตนมของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน เป็น 14.9 ล้านตัน ทั้งนี้ในปีฤดูกาล 2548/49 เป็นปีที่สภาพอากาศเลวร้ายจึงทำให้อัตราการให้น้ำนมของแม่โคลดลง อย่างไรก็ตามขนาดฝูงโคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน ทำให้ปริมาณผลผลิตนมทั้งหมดใกล้เคียงกัน ในฤดูกาลถัดไปซึ่งมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้นมของแม่โค จะทำให้ปริมาณการผลิตเกินกว่า 15 ล้านตัน ในความเป็นจริงแล้ว ขนาดของฝูงโคนมเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 2.7 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และทำให้ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 – 3 
                    การผลิตน้ำนมดิบของสหภาพยุโรป ในปี 2549 คาดว่าเพิ่มขึ้นแต่ยังน้อยกว่าปีก่อนร้อยละ 0.5 เนื่องจากการกำหนดโควตาการผลิตน้ำนมดิบ ภายใต้การปฏิรูปนโยบายเกษตรร่วม(CAP Reform)ปี 2546 ที่กำหนดเพดานการผลิตน้ำนมดิบของประเทศสมาชิก 11 ประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5  อย่างไรก็ตามปริมาณการขายที่เกินความต้องการและราคาผลิตภัณฑ์นมในบางประเทศ ลดลง เช่น สหราชอณาจักร ฝรั่งเศส และ เยอรมันนี ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะนำโควตาเพิ่มเติม(extra quota) มาใช้หาประโยชน์ ทั้งนี้ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้นจะถูกป้อนเข้าโรงงานแปรรูปใน ประเทศสมาชิกใหม่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตเนยแข็งซึ่งคาดว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ในขณะที่การผลิตนมผงขาดมันเนยและเนยสดคาดว่าลดลง และ การผลิตนมผงเต็มมันเนยไม่เปลี่ยนแปลง
                     ในประเทศสหรัฐอเมริกา การผลิตนมคาดว่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายขนาดฝูงโคนมเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 1 และอัตราการให้นมของแม่โคที่เพิ่มขึ้น มีการคาดการณ์ว่าปี 2549 ปริมาณการผลิตนมเพิ่มขึ้น 332,000 ตัน เป็น 82.58 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 3  จากปีก่อน แต่กระนั้นด้วยราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นประกอบกับราคาน้ำนมดิบที่ ต่ำลงคาดว่าจะเป็นอุปสรรคในการขยายปริมาณการผลิต สำหรับการผลิตเนยแข็งของสหรัฐฯคาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากปีก่อน และต่ำกว่าการเติบโตโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีค่าร้อยละ 2.8  เป็นที่น่าประหลาดใจที่ตัวเลขการผลิตเนยสดเป็นรายเดือนเพิ่มขึ้นในปีนี้และ คาดว่าเพิ่มขึ้น 40,000 ตัน เป็น 660,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8 จากปีก่อน เช่นเดียวกับการผลิตนมผงขาดมันเนยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแต่การใช้ในตลาด พาณิชย์จะถูกจำกัดโดย CCC (Credit Commodity Corporation ) เพื่อให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 50,000 ตัน 

      ตารางสรุปการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตน้ำนมดิบและผลิตภัณฑ์ในปี 2549
เปรียบเทียบกับปี 2548

หน่วย : พันตัน

ประเทศ น้ำนมดิบ เนยแข็ง เนยสด นมผงขาดมันเนย นมผงเต็มมันเนย
สหรัฐฯ +2,300 +100 +49 +50 +5
สหภาพยุโรป-25 +273 +80 -25 -34 0
ออสเตรเลีย -179 -34 +1 +10 -9
นิวซีแลนด์ +400 -1 +54 +24 +55

ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา 

การค้าผลิตภัณฑ์นม (Dairy Trade)
               คาดว่าการค้าเนยแข็งในปี 2549 ของประเทศสำคัญจะลดลงร้อยละ 4 จากการคาดการณ์ในเดือนธันวาคม 2548 เนื่องจาก การส่งออกเนยแข็งของสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศโอซีเนียลดลง การผลิตเนยแข็งในประเทศนิวซีแลนด์ไม่เปลี่ยนแปลงและคาดว่าการส่งออกยังคงไม่ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ทั้งนี้ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมการ ผลิตนมผงเต็มมันเนยและไขมันเนย อย่างไรก็ตามการส่งออกเนยแข็งของออสเตรเลียคาดว่าลดลงถึงร้อยละ 14 จากปี 2548 เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำนมดิบภายในประเทศที่ลดลงและผลตอบแทนการส่งออกที่ ลดลง ในสหภาพยุโรป คาดว่าการส่งออกเนยแข็งลดลงร้อยละ 4 เป็น 480,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2 จากปี 2548 เนื่องจากการผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นและการเติบโตของการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
                ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นผู้ส่งออกเนยแข็งที่มีความสำคัญรองลงมา แต่จากราคาในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นทำให้การส่งออกเนยแข็งของสหรัฐฯเพิ่มขึ้น คาดว่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21 จากปี 2548 เป็น 70,000 ตัน โดยการส่งออกไปประเทศเม็กซิโกในปี 2549 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมคาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 57 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนตลาดเนยแข็งที่สำคัญรองลงมา คือ แคนาดา ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้         
                เดิมคาดว่าการนำเข้าเนยแข็งของสหรัฐฯในปี 2549 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แต่ราคาภายในประเทศต่ำลง ดังนั้น จึงปรับการคาดการณ์ใหม่เป็นลดลงร้อยละ 11 เหลือ 187,000 ตัน         
                สำหรับสถานการณ์การค้าไขมันเนยในตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเนื่องจาก สหภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้ส่งออกสำคัญแต่ส่งออกลดลงอย่างมาก เดิมคาดว่าการส่งออกไขมันเนยของสหภาพยุโรปไม่แตกต่างจากปีก่อนแต่ต้องประสบ ปัญหาการส่งออกไปยังรัสเซียลดลงเนื่องจากต้องแข่งขันกับประเทศยูเครน ปัจจุบันการส่งออกไขมันเนยของสหภาพยุโรปคาดว่าจะลดลงร้อยละ 18 ในปีนี้ เป็น 280,000 ตัน เนื่องจากราคาภายในประเทศลดลงและปริมาณสต็อกที่รัฐแทรกแซงไว้เพิ่มขึ้นถึง 50,000 ตันแล้ว ที่ระดับราคาประกันซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดประมาณร้อยละ 92 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไป ราคาแทรกแซงไขมันเนยลดลงร้อยละ 8 เป็น ตันละ 2,595.2 ยูโร และปริมาณสต็อกที่รัฐแทรกแซงจะถูกลดลงเหลือ 40,000 ตัน ในปี 2550           
                คาดว่าการส่งออกเนยในปี 2549 ของนิวซีแลนด์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำนมดิบที่ไหลเข้าสู่การผลิตไขมันเนยเพิ่มขึ้น แต่ยังคงต่ำกว่าการส่งออกที่มีค่าสูงที่สุดในปี 2546-2547          
               คาดว่าการส่งออกนมผงขาดมันเนยในปี 2549 ของประเทศสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เนื่องจากกลุ่มประเทศโอซีเนียส่งออกได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 จากปี 2548 เท่านั้น แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2546 – 2547 ซึ่งการค้านมผงขาดมันเนยมากกว่า 100,000 ตัน คาดว่าตลาดโลกยังคงสมดุลในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2549 และคาดว่าการส่งออกของสหรัฐฯ ยังไม่เปลี่ยนแปลงทั้งนี้การส่งออกนมผงขาดมันเนยของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน         
               สำหรับการส่งออกนมผงเต็มมันเนยของประเทศสำคัญคาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ แต่เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 4 โดยประเทศในกลุ่มโอซีเนียคาดว่าจะส่งออกในปี 2549 ได้ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1 แต่เพิ่มขึ้นจากปี 2547 จำนวน 54,000 ตัน ในขณะที่การส่งออกนมผงเต็มมันเนยของสหภาพยุโรปต่ำกว่าปี 2548  เนื่องจากไม่เพิ่มการสนับสนุนการส่งออก ราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลก         
                ราคาเนยแข็งและนมผงเต็มมันเนยในตลาดโลกลดลงในช่วง 6 -12 เดือน ที่ผ่านมา แต่ยังคงมีเสถียรภาพที่ราคาเกินกว่าตันละ 2,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯที่ตลาดยุโรปเหนือ ซึ่งแสดงว่าในปีนี้ตลาดอยู่ในภาวะสมดุลเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังเติบโต ก่อให้เกิดความต้องการในการบริโภคผลิตภัณฑ์นมและปริมาณการขายไม่มากหรือน้อย กว่าความต้องการ คาดว่าในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2549 ราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกจะลดลงเนื่องจากปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศโอซี เนียเพิ่มเป็นปกติ ประกอบกับสหภาพยุโรปลดการสนับสนุนการส่งออกนมผงและเนยแข็ง         
                 ราคาไขมันเนยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าสหภาพยุโรปพยายามที่จะลดปริมาณการขายส่วนเกินด้วยการสนับสนุนการส่ง ออก ตั้งแต่ต้นปี 2549 เงินสนับสนุนการส่งออกเนยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เป็นตันละ 995 ยูโร หรือ 1,245 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการขายส่วนเกินนี้ยังไม่มั่นคง เนื่องจากปริมาณสต็อกเนยของภาครัฐและเอกชนของสหภาพยุโรปในเดือนกรกฎาคมนี้ ประมาณ 216,000 ตันซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาซึ่งมีค่า 277,000 ตัน นอกจากนั้น สต็อกเนยของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะมีค่าสูงสุดในเดือนสิงหาคมและพฤศจิกายน หลังจากนั้นปริมาณการผลิตจะลดลงจนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิถัดไป ดังนั้น ราคาไขมันเนยในตลาดโลกจะเริ่มมีเสถียรภาพในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง         
                ราคานมผงขาดมันเนยในตลาดโลกได้รับผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาจากนมผงขาด มันเนยของสหรัฐฯ ซึ่งมีราคาส่งออกประมาณตันละ 2,000 บาท ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะของสหภาพยุโรป ในปัจจุบัน ตลาดภายในประเทศสหภาพยุโรปยังคงสมดุลในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2549 และยังไม่มีการแทรกแซงตลาดนมผงขาดมันเนย  แต่ในความเป็นจริงสหภาพยุโรปมีการสนับสนุนการส่งออกเพื่อให้ราคาภายในประเทศ มีเสถียรภาพ ดูเหมือนว่าการส่งออกนมผงขาดมันเนยของสหภาพยุโรปจะถูกจำกัดเพื่ออนาคต ดังนั้น ประเทศสหรัฐฯ จึงกลายเป็นผู้ขายนมผงขาดมันเนยที่สำคัญในตลาดโลก เพราะว่า การสนับสนุนราคาของ Credit Commodity Corporation (U.S. CCC) ที่ตันละ 1,764 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการกำหนดราคานมผงขั้นต่ำในตลาดโลกของปีนี้

 

แปลและเรียบเรียงโดย  กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์

วันที่เผยแพร่ 14 กันยายน 2006