กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงโคเนื้อ
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของหน่วยบริการผสมเทียมให้ครอบคลุมและรองรับเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง
- .เพื่อปรับปรุงพันธุ์และเพิ่มปริมาณโคเนื้อโดยการผสมเทียมในพื้นที่ภาคใต้
- .เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อ สร้างรายได้เสริม ยกระดับฐานะและความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
เป้าหมาย
ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อแก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 10,000 ราย
กิจกรรม |
จังหวัด |
รวม |
||||
ยะลา |
ปัตตานี |
นราธิวาส |
สตูล |
สงขลา |
||
1. ให้บริการผสมเทียม (ราย) |
2,400 |
2,400 |
2,000 |
2,400 |
800 |
10,000 |
2. พัฒนาประสิทธิภาพเกษตรกรรายเดิม (เดิม) |
2,400 |
2,400 |
2,000 |
2,400 |
810 |
10,000 |
วิธีการดำเนินการ
หน่วยงานดำเนินการ
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด (สนง.ปศจ.)
รับผิดชอบ : เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่และหน่วยผสมเทียม เตรียมความพร้อมเกษตรกร
เป้าหมาย ให้บริการผสมเทียม ติดตามดูแลหลังการผสมเทียมและพัฒนากลุ่มเกษตรกร - หน่วยพัฒนาอาหารสัตว์ (ศอส.นราธิวาส และ สอส.สตูล)
รับผิดชอบ : สนับสนุนการจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์แก่เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร - ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสงขลา (ศผท.สงขลา)
รับผิดชอบ : พัฒนาความพร้อมเจ้าหน้าที่ สนับสนุนน้ำเชื้อ และไนโตรเจนเหลว รวมทั้งเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับหน่วยผสมเทียม - สำนักงานปศุสัตว์เขต 9
รับผิดชอบ : ประชุมสัมมนา ติดตาม นิเทศและประเมินผล
ขั้นตอนการดำเนินการ
- เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่
1.1 สนง.ปศจ. ทั้ง 5 จังหวัด และ ศผท.สงขลา ดำเนินการจัดจ้างเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน ตามเป้าหมายและงบประมาณที่ได้รับ โดยดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.2 ชี้แจง ทำความเข้าใจ กำหนดมอบหมาย ภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ รวมทั้งกำหนดพื้นที่และเป้าหมายที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบดำเนินการ
1.3 ศผท.สงขลา ร่วมกับ สนง.ปศจ. ดำเนินกิจกรรมเพื่อทบทวนความรู้และพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานผสมเทียมของเจ้าหน้าที่ - การปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อโดยการผสมเทียม
2.1 การเตรียมความพร้อมหน่วยผสมเทียม
1) สนง.ปศจ. เตรียมความพร้อมหน่วยผสมเทียม โดยจัดซื้อจัดจ้างเพื่อเตรียมความพร้อมครุภัณฑ์ ยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยผสมเทียม
2) ศผท.สงขลา จัดซื้อจัดหาน้ำเชื้อและไนโตรเจนเหลวเพื่อนำไปสนับสนุนให้แก่หน่วยผสมเทียมตามความต้องการของเกษตรกร
2.2 การเตรียมความพร้อมเกษตรกรและแม่โค
1) สนง.ปศจ. จัดแบ่งพื้นที่และกำหนดเกษตรกรเป้าหมายที่ชัดเจนภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยผสมเทียมแต่ละหน่วย
2) จัดส่งเจ้าหน้าที่ผสมเทียมออกประสานผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม เพื่อตรวจสอบความพร้อมของเกษตรก
ร
3) จัดทำทะเบียนและเก็บข้อมูลเกษตรกร รวมทั้งจัดทำประวัติและเครื่องหมายประจำตัวแม่โคที่จะรับบริการผสมเทียม
4) ตรวจสอบ ให้ความรู้และคำแนะนำ รวมทั้งให้บริการและสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อเตรียมความพร้อมของแม่โคในการผสมเทียม อาทิ การถ่ายพยาธิ การบำรุงร่างกายด้วยอาหารหยาบคุณภาพดี หรืออาหารข้นและแร่ธาตุ การเจาะเลือดตรวจเพื่อค้นหาโรคที่มีผลต่อการผสมพันธุ์ รวมทั้งการให้บริการล้วงตรวจภายในเพื่อแก้ไขปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์ของแม่โค ตลอดการจัดการดูแลแม่โคหลังผสมและการดูแลลูกโคหลังคลอด
2.3 การดำเนินการผสมเทียม
1) สนง.ปศจ. โดยหน่วยผสมเทียมจัดส่งเจ้าหน้าที่ให้บริการผสมเทียมเมื่อเกษตรกรมีความพร้อมและติดต่อขอรับบริการ
2) ใช้เทคนิคการเหนี่ยวนำการเป็นสัด กรณีเกษตรกรและแม่โคมีความพร้อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผสมเทียม
3) สนง.ปศจ. ติดตามดูแล สนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อการบำรุงสุขภาพแม่โค เช่น อาหารเสริมและแร่ธาตุ ให้คำปรึกษาแนะนำและบริการด้านสุขภาพสัตว์แก่แม่โคของเกษตรกรตั้งแต่ระยะแม่โคตั้งท้อง จนแม่โคคลอดลูก รวมทั้งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
4) ประเมินผลความรู้และความพึงพอใจของเกษตรกรทุกรายที่ได้รับการอบรมและบริการผสมเทียมแล้ว สรุปรายงานเสนอ สนง.ปศข. 9 และ ส.ส.ส. - การพัฒนาประสิทธิภาพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อเดิม
3.1 สนง.ปศจ. คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อที่จัดตั้งและดำเนินการตามงบปรกติและงบ TKK ปี 2553 – 2554 โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ
3.2 สนง.ปศจ. พัฒนาประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรผ่านกระบวนการกลุ่ม โดยมอบหมายผู้รับผิดชอบออกติดตามเยี่ยมเยือนและจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ
3.3 สร้างกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร ภายใต้ตัวชี้วัดที่กรมปศุสัตว์กำหนด ได้แก่ การพัฒนาผู้นำกลุ่ม การสร้างกองทุนกลางเพื่อใช้บริหารจัดการกลุ่ม การส่งเสริมระบบเงินออมจากผลผลิตของสมาชิก กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม การสร้างบริการของกลุ่ม เช่น กองทุนยาและเวชภัณฑ์ บริการรักษาสัตว์ป่วย บริการควบคุมโรคระบาด เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรมความร่วมมือเพื่อการผลิต ปัจจัยที่จำเป็นมาใช้ร่วมกัน เช่น น้ำหมัก แร่ธาตุก้อน UMMB เป็นต้น
3.4 ประสานบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ศอส.นราธิวาส, สบส.สตูล เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาตนเองระยะสั้นของกลุ่มสู่ความสำเร็จ และสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อ - การติดตามประเมินผล
4.1 สนง.ปศจ. / ศอส.นราธิวาส / สอส.สตูล และ ศพท.สงขลา รายงานผลการดำเนินงาน(ความก้าวหน้า)ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
4.2 สนง.ปศข.9 ประสานเก็บรวบรวมผลการดำเนินงาน (ความก้าวหน้า) และติดตามประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม พร้อมสรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลเสนอ ส.ส.ส.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- 1.เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 10,000 ราย มีความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อโดยการผสมเทียมดีขึ้น สามารถเลี้ยงโคเนื้อ ผสมพันธุ์และให้ลูกโคได้ในปีที่ 2 อย่างน้อย 1 ตัวต่อแม่โค คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 10,000 บาทต่อตัว
- 2.หน่วยบริการผสมเทียมของทางราชการมีขีดความสามารถและประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น สามารถให้บริการผสมเทียมแก่เกษตรกรได้อย่างน้อย 10,000 ราย ผสมเทียมแม่โคได้อย่างน้อย 10,000 ตัว เป็นผลให้สามารถเพิ่มปริมาณโคเนื้อพันธุ์ดีได้ จำนวน 6,000 ตัวต่อปีเป็นอย่างน้อย
- 3.เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความมั่นคงในอาชีพ มีฐานะและความเป็นอยู่ดีขึ้น รวมทั้งมีความเชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่ภาครัฐมากขึ้น