หลักการและเหตุผล
แพะเป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยขณะที่ประชากรแพะ มีจำนวน 427,567 ตัว ( แพะเนื้อ 394,204 ตัว แพะนม 33,363 ตัว ) จำนวนการเลี้ยงแพะมีมากในภาคใต้ร้อยละ 52.14 (เขต 9 และ เขต 8 ร้อยละ 39.75 และ 12.40 ตามลำดับ) มีเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ 41,582 ครัวเรือน
ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยและเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม (กรมปศุสัตว์ , 2554) พันธุ์แพะที่เลี้ยงกันอยู่ในประเทศส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตช้า ให้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะยังขาดความรู้ความสามารถและเทคโนโลยี ในด้านการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้การเลี้ยงแพะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดแพะพันธุ์ดีที่จะนำมาปรับปรุงพันธุ์ เกษตรกรไม่ให้ความสำคัญ ในด้านการจัดการด้านอาหารการดูแลด้านสุขภาพและตลาดยังไม่มีความแน่นอน ดังนั้นจึงควรจัดงานแพะแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันค้นหาแนวทางการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยงแพะ ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาการเลี้ยงการจัดการฟาร์มเพื่อให้แพะมีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
- เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ระหว่างเกษตรกร นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพ
- เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการจัดระบบการตลาดให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม
เป้าหมาย
1. จัดประกวดพันธุ์แพะ 1 ครั้ง
2. จัดสัมมนาวิชาการ 1 ครั้ง
3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร 260 ราย
พื้นที่ดำเนินการ/สถานที่จัดงาน
ดำเนินการในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 8
ขั้นตอนกและวิธีปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. กอง/สำนัก
กรมปศุสัตว์ประสานงานกับสำนักงานปศุสัตว์เขต 8 เพื่อให้พิจารณาคัดเลือกจังหวัดที่เหมาะสมจะรับเป็นเจ้าภาพ
1.1 กรมปศุสัตว์แต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายต่างๆ เพื่อมอบหมายภารกิจและแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบ
1.2 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ประสานและสนับสนุนการจัดงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.3 คณะทำงานฝ่ายต่างๆ กำหนดกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน
1.4 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สนับสนุนงบประมาณกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 8 ที่ได้รับเป็นเจ้าภาพ เพื่อไปตั้งเบิกจ่าย ตามกิจกรรมที่กำหนด
2 หน่วยปฏิบัติ (สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด/สนง.ปศข./ศูนย์ฯ/สถานีฯ/ด่านฯ)
2.1 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สนับสนุนงบประมาณกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 8 ที่ได้รับเป็นเจ้าภาพ เพื่อไปตั้งเบิกจ่าย ตามกิจกรรมที่กำหนด
2.2 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 8 ร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกิจกรรมประกอบด้วย
2.3 จัดแสดงนิทรรศการพัฒนาการเลี้ยงแพะ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการให้แก่เกษตรกร และผู้ที่สนใจทั่วไป
2.4 ประชุมสัมมนานักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเลี้ยงแพะ เพื่อร่วมกันระดมความคิดกำหนดแนวทางการพัฒนาการเลี้ยงแพะที่ยั่งยืน
2.5 จัดเวทีเสวนาเกษตรกร เพื่อร่วมกันระดมความคิดระหว่างเกษตรกร นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเลี้ยงแพะแบบพอเพียง
2.6 จัดประกวดแพะ เพื่อประกวดแพะของเกษตรกรที่มีลักษณะดี เหมาะสมใช้ปรับปรุงขยายพันธุ์ มอบรางวัลเป็นกำลังใจให้กับเกษตรกรที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการเลี้ยงดู การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์
2.7 การประกวดและสาธิตการแปรรูป เช่น การแข่งขันการทำอาหารมาจากเนื้อแพะ การสาธิตการทำนมแพะพาสเจอร์ไรซ์ การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากนมแพะ และผลิตภัณฑ์เครื่องหนังเป็นต้น
2.8 การจัดประมูลแพะพันธุ์ดีของกรมปศุสัตว์เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปรับปรุงพันธุ์แพะให้ดียิ่งขึ้น
2.9 สร้างเครือข่ายเกษตรกรโดยการจัดตั้งขึ้นเป็นกลุ่ม ชมรมหรือสมาคม เพื่อมีอำนาจในการต่อรองการทำธุรกรรมต่าง ๆ และรักษาผลประโยชน์สมาชิกเพื่อประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของกลุ่มให้เป็นที่รับทราบอย่างกว้างขวาง
2.10 จัดให้มีคลินิกปศุสัตว์เพื่อบริการตรวจ ดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ (แพะ) ที่มารับบริหารในระหว่างการจัดงาน
2.11 การประเมิลผลการจัดงานแพะแห่งชาติในภาพรวม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดงานแพะแห่งชาติครั้งต่อไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะตื่นตัว (awareness) และให้ความสำคัญในการเลี้ยง การจัดการฟาร์มแพะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้แพะมีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
- เกษตรกร นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องที่มาร่วมงานอย่างน้อย 2,000 คน ได้รับความรู้และประสบการณ์ไปใช้ (apply) ในการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะ
- เกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ค้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบตลาดทั้งภายในและต่างประเทศให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการผลักดันให้เป็นสิ้นค้าปศุสัตว์เพื่อการส่งออกต่อไปในอนาคต