เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

โครงการพัฒนาเครือข่ายการผลิตและการตลาดแกะ

 หลักการและเหตุผล

              แกะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันทั่วไปตามภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย ตามสถิติของศูนย์สารสนเทศ กรมปศุสัตว์ ปี 2554 พบว่า มีจำนวนแกะรวม 51,735 ตัว เกษตรกร รวม 6,191 ราย โดยเฉพาะในเขต สำนักงานปศุสัตว์เขต 9   จำนวน 29,130 ตัว (คิดเป็น 56.31 % ของประเทศ ) เกษตรกร 5,531 ราย (คิดเป็น 89.34 % ของประเทศ ) เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้เป็นอาหารในครัวเรือน จำหน่ายเป็นรายได้

                   สภาพการเลี้ยงการผลิตทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นอาชีพรอง – อาชีพเสริม ผสมผสานกับกิจกรรมการเกษตรอื่นในครัวเรือน การจัดการฟาร์มส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องตามหลักสุขศาสตร์ ผลผลิตยังไม่สูงเท่าที่ควรนอกจากนั้นเกษตรกรยังไม่ มีฟาร์มสาธิตที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ขาดการรวมกลุ่ม เครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เทคโนโลยีการผลิต ข้อมูลด้านการตลาด รวมถึงด้านความต้องการ ราคา

                     ในส่วนหน่วยงานของกรมปศุสัตว์เองโดยเฉพาะสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี ยังขาดข้อมูล เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงที่ชัดเจน ไม่มีฟาร์มเกษตรกรต้นแบบ/เกษตรกรสาธิต ตลอดจนข้อมูลการจัดการฟาร์มและข้อมูลสมรรถภาพการผลิตแกะในระดับฟาร์มของเกษตรกรประกอบกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มียุทธศาสตร์การเกษตร ฉบับที่ 10 ที่ส่งเสริมพัฒนาการสร้างเครือข่ายของสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง สามารถและเปลี่ยนพึ่งพากันเองได้ในด้านวิชาการ การจัดการเรียนรู้ การตลาด ดังนั้น จึงควรดำเนินการโครงการนี้เพื่อการพัฒนาการผลิตแกะในระดับฟาร์มเกษตรกรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ต่อไป

 วัตถุประสงค์

                        1.    เพื่อสำรวจข้อมูลเครือข่ายการผลิต – การตลาดแกะ

                        2.    เพื่อพัฒนาฟาร์มเกษตรกร แกนนำ และเครือข่ายการผลิต การตลาดเป็นแหล่งเรียนรู้

                        3.     ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงแกะแก่เกษตรกร

                        4.     เพื่อศึกษา วิเคราะห์ระบบการผลิต การตลาดแกะของฟาร์มเกษตรกร

เป้าหมาย

                        1.     มีเครือข่าย (หรือชมรม) ระดับจังหวัดด้านการผลิตและการตลาดแกะ 5 เครือข่าย

                        2.     มีฟาร์มเลี้ยงแกะของแกนนำเกษตรกร จำนวน 25 แห่ง

                        3.     เกษตรกรได้รับการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวนอย่างน้อย 150 ราย

พื้นที่ดำเนินงาน

                         พื้นที่จังหวัด 5 แห่ง ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน

                        1.     สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ (ส.ส.ส.) ร่วมจัดทำโครงการ แผนปฏิบัติงาน และงบประมาณ กับหน่วยงานภูมิภาค

                        2.      สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

                                 2.1    สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในเขตสำนักงานปศุสัตว์เขต 9     รวม 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล และ จังหวัดนราธิวาส

                                 2.2    สำรวจข้อมูลการผลิตการตลาดของเกษตรกรผู้เลี้ยงแกะในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านการจัดการฟาร์มให้เทียบกับมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์ (ถ้ามี)

                                   2.3   จัดทำเครือข่าย หรือ ชมรมผู้ผลิต – การตลาดแกะในจังหวัด  

                             2.4   ประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตและการตลาด รวบรวมรายชื่อเกษตรกรข้อมูลการผลิตการตลาดของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ปีละ 2 ครั้ง

                                  2.5   คัดเลือกฟาร์มเกษตรกรที่มีสภาพการผลิตระดับดีขึ้นไป เป็นฟาร์มเกษตรกรแกนนำ

จังหวัดละ 5 ราย พร้อมให้มีฟาร์มเกษตรกรเครือข่าย

                                   2.6    อบรมเกษตรกรและพัฒนาเครือข่ายกับเกษตรกรแกนนำเกษตรกรเครือข่ายและเกษตรกรที่สนใจ จังหวัดละ 1 ครั้งๆละ 30 ราย

                                     2.7   สนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่ฟาร์มเกษตรกรแกนนำ ประกอบการสาธิตและแนะนำทางวิชาการใน 5 จังหวัดๆละ 5 ราย รวม 25 ราย

                  3.     ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนราธิวาส ร่วมกับ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และ สำนักงานปศุสัตว์เขต 9 ดำเนินการกิจกรรมได้แก่

                                    3.1     วิเคราะห์ศักยภาพการเลี้ยงแกะของเกษตรกร

                                   3.2     ติดตาม ประเมินผลในด้านศักยภาพการพัฒนาเครือข่าย การผลิต การตลาด และการเรียนรู้ ทั้งภายในเครือข่ายย่อย ระหว่างเครือข่าย และ ผู้เกี่ยวข้องในเขตจังหวัด

                                   3.3     จัดประชุมสัมมนาเจ้าหน้าที่ เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องประมวลองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาเครือข่ายการผลิตและการตลาดในเขตพื้นที่ สนง.ปศข. ปี ละ 1 ครั้ง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                       1.   ทราบข้อมูลที่รับภาพรวมลักษณะการผลิต การตลาด ในเขตจังหวัดและ สนง.ปศข. 9

                      2.   มีข้อมูลเชิงลึกด้านเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิต การตลาด การถ่ายทอดเทคโนโลยีภายในเครือข่ายย่อย ระหว่างเครือข่ายและกับผู้เกี่ยวข้องในจังหวัด และในพื้นที่ สนง.ปศข.

                       3.   ทราบผลศึกษาวิเคราะห์สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิต ต้นทุนระดับฟาร์มขนาดต่างๆ

                       4.   ผลการวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตของเกษตรกร การพัฒนาการทำงานเครือข่าย สามารถประมวลผลเป็นงานวิชาการ