เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

Consumers Information About Beta – agonist Free in Pork

Consumers Information  About    Beta – agonist  Free in Pork

พิจารณา  สามนจิตติ *

บทคัดย่อ 

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่ง ความถี่ ความตระหนักและความคิดเห็นใน การรับรู้ข่าวสาร  และศึกษาเปรียบเทียบความตระหนักและความคิดเห็นในการรับรู้ข่าวสารโครงการ เนื้อสุกรปลอดสารเร่งเนื้อแดง ระหว่างผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพสมรส การศึกษา รายได้ และการรับรู้ข่าวสารที่แตกต่างกัน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริโภคเนื้อสุกรในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 150 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่หาค่า ร้อยละ  คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำแนกตามตัวแปรอิสระและทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วย  t-test  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) 

               จากการศึกษาพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60  มีอายุต่ำกว่า 30 ปี  ร้อยละ 39.3  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 38.7  สถานภาพโสด ร้อยละ 52  มีอาชีพรับราชการ  ร้อยละ 61.3  มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 8,300 บาท ร้อยละ 44  ส่วนการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเนื้อสุกรปลอดสารเร่งเนื้อแดง  จากการศึกษา พบว่า มีผู้ดูโทรทัศน์เป็นประจำ  ร้อยละ  78  ฟังวิทยุเป็นประจำ ร้อยละ  48.7 อ่านเป็นประจำ ร้อยละ  48.7  เคยทราบว่าสุกรใส่สารจะทำให้เป็นอันตราย ร้อยละ 90  และส่วนใหญ่ทราบจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์  ร้อยละ 95.3 รองลงมาคือโปสเตอร์ ร้อยละ 94  และจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข   ร้อยละ    93.3  จากสื่อสิ่งพิมพ์ ร้อยละ 83.3  จากวิทยุ ร้อยละ 74.7  จากโทรทัศน์  ร้อยละ  48.7

                 ความตระหนักและความคิดเห็นที่มีต่อการบริโภคเนื้อ สุกรที่ปลอดสารเร่งเนื้อแดง ผลจากการศึกษา  พบว่า ผู้บริโภคที่มีสถานภาพสมรสต่างกันจะมีความตระหนักและความคิดเห็นในการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารโครงการเนื้อสุกรปลอดสารเร่งเนื้อแดงต่างกันโดยผู้บริโภคที่มี สถานภาพสมรสจะมีความตระหนักมากกว่าผู้บริโภคที่มีสถานภาพโสด  รวมทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความตระหนักและความคิดเห็นที่มีต่อการบริโภค เนื้อสุกรปลอดสารเร่งเนื้อแดง อยู่ในระดับปานกลางโดยค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 49 - 54  คิดเป็นร้อยละ  61.3  รองลงมาอยู่ในระดับมากค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 54 ขึ้นไป  คิดเป็นร้อยละ  28.0  ซึ่งในระดับน้อยที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 49 ผู้บริโภคมีความตระหนักน้อย  คิดเป็นร้อยละ  10.7 

                  ผลจากการศึกษา พบว่า ทุกกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเนื้อสุกรปลอดสารเร่ง เนื้อแดงจากสื่อต่างๆ ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง  แต่ความตระหนักถึงประโยชน์และโทษของสารเร่งเนื้อแดงยังไม่มากพอ จึงมีข้อ เสนอแนะว่าควรเร่งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อที่เข้าถึงประชาชนได้ง่ายและรวด เร็ว  ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเนื้อสุกรปลอดสารเร่งเนื้อแดงอย่างถูกต้องมากขึ้น


นักวิชาการเผยแพร่ 5  กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์  สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์

ดาวน์โหลดเรื่องเต็ม