เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

คุณลักษณะประจำตัวด้านคุณภาพของเนื้อโคแต่ละประเภท

เนื้อโคที่ผลิตได้ภายในประเทศภายใต้ระบบการเลี้ยงและการเลือกพันธุ์ที่แตกต่าง  ทำให้เนื้อโคของประเทศที่ผลิตได้แบ่งออกเป็นหลายประเภท  ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะประจำตัวด้านคุณภาพเนื้อแตกต่างกันไป  ซึ่งผู้บริโภคจะพึงพอใจเนื้อประเภทใดก็ย่อมจะขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ประโยชน์  สามารถสรุปได้ดังนี้

1. เนื้อโคขุนโพนยางคำ (Thai-French beef)
           -เป็นเนื้อเกรดคุณภาพ (quality grade)
           -เป็นเนื้อโคขุนลูกผสมพันธุ์ชาโรเลส์ระดับสูง
           -มีระยะการขุนนาน  14  -16  เดือน
           -อายุโคขุน  3 – 3.5  ปี
           -เนื้อมีไขมันแทรกแตกต่างตามระดับไขมันแทรก 3-5  คะแนน
           -เนื้อผ่านระยะการบ่มอย่างน้อย  14  วันก่อนการจำหน่าย
           -เนื้อมีความนุ่มมาก  เนื่งจากมีระยะการขุนนานและมีไขมันแทรกสูง
           -สีของเนื้อแดงสดใสและปรากฏลายเส้นของไขมันแทรกชัดเจน

2. เนื้อโคขุนกำแพงแสน (KU-beef)
           -เป็นเนื้อเกรดคุณภาพ(quality grade)
           -เป็นเนื้อโคขุนพันธุ์กำแพงแสนที่มีเลือดพันธุ์ชาโรเลส์
           -มีระยะการขุน  10-12 เดือน
           -อายุโคขุน 2 – 2.5  ปี
           -เน้นความเป็นเนื้อโคที่มาจากโคอายุน้อยและมีไขมันแทรกในเนื้อ
           -ระยะเวลาในการบ่มเนื้อ  14 – 21  วันก่อนการจำหน่าย
           -สีของเนื้อแดงสดใส

3. เนื้อโคขุนลูกผสมพันธุ์บราห์มันเลือดสูง
           -เป็นเนื้อเกรดผลผลิต (yield  grade) ที่เน้นปริมาณเนื้อแดงมาก
           -เป็นเนื้อโคขุนลูกผสมพันธุ์บราห์มัน  75  เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
           -ระยะเวลาในการขุน  6 – 8  เดือน
           -อายุโคขุน  2 – 2.5 ปี
           -ไม่เน้นไขมันแทรกในเนื้อ
           -เนื้อมีความนุ่มน้อยกว่าเนื้อเกรดคุณภาพ
           -ต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มเนื้อนานถึง  21  วัน
           -สีของเนื้อแดงเข้มแต่สดใส

4. เนื้อโคขุนลูกผสมบราห์มันทั่วไป
           -ไม่จัดอยู่ในเกณฑ์ของระบบเกรดเนื้อ
           -เป็นเนื้อจากโคขุนลูกผสมพันธุ์บราห์มันต่ำกว่า  75  เปอร์เซ็นต์
           -ระยะเวลาในการขุนสั้นและไม่คงที่ (3 – 4 เดือน)
           -อายุโคขุน  3-4  ปี
           -ไม่มีไขมันแทรกในเนื้อ
           -เนื้อมีความนุ่มน้อย
           -ใช้ระยะเวลาในการบ่มเนื้อสั้นมาก คือ  น้อยกว่า 7  วัน  เนื่องจากการบ่มที่นานขึ้นไม่ช่วยทำให้เนื้อนุ่มขึ้น เพราะสายพันธุ์และระยะการขุนที่สั้น
           -สีของเนื้อเข้ม

5. เนื้อโคขุนลูกผสมพันธุ์บราห์มันเลี้ยงด้วยเปลือกสับปะรดหมัก
           -เป็นเนื้อเกรดผลผลิต
           -เป็นเนื้อจากโคขุนลูกผสมพันธุ์บราห์มัน 75 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
           -ระยะเวลาในการขุน  5 – 6 เดือน
           -อายุโคขุน  3 – 4  ปี
           -ไม่เน้นไขมันแทรกในเนื้อ
           -เนื้อมีความนุ่มปานกลาง  โดยใช้เวลาในการบ่มเนื้อ  7  วัน
           -เนื้อมีสีแดงอมชมพูแต่มีลักษณะฉ่ำน้ำมาก
           -อายุการเก็บเนื้อสั้น

6. เนื้อโคพื้นเมืองอายุน้อย เลี้ยงด้วยหญ้า (grass  fed beef) 
           -เป็นเนื้อโคสำหรับตลาดเฉพาะ (niche market)
           -เป็นเนื้อโคพื้นเมือง หรือโคพื้นเมืองลูกผสมพันธุ์บราห์มันเลือด  25  เปอร์เซ็นต์
           -อายุโคไม่เกิน 2.5  ปี
           -เส้นใยกล้ามเนื้อละเอียด  ลักษณะเนื้อสัมผัสแน่น  แห้งและไม่แฉะ
           -สีเนื้อแดงจัดและมีความมันวาวบริเวณผิวสัมผัสเนื้อ
           -เนื้อมีความนุ่มปานกลางระยะเวลาในการบ่มนานขึ้นไม่ช่วยทำให้เนื้อนุ่มมากขึ้น

7. เนื้อโคมัน
           -ไม่จัดอยู่ในระบบเกรดซาก
           -โคอายุมากกว่า 5  ปี
           -ลักษณะเนื้อสัมผัสแน่น และเส้นใยกล้ามเนื้อหยาบ
           -ไม่มีไขมันแทรกในเนื้อแต่มีไขมันหุ้มซากมาก
           -เนื้อแน่นมากและไม่มีการบ่มเนื้อ
           -เนื้อมีกลิ่นคาวของเนื้อมาก
           -เนื้อมีสีแดงเข้ม

8. เนื้อโคนมขุน (dairy beef)
           -เป็นเนื้อเกรดคุณภาพ(quality grade)
           -เป็นเนื้อโคขุนที่มาจากโคนมเพศผู้ หรือโคนมสาวผสมไม่ติด
           -เส้นใยกล้ามเนื้อละเอียด
           -เนื้อมีสีค่อนข้างเข้ม
           -เนื้อมีไขมันแทรกสูง
           -เนื้อมีความนุ่มมาก
           -ระยะเวลาในการบ่มเนื้อ 7  วัน ก็เพียงพอ