การพัฒนาการเลี้ยงแพะนมสู่น้ำนมแพะอินทรีย์ โดย อัคระฟาร์ม
คุณอัคระ ธิติถาวร ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาการเลี้ยงสัตว์ ปี 2551และนักสัตวบาลดีเด่น สาขาเกษตรกร ปี 2551
จากสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ปี 2540
Organic Phuket
Goat milk
โดย อัคระฟาร์ม43/1 หมู่ที่ 3 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
จากความหลากหลายของพืชธรรมชาติสมุนไพร และหญ้า กว่า 130 ชนิดที่แพะกินแต่ละวัน และการเลี้ยงดูแพะอย่างเป็นธรรมชาติ สู่ผลผลิตน้ำนมแพะที่มีคุณภาพเป็นทั้งอาหารและยา “วิถีธรรมชาติ สัตว์ปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย”
คุณอัคระ ธิติถาวร ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาการเลี้ยงสัตว์ ปี 2551
และนักสัตวบาลดีเด่น สาขาเกษตรกร ปี 2551 จากสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ปี 2540 ลาออกจากการทำงานบริษัทมาสู่บ้านเกิด ด้วยจิตสำนึกและความมุ่งมั่นการผลิตอาหารให้ผู้บริโภคโดยไม่ใช้สารเคมี สังเคราะห์ใดๆ และใช้หลักความสมดุลของระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยพิจารณาศักยภาพทำให้เพียงพอที่ตนเอ
งทำได้ ภายใต้เหตุผลมีพื้นที่ ทุน แปลงหญ้า และการพึ่งตนเองเป็นภูมิค้มกัน ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในชมรมเลี้ยงแพะ มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าผลผลิตที่ได้จะต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภค นำมาสู่การปฏิบัติให้เกิดความยั่งยืน ความมั่นคงในอาชีพและสุขภาพที่ดี ของครอบครัวและผู้บริโภค คุณอัคระพัฒนา ระบบการจัดการเลี้ยงแพะให้เป็นธรรมชาติโดยสอดคล้องกับนิยามของปศุสัตว์ อินทรีย์ มกอช.9000 เล่ม 2-2548 ดังนี้
ปศุสัตว์อินทรีย์ “หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตปศุสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างผืนดิน พืช สัตว์ที่เหมาะสม เป็นไปตามความต้องการทางสรีรวิทยาและพฤติกรรมสัตว์ ที่ทำให้เกิดความเครียดน้อยที่สุด ส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดี เน้นการป้องกันโรคโดยอาศัยการจัดการฟาร์มที่ดี หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเคมี”
คุณอัคระเริ่มจากการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ผสมผสาน เลี้ยงแพะ ประมาณ 40 ตัว แม่แพะรีดนมครั้งละ12-15 ตัว ปลูกพืชหลากหลายชนิด-เลี้ยงแพะ-เลี้ยงปลา ด้วยพื้นที่ 2 ไร่เศษและพื้นที่สวนยางของญาติพี่น้องภายในฟาร์มมีไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักผลไม้หลากหลายชนิด มีระบบการจัดการฟาร์มผสมผสานเกื้อกูลกันของพืช-สัตว์-ประมง ใช้มูลแพะเป็นปุ๋ยให้กับพืชและสร้างแหล่งอาหารแพลงตอน ตะไคร่น้ำให้กับปลา ใช้น้ำจากบ่อปลารดต้นไม้ แปลงหญ้า คุณอัคระสร้างความรู้การเลี้ยงแพะจากการปฏิบัติจริง เรียนรู้ความสัมพันธ์ของวงจรชีวภาพในฟาร์มกับการเลี้ยงแพะจนเป็นองค์ความรู้ ภูมิปัญญาที่สามารถถ่ายทอดสู่เครือข่าย นักเรียน นักศึกษาและมีผู้มาขอดูงานมากมาย ดังนี้
1. การปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เน้นการคัดเลือก สายพันธุ์ประจำถิ่นที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในถิ่นอาศัยได้ เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีฝน 8 แดด 4 โดยคัดแม่แพะที่ใช้ทำพันธุ์ดูจากสุขภาพ การให้ผลผลิต และการผสมพันธุ์ติดง่าย คัดออกแม่พันธุ์ที่อ่อนแอ ให้ผลผลิตต่ำและมีปัญหาระบบสืบพันธุ์เป้าหมายแม่แพะให้ผลผลิตน้ำนม เฉลี่ย 2-3 ลิตร/วันมีระยะการให้นมสูงสุดนาน และระยะเวลารีดนมยาวกว่า 200 วัน พัฒนาสายพันธุ์จากการเลี้ยงแพะเนื้อเมื่อปี 2540 จนถึงปี 2546 เป็นแพะนม ด้วยการค้นหาพ่อพันธุ์แพะนมที่มีคุณภาพมาเป็นพ่อพันธุ์
ข้อกำหนดการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ มกอช,เล่ม 2-2548 ข้อ 1
“ในการเลือกใช้ชนิดพันธุ์ สายพันธุ์และเทคนิคการขยายพันธุ์ให้เป็นไปตามหลักการของเกษตรอินทรีย์ โดยคำนึงถึง ความสามารถในการปรับตัวของสัตว์ในสภาพแวดล้อมการผลิต ความสามารถอยู่รอดและความต้านทานโรค โดยเลือกชนิดพันธุ์สัตว์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ทนทานต่อโรค....และการ ขยายพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ”
2. การผสมพันธุ์ผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ ป้องกันการเลือดชิดโดยผสมข้าม สัตว์ที่นำเข้ามาใหม่จากภายนอกต้องมีการตรวจโรค เน้นแม่พันธุ์ตกลูกปีละครั้งๆละ แฝด 3 ตัว บางครั้งแฝด 4 ตัว โดยมีเทคนิคดังนี้ ให้แม่พันธุ์มีความสมบรูณ์สูงสุดก่อนผสมพันธุ์และให้ไวตามิน AD3 E ปรับระบบสืบพันธุ์ เมื่อแม่แพะเป็นสัดรอให้ไข่ตกเต็มที่ ผสมพันธุ์ในวันที่ 2 ของการเป็นสัด พบว่าอัตราการเกิดลูกแฝด 3 กว่า 80 เปอร์เซ็นต์
3. การเลี้ยงลูก ให้ลูกแพะอยู่กับแม่ดูดนมแม่จนอายุได้ 2 เดือน ในระหว่างนั้นฝึกระเบียบวินัยแม่และลูกแพะ สร้างความคุ้นเคยกับเจ้าของ การอยู่รวมฝูงก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติหลังจากนั้นจึงแยกแม่แพะมารีดนมอีกประมาณ 6 เดือน การรีดนมเน้นความสะอาดและความเป็นธรรมชาติทำให้แม่แพะหลั่งน้ำนมอย่างมีความ สุข
4. การจัดการให้อาหาร ต้องสร้างแปลงหญ้าก่อนและมีอาหารสัตว์ที่คุณภาพอย่างเพียงพอ ดังนี้
4.1 อาหารหยาบ ปลูกในฟาร์มเองเน้นต้องมีหญ้าอย่างเพียง พอโดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ เน้นความหลากหลายของชนิดพืช เชื่อมโยงการเลี้ยงแพะกับการรักษาพื้นที่สีเขียว พื้นที่ว่างเปล่าจะปลูกพืชให้มีสีเขียวเป็นทั้ง อาหาร ร่มเงา และความร่มรื่นให้กับคนและแพะ ปลูกหญ้าหลายชนิดตามพื้นที่ไม้ยืนต้นเช่นใบกล้วย ต้นกล้วย มันปู กระถิน กระถินเทพา กระถินณรงค์ ใบไม้หลากหลายชนิดเป็นอาหารแพะในฤดูแล้งได้ เนื่องจากแพะเป็นสัตว์ชอบกินพืชใบกว้าง การเลี้ยงแพะแบบปล่อยแทะเล็มตามธรรมชาติในสวนยาง และบริเวณบ้านทำให้ในแต่ละวัน แพะได้กินพืชอาหารสัตว์และพืชสมุนไพรมากกว่า 130 ชนิด(จากการเดินตามแพะและนับชนิดของพืชที่แพะได้กินของคุณอัคระ)ซึ่งอาหาร เหล่านี้จะส่งผ่านมาทางน้ำนมทำให้น้ำนมแพะมีสรรพคุณในทางการแพทย์ที่เป็น ทั้งอาหารและยา (nutraceutical concept) เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
4.2 อาหารข้น ใช้อาหารสำเร็จรูป โปรตีน 16% ประมาณ 2 %น้ำหนักตัว สำหรับแม่รีดนม ซึ่งเป็นปัญหาของเกษตรกรที่ต้องการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ที่ไม่สามารถหาอาหาร อินทรีย์ได้ในขณะนี้ ต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกพืชอินทรีย์หรือในขั้นแรกอาจหลีก เลี่ยงไม่ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มาจากการตัดต่อพันธุกรรม เช่นข้าวโพดและถั่วเหลืองที่นำเข้า โดยอาหารสัตว์อนุโลมให้ใช้อาหารจากธรรมชาติหรือวัตถุดิบที่อนุญาตให้ใช้ได้ ตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
ข้อกำหนดที่ 3 การเลี้ยงปศุสัตว์อินทรีย์
3.1 อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ต้องใช้วัตถุดิบที่ผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
3.2 .ในระยะเริ่มปรับเปลี่ยน อาหารต้องมาจากระบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ต่ำกว่า 70%สำหรับสูตรอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง และ 65%สำหรับสูตรอาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยว
3.3 หากผู้ผลิตสามารถแสดงรายละเอียดบ่งชี้ว่า ไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ตามกำหนดได้หน่วยตรวจรับรองสามารถกำหนด ปริมาณสูงสุดและคุณลักษณะของวัตถุดิบที่อนุญาตให้ใช้ทดแทนได้ ..รวมทั้งกำหนดระยะเวลา และแหล่งที่มาของวัตถุดิบต้องไม่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
5. การดูแลสุขภาพสัตว์ เน้นการคัดแม่พันธุ์มาจากแม่ที่ ไม่มีปัญหาสุขภาพ เลี้ยงง่ายในสภาพแวดล้อมของฟาร์ม ร่วมกับการจัดการคอกโรงเรือนที่อยู่อาศัยที่ดี สะอาด สบาย และจัดสวัสดิภาพสัตว์อย่างหมาะสม เลี้ยงแบบธรรมชาติตามความต้องการของแพะแต่ละขนาด มีพื้นที่ออกกำลังกาย ปล่อยสัตว์แทะเล็มและให้แพะมาสัมผัสแสงแดดทุกวันเพื่อส่งเสริมภูมิคุ้มกัน โรคโดยธรรมชาติก่อนขึ้นคอกแพะมีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อจุ่มเท้าซึ่งสอดคล้องกับ มาตรฐานการเลี้ยง
ปศุสัตว์อินทรีย์
5.1 .ภูมิปัญญาไทยการใช้พืชสมุนไพร และน้ำหมักชีวภาพ เรียนรู้การทำสมุนไพรชีวภาพ ดังนี้
5.1.1 สำหรับพ่นคอก ล้างคอกสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก ลดกลิ่นจากพื้นคอกที่มีมูลแพะสะสมใช้น้ำหมัก
ราดมูลแพะใต้คอก อาทิตย์ละครั้ง
- เศษผัก + น้ำตาล+น้ำ 40:10:10 +หัวเชื้อ พด. 2 หมักนาน 7 วัน
5.1.2 สูตรสำหรับผสมน้ำให้สัตว์กิน
- ผลไม้ +น้ำตาล 3:1 + เชื้อธรรมชาติ
5.1.3 สูตรกำจัดแมลงในคอก อาบน้ำแพะ กำจัดเห็บ
- ข่า บอระเพ็ด ตะไคร้หอม สะเดา + น้ำตาล 3:1
5.1.4 สูตรป้องกันกำจัดพยาธิผสมน้ำให้แพะกิน
- หมักสมุนไพรกำจัดพยาธิ เช่น ใบชุมเห็ดเทศ บอระเพ็ด ใบมะรุม + น้ำตาล 3:1 หมักด้วย
หัวเชื้อ พด.7 อัตราส่วน 5:1 นาน 20 วัน
6. การจัดการฟาร์มทั่วไป จัดสภาพแวดล้อมไกล้เคียงกับ ธรรมชาติ มีการดูแลสัตว์อย่างเอาใจไส่ คอกสัตว์แบ่งตามขนาดและประเภทสัตว์ เน้นการจัดการง่าย ไม่แออัด สัตว์อยู่สบาย ให้อยู่รวมฝูง ทำให้สัตว์มีสัมพันธ์ภาพกันมีพื้นที่ปล่อยออกกำลัง ทำให้สัตว์ไม่เครียดมีความสุข
7. โรงเรือนและการเลี้ยงปล่อย โรงเรือนยกพื้นสูงเหมือนคอกแพะทั่วไป พื้นไม้ระแนง มีความห่างให้ขี้แพะไม่ตกค้าง มีการระบายอากาศตามธรรมชาติอย่างเพียงพอ
8. การจัดการมูลสัตว์ ไม่เทพื้นซีเมนต์พื้นคอกที่รอง รับมูลสัตว์ น้ำปัสสาวะและมูลสัตว์ภายใต้คอกจะถูกดูดซับด้วยดิน มีการพ่นน้ำหมักชีวภาพสัปดาห์ละครั้งเพื่อให้มูลไม่เหม็นและย่อยสลายเร็ว ขึ้นขนมูลออกเดือนละครั้ง นำมาทำปุ๋ยใส่ต้นพืช หมุนเวียนธาตุอาหาร
9. การจัดการรีดนมแม่แพะรีดนมหมุนเวียนครั้งละ 12-15 ตัว ให้น้ำนมวันละ 25- 30 ลิตร รีดนมอย่างเป็นธรรมชาติ รีดด้วยมือ โดยสังเกตจากแม่แพะเคี้ยวเอื้องอย่างมีความสุขขณะรีดนม ทำให้หลั่งน้ำนมดีมีคุณภาพ เน้นความ
สะอาดเวลารีดนม การทำความสะอาดที่ได้มาตรฐานทุกประการ.
10. การแปรรูปน้ำนม โรงนมขนาดเล็ก ประยุกต์ตามมาตรฐานอาหารขององค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข จนได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP โรงงานแปรรูปน้ำนม โดยมีการออกแบบและการจัดการที่น่าศึกษา
ดังนี้
- โรงงานแยกจากบริเวณเลี้ยงสัตว์
- ทางเข้าภายในโรงงานรับผลิตภัณฑ์เข้า และผลิตภัณฑ์ออกคนละทาง
- ห้องพาสเจอไรซ์เป็นสัดส่วน
- ภาชนะบรรจุไม่บัดกรีด้วยตะกั่ว
- มีห้องเก็บนำนมขนาดเหมาะสมกับปริมาณผลิตภัณฑ์ –ใช้ตู้เย็น
- มีที่ล้างอุปกรณ์และบ่อบำบัดน้ำทิ้ง
- มีตู้เก็บอุปกรณ์ที่มิดชิดกันแมลงและสัตว์รบกวน
11. การตลาด เนื่องจากมีปริมาณน้ำนมน้อย ใช้ระบบขายตรงให้กับสมาชิก และสำรองไว้ขาจรด้วย การผลิตยังสามารถขยายไปยังเครือข่ายได้อีกหากมีความพร้อม
เรียบเรียงโดย
จินตนา อินทรมงคล
ไมตรี ชีวธารณากร
สร้างสรรค์องค์ความรู้โดย
อัคระ ธิติถาวร