ปัจจุบันระบบการเกษตรของโลกอยู่ในช่วงรอยต่อที่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบ เกษตรเชิงเดี่ยว หรือเกษตรเคมีมาสู่การเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวิกฤติโลก ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เช่น ดินน้ำเสื่อมโทรมและมีมลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทาง ชีวภาพลดลง รวมทั้งรสนิยมผู้บริโภคเปลี่ยนไปและมีความห่วงใยต่อสุขภาพและการเลือกซื้อ อาหารที่มีมาตรฐาน ได้แก่ อาหารปลอดภัย การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ ยกตัวอย่าง เช่น มาตรฐาน ThaiGAP, GLOBALGAP, GMP, HACCP,ISO 14001, ORGANIC FOOD, เป็นต้น ทำให้ผู้ผลิตจะต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในโลกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และตามความต้องการของผู้บริโภค
นอกจากนี้ประเทศแถบตะวันตกรณรงรงค์ การผลิตและการบริโภคสินค้าภายในประเทศ และนโยบายของรัฐสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืนมากขึ้น ระบบการผลิตปศุสัตว์ ในระบบอุตสาหกรรมที่มีขนาดการเลี้ยงสัตว์ จำนวนมากในพื้นที่จำกัดแบบขังคอกและหาอาหารมาใหสัตว์ ทำให้มีภาระต้องกำจัดของเสียจากการเลี้ยงสัตว์ หากมีการจัดการที่ไม่ดีก่อเกิดมลภาวะ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่นการกำจัดกลิ่นและมูลสัตว์ รวมทั้งการต้องใช้ยาปฏิชีวนะรักษาสัตว์ หรือผสมในอาหารสัตว์เพื่อการป้องกันโรค ทำให้มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ในการติดฉลากสินค้า ผู้คนมักสับสนกับคำว่า “ธรรมชาติ” และ “อินทรีย์” และหลายคนเข้าใจว่ามี ความหมายเหมือนกัน มาทำความเข้าใจกับทั้งสองคำ
ผลผลิตอินทรีย์ Organic Produce มีความหมายที่เป็น สากลมีกฎระเบียบรองรับที่ชัดเจนและมีระบบการตรวจรับรองที่อำนวยความสะดวกทาง การค้าและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคที่สามารถใช้ติดฉลากสินค้าได้ ซึ่งจะเป็นระบบการผลิตที่ไม่เพียงแต่ไม่ใช้ยาเคมีสังเคราะห์เท่านั้น แต่เป็นระบบการผลิตที่มีหลักปรัชญาเป็นองค์ รวมของสุขภาพสิ่งแวดล้อม สังคมและจริยธรรมต่อสรรพสิ่ง โดยต้องเลี้ยงสัตว์อย่างเอาใจใส่ ป้องกันการเกิดโรคด้วยการส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดี ลดความเครียด ไม่กักขังสัตว์ตลอดเวลา ปล่อยตามพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์ แต่ละชนิด มีโรงเรือนที่ไม่หนาแน่น ระบายอากาศได้ดี ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนสังเคราะห์ สารเร่งการเจริญเติบโต ร่วมกับการให้อาหารสัตว์อินทรีย์ และปลอดจากการใช้วัตถุดิบที่มาจากกระบวนการตัดต่อพันธุกรรม และการจัดการใช้มูลสัตว์ เกื้อกูลกับการปลูกพืช เป็นต้น
ผลผลิตธรรมชาติ Natural Produce จะมีความหมายที่กว้างและไม่มีกฎระเบียบที่เป็นคำนิยาม ที่ชัดเจนรองรับส่วนมากเป็นการสร้างความแตกต่างของสินค้าที่เหนือกว่าสินค้า ปกติทั่วไปในระบบฟาร์ม อุตสาหกรรม เป็นเกษตรกรรมทางเลือกใหม่ เช่น การไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ สารสังเคราะหเร่งการเจริญเติบโต หรือผลพลอยได้จากสัตว์ (เนื้อกระดูกป่น) ด้วยการเลี้ยงสัตวที่ไม่หนาแน่น ปล่อยให้สัตว์ได้อยู่กินแบบธรรมชาติมากที่สุด เป็นต้น เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก สารเคมีตกค้างในเนื้อสัตวที่ทำให้ก่อเกิดมะเร็งและการดื้อยาปฏิชีวนะ โรควัวบ้า เป็นต้น โดยเป็นการสร้างแบรนด์ สินค้าของผู้ประกอบการร่วมกับผู้ผลิต เช่น ในประเทศไทย บริษัท เซนทรัลฟู๊ด ร่วมกับบริษัทสามพราน ฟาร์มได้ผลิตเนื้อสุกรธรรมชาติภายใต้แบรนด์ Natural Meat โดยร่วมกับนักวิชาการกรมปศุสัตว์ (ศูนย์อินทรีย์) ทำการวิจัยร่วมในการพัฒนาเทคนิค Natural Meat ซึ่งในต่างประเทศการติดฉลากสินค้า “Natural” จะต้องแจ้งว่า natural อย่างไร เช่น เนื้อวัวธรรมชาติ natural beef-Hormone free จากรัฐทัสมาเนียประเทศออสเตรเลียที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เป็นต้น
เนื่องจากในประเทศไทยการผลิตสัตว์ปีก และสุกรเชิงอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าตามเทคโนโลยี ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นตลอดเวลาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในการเริ่มต้นพัฒนา สินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น การสร้างเอกลักษณ์ของสินค้าเป็นผลผลิตธรรมชาติจึงเป็นการเริ่มต้นการ พัฒนาก่อนที่จะเป็นสินค้าอินทรีย์ ซึ่งมีมาตรฐานการผลิตที่สูง และมีข้อจำกัดเชิงโครงสร้างในการหาอาหารสัตว์อินทรีย์ได้อย่างพอเพียง
สำหรับการตรวจรับรองแบบสมัครใจว่าสินค้าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่มี 3 แนวทาง คือ
การตรวจยืนยันโดยผู้ประกอบการ First-party verification เช่นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เป็นผู้ตัดสินใจใช้มาตรฐานใดมาตรฐาน หนึ่ง มีระบบตรวจประเมินกันเองภายในกลุ่ม และผู้บริโภคยอมรับโดยมีห่วงโซ่การตลาดแบบขายตรง เช่น ตลาดนัดสีเขียว เป็นต้น
การตรวจยืนยันโดยผู้ซื้อ Second-party verification บริษัทกำหนดให้ผู้จัดหาสินค้าปฏิบัติตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนด และเป็นผู้ควบคุมตรวจสอบว่าผู้จัดหาสินค้าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานจริง
การตรวจยืนยันโดยหน่วยงานอิสระThird-party certification บริษัทกำหนดให้ผู้จัดหาสินค้า ปฏิบัติตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนด เช่นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แต่ให้หน่วยงานอิสระที่ไม่มีส่วนได้เสียเป็นผู้ตรวจสอบว่าผู้ผลิตมีกระบวน การผลิตเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน
เรียบเรียงโดย จินตนา อินทมงคล ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและขยายพันธุ์สัตว์