เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

กรมปศุสัตว์สัมมนาความปลอดภัยอาหาร (86/2555)

สัตวแพทย์หญิงวิมลพร ธิติศักดิ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐาน ISO 22000 : 2005 Food Safety Management System Requirement ” ในวันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2555 เวลา 08.30 น. ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพฯ โดยมีสัตวแพทย์หญิงนิดารัตน์ ไพรคณะฮก ผู้อำนวยการส่วนรับรองด้านการปศุสัตว์กล่าวรายงาน พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนากว่า 40 คน

 

รองอธิบดีฯวิมลพร กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร          (Food Safety) โดยเฉพาะสินค้าปศุสัตว์ต้องสะอาดและปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาทิ สารตกค้าง ยาปฏิชีวนะตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ และโรคสัตว์ต่าง ๆ กระบวนการผลิตในโรงงานจะต้องมีการป้องกันหรือกำจัดการปนเปื้อนของเชื้อโรค สิ่งสกปรกต่างๆ จากโรงงาน พนักงาน อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ หรืออันตรายต่าง ๆ ตลอดกระบวนการผลิต รวมทั้งต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด มีคุณภาพ และปลอดภัย เหมาะสมต่อการบริโภค ประกอบกับขณะนี้ สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศกำลังเข้าสู่ระบบการค้าเสรีตามเงื่อนไขขององค์กรการค้าโลก (WTO) ปัญหาการนำมาตรการทางภาษีมาใช้ เพื่อเป็นเหตุผลในการกีดกันทางการค้า มีแนวโน้มลดลง จึงทำให้แต่ละประเทศนำเอามาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านสุขอนามัยในการผลิต และสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของอาหารเพื่อบริโภคมาใช้เป็นเงื่อนไข ในการกีดกันทางการค้ามากขึ้น มาตรการดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อการพัฒนา การผลิตสินค้าเกษตรของประเทศไทย ซึ่งจะต้องมีการควบคุมและพัฒนาระบบ การผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศที่กำหนดขึ้น

ระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ถือได้ว่าเป็นระบบมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ระบบนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อกำหนดกรอบมาตรฐานสากลที่ครอบคลุมข้อกำหนดทุกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านอาหาร และความปลอดภัย ด้านอาหารที่มีการบังคับใช้ในทางการค้าสินค้าอาหารอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารมีมาตรฐานเดียวที่สอดคล้องกัน ครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงสินค้าสำเร็จรูปและเป็นมาตรฐานที่ตรวจประเมินได้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเป็นระบบที่พัฒนามาจากหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP)และการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม หรือ Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP)

                       การนำระบบการจัดการความปลอดภัยฯ มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและสินค้าปศุสัตว์ เกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตอาหารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร จะส่งผลให้การผลิตอาหารและสินค้าปศุสัตว์มีการพัฒนาและเสริมสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งเป็นการยกระดับการบริโภคสินค้าปศุสัตว์ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น

รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันธุรกิจต่างๆมีการแข่งขันกันมากขึ้น โดยเฉพาะ

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีบทบาทในด้านความปลอดภัยในการผลิตอาหาร การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคได้กลายเป็นข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับผู้ผลิต   การนำระบบการบริหารคุณภาพที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยในการประกอบธุรกิจ จะทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันและสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และความปลอดภัยมากขึ้น การผลิตสินค้าปศุสัตว์ให้มีคุณภาพ ปลอดภัย เหมาะสมต่อการบริโภค จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการผลิตทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบ โรงงานผลิตอาหาร การผลิตระดับฟาร์ม โรงงาน การแปรรูป การจัดจำหน่าย จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ปัจจุบัน ผู้ประกอบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ได้มีการนำ GMP และ HACCP มาใช้ โดยมุ่งหมายให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภค แต่ในอนาคต GMP และ HACCP อาจไม่ใช่ระบบพื้นฐานสำหรับการผลิตอาหารแล้ว ISO 22000 ซึ่งจะเป็นระบบพื้นฐาน การจัดการด้านคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตอาหารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร ระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อกำหนดกรอบมาตรฐานสากลที่ครอบคลุมข้อกำหนดทุกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านอาหาร และความปลอดภัย ด้านอาหารที่มีการบังคับใช้ในทางการค้าสินค้าอาหารอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารมีมาตรฐานเดียวที่สอดคล้องกัน ครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงสินค้าสำเร็จรูปและเป็นมาตรฐานที่ตรวจประเมินได้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล การนำระบบการจัดการความปลอดภัยฯ มาประยุกต์ ใช้ในการผลิต จะทำให้การควบคุม และการตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความมั่นใจในการควบคุมและป้องกันอันตรายที่อาจปนเปื้อนกับอาหารไปสู่ผู้บริโภคได้

กรมปศุสัตว์ ในฐานะที่มีบทบาทในด้านความปลอดภัยอาหาร และสินค้าปศุสัตว์ จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการปรับตัว โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ หรือให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร

“ กรมปศุสัตว์ จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐาน ISO 22000 : 2005 Food Safety Management System Requirement” ประจำปี 2555 เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารความปลอดภัยฯ แก่เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ เพื่อนำไปใช้และสามารถนำไปตรวจสอบหรือให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่มีความปลอดภัย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนรับรองด้านการปศุสัตว์ 0 - 2653 - 4444   ต่อ 3155 ” รองอธิบดีกล่าว  

**************************************

ข้อมูล : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

ข่าว : พิจารณา สามนจิตติ นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์