เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

หมูหลุม - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

สารบัญ

                ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                1) ความท้าทายของกระแสโลก ทำให้ต้องปรับวิธีคิดการผลิตการเกษตร เพื่อสร้างอาหารเลี้ยงมนุษย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่
1.1) การเสื่อมของดินจากกิจกรรมของมนุษย์
1.2) น้ำขาดแคลนและแหล่งน้ำเกิดมลพิษ มีเชื้อโรค จากการเกษตรเคมี และอุตสาหกรรม
1.3) ภาวะโรคร้อน
1.4) ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
1.5) แหล่ง พลังงานจากฟอสซิลไกล้หมด บทบาทการเลี้ยงสัตว์ในโลกต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง สัตว์เป็นตัวใช้ทรัพยากร มนุษย์มีความต้องการอาหารผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพิ่มขึ้น หากมีการจัดการที่ดีปศุสัตว์จะเป็นสิ่งส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ความอุดมสมบรูณ์ของดิน ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

                2) ระบบการเลี้ยงสัตว์ผสมผสานการปลูกพืช จะมีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและเป็นเกษตรกรรายย่อย การเลี้ยงสัตว์เป็นความจำเป็นต่อวิถีชีวิตของคนจน เนื่องจากมีข้อจำกัดคือมีพื้นที่ถือครองน้อย ทรัพยากรจำกัด
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับแนวคิดนักวิชาการ นักพัฒนา นักส่งเสริมเพื่อรับกับกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ( เรียบเรียงจาก Why the need to change the mind set หนังสือ Livestock and Wealth Creation) จำเป็นต้องปรับปรุงการจัดการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อยให้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น โดย

                2.1 ต้องมีการ” เขียนตำราการเลี้ยงสัตว์ใหม่” เรื่อง วิธีการปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรรายย่อย ซึ่งปกติมีแต่ตำราที่เป็นการผลิตเชิงเดี่ยวจากการทำฟาร์มแบบตะวันตก ยังไม่มีตำราเกี่ยวกับการเกษตรองค์รวม ซึ่งหากเกษตรกรพัฒนาการเลี้ยงสัตว์จะเป็นการเพิ่มรายได้และแก้ปัญหาความยาก จน

                2.2 ให้คุณค่า” การยอมรับทางวิชาการ” ใน การศึกษาวิธีการที่จะปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อย ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ลองผิดลองถูกจนเห็นผลเชิงประจักษ์ ซึ่งบางอย่างวิทยาศาสตร์เชิงเดี่ยวไม่สามารถพิสูจน์ได้ มีความซับซ้อนของธรรมชาติที่มนุษย์เรียนรู้ไม่หมดต้องมีการศึกษาตลอดเวลาไม่ หยุดนิ่ง เพื่อสร้างความอยู่ดีกินดีและลดปัญหาความยากจนในชนบท

                2.3 ให้ความสำคัญ” กระบวนการมีส่วนร่วม” ใน การวิจัยและพัฒนา เช่นการให้เกษตรกรและผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียกำหนดแผนชุมชนในการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ของชุมชน เช่น กรณีการเลี้ยงหมูหลุม การทำเกษตรอินทรีย์ องค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านมีมากมายกระจัดกระจาย นักวิชาการจำเป็นต้องนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสนับสนุนต่อยอดให้เกิดเป็น นวัตกรรม ซึ่งเป็นการปฏิรูปแนวคิดการทำงานของนักวิชากาในยุคใหม่ ”การจัดการความรู้” โดยกระบวนการวิจัย เพื่อท้องถิ่นซึ่งรวมทั้งการสร้างความรู้และการถ่ายทอดความรู้ การเผยแพร่ความรู้ เป็นต้น

                2.4 การปรับเปลี่ยนแนวคิด “การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม” ไม่ แยกตามกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงาน เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของระบบการเกษตรผสมผสาน การปรับปรุงการจัดการเลี้ยงสัตว์จะมีผลกระทบต่อทั้งระบบ

                ดัง นั้นจากแนวโน้มกระแสโลกที่เกิดขึ้น เกษตรกรรายย่อยจะอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และพัฒนาใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตแบบผสมผสานทำให้มีผลผลิตหลายอย่างออกสู่ตลาด ลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชและตลาดต่างประเทศ

                3. การ ส่งเสริมสนับสนุนควรทำครบวงจร ตั้งแต่ ความต้องการเนื้อสุกรของชุมชน ปัจจัยการผลิต ได้แก่ พันธุ์ อาหารสัตว์ สารธรรมชาติจากการหมักจุลินทรีย์ สมุนไพร ระบบการผลิต การแปรรูปโรงฆ่าขนาดที่พอเหมาะและเหมาะสมกับวัฒนธรรมการบริโภคในท้องถิ่น การจัดการตลาดควรเป็นการบริโภคในท้องถิ่น รวมทั้งกระบวนการกลุ่ม เพื่อเชื่อมโยงการสนับสนุนปัจจัยการผลิตในชุมชน เช่นการปลูกพืช ข้าวและโรงสีชุมชน ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จในการปฏิบัติ เป็นต้น

                ความรู้การเลี้ยงหมูหลุม มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากทุกขั้นตอน ดังนั้น กรมปศุสัตว์ควรเสริมสร้างศักยภาพของนักวิชาการและนักส่งเสริม ในด้านแนวทางการพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ซึ่ง เป็นการสร้างความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการ ปฏิบัติจริง แทนการอบรมแบบเดิมซึ่งเกษตรไม่นำไปปฏิบัติ โดยกระบวนการวิจัยจะอยู่ในเนื้องานปกติของนักพัฒนานั่นเอง

 

เรียบเรียงโดย : นางจินตนา อินทรมงคล
ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและขยายพันธุ์สัตว์    กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์