เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

Press Release

การดูแลสุขภาพสัตว์ปีกในช่วงฤดูฝน (บทความที่ 3/2557)

ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 ในฟาร์มไก่ไข่ ที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และต่อมาได้มีการแพร่ระบาดออกไปอย่างต่อเนื่องดังนี้ ปี 2547 พบการระบาดทั้งหมด 783 จุด ปี 2548 พบการระบาดทั้งหมด 110 จุด ปี 2549 การระบาดลดลงเหลือแค่ 2 จุด ปี 2550 พบการระบาดทั้งหมด 4 จุด ปี พ.ศ. 2551 เป็นปีสุดท้ายที่ประเทศไทยเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยพบการระบาดในพื้นที่ 4 ตำบล (จุด) 4 อำเภอ 4 จังหวัด จุดเกิดโรคดังกล่าว ได้แก่ 1) ฟาร์มไก่เนื้อตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ (23 มกราคม 2551) 2) ไก่พื้นเมืองตำบลสากเหล็ก อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร (25 มกราคม 2551) 3) ไก่พื้นเมืองตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย (9 พฤศจิกายน 2551) 4) ไก่พื้นเมืองตำบลทุ่งโพ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี (13 พฤศจิกายน 2551)

เครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีกรมปศุสัตว์(บทความที่ 1/2557)

การพัฒนาสัตว์พันธุ์ดี เพื่อให้ได้พันธุกรรมที่ดีและเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ของเกษตรกรและประชาชน  ทั่วไป เป็นงานหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของกรมปศุสัตว์ โดยเมื่อได้พัฒนาพันธุ์หรือพันธุกรรมที่ดี ได้มีการนำพันธุ์สัตว์ พร้อมการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์สู่ผู้ใช้ (user) ในรูปแบบของเครือข่ายของกรมปศุสัตว์ ปัจจุบันเครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีของกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการในหลายชนิดพันธุ์ ได้แก่ สัตว์ปีก สุกร แพะ แกะ โคเนื้อ โคนม และกระบือ สำหรับตัวอย่างของเครือข่ายกรมปศุสัตว์ที่ประสบความสำเร็จจนสร้างเป็นอาชีพหลักได้ อาทิ เครือข่ายฟาร์มไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ซึ่งมีกำลังการผลิตลูกไก่กว่า 1.5 ล้านตัว/ปี และยังมีเครือข่ายย่อย ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเพื่อรองรับเครือข่ายหลัก ได้แก่ เครือข่ายไก่ขุน เครือข่ายโรงฆ่า เครือข่ายร้านจำหน่ายไก่สด เครือข่ายร้านอาหาร เครือข่ายตู้ฟักไข่ และยังมีเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงไก่ในระบบธรรมชาติในหมู่บ้าน

 

 กิจกรรมเครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีกรมปศุสัตว์ สอดคล้องกับหลักการดำเนินงานยุคใหม่ของ     กรมปศุสัตว์ที่การปฏิบัติงานต้องมุ่งถึงความสุข 3 ประการ ได้แก่ Farmers Happiness หมายถึง ความสุขของเกษตรกร Worker Happiness หมายถึง ความสุขของผู้ปฏิบัติงาน และ Nation Happiness หมายถึง ความสุขของประเทศ โดยเกษตรกรมีความสุขที่มีอาชีพทางเลือกที่สามารถสร้างรายได้จนเป็นอาชีพหลัก เจ้าหน้าที่มีความสุขที่เกษตรกรหรือผู้รับบริการ มีความสุขจากผลงานการวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ประเทศมีความสุขที่เกษตรกรหรือผู้ปฏิบัติงานมีความสุข และได้มีอาชีพทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรและประชาชน โดยเป็นอาชีพที่เกิดจากพันธุ์สัตว์ของไทย พัฒนาโดยองค์ความรู้คนไทย ใช้ประโยชน์โดยคนไทย มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นสินค้าไทย สร้างความยั่งยืนและมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย

หากท่านใดสนใจที่จะประกอบอาชีพด้านการเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ปีก แพะ แกะ โคเนื้อ โคนม กระบือ หรือสุกร แต่ไม่ทราบว่าจะหาซื้อพันธุ์สัตว์ได้ที่ใด สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ 69/1 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หรือ ทางโทรศัพท์เบอร์0-2653-4450 ในวันและเวลาราชการ เจ้าหน้าที่ยินดีให้บริหารข้อมูลทั้งแหล่งพันธุ์สัตว์ และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ชนิดนั้นๆ ด้วย เพื่อให้เกิดความสุขทั้ง 3 ประการข้างต้น ดังหลักการดำเนินงานยุคใหม่ของกรมปศุสัตว์ที่ตั้งไว้ต่อไป

********************************

ข้อมูล : สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์                                                       เรียบเรียง : เพ็ญศิริ ดวงอุดม นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ

สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ ณ 29 ก.ย.56 (94/2556)

นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ เคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก นั้น กรมปศุสัตว์ได้สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 จนถึง ปัจจุบัน (วันที่ 29 กันยายน 2556) พบว่า มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจำนวน 14 จังหวัด คือ อยุธยา ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ เลย แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ อุทัยธานี บุรีรัมย์ จำนวน 52 อำเภอ 128 ตำบล 454 หมู่บ้าน เกษตรกร 21,547 ราย มีสัตว์เลี้ยงที่ได้รับผลกระทบจำนวน 356,406 ตัว เป็นโค 28,244 ตัว กระบือ 13,513 ตัว สุกร 13,716 ตัว แพะ 422 ตัว แกะ 18 ตัว ไก่พื้นเมือง 171,090 ตัว ไก่ไข่ 529 ตัว ไก่เนื้อ 78,604 ตัว เป็ดไข่ 7,808 ตัว เป็ดเนื้อ 42,450 ตัว ห่าน 12 ตัว เป็นแปลงหญ้า จำนวน 648 ไร่

กรมปศุสัตว์เตือนภัยน้ำท่วมพร้อมสำรองเสบียงสัตว์กว่า 5 ล้านกิโลไว้ช่วยเหลือแล้ว (89/2556)

นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่หลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วมนั้น กรมปศุสัตว์ได้สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 จนถึง ปัจจุบัน พบว่า มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจำนวน 3 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ เลย และปราจีนบุรี พื้นที่ 4 อำเภอ 7 ตำบล 28 หมู่บ้าน เกษตรกร 957 ราย มีสัตว์เลี้ยงที่ได้รับผลกระทบจำนวน 45,260 ตัว เป็นโค 973 ตัว กระบือ 312 ตัว สุกร 710 ตัว เป็ด 2,770 ตัว ไก่พื้นเมือง 40,175 ตัว ไก่เนื้อ 320 ตัว

อธิบดีกรมปศุสัตว์ลงพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย (93/2556)

นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ลงพื้นที่ อำเภอกบินทร์บุรี และ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 27 กันยายน 2556 เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัย ซึ่งได้เตรียมเสบียงอาหารสัตว์จำนวนกว่า 500 ฟ่อน เวชภัณฑ์สัตว์ แร่ธาตุ รวมทั้งหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ให้ความช่วยเหลือ

กรมปศุสัตว์ลงพื้นที่ช่วยเหลือสุนัขบ้านสงเคราะห์ (86/2556)

              กรมปศุสัตว์ โดย นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมกับ นางสาวกัญจนา ศิลปะอาชา ที่ปรึกษาคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำคณะและทีมงานสัตวแพทย์ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือสุนัข แมว กว่า 500 ตัว พร้อมมอบเวชภัณฑ์ยา ผ่าตัดทำหมัน ฉีดวัคซีน ณ บ้านสงเคราะห์สุนัข ป้ามณี แสงจันทร์ จ.ปทุมธานี 

กรมปศุสัตว์ประชุมขับเคลื่อนผลดำเนินงาน โครงการและแผน (85/2556)

                นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนสรุปผลสำเร็จการดำเนินงาน การใช้จ่ายงบประมาณ ปี 2556   การประชุมชี้แจงแผนเงิน แผนงาน โครงการและกิจกรรม ปี 2557 พร้อมมอบนโยบายฯ โดยมีรองอธิบดี ผอ.สำนัก/กอง ชี้แจงผลและแผนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการกรมปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกว่า 700 คน ระหว่างวันที่ 11 - 13 กันยายน 2556 ณ โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช โฮเทลแอนรีสอร์ท จ.ชลบุรี

กรมปศุสัตว์ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ (90/2556)

กรมปศุสัตว์ จัดเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ซึ่งได้เตรียมเสบียงอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์สัตว์ แร่ธาตุ รวมทั้งออกหน่วยปศุสัตวเคลื่อนที่ให้ความช่วยเหลือ

ปศุสัตว์เตือนสู้ภัยน้ำท่วม (91/2556)

อุทกภัยก่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์หากมีการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้ได้รับผลกระทบน้อยลง

กรมปศุสัตว์ตั้งศูนย์ปฎิบัติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (92/2556)

กรมปศุสัตว์ตั้ง “ ศูนย์ปฎิบัติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านปศุสัตว์ ” ให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า โดยตั้ง ณ กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ พร้อมออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ โดย นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นำคณะลงพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกร