เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

Press Release

กรมปศุสัตว์สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค (79/2556)

               กรมปศุสัตว์ มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ดูแล ความปลอดภัยการผลิตสินค้าปศุสัตว์เพื่อการบริโภคตลอดวงจรการผลิต ตั้งแต่การผลิต อาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ รวมถึง สถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ ให้เกิดความปลอดภัยต่อการบริโภค มีการควบคุมความปลอดภัยในสินค้าปศุสัตว์ให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและสารตกค้างต่างๆ โดยเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ น้ำใช้ในกระบวนการผลิต ไขมันสัตว์ เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ ปศุสัตว์ในทุกชนิดสัตว์ที่ใช้บริโภคตลอดห่วงโซ่การผลิตทั่วประเทศ ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ทั้งวงจรอีกด้วย

กรมปศุสัตว์ผุดโปรเจคพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลด้านปศุสัตว์(78/2556)

กรมปศุสัตว์ร่วมมือกับคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ตรวจรับรองโรงฆ่าสัตว์และสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ให้ได้มาตรฐานอาหารฮาลาล เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ที่นับถือศาสนาอิสลามทั้งภายในและต่างประเทศ รองรับ AEC ส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศไทย

กรมปศุสัตว์แจ้งผลการจับกุมผู้กระทำผิด พรบ.โรคระบาดสัตว์เดือนมิ.ย. 30 คดี มูลค่ากว่า 4 แสนบาท (77/255

นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้รับรายงานผลการจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องจากกองสารวัตรและกักกัน ว่า ได้จับกุมสัตว์และซากสัตว์จากการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 30 ราย แยกเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 จำนวน 6 คดี และเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 จำนวน 4 คดี

 

กรมปศุสัตว์ระดมสมอง เชิญสาธารณสุข ท้องถิ่น กทม. หาแนวทางกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าหมดจากไทยปี 63(76/2556)

กรมปศุสัตว์ ร่วมกับกรมควบคุมโรค กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสมองทำแผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปีพ.ศ.2563 เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 29 – 31 กรกฎาคม 2556 ณ โรงแรมหนองคาย ไวท์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย โดยมี นายสัตวแพทย์วิริยะ แก้วทอง ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556

กรมปศุสัตว์ ยืนยันมีมาตรการควบคุม ป้องกันโรควัณโรคในปางช้าง (75/2556)

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้กล่าวถึงการเกิดโรควัณโรคในช้าง กรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพช้างมีมาตรการควบคุมโรคในช้างในปางช้างอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรควัณโรค ซึ่งดำเนินการทั้งหน่วยงานภายในกรมฯ และประสานกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งจากการสำรวจช้างที่อาศัยอยู่ในปางช้างที่ได้รับมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ จำนวน 4 ปาง เฉลี่ยการสำรวจ 90 เชือก/ปีนั้น ไม่พบช้างที่ป่วยในระยะแพร่เชื้อวัณโรคจากตัวอย่างที่ส่งตรวจ แต่พบช้างที่ให้ผลบวกต่อการทดสอบ จำนวน 4 เชือก ซึ่งช้างในกลุ่มนี้กรมปศุสัตว์ได้นำมาแยกเลี้ยงไว้ที่ศูนย์บริบาลช้างบ้านปางหละ ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคแก่ช้างเชือกอื่นๆ ต่อไป

กรมปศุสัตว์ร่วม FAO จัดระดมสมองเพื่อป้องกันและควบคุมH7N9ในเอเซีย (74/2556)

กรมปศุสัตว์ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จัดประชุมหารือด้านนโยบายและเทคนิคในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในเอเชีย ระหว่างวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2556 โดยมี นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ณ โรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน (ติดท่าน้ำสี่พระยา) ถนนเจริญกรุง บางรัก กรุงเทพฯ

กระบือนมพันธุ์เมซานี (บทความ 8/2556)

กรมปศุสัตว์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เลี้ยงดูกระบือนมพันธุ์เมซานี (Mehsani) ที่รัฐบาลอินเดียน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2542 จำนวน 50 ตัว ซึ่งได้นําไปเลี้ยงขยายพันธุ์และศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ที่หน่วยบํารุงพันธุ์สัตว์พบพระ ศูนย์วิจัยและบํารุงพันธุ์สัตว์ตาก จังหวัดตาก ต่อมาย้ายไปเลี้ยงดูที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์บุรีรัมย์ ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในความดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง

งานวันแพะแห่งชาติประจำปี ๒๕๕๖ (บทความที่ 7/2556)

แพะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่นเดียวกับโค กระบือ แต่จะมีขนาดเล็ก โดยมีขนาดน้ำหนักตัวประมาณ ๓๕-๓๖ กิโลกรัม และมีความสูงเฉลี่ย ๕๕-๑๐๐ เซนติเมตร ซึ่งขนาดตัวจะแปรผันไปตามแต่เพศ พันธุ์ สิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านสุขภาพสัตว์ และคุณภาพของอาหารที่แพะได้รับ

การฝึกอบรมหลักสูตร “การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่(GMP) สำหรับผู้ประกอบการ(73/2556)

กรมปศุสัตว์จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ (GMP) สำหรับผู้ประกอบการ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ (GMP) สำหรับผู้ประกอบการ และเพื่อให้ผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับไปแนะนำพนักงานให้ดำเนินการปรับปรุงศูนย์รวบรวมไข่ให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งผลิตไข่ที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการนำการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ (GMP) ไปประยุกต์ใช้ และดำเนินการขอรับรองการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี นายสัตวแพทย์    สรวิศ ธานีโต ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม ในวันที่ 11 มิถุนายน 2556 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ จังหวัดนนทบุรี

งานแพะแห่งชาติครั้งที่ 10 (72/2556)

                 ประกวดแพะชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน “ งานแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ” ประจำปี 2556 โดยมี นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเปิดงานฯ ในวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 16.00 น. ณ ลานอเนกประสงค์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จัดโดยกรมปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 1 ร่วมกับจังหวัดสระบุรี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี เครือข่าย/ชมรมผู้เลี้ยงแพะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง