เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

งานวิจัย / ผลงานวิชาการ กสส.

การศึกษาผลของอายุและน้ำหนักแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝด

การศึกษาผลของอายุและน้ำหนักแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝด

นายธนจิตร์  ฮุ่นตระกูล 1 และ  นายสุพร  คงเกตุ 1

บทคัดย่อ

            การศึกษาผลของอายุแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝดโดยใช้แพะพันธุ์บอร์ จำนวน 45 ตัว ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด มี 3 ซ้ำ  แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามอายุแพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรก คือ 4 8 และ 10 เดือน และศึกษาผลของน้ำหนักแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝด  โดยใช้แพะพันธุ์บอร์  28   ตัวของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช    ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการให้ลูกแฝด โดยใช้การทดสอบ T-test แบ่งเป็น  2  กลุ่ม  ตามช่วงน้ำหนัก คือ 15 – 19 กิโลกรัม และ 20 – 25 กิโลกรัม พบว่า อายุแพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรก คือ 4  8  และ 10 เดือน  มีค่าเฉลี่ยของการให้ลูก เท่ากับ 1.00 1.13 และ 1.13 ตัวตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ   การผสมแม่พันธุ์แพะครั้งแรกตามน้ำหนักตัว โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ การผสมพันธุ์ที่ช่วงน้ำหนัก 15 – 19 และ 20 – 25  กิโลกรัม พบว่าแม่แพะมีค่าเฉลี่ยของการให้ลูก เท่ากับ 1.07 และ 1.15 ตัว ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ  และจากการศึกษาอัตราการตายของลูกแพะก่อนหย่านม ( 3 เดือน )  พบว่า จากจำนวนลูกแพะทั้งหมด 37 ตัว แบ่งเป็น ลูกแพะโทน จำนวน 31 ตัว และ ลูกแพะแฝด จำนวน 6 ตัว มีลูกแพะตาย จำนวน 3 และ 1 ตัว ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นอัตราการตายของลูกแพะก่อนหย่านม เท่ากับ 9.68 และ 16.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


1 ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช

ดาวน์โหลดเรื่องเต็ม