เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

งานวิจัย / ผลงานวิชาการ กสส.

การบริหารจัดการโครงการธนาคารโค-กระบือโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่บ้านโนนพอก จ.สกลนคร

การบริหารจัดการโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ โดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่บ้านโนนพอก ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร
โดย ธีรวิทย์ ขาวบุปผา

บทคัดย่อ

                         การศึกษาการบริหารจัดการโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ โดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่บ้านโนนพอก ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลโดยทั่วไปของเกษตรกร  การจัดการดูแลโค-กระบือ ของเกษตรกร  ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม และความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ

                        ประชากรและขนาดตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกรสมาชิกโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ในพื้นที่บ้านโนนพอก ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร จำนวน 60 ราย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด สูงสุดและการศึกษาเชิงลึกจากการสนทนากลุ่ม (Focus group interview)

                       ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรเป็นเพศชาย และเพศหญิงอย่างละเท่ากัน เกษตรกร   ร้อยละ 38.33 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี  เฉลี่ยมีอายุ 48.03 ปี  เกษตรกรร้อยละ 80.00  จบการศึกษาระดับประถมศึกษา  ร้อยละ38.33 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนอยู่ระหว่าง  3 - 4  คน  เฉลี่ยครัวเรือนละ  4.96  คน  ร้อยละ 55.00 มีแรงงานในภาคการเกษตรอยู่ระหว่าง 1 - 2  คน  เฉลี่ยครัวเรือนละ 2.65  คน  เกษตรกรร้อยละ 38.33 มีพื้นที่ถือครองอยู่ระหว่าง 1-10 ไร่ เฉลี่ยครัวเรือนละ 18.45 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 51.67 ประกอบอาชีพการทำนาเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 56.67 เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 59,566.66  บาท           

                      เกษตรกรร้อยละ  91.67   ได้รับทราบข้อมูลโครงการจากผู้นำท้องถิ่นคือกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน  เกษตรกรร้อยละ 51.67 ได้รับโคเพศเมียรายละ  1  ตัว และร้อยละ 48.33 ได้รับกระบือเพศเมียรายละ 1 ตัว เกษตรกรร้อยละ 80.00 ได้รับสัตว์ที่มีสภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี เกษตรกรร้อยละ 56.67 จะเลี้ยงแบบปล่อยฝูงร่วมกับผูกเชือกหรือขังคอกเป็นบางเวลา  เกษตรกรร้อยละ 35.00 ใช้จากแหล่งหญ้าธรรมชาติร่วมกับหญ้าตนเอง เกษตรกรร้อยละ 53.33 ใช้พ่อพันธุ์ผสม เกษตรกรร้อยละ 100.00  ได้รับการตรวจเยี่ยมจากเจ้าหน้าที่ เกษตรกรร้อยละ 100.00 ได้รับบริการตรวจสุขภาพสัตว์ 

                      เกษตรกรร้อยละ 98.33 ได้รับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เกษตรกรร้อยละ 81.67 ได้รับบริการรักษาสัตว์ป่วย และเกษตรกรร้อยละ  46.67 ได้รับบริการผสมเทียม เกษตรกรร้อยละ 100.00 ได้แจ้งลูกเกิดให้เจ้าหน้าที่ทราบ  แม่โค-กระบือร้อยละ 98.33 ให้ลูกแล้ว มีเพียงร้อยละ 1.67 ที่ยังไม่ได้ผลผลิต แต่กำลังตั้งท้อง                    เกษตรกร ร้อยละ 98.33 สมัครใจรวมกลุ่มด้วยตนเอง เกษตรกรร้อยละ 56.67 ได้รับการชักชวน เกษตรกรร้อยละ 53.33 คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์  และเกษตรกรร้อยละ 18.33 ศรัทธาในผู้นำกลุ่ม เกษตรกรที่มีตำแหน่งบริหารในกลุ่ม ร้อยละ 100.00 จะมีทำ หน้าที่ในกลุ่มที่ชัดเจน คือ ติดตามและรายงานจำนวนสัตว์ในกลุ่ม แจ้งข้อมูลข่าวสารแก่สมาชิก และรับเรื่องจากเกษตรกรเพื่อแจ้งให้ส่วนราชการทราบ  เกษตรกรร้อยละ 80.00 ได้เข้าร่วมประชุมกลุ่มสม่ำเสมอ  ประโยชน์ที่ได้รับจากการรวมกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 98.33 ได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เกษตรกรร้อยละ 85.00 ได้รับการตรวจเยี่ยมเอาใจใส่จากผู้นำกลุ่ม เกษตรกรร้อยละ 83.33 ได้รับแจกปัจจัยการผลิตต่างๆ เกษตรกรร้อยละ 83.33 ได้มีโอกาสพบปะสังสรรคกับเพื่อนสมาชิก และ เกษตรกรร้อยละ 76.67 ได้รับการตรวจเยี่ยมจากเจ้าหน้าที่ เกษตรกรร้อยละ 100.00 เห็นด้วยกับการรวมกลุ่ม

                        กษตรกรร้อยละ  98.33  มีความเห็นว่าการเลี้ยงโค-กระบือทำให้มีแรงงานและมีรายได้เพิ่มขึ้น   เกษตรกรร้อยละ 88.33  ต้องการที่จะเลี้ยงสัตว์เพิ่ม  เกษตรกรร้อยละ 100.00 มีความพึงพอใจต่อโครงการ  โดยเกษตรกรร้อยละ 90.00 พอใจมาก เกษตรกรร้อยละ 100.00 ยังคงเลี้ยงสัตว์ของ โครงการต่อไป และเกษตรกรร้อยละ 83.33 ต้องการที่จะเลี้ยงสัตว์เพิ่ม

คำสำคัญ : ธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ   การมีส่วนร่วม 


1/เลขทะเบียนผลงาน        54 (2) – 211 – 127
2/ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

ดาวน์โหลดเรื่องเต็ม

วันที่เผยแพร่ 26 กรกฎาคม 2554 เว็บไชต์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

การศึกษาผลการดำเนินโครงการไถ่ชีวิตโค – กระบือ ถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา

การศึกษาผลการดำเนินโครงการไถ่ชีวิตโค – กระบือ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80  พรรษา 5  ธันวาคม 2550 
โดย ธีรวิทย์  ขาวบุบผา 

                   

                        การศึกษาผลการดำเนินโครงการไถ่ชีวิตโค–กระบือ  ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา  5  ธันวาคม 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร การจัดการดูแลเลี้ยงโค-กระบือของเกษตรกร และความพึงพอใจและความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของเกษตรกรที่ เข้าร่วมโครงการ

                        ประชากรและขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกษตรกรสมาชิกโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ที่ได้รับการสนับสนุนโค-กระบือจากโครงการไถ่ชีวิตโค – กระบือ เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  80  พรรษา  5  ธันวาคม 2550  ในพื้นที่ 14 จังหวัด เกษตรกรรวม จำนวน 1,176 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ ใช้ข้อมูลสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าสูงสุด  ค่าต่ำสุด ในการวิเคราะห์

                        ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 52.04 เป็นเพศชาย และร้อยละ 47.96 เป็นเพศหญิง เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 31.63 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี เฉลี่ยเกษตรกรมีอายุ 49.40 ปี เกษตรกรร้อยละ 85.54 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา  ร้อยละ 54.51 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนอยู่ระหว่าง     3 - 4  คน  เฉลี่ยครัวเรือนละ  4.16  คน  ร้อยละ 56.89 มีแรงงานในภาคการเกษตรอยู่ระหว่าง  1 - 2  คน  เฉลี่ยครอบครัวละ  2.65  คน  เกษตรกรร้อยละ 55.61 มีพื้นที่ถือครองระหว่าง 1-10 ไร่  เฉลี่ยมีพื้นที่ถือครองครัวเรือนละ 13.09  ไร่  เกษตรกรร้อยละ 73.56 ประกอบอาชีพการทำนาเป็นอาชีพหลัก  เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 45,163.47 บาท

                    เกษตรกรร้อยละ  52.45  ได้รับทราบข้อมูลจากจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ  เกษตรกรร้อยละ  82.06 รับมอบโคเพศเมีย และร้อยละ 17.94 รับมอบกระบือเพศเมีย เกษตรกรร้อยละ 56.90 ได้รับสัตว์มีสภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี เกษตรกรร้อยละ 51.50 ไม่มีพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์เป็นของตนเอง เกษตรกรร้อยละ 58.0 อาศัยแหล่งหญ้าธรรมชาติ ตามข้างถนน หรือหัวไร่ปลายนา เกษตรกรร้อยละ 77.90 มีการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารโค-กระบือ  เกษตรกรร้อยละ 34.70 อาศัยแปลงหญ้าสาธารณะของหมู่บ้าน  เกษตรกรร้อยละ 1.6 ใช้แรงงานจากโค-กระบือ   เกษตรกรร้อยละ 76.0 ได้ใช้เป็นปุ๋ยคอกอย่างเดียว เกษตรกรร้อยละ 98.5 ทราบว่าต้องคืนลูกตัวแรกให้โครงการ จำนวน  1 ตัว และจะได้กรรมสิทธิ์ในตัวแม่พันธุ์และลูกตัวที่เหลือเมื่อครบสัญญา 5 ปี  เกษตรกรร้อยละ 92.70 ได้รับการชี้แจงเกี่ยวกับระเบียบของโครงการ เกษตรกรร้อยละ 84.80 ได้รับการอบรมเรื่องหลักการเลี้ยงโค-กระบือ เกษตรกรร้อยละ 89.50 ได้รับการอบรมเรื่องอาหารและการให้อาหารโค-กระบือ เกษตรกรร้อยละ 99.20 ได้รับการอบรมเรื่องโรคและการป้องกันโรคในโค-กระบือ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 93.80 ได้รับการตรวจเยี่ยมจากเจ้าหน้าที่  การให้ผลผลิตของแม่โค-กระบือ  พบว่าแม่โค-กระบือของเกษตรกรร้อยละ 33.50 ที่ให้ลูกตัวที่ 1 แล้ว

                   เกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นในลักษณะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง โดย ร้อยละ 75.93 เห็นด้วยระดับปานกลางในการที่จะได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 74.49 เห็นด้วยระดับปานกลางในการทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม ร้อยละ 72.79 เห็นด้วยระดับปานกลางในการทำให้เกิดความยุติธรรมภายในกลุ่ม ร้อยละ 65.90 เห็นด้วยระดับปานกลางในการมีส่วนในการวางแผน ร้อยละ 60.06 เห็นด้วยระดับปานกลางในการมีส่วนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์ ร้อยละ 56.12 เห็นด้วยระดับปานกลางในการมีส่วนในการดำเนินงานของกลุ่ม ร้อยละ 51.02 เห็นด้วยระดับปานกลางในการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล  เกษตรกรร้อยละ 100.00 มีความพึงพอใจต่อโครงการ และร้อยละ 97.80 คาดว่าจะเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับต่อไปเมื่อสัญญาครบ 5 ปี

คำสำคัญ : ธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ , ผลการดำเนินโครงการ


1/เลขทะเบียนผลงาน        54 (2) – 0211 – 128    
2/สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมปศุสัตว์

ปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์ใช้แรงงานกระบือของเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี

โดย ศรณรงค์   ศุภชวลิต     พินิจ  ศรีเจริญ   ทรนง  ลือโสภา 1/                            

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์ใช้ แรงงานกระบือของเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี ในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวม ได้แก่ สภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร สภาพการเลี้ยงกระบือ และการใช้แรงงานกระบือทำการเกษตร ปัญหาการเลี้ยงกระบือ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ

              ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรที่เลี้ยงกระบือส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.05 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา ทำนาเป็นอาชีพหลัก มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว เฉลี่ย 4.90 คน แรงงานในครอบครัวที่ช่วยทำการเกษตรได้ เฉลี่ย 3.34 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 20.98 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 94.46 มีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเอง  รายได้หลักของครอบครัวมาจากการทำนา เฉลี่ย 34,965.24 บาท/ราย/ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือส่วนใหญ่มีเครื่องจักรกลการเกษตร คือ รถไถเดินตาม เกษตรกรมีจำนวนกระบือเฉลี่ย 3.7 ตัว ส่วนใหญ่เป็นแม่กระบือ มีเกษตรกรเพียงส่วนน้อยใช้แรงงานจากกระบือในการเตรียมพื้นที่ทำนา จำนวนกระบือที่เกษตรกรใช้แรงงานเฉลี่ย 0.45 ตัว เกษตรกรทุกรายใช้มูลกระบือในการทำการเกษตร โดยใช้มูลกระบือเฉลี่ย 3,161.46 กก. อาหารหยาบที่ใช้ในการเลี้ยงกระบือเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือทุกรายใช้หญ้าที่ ขึ้นเองตามธรรมชาติในพื้นที่สาธารณะพื้นที่ไม่ใช้ทำนา ร่วมกับการใช้ฟางข้าว เมื่อกระบือเจ็บป่วย จะได้รับการรักษาจากเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ และกิจกรรมเกี่ยวกับกระบือที่เกษตรกรเข้าร่วม คือ กิจกรรมการประชุมกลุ่มผู้เลี้ยงกระบือ ในรอบปีที่ผ่านมามีเกษตรกรส่วนน้อยมีการซื้อกระบือ โดยเกษตรกรซื้อกระบือ เฉลี่ย 0.28 ตัว ใช้เงินซื้อกระบือเฉลี่ย 2,776.07 บาท เกษตรกรส่วนน้อยมีการขายกระบือ โดยเกษตรกรขายกระบือเฉลี่ย 0.88 ตัว จำนวนเงินที่ได้จากการขายกระบือเฉลี่ย 9,186.40 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่มีการซื้อปุ๋ยเคมีใช้เงินเฉลี่ย 5,687.73 บาท และซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการเกษตรเป็นเงินเฉลี่ย 1,504.53 บาท

             เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือมีปัญหาการเลี้ยงกระบือในระดับมาก ได้แก่ ปัญหาขาดแคลนพ่อพันธุ์กระบือที่มีลักษณะดี ส่วนปัญหาในระดับปานกลาง มีจำนวน 4 ข้อ คือ ปัญหาขาดแหล่งสินเชื่อที่จะสนับสนุนเงินทุนในการเลี้ยงกระบือ ปัญหาขาดความรู้ในการเลี้ยงดูกระบือตามหลักวิชาการ ปัญหาภาครัฐไม่มีการส่งเสริมการเลี้ยงกระบืออย่างต่อเนื่อง และปัญหากระบือทำงานช้ากว่ารถไถนา

             ปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์การใช้แรงงานกระบือของเกษตรกร ได้แก่ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการอนุรักษ์การใช้แรงงานกระบือของ เกษตรกร แต่การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร จำนวนเงินที่ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง และปัญหากระบือทำงานช้ากว่ารถไถนา มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการอนุรักษ์การใช้แรงงานกระบือของเกษตรกร

คำสำคัญ  : การอนุรักษ์ใช้แรงงานกระบือ , จังหวัดอุบลราชธานี


ทะเบียนผลงานวิจัยเลขที่ 53(1) – 0511 - 0141
1/ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอำนาจเจริญ อ.เมือง จ. อำนาจเจริญ

การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคขุนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคขุนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย นางสาวอมรรัตน์  ชื่นสุวรรณ และ นายบรรเทิง ทิพย์มณเฑียร

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพการผลิตโคขุน การตลาด และปัญหาการเลี้ยงโคขุนของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนในจังหวัด         สุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 – เมษายน 2551 จำนวน 57 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และร้อยละ พบว่า

             เกษตรกร มีโคในฟาร์ม เฉลี่ย 15.61 ตัว เป็นโคขุน 6.25 ตัว มีประสบการณ์เลี้ยงโคขุน 3.84 ปี   เลี้ยงโดยใช้แรงงานในครอบครัว โคที่นำเข้าขุนส่วนใหญ่ซื้อจากฟาร์มในพื้นที่อำเภอท่าชนะ และไชยา  จังหวัด       สุราษฎร์ธานี  เกษตรกรส่วนใหญ่ขุนโคพันธุ์ลูกผสมชาโรเล่ส์ เพศผู้ไม่ตอน อายุระหว่าง 19 - 24 เดือน  น้ำหนัก เฉลี่ย 341.85 กิโลกรัม  ราคาเฉลี่ยตัวละ 18,277.78 บาท ใช้เวลาขุน ประมาณ 5.41  เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกหญ้าเนเปียร์ กินนี หรือรูซี่   โดยปลูกแซมในสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน หรือสวนผลไม้  สภาพพื้นที่ปลูกหญ้าร้อยละ 97.78 เป็นพื้นที่ดอน   เกษตรกรให้อาหารข้นสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาขุนที่เพิ่มขึ้น และให้โคกินหญ้าเนเปียร์วันละ 2-3 ครั้ง  โดยมีแร่ธาตุให้กินตลอดเวลา  และไม่นิยมใช้ฮอร์โมนในการขุนโค   เกษตรกรร้อยละ 92.98   มีโรงเรือนเลี้ยงโคขุน ส่วนใหญ่คิดแบบโรงเรือนเอง  ก่อนนำโคเข้าขุนร้อยละ 52.63 ไม่ถ่ายพยาธิโค ร้อยละ 91.23 ทำวัคซีน    เกษตรกรร้อยละ 68.42 ขายโคให้กับพ่อค้าในอำเภอ   โดยการชั่งน้ำหนัก ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ  51.15 บาท เกษตรกรที่ขายโคแบบเหมาตัวราคาเฉลี่ยระหว่าง 21,238 - 27,032 บาท/ตัว และมีความพึงพอใจปานกลางในราคาซื้อ-ขายในแต่ละครั้งจะขายได้   1-2 ตัว เกษตรกรส่วนใหญ่ลงทุนเลี้ยงโคขุนโดยใช้เงินทุนส่วนตัว  ต้นทุนการผลิตโคขุนต่อตัวเฉลี่ย  21,055.69 บาท  ใช้เวลาขุน 5 เดือน  กำไรเฉลี่ย 4,568 บาท/ตัว  และได้ข้อมูลการเลี้ยงโคขุนจากเอกสารเผยแพร่  หนังสือการเลี้ยงโคขุน และเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์  

              ปัญหา อุปสรรคในการเลี้ยงโคขุน คือ ขาดแคลนพันธุ์โคที่จะนำเข้าขุนเป็นปัญหาที่เกษตรกรพบมากที่สุด  รองลงมาคือขาดแคลนน้ำในการทำแปลงหญ้า  และไม่มีพื้นที่ปลูกหญ้า

1/ ทะเบียนวิชาการเลขที่ ๕๓(๒)-๐๒๑๖(๘)-๑๒๑

2/ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์  กรุงเทพมหานคร

3/ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี  อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Abstact

A study of raising conditions for fattening cattle in Suratthani province1/ by Amornrat  Chuensuwan and Banterng Tipmomtien

             This study was aimed at obtaining the information about raising and management of fattening cattle as well as its production costs and returns and problems related to the production of fattened cattle of farmers in Suratthani province. The data were collected from 57 farmers who raised cattle for fattening in Suratthani province from October 2006 to April 2008 and analysed for means and percentages.

             There were 15.61 heads of cattle per farm on average. The farmers had 2.84 years experience in raising fattening cattle and used labors in their families. Most of cattle for fattening were from farms in the districts of Tha Chana and Chaiya as young intact Charolais crossbred males aged between 19 and 24 months with an average weight of 341.85 kg. The average price of a young male bought for fattening was 18,277.78 Baht/head. The duration for fattening was 5.41 months. Most of farmers planted Napier. Guinia or Ruzi grasses within the areas of rubber or oil palm plantations or fruit orchard where 97.78% of the grass planting areas were in the high land.  Most of the farmers fed the cattle with concentrates and the amount of feeding increased with the fattening period and they supplemented with fresh Napier grass 2-3 times a day. Mineral was available to the cattle at all time. Using of hormones was not common among them. The proportion of 92.98 % of the farmers had feedlot for fattening cattle and the feedlots were designed by the farmers themselves.  A 52.63% were not dewormed before fattening and 91.23% were vaccinated. There were 68.42% of farmers selling the cattle to merchants in the districts by weight basis at 48 – 55 Baht per kg with an average of 51.15 Baht. Some farmers sold cattle by wholesale basis at 21,238 - 27,032 Baht per head and had a moderate level of satisfaction of the sale price. Farmers sold 1-2 fattened cattle at a time. Most of farmers invested for fattening cattle using their own money with an average production cost of 21,055.69 Baht/head, a fattening period of 5 months and an average profit of 4,568 Baht. Farmers obtained information on fattening of cattle from disseminated documents, books and livestock officers. 

            The problems in fattening cattle were the lack of breeding stocks of cattle for fattening, followed by the lack of water for pasture making  and lack of land area for grass planting. 


1/   Research  Project No. 53 (2)-0216(8)-121

2/   Bureau Livestock Development and Technology Transfer ,Bangkok.

3/   Suratthani Provincial Livestock Office Muang Suratthani.

ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรพื้นที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรพื้นที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี
นายสมคิด  วิมุกตานนท์   นางสาวอมรรัตน์  ชื่นสุวรรณ

 

 บทคัดย่อ

 

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ทราบถึงสภาพพื้นฐานทางด้านบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อการรับข้อมูลข่าวสารความรู้การเลี้ยงโคเนื้อ ความรู้และการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรพื้นที่นิคม เศรษฐกิจพอเพียง ในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี  โดยการสัมภาษณ์เกษตรกร 100 ราย ในปี 2552  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า  ไค-สแควร์ พบว่า

              เกษตรกรร้อยละ 61.00  เป็นชาย อายุเฉลี่ย 44.7 ปี  เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.00         มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีที่ดินเฉลี่ย 26.43 ไร่/ครัวเรือน      มีประสบการณ์เลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 9.43 ปี ขนาดฟาร์มเฉลี่ย 17.77 ตัว  ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มและใช้เงินกู้เพื่อเลี้ยงโคเนื้อ ในรอบปีที่ผ่านมาจำหน่ายโคเนื้อเฉลี่ยรายละ 1 ตัว  มีรายได้จากการจำหน่ายโคเนื้อเฉลี่ยรายละ 50,250  บาท  เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 78.00  ติดต่อ พบปะกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ได้รับข่าวสารการเลี้ยงโคเนื้อจาก โทรทัศน์ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการเลี้ยงโคเนื้อในด้าน ทัศนศึกษาดู งาน การฝึกอบรม และการชมนิทรรศการด้านโคเนื้อ  เกษตรกรมากกว่าร้อยละ 60.00 มีความรู้ในประเด็น โรงเรือน พันธุ์และการผสมพันธุ์โค อาหารและการให้อาหารโคเนื้อ สำหรับการควบคุมป้องกันโรคเกษตรกรร้อยละ 59.00   มีความรู้ว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคคอบวมเป็นประจำ ทุกปี เกษตรกรร้อยละ 62.00 ยอมรับเทคโนโลยีการใช้อาหารหยาบเป็นอาหารหลักสำหรับโคเนื้อ และนำไปปฏิบัติ เกษตรกรร้อยละ 77.00 ไม่ยอมรับเทคโนโลยีการตรวจท้องหลังการผสมพันธุ์ 2-3 เดือน และร้อยละ 70.00ไม่ ยอมรับเทคโนโลยีการฉีดวัคซีนโรคแท้งติดต่อให้ลูกโคเพศเมียอายุ  3-8 เดือน และจากการทดสอบสมมุติฐานพบว่า เพศ การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ การรับข่าวสารการเลี้ยงโคเนื้อจากโทรทัศน์ เอกสารสิ่งพิมพ์ การเข้ารับการฝึกอบรม การเข้าชมนิทรรศการที่แตกต่างกัน จะมีความรู้ในการเลี้ยงโคเนื้อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การเข้ารับการฝึกอบรม การทัศนศึกษาดูงาน การได้เข้าชมนิทรรศการเลี้ยงโคเนื้อที่แตกต่างกัน จะยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

 


 

1/  ทะเบียนวิชาการเลขที่ 53(2)-0216(7) -123
2/  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
3/ สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี  กรมปศุสัตว์  กรุงเทพมหานคร

Abstact

Knowledge on technology application on beef cattle raising  of the farmers in the self-sufficiency economy settlement land reform area in Kanchanaburi province1/

Somkid Wimooktanon 2/   Amornrat Chuensuwan 3/

                 The aim of this study was to realise the information of human, economic and social background that influenced reception of information and knowledge and adoption of technology for beef cattle raising of farmers in the self-sufficiency economy settlement land reform area in Laokhwan district, Kanchanaburi province. The study was done by interviewing 100 farmers in 2009 and the data were statistically analysed for percentages, means and chi-squares

.                 It was found that 61% of the farmers were male. The average age of all farmers was 44.7 years old. Most of them (75%) had primary level of education. There were 5 members on average in a family. Farmers owned 26.43 rai of land per family with 9.43 years experience in beef cattle raising and an average farm size of 17.77 heads of cattle. Most of them (69%) did not participate in group activities and did not receive loan for beef cattle raising. The average number of beef cattle sold in the previous year was 1 head per family from which generated an income of 50,250 Baht per farmer. Most of the farmers (78%) were in contact with livestock officers and received information about beef cattle raising from television. Majority of them (50%) never joined in the beef cattle raising activities such as study visit, training and visiting beef cattle exhibition. More than 60% of the farmers had a good knowledge of housing, breed and breeding of beef cattle, feed and feeding. For disease prevention, 59% of farmers knew that vaccination of FMD and Haemorrhagic septicemia should be done annually for their cattle. Sixty two per cent of farmers adopted technology of roughage usage as principle feed for beef cattle. Seventy seven per cent of farmers did not accept technology for pregnancy test after mating for 2-3 months and 70% of all farmers did not accept technology for vaccination of Brucellosis to female calves of 3 – 8 months of age. From hypothesis testing, it was found that statistically significant factors affecting knowledge level of farmers were gender, participation of group activities, contact with livestock officers, reception of information from television and publications, training and visiting exhibition. The significant factors that influenced adoption of technology were participation of group activities, training, study visit, and visiting exhibition.

 


 

1/   Research  Project No. 53(2)-0216(7) -123
2/   Khanchanaburi Provincial Livestock Office Muang Khanchanaburi.
3/   Bureou Livestock Development and Technology Transfer ,Bangkok.

 

การศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรภายใต้โครงการศูนย์บริการฯ จังหวัดระยอง

การศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรภายใต้
โครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล  จังหวัดระยอง
 
โดย  พัชนี  ขนิษฐวงศ์  2/       พัชราภรณ์  แก้วน้ำใส 3/

บทคัดย่อ  

 

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมบางประการของ เกษตรกร  การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร  ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อ  การใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อ และปัญหา อุปสรรคในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร  โดยศึกษาข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อภายใต้โครงการศูนย์บริการและถ่าย ทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดระยอง ปี 2552  จำนวน  95 ราย  ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2552 - มกราคม 2553  โดยใช้แบบสัมภาษณ์  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  ค่าสถิติที่ใช้คือ  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด

                ผลการศึกษาพบว่า  เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  อายุเฉลี่ย  47.09  ปี  จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 77.9  มีอาชีพหลักในการทำสวน  ทำไร่  มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย  13.99 ไร่  มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย  9.06  มีจำนวนโคเนื้อในฟาร์มเฉลี่ย 12.34  ตัว  ในรอบปีที่ผ่านมามีรายได้จากการขายโคเฉลี่ย  22,300  บาท  เกษตรกรมีการติดต่อพบปะกับอาสาปศุสัตว์บ่อยครั้งที่สุด และส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารความรู้การเลี้ยงโคเนื้อจากสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์   เกษตรกรทั้งหมดผ่านการฝึกอบรมด้านโคเนื้อและส่วนใหญ่ร้อยละ 85.3  เคยรับการฝึกอบรมในรอบปีที่ผ่านมา  เกษตรกรร้อยละ 61.1 ไม่ เคยไปทัศนศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงโคเนื้อ   เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ทางด้านการจัดการ   ด้านพันธุ์และการผสมพันธุ์  ด้านอาหารและการให้อาหาร   ด้านการสุขาภิบาลและการป้องกันโรค    ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อเพียงบางส่วนหรือไม่มีการใช้ เทคโนโลยี   โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ต้องมีการลงทุน   ส่วนเทคโนโลยีที่เกษตรกรนำไปใช้มากได้แก่  เทคโนโลยีด้านการสุขาภิบาลและการป้องกันโรค  (การฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์) ปัญหาที่พบได้แก่  ปัญหาไม่มีเงินทุนจะขยายหรือปรับปรุงสภาพของโรงเรือน  พ่อโคพันธุ์ดีหายากและราคาแพง  แม่โคผสมไม่ติด เป็นสัดช้า  ขาดแคลนหญ้าสดในฤดูแล้งและน้ำท่วมในฤดูฝน  ไม่มีพื้นที่ปลูกหญ้า  อาหารสัตว์ราคาแพง   ไม่มีความรู้ในการรักษาโรคโคเนื้อ  ยารักษาสัตว์ราคาแพง  ราคาโคเนื้อตกต่ำ  และปัญหาการลักขโมยโคของเกษตรกร  

 

คำสำคัญ  :  เทคโนโลยี   เกษตรกร   การเลี้ยงโคเนื้อ


1/  เลขทะเบียนผลงาน   53(2)-0216(2)-054

2/  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระยอง   อำเภอเมือง    จังหวัดระยอง   21000

3/ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอ่างทอง   อำเภอเมือง   จังหวัดอ่างทอง   14000

การใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงแพะของเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง

การใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงแพะของเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง 
พัชราภรณ์   แก้วน้ำใส 2/       พัชนี   ขนิษฐวงศ์ 3/

บทคัดย่อ 

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมบางประการของ เกษตรกร  การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร  ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงแพะ  การใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงแพะ  และปัญหา อุปสรรคในการเลี้ยงแพะของเกษตรกร  โดยศึกษาข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดอ่างทอง  ปี 2552  จำนวน  38 ราย  ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2552 - มกราคม 2553  โดยใช้แบบสัมภาษณ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

                ผลการศึกษาพบว่า  เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  อายุเฉลี่ย  45.50  ปี  จบระดับประถมศึกษาร้อยละ 60.52  มีอาชีพหลักเลี้ยงสัตว์  มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย  11.93 ไร่  จำนวนแพะในฟาร์มเฉลี่ย 60.13  ตัว  ในรอบปีที่ผ่านมามีรายได้จากการขายแพะเฉลี่ย  27,894.74  บาท  เกษตรกรมีการติดต่อพบปะกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์บ่อยครั้งที่สุด และส่วนใหญ่รับข่าวสารความรู้การเลี้ยงแพะจากสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์   เกษตรกรร้อยละ 76.31 ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมและไปทัศนศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงแพะเลย  ร้อยละ 13.16   เคยรับการฝึกอบรมและไปทัศนศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงแพะนานกว่า 1 ปีแล้ว    เกษตรกรมีความรู้ทางด้านการจัดการ   ด้านพันธุ์และการผสมพันธุ์  ด้านการสุขาภิบาลและการป้องกันโรค    ด้านอาหารและการให้อาหาร  ยกเว้นเรื่องปริมาณความต้องการอาหารหยาบ  อาหารข้นของแพะต่อวัน  และระดับโปรตีนในอาหารข้นแพะ       ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงแพะเพียงบางส่วนหรือไม่มีการใช้ เทคโนโลยีเลย  โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ต้องมีการลงทุน   ส่วนเทคโนโลยีที่เกษตรกรนำไปใช้มากได้แก่  เทคโนโลยีด้านการสุขาภิบาลและการป้องกันโรค เช่น กำหนดการฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย   เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่พบปัญหาในการเลี้ยงแพะ   มีส่วนน้อยที่พบปัญหา ได้แก่  ปัญหาไม่มีเงินทุนจะขยายหรือปรับปรุงสภาพของโรงเรือน  ปัญหาพ่อพันธุ์มีจำนวนน้อยทำให้เกิดปัญหาเลือดชิด ปัญหาไม่ทราบแหล่งจำหน่ายพ่อพันธุ์ที่ดีและปลอดภัยจากโรคติดต่อ  ปัญหาขาดแคลนหญ้าสดในฤดูแล้งและอาหารข้นมีราคาแพง  และปัญหาเรื่องพยาธิ   

 คำสำคัญ  :  เทคโนโลยี   เกษตรกร   การเลี้ยงแพะ


1/  เลขทะเบียนผลงาน   53(2)-0216(1)-053
2/  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอ่างทอง   อำเภอเมือง    จังหวัดอ่างทอง   14000
3/ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระยอง   อำเภอเมือง   จังหวัดระยอง   21000

ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงโคของเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี : กรณีศึกษาในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรีและหนองโดน

ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงโคของเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี : กรณีศึกษาในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรีและหนองโดน
โดย ประดิษฐ์  ไชยหันขวา และ  สุวิช  บุญโปร่ง 

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยง โคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอเมืองสระบุรีและอำเภอหนองโดนจังหวัดสระบุรี ในกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่เลี้ยงโคเนื้อ  225 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป Statistical Packages for the Social Science (SPSS(

               ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรมีปัญหาในการเลี้ยงโคเนื้อ ด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านการผลิต มีปัญหาในระดับน้อย ได้แก่ เกษตรกรขาดพ่อโคพันธุ์ดี ไม่มีการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และปัญหาแม่โคผสมติดยาก ปัญหาด้านพื้นที่เลี้ยงโค พบว่าเกษตรกรมีปัญหาในระดับน้อย ในเรื่องการขาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะ ปัญหาด้านแรงงานโค พบว่า เกษตรกรไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงานในการเลี้ยงโค ส่วนปัญหาด้านอาหารโค เกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก คือ การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์หญ้า ปัญหาด้านการผสมพันธุ์โค ปัญหาด้านโรคระบาดและสุขภาพ และปัญหาด้านราคาและการตลาด พบว่า เกษตรกรมีปัญหาในระดับน้อย ส่วนปัญหาด้านเจ้าหน้าที่และการส่งเสริม พบว่าเกษตรกรมีปัญหาระดับน้อย คือ การรวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค และการบริการและส่งเสริมจากภาครัฐ

               ส่วนความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในด้านต่างๆ ได้แก่ พันธุ์โค การสร้างคอก การจัดการฟาร์ม วิธีการเลี้ยงดูโคเนื้อระยะต่างๆ การผสมเทียม การผลิตและการให้อาหารโคเนื้อ การป้องกันโรคระบาดที่สำคัญ วิธีการให้ยารักษาโรค และการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงโค พบว่า เกษตรกรมีความต้องการในระดับมาก ส่วนการส่งเสริมการเลี้ยงโคขุน-โค มัน การจัดทำมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อ การจำหน่ายโคที่ตลาดนัดโค-กระบือ และ การส่งเสริมจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์โดยวิธีมาตรฐานสากล เกษตรกรมีความต้องการในระดับน้อย 

คำสำคัญ: การเลี้ยงโคเนื้อ   ความต้องการการส่งเสริม   จังหวัดสระบุรี

การศึกษาสภาพการเลี้ยงกระบือและความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในจังหวัดสระบุรี

 

การศึกษาสภาพการเลี้ยงกระบือและความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในจังหวัดสระบุรี
โดย ประดิษฐ์ ไชยหันขวา และ  สุวิช  บุญโปร่ง 

 

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเลี้ยงกระบือของเกษตรกร ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการเลี้ยงกระบือ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ กลุ่มตัวอย่างของประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในจังหวัดสระบุรี จำนวน 330 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป Statistical  Packages for the Social  Science (SPSS) เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และ ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน

                ผลของการศึกษา  พบว่า วัตถุประสงค์หลักของการเลี้ยงกระบือ เพื่อใช้ผลิตปุ๋ยจากมูลกระบือ และเพื่อผลิตลูกขาย ร้อยละ 82.5 และ 76.0 ตามลำดับ  เกษตรกรมีระยะเวลาเลี้ยงกระบือมาแล้วน้อยกว่า 11 ปี จำนวนมากที่สุด (ร้อยละ 45.6) แรงงานที่ใช้ในการเลี้ยงกระบือ 1 – 2 คน ส่วนใหญ่เลี้ยงกระบือด้วยตัวเอง (ร้อยละ 82.4)  จำนวนกระบือที่เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงอยู่ระหว่าง 1- 5 ตัว / ครอบครัว (ร้อยละ 75.4) เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ  93.7 ใช้พ่อพันธุ์ในการผสมพันธุ์ มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพียงร้อยละ 65.5 เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 90.5 มีคอกขังกระบือ ซึ่งแยกต่างหากจากบ้านพัก (ร้อยละ 65.5) ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.0 ไม่มีพื้นที่ปลูกหญ้าอาหารสัตว์ มีการสำรองพืชอาหารสัตว์ (ฟางข้าว) ร้อยละ 80.2 มีการใช้อาหารข้นและให้แร่ธาตุเสริมสำหรับเลี้ยงกระบือ เพียง ร้อยละ 23.1 และ 26.5 ตามลำดับ การป้องกันและรักษาโรค พบว่า ได้รับการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ร้อยละ 90.5 มีการถ่ายพยาธิกระบือ ร้อยละ 68.4 เมื่อกระบือป่วยได้รับการรักษาโรคจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ร้อยละ 70.5 จากอาสาปศุสัตว์ ร้อยละ 10.0 และรักษาด้วยตนเอง ร้อยละ 19.6

                 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการเลี้ยงกระบือในแต่ละด้านดังนี้ ด้านสภาพการเลี้ยงกระบือในปัจจุบัน ด้านการจำหน่ายและผลตอบแทนจากการเลี้ยงกระบือ และด้านการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงกระบือ มีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ อยู่ในระดับปานกลาง

                 สำหรับปัญหาและอุปสรรค คือ พื้นที่เลี้ยงกระบือไม่เพียงพอ ขาดแคลนเงินทุน อาหารหยาบไม่เพียงพอ และขาดความรู้การเลี้ยงกระบือตามหลักวิชาการ ข้อเสนอแนะจากเกษตรกรที่ได้จากการศึกษา คือ กรมปศุสัตว์ควรมีนโยบายสนับสนุนงบประมาณ เพื่อพัฒนาการเลี้ยงกระบือในหมู่บ้านที่มีศักยภาพสูง ให้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างการเลี้ยงกระบือของแต่ละอำเภอ ควรมีการจัดฝึกอบรมและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร รู้จัก การคัดเลือกพ่อพันธุ์กระบือที่มีลักษณะดี การพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ การปลูกพืชอาหารสัตว์ การใช้แรงงาน และมูลกระบือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ: การเลี้ยงกระบือ   ความพึงพอใจ   จังหวัดสระบุรี

 

การเปรียบเทียบระหว่างการใช้ Mozzarella กับ Gouda ในแฟรงค์เฟอร์เตอร์

Comparison between Using of Mozzarella and Gouda in Frankfurter
โดย นางสาวประภัสสร  ภักดี ,  นายสมพิศ  ชูแสงจันทร์

บทคัดย่อ

                   ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ Mozzarella กับ Gouda ในแฟรงค์เฟอร์เตอร์ โดยใช้เนยแข็งชนิดที่เรียกว่า  Mozzarella และ Gouda  ปริมาณร้อยละ 10 ผสมในแฟรงค์เฟอร์เตอร์ วางแผนการทดลองแบบ Complete Randomized Design (CRD) มี 3 ผลิตภัณฑ์ คือ แฟรงค์เฟอร์เตอร์  แฟรงค์เฟอร์เตอร์ผสม Mozzarella และแฟรงค์เฟอร์เตอร์ผสม Gouda ดำเนินการทดลอง 3 ซ้ำ กำหนดให้ แฟรงค์เฟอร์เตอร์เป็นตัวอย่างควบคุม (Control) ผลการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัสพบว่า แฟรงค์เฟอร์เตอร์ผสม Gouda ได้รับการยอมรับน้อยที่สุดอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี ส่วนแฟรงค์เฟอร์เตอร์และ แฟรงค์เฟอร์เตอร์ผสม Mozzarella ได้รับการยอมรับอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะ Mozzarella  ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และมีความมันในปากขณะเคี้ยว(p<0.05)  ผลการวิเคราะห์ลักษณะเนื้อสัมผัส โดยใช้เครื่อง Texture Analyser พบว่าแฟรงค์เฟอร์เตอร์ผสม Gouda  มีลักษณะเนื้อสัมผัสแน่นกว่าแฟรงค์เฟอร์เตอร์ผสม Mozzarella และแฟรงค์เฟอร์เตอร์     ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหาร พบว่า แฟรงค์เฟอร์เตอร์ ผสม Mozzarella และ Gouda มีปริมาณโปรตีนสูงขึ้น แต่ปริมาณไขมันไม่เพิ่มขึ้น (p<0.05)  แสดงให้เห็นว่า การบริโภคแฟรงค์เฟอร์เตอร์ผสมเนยแข็งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนต้นทุนการผลิตแฟรงค์เฟอร์เตอร์ผสม Mozzarella จะต่ำกว่าชนิดผสม Gouda แต่สูงกว่า แฟรงค์เฟอร์เตอร์  

คำสำคัญ : แฟรงค์เฟอร์เตอร์   Mozzarella    Gouda

เลขทะเบียนผลงาน  52 (2) – 0411 - 098
กลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์