ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพืชอาหารสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่ ภาคกลาง : Effect of roughage management on dairy farms in Central area
โดย ประเสริฐ โพธิ์จันทร์ และ สมภัสสร วงษ์แสง
1 ทะเบียนวิจัยเลขที่ 56(1)-0511-009
2 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
3 ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีทับกวาง จังหวัดสระบุรี กรมปศุสัตว์
โครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมในฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยในภาคตะวันตก1/
อำนวย มะอนันต์2/ สุวิช บุญโปร่ง3/ มนทกานติ์ กันแก้ว2/
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมในฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยในภาคตะวันตก คัดเลือกเกษตรกรที่เลี้ยงโคนม จำนวน 15 ฟาร์ม ในเขตอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำการสร้างสะแลนพรางแสง (Shade) 70% สูงจากหลังคาโรงเรือน 100 ซม. เพื่อศึกษาอุณหภูมิสภาพแวดล้อมในโรงเรือน โดยวัดอุณหภูมิและความชื้นสภาพแวดล้อม เพื่อหาค่าดัชนีระหว่างอุณหภูมิ – ความชื้น (Temperature – Humidity, THI) และรวบรวมการให้ผลผลิตน้ำนม ระหว่างเดือนกันยายน 2552 – เมษายน 2554 ผลการศึกษา พบว่า ค่า THI ของโรงเรือนหลังจากกางสะแลนพรางแสงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งค่า THI ของโรงเรือนก่อนใช้สะแลนและระหว่างใช้สะแลน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 84.24 และ 82.07 ตามลำดับ โดยมีค่า THI ลดลง เท่ากับ 2.17 จำนวนโครีดนมเฉลี่ย 12 ตัว พบว่า การให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ยต่อวันต่อตัว พบว่า แม่โคที่อยู่ในโรงเรือนกางสะแลนพรางแสงให้ผลผลิตน้ำนมต่อตัวต่อวันสูงกว่าก่อนกางสะแลนพรางแสง (P<0.05) โดยก่อนใช้แม่โคให้ผลิตผลน้ำนมเฉลี่ย เท่ากับ 11.16 กก. ต่อตัวต่อวัน แต่ระหว่างใช้สะแลนพรางแสงให้ผลิตผลน้ำนมเฉลี่ย เท่ากับ 12.53 กก. ต่อตัวต่อวัน ส่วนองค์ประกอบน้ำนม ได้แก่ ไขมันนม (Fat) โปรตีน (Protein) น้ำตาลในนม (Lactose) ของแข็งไร้มันนม (Solid not fat) ของแข็งทั้งหมดในนม (Total solid) ของฝูงแม่โคของเกษตรกร ทั้งก่อนใช้และระหว่างใช้สะแลนพรางแสงไม่แตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้น ฝูงแม่โคของกลุ่มตัวอย่าง 1 ฟาร์ม พบว่ามี %ไขมันนมระหว่างใช้สะแลนพรางแสงสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การกางสะแลนพรางแสงทำให้ค่า THI ภายในโรงเรือนลดลง เป็นวิธีการลดความเครียดของโคจากสภาพแวดล้อม ส่งผลทำให้แม่โคให้ผลผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้น างแสงทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนลดลง ฝูงแม่โคกันทางสถิติ ยกเว้นฝูงแม่โคของสะอื้น พบว่า
คำสำคัญ: สะแลนพรางแสง ผลผลิตน้ำนม โรงเรือน ค่าดัชนีอุณหภูมิ-ความชื้น
1/ ทะเบียนวิจัยเลขที่: 52 (1) – 0211 – 035
2/ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเขาไชยราช อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77170
3/ กลุ่มวิจัยและพัฒนากระบือ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10401
Environmental Improvement for High Milk Production for Small Scale Farmers
in western Thailand1/
Amouy Ma-anun2/ Suvit Boonprong3/ Montakan Kunkaew2/
Abstract
The objective of this study was to investigate environmental improvement for enhancing milk production performance of dairy cows under small scale farmers in western Thailand. Milk data, temperature and humidity were records from 15 farms which raised dairy cows in Bang Saphan District, Prachuapkhirikhan Province from September 2009 to April 2011. The houses used to raise dairy cows were fitted with 70% shade at 100 cm above the roof to cover the area of the pen. The results revealed that the average Temperature – Humidity Index (THI) of modified housing with shade (84.24) were significantly higher (P<0.05) than that of the previous unshaded housing (82.07). As the decrease were 2.17. Dairy cows kept in modified housing with shade (12.53 kg/h/d) had a significantly higher (P<0.05) milk production per cow per day than before modified housing (11.16 kg/h/d). However, milk composition such as: fat, protein, lactose, solid not fat and total solid did not differ, exception for one farm that milk fat from animal with housing shade were significantly higher (P<0.05) than before housing modification. In conclusion, housing modification with shade can decrease THI. It is recommended that this method could ameliorate heat stress from animals as indicated by more milk yield.
Keywords: shade, milk production, housing, Temperature – Humidity Index (THI)
1/ Research Project No.: 52 (1) – 0211 – 035
2/ Khao Chai Rat Livestock Research and Transfer Center, Bang Saphan Noi District, Prachuapkhirikhan Province 77170, Thailand
3/ Buffalo Research and Development Section, Bureau of Animal Husbandry and Genetic Improvement, DLD, Ratchathewee District, Bangkok 10401, Thailand
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาศักยภาพของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เขาไชยราช ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ โดยการสำรวจข้อเท็จจริงในความพร้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เน้นสภาพการที่ปรากฏ และบริบทสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผสมผสานกับการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ทั้งแบบสอบถาม สัมภาษณ์ และการสังเกต
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเขาไชยราช มีลักษณะพื้นที่โดย รวมเป็นที่ราบสลับกับเนินดินจากร่องน้ำ พื้นที่บางส่วนมีสภาพเป็นป่า มีต้นไม้ขึ้นตามแนวลำห้วย และรอบๆ ภูเขา เป็นที่อาศัยและขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าขนาดเล็ก มีภูมิประเทศและบรรยากาศเหมาะที่จะเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว มีทิวทัศน์สวยงาม มีการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจหลักในการสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ มีแผนการที่จะจัดทำโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เนื่องจากมีความสะดวกในการเดินทาง สามารถเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นได้ อยู่ใกล้แหล่งจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและของฝาก โดยการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท่องเที่ยว แต่ยังมีข้อจำกัดด้านความพร้อมของบุคลากรในการให้บริการ ความมีคุณค่าทางวิชาการและการเรียนรู้ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นร้านค้า ที่จอดรถ และห้องสุขา ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ควรกำหนดเป็นนโยบายให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางการท่อง เที่ยวเชิงเกษตรที่มีอยู่ โดยสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนา รวมทั้งจัดทำเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งในด้านการท่องเที่ยว และเป็นแรงจูงใจให้ผู้คนเข้ามารับบริการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการ ปศุสัตว์ เพิ่มมากขึ้น คำสำคัญ : การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, การค้นหาศักยภาพ
1 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
2 ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเขาไชยราช อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์